CERN หลายคนรู้จักในว่าเป็นหน่วยงานที่ควบคุม LHC หรือ Large Hadron Collider หรือชื่อไทยว่าเครื่องเร่งอนุภาค ที่มีหลาย ๆ คนเข้าใจผิดว่าจะมาทำลายโลก ได้ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาในการเปิดศูนย์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะอนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกเข้ามาเอาข้อมูลการทดลองที่ยิ่งใหญ่นี้
นักวิทยาศาสตร์จาก 7,000 คนจาก 33 ประเทศได้เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์จาก CERN เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อวิิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องชนอนุภาคที่ทดสอบไปเมื่อเดือนที่แล้ว
ในขณะการทดลองจริงจะเริ่มปีหน้า นักฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการทดลองจะสามารถจะได้รับข้อมูล real-time มาสู่คอมพิวเตอร์ตัวเองในที่ใดก็ได้ ต้องขอบคุณคอมพิวเตอร์กริด CERN ที่เชื่อมหน่วยประมวลผลกว่า 100,000 processor จากสถาบันการศึกษา 140 แห่งทั่วโลกเข้าด้วยกัน
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์นี้สร้างขึ้นเพื่อโครงการ LHC ก็จริงแต่ก็ยังสามารถไปใช้งานอื่นได้อีก ซึ่งนักวิจัยอื่นและโครงการอื่นจะได้รับประโยชน์ด้วย คอมพิวเตอร์กริดแห่งนี้สามารถเปิดทางใหม่ ๆ ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่มีจำนวนข้อมูลมหาศาลที่จะต้องจัดการและต้องการความสามารถที่จะวิเคราะห์มันได้ ซึ่งข้อมูลที่จะได้จาก LHC นั้นจะมากมายมหาศาลเท่าที่เคยมีมาซึ่งยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจได้ด้วยเครื่องมือปัจจุบัน
ซึ่งการชนของอนุภาคใน LHC นั้นจะเกิดการชนของอนุภาคโปรตรอนกว่า 600 ล้านอนุภาคชนกันต่อวินาทีและสร้างข้อมูลจำนวน 40 ล้านครั้งต่อวินาที ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกกรองออกด้วยสถานีตรวจจับขนาดยักษ์ 4 แห่งใต้ดิน ข้อมูลที่ได้รับจะได้ประมาณ 700 MB ต่อวินาทีหรือ 15 ล้าน GB ต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนมากพอที่จะเขียนลงแผ่นดีวีดีได้ 3 ล้านแผ่นต่อปีหรือสร้างหอคอยซีดีที่สูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์ 2 เท่า
เพื่อจะวิเคราะห์ข้อมูลขนาดนั้นได้ นักวิจัยต้องการไม่เพียงต้องการการคำนวณจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปแบบใหม่ของการคำนวรวิเคราะห์ด้วย จากที่ CERN เป็นผู้คิด WWW ในปี 1990 ซึ่งทำให้คนสามารถส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เนตได้ คอมพิวเตอร์กริดนี้จะเชื่อมแหล่งทรัพยากรคอมพิวเตอร์เช่นแหล่งเก็บข้อมูลหรือแหล่งประมวลผลเข้าด้วยกัน
CERN มีเพียง 10% ของความสามารถคอมพิวเตอร์กริดที่ต้องการในการทดลอง LHC ซึ่งจะทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสังเกตการณ์การทดลองได้จากความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่เหลือทั้งหมด
ที่มา - reuters.com
Comments
อืม แบบนี้ใช้คำว่า Supercomputer ได้ป่าวหนอ
เสริมนิดครับ LHC Grid (LCG) จริงๆแล้วเป็นโครงข่ายที่เชื่อม Supercomputer หลายๆแห่งเข้าด้วยกันนะครับ แล้วอาศัยการกระจายงาน + การส่งไฟล์ข้ามระบบเพื่อช่วยกันประมวลผลในรูปแบบ Grid Computing ครับ คือจริงๆแล้วมันไม่ได้เป็นเครื่องๆเดียวครับ ในวงการกริดถือว่า LCG เป็นระบบกริดที่ใหญ่มากอันหนึ่งครับ
และสำคัญที่สุดคือ สาเหตุที่ทาง CERN ต้องใช้ระบบแบบนี้ไม่ใช่เพราะ เขาไม่มีเงินซื้อระบบใหญ่ๆมาเก็บข้อมูลที่เดียวนะครับ แต่เพราะมันไม่มีระบบใหญ่ขนาดที่จะเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปริมาณขนาดนี้ได้ทันครับ หรือถึงจะทัน ก็คงจะทันแค่ช่วงแรกๆ จะขยายตัวต่อก็ลำบากครับ
ถ้าสนใจดูสถานะปัจจุบันของระบบ ดูได้ที่ http://gridview.cern.ch/GRIDVIEW/ ครับ
แถมอีกนิดครับ ถ้าใครสงสัยว่าเขาใช้ซอฟต์แวร์อะไรทำ เขาใช้ gLite ครับเป็นซอฟต์แวร์ที่เอา Globus กริดมิดเดิ้ลแวร์ยอดนิยมมา Modify ให้เหลือฟีเจอร์สำคัญๆที่เขาจะใช้ครับ จริงๆก็คือพวก gLite นี่แถมยุโรปจะใช้เยอะครับ แต่ Globus แถบอเมริกา (และเอเซีย รวมไทยด้วย) จะใช้เยอะกว่า แต่เนื่องจากมาจากต้นน้ำซอฟต์แวร์เดียวกันก็เลยทำงานข้ามกันพอได้ขนาดนึงครับ เข้าใจว่า LCG จะเชื่อมต่อกับทาง TERA Grid (US), Open Science Grid (US), และพวก EGEE (ยุโรป) ด้วยอยู่แล้ว ระบบของเขาโดยส่วนตัวผมคิดว่าซับซ้อนมากพอสมควร ก็เหมาะกับระดับงานของเขาแล้วล่ะครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเสริมครับ เอ้ ทางนักฟิสิกส์ไทยของไทยกริดไปร่วมเชื่อมโยงขอข้อมูลมั้งไหมเนี้ย
molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค
sci news on foosci.com
http://www.digimolek.com
มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ
ถ้ามีนักฟิสิกส์ในไทยสนใจก็น่าลุ้น แต่ทำกันเองก็คงได้แค่บริจาคไฟกับแบนวิดท์
อุ๊บส์ ใช้คำผิดขอโทษด้วยครับ หมายถึงนักฟิสิกส์ในไทยของใช้ไทยกริดเพื่อร่วมโครงการนี้เพื่อศึกษาครับ
molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค
sci news on foosci.com
http://www.digimolek.com
พอพี่เอ่ยถึง EGEE ผมเคยอ่าน speaker's note จำชื่อ speaker ไม่ได้ แต่ท่าทางจะใหญ่ใน EGEE เขาได้มาพูดถึงความน่าจะเป็นว่าจะใช้ Amazon EC2 มาแจมด้วย แต่คืบหน้าอย่างไร ผมไม่ทราบครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ย่อหน้าที่ 4
"...ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะ 'ถูกรอง' ออก..." มี ก.ไก่ 2 ตัวหรือเปล่าครับ
"...'ถูกกรอง' ออก..."
อุ๊บส์ ขอบคุณครับ เติม ก ไปอีกตัวแล้วครับ
molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค
sci news on foosci.com
http://www.digimolek.com
นี่อีกครับ
ต้องการไม่เพียงต้องการการคำนวนจำนวนมากเท่านั้นนณอ่านแล้วงงๆ เลยไปอ่านต้นข่าว แล้วตกใจ โดยเฉพาะอันแรกกับสุดท้าย (วันนี้เขียนหลายข่าวไปหรือเปล่าครับ)
molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค
sci news on foosci.com
http://www.digimolek.com
ก็ตรง "เท่า" แหละครับ ไม่เข้าใจว่าเท่าของอะไร (600e6*40e6?) ผมคิดว่าเป็น "ครั้ง" ดูจะรู้เรื่องกว่า แต่สาระสำคัญของข่าวนี้ที่นี่อาจเป็นตรงแค่ grid ก็ได้มั้ง /ขอบคุณครับ
งั้นขอแก้เพื่อให้อ่านเข้าใจมากขึ้นครับ ขอบคุณครับ
molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค
sci news on foosci.com
http://www.digimolek.com
"คอมพิวเตอร์ทั้งเหลือ" บรรทัดสุดท้ายครับ
ประเด็นที่ sugree เสนอน่าสนใจครับ ผมก็คิดๆอยู่เหมือนกัน
คือการเข้าไปร่วมกับระบบแบบนี้ จุดประสงค์คงไม่ใช่ว่าจะไปร่วมเฉยๆ แต่น่าจะเป็นการร่วมเพื่อดึงข้อมูลมาให้นักวิทยาศาสตร์ในประเทศใช้ทำวิจัย ในขณะเดียวกันก็ช่วยแชร์พลังการประมวลผลไปด้วย
ประเด็นคือ ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์หรือองค์กรในประเทศที่แสดงความสนใจอยากจะเข้าร่วมตรงนี้ครับ อย่างน้อยก็เท่าที่ผมรู้นะ ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ ถ้าลองดูจากเว็บไซต์เขา จริงๆแล้วการเข้าไปร่วมไม่ใช่เรื่องยุ่งยากลำบากอะไร แค่ accept CA policy ของ CERN หรือ egee หรือ osg ก็พอได้แล้ว ไทยกริดเองเคยทำงานร่วมกับ egee, osg มาบ้าง (จริงๆแล้วมีงานเล็กๆกับ cern อันหนึ่งด้วย แต่ไม่รู้นับไปได้หรือเปล่าว่าร่วมใน LCG) การเข้าร่วมจริงๆก็น่าจะทำได้ไม่ยากครับ
ถ้ามีใครสนใจจริงๆก็ลองติดต่อมาได้ครับ ติดต่อที่ sugree ก็ได้นะ
LHC@Home เริ่มแล้วนะครับ ท่านใดสนใจเป็นส่วนหนึ่งของก้าวใหม่ของมนุษย์ชาติติดตามได้ที่ http://lhcathome.cern.ch/lhcathome/
ลง boinc แล้วอย่าลืมช่วยโครงการกริดอื่นๆด้วยเน้อ มีหลายตัวนะทั้ง FightAids@Home, Folding@Home