สองปีหลังจากร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เปิดเผยออกสู่สาธารณะ โดยให้อำนาจเจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวาง ให้สั่งให้ส่งเอกสาร, บัญชี, หรือหลักฐานใดๆ รวมถึงการดักฟังการสื่อสารได้ทุกรูปแบบโดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขเอาไว้ในตัวพ.ร.บ. ล่าสุดร่างฉบับใหม่ก็เปิดเผยออกมาแล้ว
พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์จะสร้างคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.) คณะกรรมการที่มีอำนาจอย่างกว้างขวางทั้งการดักฟังและการสั่งการหน่วยงานต่างๆ ท้้งรัฐและเอกชน
ร่างฉบับรับฟังความคิดเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้แก้ไขมาตรา 35 (3) ที่จากเดิมที่ไม่มีเงื่อนไขการดักฟังอื่นนอกจาก "การทำตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด" มาเป็นมาตรา 34 (3) ในร่างใหม่กำหนดให้การดักฟังต้องยื่นขอร้องขอสั่งศาลแต่หากจำเป็นเร่งด่วนก็สามารถดักฟังได้เลยแล้วรายงานให้ศาลทราบภายหลัง และหลักเกณฑ์การทำงานเปลี่ยนจากคณะรัฐมนตรีกำหนด มาเป็นกปช.กำหนดเอง
ตามพ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์นี้สามารถสั่งให้บุคคลใดๆ ส่งข้อมูลให้ และสั่งให้หน่วยงานราชการและเอกชนทำตามเพื่อประโยชน์ของการทำงานของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หากไม่ทำตามมีโทษปรับและจำคุก (มาตรา 41)
ร่างพ.ร.บ.นี้เปิดรับความเห็นในเว็บรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 7 มิถุนายนนี้
กฎหมายนี้เป็นกฎหมายในชุดกฎหมาย 8 ฉบับเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล
ที่มา - LawAmendment.go.th
Comments
มาเป็นคอมโบช่วงนี้ 555
facepalm
รับฟังความเห็นนี่เอาแบบประกาศกระทรวงเมื่อวานรึเปล่า? ฟังวันนี้ประกาศใช้พรุ่งนี้ไรงี้
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ความหน้าด้านไม่มีที่สิ้น สุด มานั่งในใจเลยไหม จะได้ จบๆ ไป
แนะนำให้แปลข่าวนี้เป็นภาษาอังกฤษครับ เพื่อให้บริษัทต่างชาติที่มีสินค้าที่ตรง หรือ ทำงานได้ตามความต้องการกฎหมายดังกล่าว มานำเสนอกับรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลจัดซื้อนำมาบังคับใช้กฎหมายได้อย่างตรงจุดประสงค์ครับ
เข้าใจว่าต่างชาติก็มีกฏหมายอนุญาตดักฟังข้อมูลเช่นกัน ลองดูพวก wiretapping / electronic surveillance laws ดูครับ แต่มันก็แตกต่างกันไปแต่ละที่แต่ละรัฐ กันไป
NSA Thailand
ออกมาหลัง รพ โดน ระเบิด มีอะไรหรือเปล่าเนี่ย
กฎหมายไม่ได้ร่างภายใน 2 - 3 วันครับ
ถ้ามองในแง่ร้ายหน่อย เพราะจะออกถึงได้เกิดไงครับ
แบบนี้น่ากลัวนะครับ อะไรที่คนเขาจะยี้ก็สร้างสถานการณ์และเหตุผลขึ้นมาเอง จะได้ไม่มีคนกล้าค้านหรือค้านแล้วก็มีเหตุผลให้ไม่ต้องสนใจได้เพราะทำตามความจำเป็น (ซึ่งเหตุจำเป็นนั้นก็ฝีมือตัวเอง)
ใช่ไหมครับ เรายังคิดกันได้เลย ...
ปัดโถ่ว์เขาก้อร่างไว้นานแล้ว แล้วก็ค่อยสร้างเรื่องไง แหม่
ไม่ได้ร่างใน 2-3 วัน แต่พอได้เรื่องก็เอาที่ซุกไว้ใต้พรมถือโอกาสผ่านเลยไงครับ
ให้ตายเถอะ นึกว่าจะแย่น้อยลงกว่าคราวก่อน (ไม่ได้คาดหวังว่ามันจะดีเลย) แต่ดันแย่กว่าเดิมอีก
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ถ้าทำอะไรผิด ไม่ต้องมี accountability เหรอ หน่วยงานนี้
ตอนแรกว่าจะพิมพ์ว่ายังไงก็ฝาก กปช. ถ่วงอำนาจเจ้าหน้าที่ได้ แต่พอกดไปอ่านที่มาของ กปช. แล้ว อืมมมมันก็รัฐบาล แถมคนนอกที่เข้ามาก็แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี...
จบข่าว
ประเทศนี้ไร้เสรี เผด็จการเน่าเฟะจนเละเทะไปหมด
NSA ยังต้องแอบทำ
แต่ของเราไม่ต้องแอบเลยจ้า เขียนกฎหมายเองรองรับถูกต้อง
ผมว่า กฏหมายความมั่นคง มันต้องออกมาแนวนี้ คือ เปิดโอกาสให้ใช้"ดุลยพินิจ" ของเจ้าหน้าที่
เพราะอันที่จริง ก่อนดักฟังต้องขอหมายศาล ยกเว้น "กรณีจำเป็นเร่งด่วนอาจจะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง"
ถ้าเจ้าหน้าที่ ทำโดยไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ก็สามารถโดนฟ้องกลับว่าทำผิดต่อกฏหมายได้
ยกตัวอย่าง สมมติว่า ได้ข่าวว่าจะมีการวางระเบิดเครื่องบิน เวลาเที่ยงคืนวันศุกร์ คุณจะดักฟังคนร้ายได้ ต้องรอยื่นเรื่องต่อศาลวันจันทร์เช้ารึเปล่า หรือว่า ไปปลุกศาลมาตอนตี1ดี แล้วเวลาที่ต้องรอนี่ใครรับผิดชอบ หากเกิดระเบิดขึ้น เจ้าหน้าที่จะมีหน้าไปบอกญาติคนตายว่าอะไรดี "ขอโทษด้วย ผมป้องกันไม่ทัน เพราะต้องรอศาลอนุมัติ"?
ถึงเวลาระหว่างความปลอดภัย กับความเป็นส่วนตัว มันก็ขัดแย้งกันเสมอ
1.กฏหมาย มันก็มีอยู่ตลอด ไม่ว่าจะใครเข้ามา ดังนั้นการเปิดช่อง ก็เปิดตลอดไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล
สำคัญแค่ว่า เปิดช่องแค่ไหนถึงพอเหมาะ ไม่มากเกิน แต่ต้องไม่น้อยไปจนทำงานเร่งด่วนสำคัญไม่ได้
2.ถ้าจะบอกว่า ทำให้การข่าวดีขึ้นสิ ใครๆก็พูดได้ งั้นเราควรจะป้องกันเหตุร้ายให้ได้ก่อนทุกกรณี โลกสงบสุขในทุ่งลาเวนเดอร์ แล้วความเป็นจริงทำได้มั๊ย ถ้ารู้ก่อนอย่างกระทันหัน หรือไม่รู้ หรือรู้ภายหลังเกิตเหตุ จะทำอย่างไร
3.ศาลมีหน้าที่ตีความกฏหมายด้วย ถ้าเจ้าหน้าที่ทำเป็นเร่งด่วน ศาลก็ต้องพิจารณาว่าเร่งด่วนจริงหรือไม่ ทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ ปลอมแปลงหลักฐานหรือไม่ แล้วตัดสินความผิดตามเจตนารมย์ของกฏหมาย
ถ้าจะเร่งให้ศาล ออกให้เร็วๆ โดยไม่ต้องมีหลักฐาน ก็ไม่ได้ต่างกับไม่ผ่านศาล
ถ้ากลัวว่า จะหมกเม็ดทำเป็นเร่งด่วน ต่อให้ขอก่อนก็หมกเม็ดได้อยู่ดี แถมอ้างได้ด้วยว่าผ่านศาลมาแล้ว
สู้ให้ใช้ดุลยพินิจ แล้วถ้าเกินกว่าเหตุ ไปสู้กันในศาล อาจจะมีโอกาสผิดมากกว่า
2.พูดมันก็ง่ายครับ ทำไม่ได้ ก็หาคนใหม่ ถ้าไม่ได้อีกก็หาไปเรื่อยๆ
มีประเทศไหนทำการข่าวได้ไร้ที่ติบ้าง
อเมริกา การข่าวดีขนาดไหน ถามว่าเคยพลาดมั๊ยก็เคย แถมการข่าวที่ดีขนาดนี้ ได้มาด้วยการแอบดักฟัง แฮกข้อมูล ด้วยส่วนหนึ่ง แน่นอนว่าไม่ผ่านศาลทั้งนั้น
3.ถ้าคิดว่า ศาลเอาผิดไม่ได้ แล้วจะให้ขอศาลก่อนเพื่ออะไร ถ้าคิดว่ายังไงรัฐก็บังคับศาลได้อยู่แล้ว จะยื่นก่อนยื่นหลังก็ไม่ได้เป็นสาระอะไร ดูย้อยแย้งนาคับ
ถ้าสมมุติว่าการข่าวโหลยโท่ยได้ขนาดนี้สิ่งที่ต้องทำคือปรับปรุงหน่วยข่าวกรองครับ ไม่ใช่มาใช้การ"ดักฟังก่อนแล้วค่อยแจ้งศาล" และอำนาจยิ่งเยอะมันต้องมาพร้อมกับ"ความรับผิดชอบ"ด้วยครับ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
ก็เห็นบางคดี ก็ให้ประกันวันหยุดได้นะครับ แสดงว่าโดยหลักการแล้วถ้าเร่งด่วน ย่อมทำงานวันหยุดได้เช่นกัน
เช่น ด่วน!ศาลให้ประกันตัว'สกลธี' หลังยื่นหลักทรัพย์ 6 แสน
ป.ล. ในข่าวคือโดนจับตอน5ทุ่มคืนวันที่25 และได้ประกันตัวเช้าวันที่26 เม.ษ.57 ซึ่งคือวันเสาร์ครับ
อย่าง ชัยภูมิ ป่าแส ถือเป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ไหมครับ
อาวุธทำลายล้างสูงในอิรัก...ตอนนี้ซัดดัมฟ้องกลับไปถึงไหนแล้ว...ไม่ได้ตามข่าวซะนาน
ซัดดัมโดนประหาร โดยคำสั่ง"ศาลพิเศษ" ของรัฐบาลชั่วคราวที่พันธมิตรประชาธิปไตยที่แสนดีจัดตั้งขึ้นนะครับ
ถ้าจะรวบอำนาจขนาดนั้น มีศาล หรือ ไม่มี คงไม่ต่างกันหล่ะมั้งเนอะ
(scale มันต่างกันมาก ระหว่างกฏหมายเรื่องการดักฟัง กับ สงครามระหว่างประเทศ คงเอามาเทียบกันไม่ได้)
โปรแกรม Allo ยังต้องรอศาลสั่งก็ให้ดูข้อความส่วนตัวได้ แต่พรบนี้ทำก่่อนศาลสั่งอีก
"แต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนหากไม่ดำเนินการในทันทีจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ให้พนักงานเจ้าไน้าที่โดยอนุมัติของ กปช. ดำเนินการไปก่อนรายงานให้ศาลทราบโดยเร็ว"
ตามข้อความในเครื่องหมายคำพูดด้านบน ผมไม่เข้าใจอยู่สองประโยค คือ "เสียหายอย่างร้ายแรง" "รายงานให้ศาลทราบโดยเร็ว" ประโยคแรกยังต้องตีความสู้กันว่าขั้นไหนถึงเรียกว่าร้ายแรง ส่วนประโยคหลังผมตีความแบบนี้ได้ไหมครับ คือส่งรายงานให้ศาลท่านอ่านเฉยๆแค่รับทราบ ไม่ต้องพิจารณาอนุมัติ ...
อืมม ไม่รุ้จะว่างัยล่ะ
จะออกกฏหมายต้องคิดด้วยว่าตัวเองไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า แล้วตอนนี้การแก้กฎหมายไม่ใช่เรื่องง่าย
ลองคิดดูว่า ถ้าเป็นอีกฝากเข้ามาควมคุมการใช้ จะต้องระแวงขนาดไหน ตอนนี้ก็เช่นกัน
กฏหมายที่เพิ่มอำนาจรัฐแบบนี้ ผมยังไม่เห็นใครพอได้เป็นรัฐบาลแล้วตั้งคณะฯมายกเลิกเลยครับ
มีแต่ใช้ประโยชน์จากมันเพื่อจัดการฝ่ายตรงข้ามกับอำนาจรัฐ
อย่างพรบ.ความมั่นคงซึ่งออกในสมัยรัฐบาลทักษิน ตอนนั้นคุณอภิสิทธิ์ก็คัดค้านอย่างหนัก ว่าเป็นแนวคิดแบบเผด็จการ
ถึงขั้นเรียกว่า พรบ.ติดหนวด (คือสื่อถึงฮิตเลอร์นั่นล่ะครับ) ครั้นพอตัวเองมาเป็นรัฐบาลเอง ก็ใช้กฏหมายนี้อย่างเต็มที่ ไม่ได้คิดว่ามันเป็นแนวคิดเผด็จการอะไรแล้ว แล้วฝ่ายค้านตอนนั้น ที่เจ็บช้ำจากการใช้พรบ.นี้ พอได้มาเป็นรัฐบาลในสมัยคุณยิ่งลักษณ์ ก็เอามาใช้กับฝั่งตรงข้ามเหมือนเดิม
ผมเลยสรุปว่า การจะหวังว่าคนที่เข้ามาอยู่ในอำนาจรัฐแล้วจะยกเลิกกฏหมายเพื่อลดอำนาจตัวเองนี่เป็นไปได้ยากมาก
+1
เปรียบเทียบไปก็เหมือนเข้ามาทำงานแล้วเสนอลดเงินเดือนตัวเอง
ตอนคนอื่นเสนอเพิ่มเงินพิเศษ...ค้านตะพึดตะพือ...พอได้เป็นเอง...ก็เลยตามเลย
บางทีก็สงสัย ทำไมหลายๆ คนให้ความมั่นคงของชาติต่ำขนาดนั้น ทั้งๆ ที่สิ่งที่เขาทำ ก็เพื่อให้เราอยู่กับแบบสบายใจ ไม่ต้องกลัวระเบิดแบบที่เป็นอยู่
เพราะหลายๆคนประเมินความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยของตำรวจและทหารต่ำ แต่ความสามารถด้านรักษาผลประโยชน์ของพวกพ้องและการคอรัปชั่นไว้สูงครับ
ไม่แปลก
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ถ้าอยากจะให้อยู่อย่างสบายใจ ก็ทำให้มีกล้องสักตัวใช้ได้บ้างเถอะครับ
+1 แหม่กำลังจะคอมเมนต์เรื่องกล้องอยู่เหมือนกันเลยครับ เอาแค่สิ่งที่ช่วยอำนวยในเรื่องความปลอดภัยขั้นพื้นฐานตอนนี้ยังทำให้ดีไม่ได้เลย การจะไปหวังเรื่องความปลอดภัยด้านอื่นๆ ที่ใหญ่กว่านี่ก็ไม่ค่อยอยากจะคาดหวังสักเท่าไหร่
อ๋อ พอดักฟังแล้วจะไม่ต้องกลัวระเบิด? ปัจจุบันไม่มีการดักฟัง?
ความมั่นคงของชาติหรือของใคร?
แน่ใจหรอครับ มีคนมาดักฟังตอนไหนก็ได้นี่สบายใจตรงไหนเนี่ย
อยู่แบบสบายใจมากครับ จะกดไลค์กดแชร์หรือต่อไปแค่จะอ่านไทม์ไลน์ยังต้องระวัง ไม่งั้นตัวเองอาจจะไปนอนในคุกเล่นได้เนี่ย