European Organization for Nuclear Research
โครงการ ALICE ของ CERN ที่พยายามตรวจจับอนุภาคในรูปแบบที่เหมือนขณะเกิด Big Bang รายงานถึงการค้นพบหลักฐานของ antihyperhelium-4 เป็นครั้งแรก โดยใช้ข้อมูลการชนของนิวคลีออนที่พลังงาน 5.02 TeV เมื่อปี 2018 มาค้นหาข้อมูลด้วย machine learning ที่ประสิทธิภาพการค้นข้อมูลดีกว่าเทคนิคเดิมๆ
antihyperhelium-4 ประกอบไปด้วย antiproton สองอนุภาค, antineutron หนึ่งอนุภาค, และ antilambda (lambda เป็นอนุภาคที่ประกอบไปด้วยควาร์ก 3 อนุภาค) การตรวจจับจะดูจากการสลายกลายเป็น antihelium-3
ทีมงานพบหลักฐานของ antihyperhelium-4 โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 3.5 standard deviations (แปลว่าความมั่นใจเกือบ 100%)
CERN หน่วยงานวิจัยนิวเคลียร์ของยุโรป ที่เรารู้จักกันจากโครงการ Large Hadron Collider แต่ก็ยังมีโครงการอื่นอีกมาก (WWW ก็เกิดที่นี่) ประกาศเลิกใช้งาน Facebook Workplace บริการโซเชียลสำหรับลูกค้าองค์กรของ Facebook แล้ว
CERN บอกว่าทดลองใช้ Facebook Workplace มาได้สักระยะหนึ่ง เนื่องจาก Facebook เปิดให้ลองใช้ฟรี แต่ผลลัพธ์ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก มีบุคคลากรในเครือข่าย CERN มาเปิดบัญชีประมาณ 1,000 คน และมีผู้ใช้งานจริงๆ (active user) ประมาณ 150 คนต่อสัปดาห์เท่านั้น โดย CERN วิเคราะห์ว่าสาเหตุน่าจะมาความไม่เชื่อมั่นเรื่องความเป็นส่วนตัวข้อมูลที่เก็บไว้บน Facebook
CERN หน่วยงานวิจัยนิวเคลียร์พลังงานสูงผู้ดูแลเครื่องเร่ง LHC ประกาศเปลี่ยนไปในซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส หลังจากเสียสิทธิ์การซื้อซอฟต์แวร์จากไมโครซอฟท์ในราคาสถาบันการศึกษา ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้นระดับสิบเท่าตัว
ไมโครซอฟท์ให้สิทธิ์สถาบันการศึกษากับทาง CERN มานานถึง 20 ปี แต่เพิ่งตัดสิทธิ์ไปในปีนี้โดยสัญญาสุดท้ายที่เป็นราคาสถาบันการศึกษาสิ้นสุดไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สำหรับสัญญาใหม่ทาง CERN เจรจาขอลดค่าไลเซนส์แล้วจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นในช่วงสิบปีข้างหน้า
CERN ร่วมกับโครงการ Google Arts and Culture สร้างแอป Big Bang AR สำรวจกำเนิดจักรวาล นับตั้งแต่เหตุการณ์ Big Bang กำเนิดอนุภาคและอะตอม เรื่อยมาจนถึงซูปเปอร์โนวาร์ จนถึงกำเนิดระบบสุริยะและโลก
ตัวแอปพากย์เสียงโดย Tilda Swinton และผู้ใช้ต้องมีส่วนร่วมกับแอปบางส่วนเช่น ผู้ใช้ยื่นมือออกไป "ถือ" โลกเอาไว้ หรือการสำรวจมุมต่างๆ ของจักรวาลด้วยการขยับโทรศัพท์
นอกจากตัวแอปแล้ว ทาง CERN ยังสร้างนิทรรศการเสมือน 5 รายการ เช่น การตามล่าหา Higg Boson, โลกของปฎิสสาร (antimatter), สำรวจชั้นใต้ดินของ CERN, 10 เรื่องที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับ CERN, และกำเนิดเว็บ
ทีมพัฒนา 9 คนที่รวมตัวจากหลายชาติร่วมกันพัฒนาโปรแกรม WorldWideWeb เบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกที่ Tim Berners-Lee เสนอขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 1989 หรือเกือบ 30 ปีที่แล้ว
WorldWideWeb พัฒนาขึ้นบนเวิร์คสเตชั่น NeXT บริษัทที่สตีฟ จ็อบส์ออกไปก่อตั้งหลังออกจากแอปเปิล ตัวเบราว์เซอร์เริ่มต้นรองรับแท็กเพียง 26 แบบ และไม่รองรับจาวาสคริปต์หรือ CSS
ความสามารถสำคัญของ WorldWideWeb คือการแก้ไขเอกสารได้ในตัว เพราะ WorldWideWeb เป็นการออกแบบฟอร์แมตเอกสาร Hypertext ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีมาตั้งแต่ปี 1965 และในยุคแรกของอินเทอร์เน็ตมีหลายมาตรฐานแข่งกัน เช่น Gopher ก็เคยเป็นโปรโตคอลสำคัญสำหรับการใช้อินเทอร์เน็ต
ทีมนักฟิสิกส์จาก CERN สามารถทดลองตรวจวัดปฏิสสาร (antimatter) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยทำการผลิต antihydrogen ซึ่งเป็นปฏิสสารของไฮโดรเจนขึ้นหลังจากใช้ความพยายามในการสร้างเป็นเวลานานเนื่องจาก antihydrogen สลายไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อเจอกับสสารปกติ ทีมวิจัยได้ออกแบบสนามแม่เหล็กแรงสูงที่สามารถจับอนุภาคนี้ไว้หลังจากนั้นจึงใช้เลเซอร์ความเข้มสูงยิงไปยังอนุภาคดังกล่าวเพื่อตรวจดูช่วงสเปกตรัมของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในรูปของแสงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงชั้นพลังงานของโพสิตรอน (positron)
CERN ศูนย์วิจัยด้านฟิสิกส์ของสวิตเซอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการค้นพบอนุภาค Higgs boson เมื่อปี 2013 ล่าสุดทางศูนย์กำลังเดินหน้าค้นหาอนุภาคตัวใหม่ที่เรียกว่า dark photon
ในวงการฟิสิกส์ มีข้อเสนอทางทฤษฎีเกี่ยวกับ dark matter หรือ "สสารมืด" ซึ่งเป็นอนุภาคที่มองไม่เห็น ค้นไม่พบ แต่เชื่อว่ามีอยู่ และเป็นอนุภาคที่มีจำนวนมาก คิดเป็นสัดส่วน 27% ของมวลและพลังงานในจักรวาล (ในขณะที่อนุภาคแบบปกติที่เรารู้จักกัน visible matter มีสัดส่วนแค่ 4.9% และที่เหลือคือพลังงานมืดหรือ dark energy)
ส่วน dark photon หรือโฟตอนมืด เป็นอนุภาคทางทฤษฎีที่เป็นแรงยึดเหนี่ยว dark matter กับ visible matter เข้าด้วยกัน ถือเป็นแรงอีกประเภทนอกจากแรงดึงดูด (gravity) ที่ dark matter มี (และเป็นแรงประเภทใหม่ที่เรายังไม่รู้จัก เลยเรียกกันว่า dark ไปก่อน) ภารกิจของ CERN คือการค้นหา dark photon ตัวนี้
โครงการทดลอง Compact Muon Solenoid (CMS) เป็นตัวตรวจจับอนุภาคหนึ่งในสองตัวของวงแหวนเร่งความเร็วอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) ตอนนี้ทาง CERN ก็ประกาศปล่อยข้อมูลจากตัวตรวจจับนี้ที่ตรวจวัดได้ในปี 2011 ปริมาณข้อมูลกว่า 300TB สู่สาธารณะ เป็นสัญญาอนุญาตแบบ CC0 ที่ผู้ใช้จะนำข้อมูลไปทำอะไรก็ได้
ข้อมูลมีสองชุดได้แก่ข้อมูลพื้นฐาน (primary datasets) สำหรับนักวิจัยที่ต้องการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อ และข้อมูลดัดแปลงแล้ว (derived datasets) สำหรับนักเรียนที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้งานโดยไม่เปลืองพลังประมวลผลเกินไป นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจำลองที่สร้างขึ้นมาจากซอฟต์แวร์
CERN เป็นหน่วยงานที่ใช้ซีพียูประสิทธิภาพสูงประมวลข้อมูลจำนวนมาก เมื่อเดือนที่แล้ว Liviu Vâlsan นักวิจัยใน CERN ก็นำเสนอรายงานการวัดประสิทธิภาพซีพียูสี่ตระกูล ได้แก่ IBM POWER 8 Turismo, Applied Micro X-Gene 1, Intel Atom Avoton C2750, และ Intel Xeon E3-1285L
ซีพียูทุกตัวเป็น 8 เธรดยกเว้น POWER 8 ที่มีถึง 32 เธรดใน 4 คอร์ เมื่อวัดประสิทธิภาพด้วยชุดทดสอบ HEP-SPEC06 พบว่าประสิทธิภาพแซงหน้าซีพียูทุกตัวเมื่อรันที่ 16 เธรดขึ้นไป แต่เมื่อรันด้วยชุดทดสอบ Geant 4 ที่เป็นซอฟต์แวร์จำลองการเดินทางของอนุภาค ประสิทธิภาพของ Xeon กลับดีกว่ามาก
หลังจากที่เผยภาพ street view ของหมู่เกาะ Galapagos ไปไม่นาน ล่าสุด Google Street View ก็เพิ่มข้อมูลภาพชุดใหม่ ให้เราๆ ท่านๆ ได้มีโอกาสสำรวจห้องปฏิบัติการขององค์กรวิจัยค้นคว้าด้านนิวเคลียร์ของยุโรป หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อของ CERN
Google ได้ใช้เวลา 2 สัปดาห์เพื่อเข้าเก็บข้อมูลภาพจาก CERN ตั้งแต่ช่วงปี 2011 ซึ่งภาพที่ได้นั้นมีทั้งห้องควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์, ห้องปฏิบัติการ และอุโมงค์เร่งอนุภาค ก่อนจะประกอบข้อมูลเข้าด้วยกันและสร้างเป็นภาพ street view ให้คนทั่วไปสามารถสำรวจห้องปฏิบัติการชื่อดังนี้ได้
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2012 ที่ผ่านมา CERN ได้ประกาศการค้นพบอนุภาคที่ดูเหมือนจะเป็น Higgs boson อย่างเป็นทางการ กลายเป็นข่าวโด่งดังสร้างความซาบซึ้งตื้นตันใจให้กับนักฟิสิกส์ทั่วทั้งโลก (ถ้าใครได้ดูถ่ายทอดสดทางเว็บในวันนั้น ก็น่าจะเห็นว่ามีฉากหนึ่งที่ Peter Higgs ที่เข้าร่วมงานประชุมในวันนั้นถึงกับยกผ้าเช็ดหน้าขึ้นมาซับน้ำตาเลยทีเดียว)
ในคืนที่ผ่านมากูเกิลได้แถลงผ่านทวิตเตอร์เกี่ยวกับโครงการ Hangout On Air ครั้งที่ 1 อันเป็นความร่วมมือของ CERN และกูเกิลโดยมีนักวิทยาศาสตร์และบุคคลระดับโฆษกของโครงการมาเป็นผู้ตอบคำถามสดๆ ในเพจ Google+ ของโครงการผ่าน Google+ Hangout จากห้องทดลองใต้ดินในส่วนของ CMS ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในคำถามคงหนีไม่พ้นเรื่องของอนุภาค Higgs Boson ที่ยังคงเป็นที่กังขา
CERN หลายคนรู้จักในว่าเป็นหน่วยงานที่ควบคุม LHC หรือ Large Hadron Collider หรือชื่อไทยว่าเครื่องเร่งอนุภาค ที่มีหลาย ๆ คนเข้าใจผิดว่าจะมาทำลายโลก ได้ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาในการเปิดศูนย์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะอนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกเข้ามาเอาข้อมูลการทดลองที่ยิ่งใหญ่นี้
นักวิทยาศาสตร์จาก 7,000 คนจาก 33 ประเทศได้เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์จาก CERN เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อวิิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องชนอนุภาคที่ทดสอบไปเมื่อเดือนที่แล้ว