Shawn Layden อดีตหัวหน้า PlayStation Studios ที่รับผิดชอบการพัฒนาเกมทั้งหมดของโซนี่ (ลงจากตำแหน่งในปี 2019) ออกมาโต้ตอบเสียงวิจารณ์ต่อเกม Ghost of Yōtei ภาคต่อของเกม Ghost of Tsushima ที่เปลี่ยนมาใช้ตัวเอกเป็นผู้หญิง และทำให้เกมเมอร์ (ชาย) จำนวนหนึ่งไม่พอใจ
Layden บอกว่า
Tell Me Why เกมจากบริษัท Dontnod Entertainment ทีมผู้สร้าง Life is Strange ที่วางจำหน่ายเมื่อปี 2020 ได้เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีทั้ง 3 พาร์ท ตลอดเดือนมิถุนายนเพื่อเป็นการฉลอง Pride Month
Tell Me Why เป็นเกมผจญภัยแนวระทึกขวัญ ที่ผู้เล่นจะรับบทเป็นพี่น้องฝาแฝดเพื่อไขปริศนาความทรงจำในวัยเด็กในเมืองอลาสก้า และมีระบบทางเลือกให้ผู้เล่นสามารถกำหนดชะตาของตัวละครได้
ปกติเกม Tell Me Why ทั้ง 3 พาร์ทมีราคาอยู่ที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐ แต่บริษัท Dontnod ได้เปิดให้ดาวน์โหลดพาร์ทที่ 1 ฟรีตั้งแต่ปี 2021 และเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีทั้ง 3 พาร์ทในช่วง Pride Month แบบนี้มาประมาณ 2-3 ปีแล้วบน Steam และบน Xbox
คนในแวดวงไอทีอาจรู้จักภาพ Lenna ที่นิยมใช้เป็นภาพทดสอบ image processing กันมายาวนาน ภาพต้นฉบับเป็นภาพถ่ายของนางแบบชาวสวีเดน Lena Forsén ในนิตยสาร Playboy ฉบับปี 1972 แล้วถูก Jamie Hutchinson อาจารย์ที่มหาวิทยาลัย University of Southern California หยิบมาใช้ในงานในเปเปอร์วิจัย เพราะเบื่อภาพถ่ายสต๊อกแบบเดิมๆ แล้ว แต่ก็ได้รับความนิยมและกลายเป็นมีมยุคก่อนอินเทอร์เน็ตที่ถูกใช้ต่อกันมาเรื่อยๆ
เกม EA FIFA 23 ถือเป็นภาคแรกของซีรีส์ที่เพิ่มนักฟุตบอลหญิงระดับสโมสรเข้ามาในเกม และช่วงนี้มีการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก (FIFA Women's World Cup) ทำให้ EA เพิ่มนักเตะจากทีมชาติหญิงที่เข้าแข่งขันในทัวร์นาเมนต์จริงๆ เข้ามาในเกมให้เล่นด้วย
ประเด็นที่น่าสนใจคือ Nouhaila Benzina นักฟุตบอลหญิงทีมชาติโมร็อกโก สวมใส่ผ้าคลุมศีรษะหรือ ฮิญาบ (hijab) ลงสนามแข่งด้วยเหตุผลเรื่องศาสนา (ซึ่งกฎของ FIFA อนุญาต) และ EA ก็อัพเดตโมเดลของเธอในเกมให้ใส่ฮิญาบตามไปด้วย ทำให้เธอกลายเป็นนักฟุตบอลหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ ที่ใส่ฮิญาบในเกมฟุตบอลด้วย
Overwatch 2 เปิดตัวฮีโร่คนใหม่ในเกมชื่อ Lifeweaver ซึ่งมาจากประเทศไทย (ชื่อจริงในเกมคือ Niran PruksaManee น่าจะถอดเป็นภาษาไทยว่า "นิรันดร์ พฤกษามณี") เนื้อเรื่องในเกมบอกว่าเป็นผู้รักธรรมชาติและสนใจเทคโนโลยี biolight ที่ใช้รักษาเพื่อนร่วมทีม
ประเด็นสำคัญคือ Lifeweaver เป็นตัวละครที่ประกาศตัวเป็นเพศ queer มาตั้งแต่ต้น ซึ่ง Gavin Jurgens-Fyhrie ทีมออกแบบของ Blizzard บอกว่านี่เป็นความตั้งใจมาแต่แรก และได้ปรึกษากับชุมชน queer มาแล้วถึงตัดสินใจเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา
Richard Johnson CISO ของธนาคาร Westpac ในออสเตรเลียออกมาระบุว่าธนาคารจะเปลี่ยนแนวทางการเขียนประกาศรับสมัครงานเสียใหม่ หลังพบว่าการเขียนเงื่อนไขที่แน่นเกินไปกระทบกับผู้สมัครหญิงมากเป็นพิเศษ
เขายกตัวอย่างการตั้งเงื่อนไขประสบการณ์ 5 ปีกับเทคโนโลยีบางตัว เมื่อผู้สมัครหญิงมีคุณสมบัติไม่ตรงก็มักจะข้ามไม่สมัครไปเลย ขณะที่ผู้สมัครชายจะลองสมัครดูก่อน โดยหลังจากนี้จะพูดถึงแนวทางการทำงานมากขึ้นแทนที่จะเน้นความสามารถทางเทคนิคบางอย่างเป็นการเฉพาะ
FIFA 23 เป็นครั้งแรกในซีรีส์เกมฟุตบอลของ EA ที่มีทีมฟุตบอลหญิงเข้ามาให้เล่นด้วย สะท้อนความนิยมของวงการฟุตบอลหญิงที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงหลังๆ
Arc System Works ผู้สร้างเกมไฟติ้งซีรีส์ Guilty Gear เปิดตัวเนื้อหา DLC Season Pass 2 ให้เกม Guilty Gear Strive ภาคล่าสุด โดยตัวละครแรกที่เผยออกมาคือ Bridget ที่เคยปรากฏตัวมาแล้วในเกม Guilty Gear X2 เมื่อปี 2002 (ครบ 20 ปีพอดี)
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ตัวละคร Bridget เดิมทีในภาค X2 ระบุว่าเป็นผู้ชายที่ถูกเลี้ยงดูมาแบบผู้หญิง และแต่งตัวแบบผู้หญิง (cross dressing ตามเนื้อเรื่องคือเป็นฝาแฝดชาย-ชาย ที่มีความเชื่อว่าจะโชคร้าย จึงเลี้ยง Bridget มาแบบผู้หญิง)
แต่ในภาค Strive นั้น Bridget ตั้งคำถามเกี่ยวกับเพศของตัวเอง และสุดท้ายตัดสินใจเรียกตัวเองชัดเจนว่าเป็นผู้หญิง (บทพูดคือ Because…I’m a girl!) ถือว่าเป็นคาแรกเตอร์สาว transgender ในเกมไฟติ้งก็ว่าได้
EA เปิดเผยฟีเจอร์ใหม่ของเกม The Sims 4 คือ Sexual Orientation ที่สามารถตั้งค่าความสนใจทางเพศให้ตัวละคร แยกจากเพศกำเนิด (Gender) ได้ อัพเดตนี้จะมีผลต่อตัวเกมภาคหลักด้วย ไม่ได้จำกัดเฉพาะภาคเสริม เท่ากับว่าผู้เล่น The Sims 4 ทุกคนสามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้
ในหน้าจอตั้งค่านี้ ตัวละครของเราสามารถบอกได้ว่าสนใจเพศใด (romantically attracted to), สนใจมีความสัมพันธ์หรือไม่ (exploring romantically) และสนใจมีเพศสัมพันธ์ (Mess Around หรือ WooHoo) กับเพศใด ผู้เล่นสามารถเลือก "ไม่" ทุกข้อเพื่อให้ตัวละครไม่สนใจเรื่องเพศเลย (Asexual Sim) หรือจะเลือกเป็นไม่สนใจความสัมพันธ์ แต่สนใจมีเซ็กซ์อย่างเดียว (Aromantic Sim) ก็ได้เช่นกัน
จากดราม่าวัฒนธรรมองค์กรใน Activision Blizzard เป็นพิษและมีปัญหาการคุกคามทางเพศจนถูกคณะกรรมการโอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียมกันของสหรัฐอเมริกา (EEOC) ฟ้องบริษัท ล่าสุด Activision Blizzard ยอมจ่าย 18 ล้านดอลลาร์เพื่อชดเชยให้แก่พนักงานที่ได้รับผลกระทบ
จากประเด็นวัฒนธรรมการเหยียดเพศ-คุกคามทางเพศของ Activision Blizzard โดยแกนหลักของความขัดแย้งอยู่ที่ Alex Afrasiabi หัวหน้าฝ่ายครีเอทีฟของ World of Warcraft จนพนักงานของบริษัทต้องจัดวอล์คเอาท์ประท้วงผู้บริหาร
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ของอุตสาหกรรมเกม เพราะก่อนหน้านี้ Ubisoft เพิ่งมีปัญหาคล้ายๆ กันเมื่อปีที่แล้ว จนมีผู้บริหารต้องลาออกไปหลายคน
รวมความเคลื่อนไหวของกรณี Activision Blizzard ถูกฟ้องจากประเด็นการคุกคามทางเพศพนักงาน ที่ยืดเยื้อมาเกือบหนึ่งสัปดาห์
ล่าสุด Bobby Kotick ซีอีโอของ Activision Blizzard เขียนจดหมายขอโทษพนักงานแล้ว ที่ปฏิกิริยาของบริษัทในช่วงแรกดูไม่สนใจเรื่องนี้ (ปฏิเสธคำฟ้องว่าไม่มีปัญหาเรื่องคุกคามทางเพศ) เขาบอกว่าตอนนี้ฝ่ายบริหารได้ยินปัญหานี้อย่างชัดเจนแล้ว และจะรีบแก้ปัญหาเพื่อให้สภาพแวดล้อมการทำงานของบริษัทปราศจากการกลั่นแกล้ง ดูถูก หรือปฏิบัติต่อกันอย่างไม่เท่าเทียม
Activision Blizzard ถูกฟ้องเนื่องจากมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เต็มไปด้วยการเลือกปฏิบัติทางเพศ และการคุกคามทางเพศ โดยโจทก์ฟ้องคือ กรมการจ้างงานและการเคหะที่เป็นธรรม หรือ DFEH (Department of Fair Employment and Housing)
เอกสารคำฟ้องระบุว่า ผู้หญิงต้องเจอการคุกคามในที่ทำงาน โดยเฉพาะจากผุ้กระทำที่อยู่ในตำแหน่งสูง ในอเมริกา มีเกมเมอร์ผู้หญิงเกือบครึ่ง แต่ในอุตสาหกรรมเกมยังคงถูกครอบงำโดยผู้ชาย และยังระบุเหตุการณ์ที่มีพนักงานหญิงฆ่าตัวตายหลังเดินทางทริปธุรกิจ ซึ่งมีสาเหตุจากความสัมพันธ์ไม่ดีกับผู้มีตำแหน่งสูงกว่า
Instacart แพลตฟอร์มสั่งของชำได้จ้างอดีตผู้บริหารหญิงใน Facebook หรือ Fidji Simo มาดำรงตำแหน่งซีอีโอแทน Apoorva Mehta ซึ่งจะมีผลอย่างเป็นทางการ 2 สิงหาคม ทางบริษัทยังมีแผนจะ IPO ในเร็วๆ นี้ด้วย
ตัว Simo มาทำงานที่ Instacart ได้เจ็ดเดือนในตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร และยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหากำไร Women in Product มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนผู้หญิงในสายงาน product management หรือการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ และสายงานต่างๆ ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี การที่ Simo ขึ้นมาเป็นซีอีโอมีความสำคัญเพราะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้หญิงในสายผู้บริหารองค์กรเทคโนโลยีที่มีจำนวนน้อยกว่าผู้ชายมาก
Facebook, Google, Twitter และ TikTok ลงนามกับ World Wide Web Foundation (WWWF) ในการให้คำมั่นสัญญาว่าจะจัดการความรุนแรง การคุกคามล่วงละเมิดทางเพศบนอินเทอร์เน็ต
หญิงสาวคนหนึ่งซึ่งทำงานในวงการไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โพสต์รูปภาพตัวเองในชุดบิกินี่ตอนไปเที่ยวทะเลในทวิตเตอร์ กลายเป็นว่าเธอโดนวิจารณ์ว่าไม่มีความเป็นมืออาชีพ
เรื่องของเธอกลายเป็นไวรัลขึ้นมา จนคนในวงการไซเบอร์ซีเคียวริตี้ทั้งหญิงและชายต่างตอบโต้ด้วยการโพสต์รูปตัวเองในชุดบิกินี่บ้าง เพื่อเป็นการสนับสนุนการแสดงออกถึงความเป็นตัวเอง แม้ในโปรไฟล์โซเชียลมีเดียจะระบุว่าเป็นคนทำงานในอุตสาหกรรมใดก็ตาม
โครงการ OpenSSH รับแพตช์ในเอกสาร manpage ของโครงการเพื่อเลิกระบุเพศของผู้ใช้จากเดิมใช้ เขา/เธอ (his/her) อยู่เดิม กลายเป็น they/their หรือการใช้ they แบบเอกพจน์
แพตช์มีขนาดเล็กมาก และแก้ไข man ssh
สำหรับการอ้างอิงถึงผู้ใช้เพียง 4 บรรทัดเท่านั้น (การแก้ไขคำสั่ง man
เองน่าจะเป็นเรื่องยากมากเพราะเป็นคำสั่งพื้นฐานของลินุกซ์)
อดีตพนักงานหญิง 4 รายของกูเกิล ยื่นฟ้องฐานบริษัทเลือกปฏิบัติ มีความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศในการจ่ายค่าแรงพนักงาน คำฟ้องได้รับการอนุมัติในศาลซานฟรานซิสโกแล้ว โดยสามารถทำการฟ้องแบบกลุ่มต่อไปได้ ซึ่งคาดว่าจะมีโจทก์เป็นกลุ่มพนักงานหญิงร่วม 10,800 ราย และมูลค่าความเสียหาย 600 ล้านดอลลาร์
หลังจาก Instagram ทำฟีเจอร์นี้ไปแล้ว Slack ก็เอาบ้าง ในอนาคต ผู้ใช้งานจะสามารถเพิ่มเซกชั่นให้ระบุสรรพนามระบุเพศที่ต้องการได้ ตัวสรรพนามจะแสดงอยู่อยู่ด้านล่างชื่อและตำแหน่งหน้าที่ของตัวเอง
แอดมินผู้จัดการ Slack ในองค์กรเป็นผู้เปิดโหมดใช้งาน วิธีการคือ เข้าไปที่เมนู Workspace settings > เลื่อนหน้าจอลงมาที่ Pronouns Display > คลิก Expand > กดเครื่องหมายที่กล่อง Show pronouns on profiles > คลิก Save
เมื่อใช้งานได้แล้วก็สามารถตั้งค่าด้วยการ Edit Profile ได้ตามปกติ นอกจาก Instagram และ Slack แล้ว ยังมี OkCupid และ Lyft ที่เปิดให้ผู้ใช้เลือกสรรพนามแทนตัวเองได้
Instagram เพิ่มเซกชั่นใหม่ ผู้ใช้สามารถระบุคำสรรพนามที่อยากให้คนอื่นเข้าใจเกี่ยวกับตัวตนของเรามากขึ้น ในหน้า Edit Profile ผู้ใช้งานจะมองเห็นช่อง pronouns สามารถระบุได้ว่าอยากใช้สรรพนามแทนตัวแบบไหน He, She, His, Her เลือกได้ด้วยว่าจะแสดงสรรพนามแก่ใครบ้าง แสดงเป็นสาธารณะ หรือแสดงให้เห็นเฉพาะคนที่ติดตามเรา
แอปเปิลประกาศการเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Siri ใน iOS 14.5 (ปัจจุบันยังเป็น Beta) นั่นคือสำหรับภาษาที่เป็น English (United States) จะไม่เลือกเสียงผู้หญิงให้เป็นค่าดีฟอลต์แล้ว ผู้ใช้จะต้องเป็นฝ่ายกำหนดเองว่าจะเลือกเสียงแบบไหน
ปัจจุบัน Siri ในภาษา English (United States) มีให้เลือกสองเสียงคือ Male และ Female แต่การเลือก Female เป็นดีฟอลต์อาจชี้นำเรื่องเพศ (gender bias) ได้ แอปเปิลจึงเปลี่ยนวิธีมาให้ผู้ใช้เลือกเอง เพื่อสะท้อนมุมมองเรื่องความหลากหลาย (diversity) ของแอปเปิล
iOS 14.5 ยังจะเพิ่มเสียง Siri มาอีก 2 เสียง รวมเป็น 4 เสียง และจะเปลี่ยนชื่อเสียงจาก Male/Female เป็น Voice 1-4 แทน
Tinder เตรียมให้เช็คประวัติของคนที่ตัวเอง match ได้ เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานผู้หญิง โดย Match Group บริษัทแม่ Tinder ประกาศความร่วมมือกับ Garbo บริษัทไม่แสวงหากำไรทำเกี่ยวกับการตรวจสอบประวัติ โดยเฉพาะประวัติอาชญากรรม การคุกคามละเมิดทางเพศ
กระทรวงแรงงานสหรัฐเผยว่าได้บรรลุข้อตกลงกับกูเกิล เพื่อแก้ไขข้อกล่าวหาที่ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมเลือกปฏิบัติในการจ่ายค่าตอบแทนพนักงาน รวมถึงการจ้างงานด้วย โดยกูเกิลยอมจ่ายเงิน 2.5 ล้านดอลลาร์ให้พนักงานที่ได้รับผลกระทบคือผู้หญิง และคนเอเชียรวมแล้วกว่า 5,500 คน
ในส่วนหนึ่งของการบรรลุข้อตกลง กูเกิลจะจ่าย 1,353,052 ดอลลาร์ให้กับวิศวกรหญิง 2,565 คน และจะจ่ายเงินคืนและดอกเบี้ยจำนวน 1,232,000 ดอลลาร์ให้กับผู้สมัครในตำแหน่งวิศวกรรมหญิง 1,757 คน และผู้สมัครด้านวิศวกรรมในคนเอเชีย 1,219 คนที่ไม่ได้รับการว่าจ้าง
Netflix ออกรายงานความหลากหลายในองค์กรครั้งแรก เฉพาะในสหรัฐฯ พบว่ามีสัดส่วนผู้หญิงในองค์กรแล้ว 47% เพิ่มขึ้น 40% จากปี 2017 ทางบริษัทบอกด้วยว่าสัดส่วนผู้หญิงในทีมบริหารก็เพิ่มขึ้นในระดับเดียวกัน ส่วนทีมเทคนิค สัดส่วนผู้หญิงคิดเป็น 35%
Françoise Brougher อดีตซีโอโอของ Pinterest ฟ้องร้องบริษัทเรื่องเลือกปฏิบัติทางเพศ โดยเธอบอกว่าถูกไล่ออกหลังจากออกมาแสดงออกเรื่องการปฏิบัติต่อพนักงานในทางที่ผิด ล่าสุด Pinterest ยอมจ่ายเงินเพื่อยุติคดี เป็นจำนวน 22.5 ล้านดอลลาร์ และจะร่วมกับโจทก์ในการบริจาคเงิน 2.5 ล้านดอลลาร์ให้กับองค์กรการกุศลที่สนับสนุนผู้หญิงและชนกลุ่มน้อยที่ด้อยโอกาสในด้านเทคโนโลยี