Blue Origin บริษัทด้านอวกาศของ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon ได้ส่งจรวด New Shepard พร้อมลูกเรือ 6 คน ขึ้นสัมผัสขอบอวกาศที่ระดับ 105.7 กิโลเมตร ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2022 ของโครงการ New Shepard ที่ส่งจรวดไปพร้อมกับมนุษย์ ในชื่อภารกิจ NS-25 เนื่องจากเป็นการส่งจรวจครั้งที่ 25
ลูกเรือ 6 คนในภารกิจนี้ได้แก่ Mason Angel, Sylvain Chiron, Kenneth L. Hess, Carol Schaller, Gopi Thotakura และ Ed Dwight ซึ่งเคยถูกเลือกเป็นนักบินอวกาศคนดำคนแรกในปี 1961 แต่สุดท้ายไม่ได้ออกไปปฏิบัติภารกิจในอวกาศ นอกจากนี้ Dwight ยังถือเป็นนักบินอวกาศอายุมากที่สุดที่ได้เดินทางออกนอกโลกคือ 90 ปี 8 เดือน มากกว่านักแสดง William Shatner ในปี 2021 ที่อายุ 90 ปี 6 เดือนเวลานั้น
ความคืบหน้าหลัง NASA เลือก Blue Origin ทำยาน Blue Moon ลงจอดดวงจันทร์ในภารกิจ Artemis V ปี 2029 ผ่านมาหลายเดือน บริษัท Blue Origin ได้โชว์ต้นแบบของยานลงจอดดวงจันทร์รุ่นแรกชื่อว่า Blue Moon Mark 1
ยาน Blue Moon Mark 1 ยังมีสถานะเป็นแค่ต้นแบบดีไซน์ (mockup) โดยเป็นยานลงจอดใช้ครั้งเดียว (single use) ใช้ขนส่งสิ่งของลงไปบนพื้นผิวดวงจันทร์แล้วไม่ต้องบินกลับขึ้นมาอีก ยานรองรับการขนส่งสิ่งของหนัก 3 ตัน
Blue Origin จะยังมียาน Blue Moon Mark 2 ที่ขนาดใหญ่ขึ้น รองรับการขนส่งนักบินอวกาศขึ้น-ลงระหว่างพื้นผิวดวงจันทร์ โดยจะเปิดตัวตามมาในระยะถัดไป
NASA ประกาศเลือกบริษัท Blue Origin ของ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon เป็นผู้พัฒนายานอวกาศลงจอดดวงจันทร์ (Human Landing System หรือ HLS) ลำใหม่ในภารกิจ Artemis V ที่มีกำหนดไปดวงจันทร์ปี 2029
เมื่อปี 2021 บริษัท Blue Origin เคยมีดราม่ากับ NASA หลังจาก NASA คัดเลือกยานลงจอดดวงจันทร์ของ SpaceX เอาชนะข้อเสนอของ Blue Origin จนเป็นผลให้ภารกิจ Artemis ต้องล่าช้าไป 1 ปีจากคดีฟ้องร้อง
NASA เซ็นสัญญากับบริษัทอเมริกัน 3 แห่งคือ Blue Origin, Nanoracks, Northrop Grumman ออกแบบสถานีอวกาศในอนาคต ที่จะใช้แทนสถานีอวกาศนานาชาติ
สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station หรือ ISS) ถูกยิงขึ้นวงโคจรโลกมาตั้งแต่ปี 1998 และมีอายุการใช้งานไปจนถึงปี 2030 เป็นอย่างน้อย
NASA ระบุว่าตอนนี้ได้เวลาเตรียมสถานีอวกาศใหม่ๆ ในระดับวงโคจรต่ำ (low-Earth orbit) มาทดแทน ISS โดยแนวทางของ NASA คือกระตุ้นให้บริษัทเอกชนสร้างสถานีอวกาศเชิงพาณิชย์ขึ้นมารองรับลูกค้าทั้งรัฐบาลและเอกชน ผ่านการให้ทุนสนับสนุนในครั้งนี้ มูลค่ารวม 415.6 ล้านดอลลาร์
NASA ประกาศเลื่อนแผนการส่งยานที่มีมนุษย์ไปดวงจันทร์ ภายใต้ภารกิจ Artemis จากเดิมตั้งเป้าส่งคนไปเหยียบดวงจันทร์ปี 2024 กลายเป็น "อย่างเร็วในปี 2025"
โครงการ Artemis ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
Blue Origin บริษัทอวกาศของ Jeff Bezos เปิดตัวแผนการสร้างสถานีอวกาศเอกชน Orbital Reef ที่เปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์
Orbital Reef จะลอยอยู่ที่วงโคจรระดับต่ำ (low earth orbit - leo) ให้บริการภาคธุรกิจหลากหลาย ทั้งการขึ้นไปเที่ยวชมอวกาศ ถ่ายภาพยนตร์ ไปจนถึงเช่าพื้นที่เพื่อทำวิจัยบนอวกาศ รองรับลูกค้าทั้งบุคคลทั่วไป บริษัททัวร์อวกาศ บริษัทไฮเทค และรัฐบาลของประเทศที่ไม่มีโครงการอวกาศของตัวเอง
Blue Origin มีพาร์ทเนอร์ร่วมสร้าง Orbital Reef หลายราย เช่น Sierra Space ที่มาช่วยสร้างสถานีอวกาศ, Boeing ที่มาช่วยงานขนส่งและซ่อมบำรุง รวมไปถึง Arizona State University สนับสนุนด้านการวิจัย และเครือข่ายมหาวิทยาลัยจากทั่วโลก
เมื่อเดือนกรกฎาคม Blue Origin บริษัทอวกาศของ Jeff Bezos ทำภารกิจส่งมนุษย์ 4 คน (รวม Jeff และน้องชาย) ขึ้นไปสัมผัสขอบอวกาศที่ระดับ 107 กิโลเมตร ได้สำเร็จ
เมื่อคืนนี้ Blue Origin ทำภารกิจรอบที่สองในลักษณะเดียวกัน ใช้จรวด New Shepard ส่งมนุษย์ 4 คนขึ้นไปสูง 107 กิโลเมตรและกลับมาสู่ผิวโลกได้อย่างราบรื่น
ในบรรดาผู้โดยสารทั้ง 4 คน คนที่ดังที่สุดคือ William Shatner นักแสดงผู้สวมบทเป็น Captain James T. Kirk ตัวเอกในซีรีส์ Star Trek ภาคแรก ได้ขึ้นไปสัมผัสอวกาศจริงๆ ในวัย 90 ปี ทำให้เขาสร้างสถิติเป็นผู้มีอายุสูงสุดที่ได้ขึ้นสู่อวกาศด้วย (Shatner ได้ขึ้นจรวดในฐานะแขกของ Jeff Bezos)
NASA ประกาศชะลอโครงการพัฒนายานจอดดวงจันทร์ HLS ของ SpaceX ชั่วคราว หลัง Blue Origin ยื่นฟ้อง NASA เมื่อไม่กี่วันก่อน
NASA ระบุว่าจะหยุดโครงการนี้ไปจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน ระหว่างรอศาลไต่สวน โดยศาลนัดทั้งสองฝ่ายมาให้การในวันที่ 14 ตุลาคม
ที่มา - Reuters/Yahoo Finance
Blue Origin บริษัทอวกาศของ Jeff Bezos ยื่นฟ้อง NASA แล้ว จากกรณีเลือก SpaceX เป็นผู้พัฒนายานลงจอดดวงจันทร์ LHS ในภารกิจ Artemis
บริษัทที่ส่งข้อเสนอ LHS มีทั้งหมด 3 รายคือ SpaceX, Blue Origin, Dynetics โดยตอนแรก NASA เคยมีแนวทางว่าจะเลือกข้อเสนอมากกว่า 1 ราย แต่สุดท้ายงบประมาณไม่พอ จึงเลือก SpaceX ที่เสนอราคาต่ำที่สุดเพียงรายเดียว
Blue Origin และ Dynetics เคยยื่นคัดค้านไปยังสำนักงานตรวจสอบของรัฐบาลสหรัฐ (US Government Accountability Office) และ Jeff Bezos เคยเสนอออกเงิน 2 พันล้านดอลลาร์ให้เอง แลกกับ NASA เลือกข้อเสนอของ Blue Origin เพิ่มเข้ามา แต่สุดท้าย NASA ก็ไม่ได้สนใจ
หลังจาก Jeff Bezos เกษียณตัวเองจาก Amazon หันมาทำ Blue Origin เต็มตัว เราก็เห็นข่าวอย่างต่อเนื่อง (ทั้งหมดยังไม่พ้นเดือนแรกหลังเกษียณด้วยซ้ำ) เริ่มจากการนั่งจรวดขึ้นอวกาศความสูงระดับ 10 กิโลเมตร ที่เป็นข่าวไปแล้วทั่วโลก
ล่าสุด Bezos เขียนจดหมายเปิดผนึกถึง NASA อาสาจ่ายเงิน 2 พันล้านดอลลาร์ ให้โครงการ Human Landing System (HLS) พัฒนายานอวกาศไปดวงจันทร์รอบใหม่ ที่ถูกรัฐบาลสหรัฐตัดงบประมาณลง
โครงการ Blue Origin เป็นโครงการตามล่าความฝันที่จะไปอวกาศของ Jeff Bezos ชายผู้ร่ำรวยที่สุดในโลก เป็นผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอของ Amazon โดย Jeff ก่อตั้ง Blue Origin เพื่อพัฒนาจรวดและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหนึ่งในโมเดลธุรกิจคือการขายตั๋วให้เศรษฐีที่อยากไปสัมผัสอวกาศ
หลังจากพัฒนาเทคโนโลยีของตนมาเกือบ 20 ปี ทดสอบยิงจรวดไปกว่า 20 ครั้ง ล่าสุดวันนี้ Blue Origin ได้ทำภารกิจยิงจรวด New Shepard พร้อมผู้โดยสาร 4 คนขึ้นสู่อวกาศและกลับมาลงจอดได้สำเร็จ
วันนี้ (5 กรกฎาคม) Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon ลงจากตำแหน่งซีอีโอตามที่ประกาศไว้เมื่อต้นปี โดยซีอีโอคนใหม่ของ Amazon คือ Andy Jassy ซึ่งก่อนหน้านี้มีตำแหน่งเป็นซีอีโอของ AWS อยู่แล้ว (ประวัติของ Andy Jassy ซีอีโอคนใหม่ของ Amazon)
หลังจากนี้ Bezos จะไปทำงานอื่นๆ คือกองทุน Day 1 Fund, the Bezos Earth Fund ไปจนถึงธุรกิจอื่นอย่าง Blue Origin และ The Washington Post โดยวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ เขาจะออกท่องอวกาศกับจรวด New Shepard ของ Blue Origin
ในที่สุดยาน New Shepard ของ Blue Origin ที่ก่อตั้งโดย Jeff Bezos เตรียมจะขึ้นบินนอกโลกเชิงพาณิชย์เป็นเที่ยวแรกในเดือนกรกฎาคมนี้แล้ว แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าตัวผู้ก่อตั้งไม่ร่วมเดินทางครั้งนี้ด้วย ล่าสุด Jeff Bezos เผยว่าเขาและน้องชายจะร่วมเดินทางในเที่ยวแรกนี้
Bezos เผยใน Instagram ว่าตั้งแต่อายุได้ 5 ขวบ ก็ใฝ่ฝันที่จะเดินทางไปในอวกาศมาตลอด และในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ เขาจะร่วมเดินทางไปกับน้องชายด้วย
SpaceX สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่อีกครั้งโดยส่งจรวด Falcon 9 สู่อวกาศ และสามารถนำลงจอดแนวตั้งได้ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ใช้จรวดที่เคยใช้แล้วขึ้นไปบนอวกาศ
SpaceX และ Blue Origin ทำงานเรื่องจรวดรีไซเคิลกันมาก่อนหน้านี้ เป้าหมายคือต้องการประหยัดงบประมาณ ที่คาดว่าจะประหยัดงบได้ 30% และแทนที่จะให้จรวดที่เคยล้มเหลวเป็นขยะในมหาสมุทร ก็สู้นำมันรีไซเคิลใหม่ดีกว่า อ่านข่าวเก่าได้ ที่นี่
ช่วงเวลาส่งจรวดคือ วันพฤหัสบดี ที่ 30 มีนาคมตามเวลาท้องถิ่น 6:27pm โดย Falcon 9 บรรจุดาวเทียมสื่อสาร SES 10 น้ำหนัก 11,700 ปอนด์ไปด้วย
หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า Jeff Bezos ซีอีโอของ Amazon เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Blue Origin ด้วย โดยเป็นบริษัทเอกชนที่ให้บริการเดินทางไปอวกาศ รวมถึงผลิตจรวดเองด้วย (แบบเดียวกับ SpaceX ของ Elon Musk) ล่าสุดเขาประกาศเปิดบริการส่งของไปยังดวงจันทร์ภายในกลางปี 2020
ตามรายงานระบุว่า Blue Origin มีแผนพัฒนายานอวกาศที่สามารถลงจอดบนดวงจันทร์ได้ในชื่อ Blue Moon มีจุดประสงค์เพื่อการส่งอุปกรณ์การทดลอง, ของใช้ และสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต สำหรับการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอนาคตภายในกลางปี 2020