ผลสำรวจลับๆ ใน Facebook (เผยแพร่โดย The Wall Street Journal) เผยว่า วิศวกรหญิงใน Facebook ไม่ผ่านมาตรฐานทางวิศวกรรม และการเขียนโค้ดที่กำหนดขึ้นภายในบริษัทมากกว่าผู้ชาย 35%
Facebook มีสัดส่วนพนักงานผู้หญิง 33% ผู้หญิงที่ทำหน้าที่เชิงเทคนิคมีเพียง 17% และผู้หญิงในบทบาทผู้บริหาร ตำแหน่งใหญ่มี 27% ผลการสำรวจพบว่า ผลงานโค้ดที่เขียนโดยผู้หญิงมีโอกาสน้อยมากที่จะผ่านการตรวจสอบ (8 ลำดับขั้น) ชี้ให้เห็นเป็นนัยว่า วิศวกรหญิงต้องเจอกับการตรวจสอบกลั่นกรองมากกว่าผู้ชายเป็นพิเศษ
Jay Parikh หัวหน้าด้านโครงสร้างพื้นฐานของ Facebook ระบุว่า ที่ผู้หญิงไม่ผ่านการตรวจสอบมากกว่าผู้ชายเป็นเพราะระดับทางวิศวกรรม ไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศ ด้านพนักงาน Facebook คาดเดาจากคำพูดของ Parikh ว่า ผู้หญิงอาจก้าวหน้าทางการงานช้ากว่าผู้ชาย แม้ผู้ชายคนนั้นจะเข้ามาทำงานพร้อมกัน หรืออาจมาจากสาเหตุผู้หญิงลาออกไปมากเพราะไม่ได้รับการสนับสนุนเลื่อนตำแหน่ง ตามที่เคยมีผลวิจัยมาก่อนหน้านี้
Facebook โต้ผลการสำรวจดังกล่าวว่ามาจากข้อมูลตัวเลขที่ไม่จริง แต่ไม่ได้ปฏิเสธว่าสิ่งที่ Jay Parikh พูดนั้นผิด
ภาพจาก Pexels
ที่มา - The Verge
Comments
ผู้หญิงเขียนโคดไม่ผ่านเป็นความผิดผู้ชาย?
+1
เรื่องของปัจเจกบุคคลล้วนๆ ดันเอามาขยายเป็นเรื่องเพศซะงั้น
มันเป็นแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร ถ้าคนชี้วัดเป็นต่างเพศ ก็จะมีประเด็นพวกนี้เกิดขึ้นเสมอ
ผู้หญิงสนใจด้านเทคนิคน้อยกว่าผู้ชาย และไปทำงานด้านdesignหรือแฟชั่นมากกว่าจะมาทำงานกับfacebookมั้ง
เค้าไม่พูดเรื่องความสามารถกันเลยเหรอครับ
มันเป็นเชิงสถิติ ภาพรวม
ถ้ามองเป็นปัจเจกบุคคล มันก็เป็นไปได้หมด
ถ้ามองในแง่จำนวน
ถ้ามองบริษัทที่ผมทำงานอยู่ โปรแกรมเมอร์ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
System admin ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
ถ้ามองในแง่ความสามารถ
เฉพาะคนที่ทำงานอยู่ ฝีมือผู้ชายกับผู้หญิงก็ไม่ต่างกัน
ผมคิดว่ามันไม่ใช่ตามที่แปลมานะครับ บทความต้นทางเขียนไว้ว่า
ก็คือเวลาพนักงานเขียนโค้ด ก็ต้องส่งให้เพื่อนร่วมงานดู (เรียกว่า peer-review เหมือนส่ง pull request ใน GitHub) ถ้ามีเพื่อนร่วมงานเห็นว่ามีส่วนที่จะต้องปรับปรุง ก็จะบอกให้กลับไปแก้ใหม่ (ขอใช้คำว่าปรับปรุงแทนคำว่าไม่ผ่าน เพราะงานพวกนี้เวลาโดนบอกว่าโค้ดไม่ผ่านก็คือให้ไปปรับปรุงแล้วส่งมาใหม่)
ทีนี้ มีการเก็บสถิติแล้วพบว่าพนักงานหญิงมักจะโดนเพื่อนร่วมงานบอกให้ไปปรับปรุงโค้ดบ่อยกว่า แน่นอนว่าการโดนบอกให้ไปปรับปรุงก็อาจจะเกิดจากการที่โค้ดไม่ผ่านมาตรฐานบริษัท อย่างไรก็ตาม ปัจจัยอื่น ๆ ก็มีผลในการโดนบอกให้ไปปรับปรุงเช่นกัน ก็เลยมีคนสันนิษฐานว่า ปัจจัยหนึ่งอาจจะเป็นอคติของเพื่อนร่วมงานต่อผู้หญิง เช่น มีความเชื่อว่าผู้หญิงเขียนโค้ดไม่เก่ง ทำให้ต้องจำผิดจนข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็โดนบอกให้ไปปรับปรุง ในขณะที่โค้ดของผู้ชายไม่โดนจับผิดทั้ง ๆ ที่อาจจะมีข้อผิดพลาดเหมือนกัน
+1
แบบนี้ต้องblind test แต่ถ้าผลออกมาว่า ผญ ด้อยกว่าจริงๆล่ะจะพูดได้ไหม เสี่ยงโดนถล่มด้วยข้ออ้างไม่คาดคิด
มาตรฐานทางวิศวกรรม มีการแบ่งมาตรฐานตามเพศด้วยเหรอ?
ผมว่าสมมติฐานของบทความวิจัยฉบับนี้ไม่มีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอนะครับ คือเอาแต่ความผิดพลาดโดยแบ่งเป็นเพศมาสรุปอย่างเดียวทั้งที่ปัจจัยสำคัญที่งานไม่ผ่านหรือเข้าทำงานไม่ได้ส่วนสำคัญคือความสามารถกับคุณภาพงาน แต่งานวิจัยนี้ไม่พยายามพูดถึงสองเรื่องนี้เลยเอาแต่ตัวเลขของความสำเร็จและผิดพลาดของแต่ละเพศมาสรุปผล ผมว่าไม่ถูกต้องอย่างแรงและมีอคติสูงมาก