ช่วงสามเดือนที่ผ่านมาเงินสกุลดิจิตอลจำนวนมากโดยเฉพาะ Bitcoin (บิตคอยน์) และ Ethereum ผมเองแม้จะเขียนบทความเรื่องเงินดิจิตอลเหล่านี้มาหลายบทความ แต่มักเขียนในจากมุมมองวิศวกรรมเป็นหลัก นับแต่การออกแบบของ Satoshi Nakamoto (ที่ไม่มีใครรู้ว่าตัวจริงเป็นใคร) สกุลเงินดิจิตอลเหล่านี้ผ่านการพิสูจน์ว่ามันสามารถรองรับธุรกรรมทางการเงินมูลค่าสูง มีการเปลี่ยนมือวันละนับล้านบาทได้อย่างแม่นยำ

อย่างไรก็ดีความสนใจของคนในวงกว้างในช่วงหลังจากที่บิตคอยน์มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว บทความที่ผมเขียนไว้เมื่อ 5 ปีที่แล้วถูกเผยแพร่ออกไปเป็นวงกว้าง (ดีแล้วนะครับ ก่อนจะเล่นอย่างน้อยก็พยายามรู้สักหน่อยว่ามันคืออะไร) ผมคิดว่าควรเตือนถึงข้อจำกัดสำหรับคนทั่วไปที่คิดจะลงทุนในบิตคอยน์สักหน่อย

1.ชื่อ "Bitcoin" ไม่มีการควบคุมจริงจัง

ตัวบิตคอยน์ต่างจากการเงินหรือธนาคารต่างๆ ที่มักมีองค์กรควบคุมอย่างจริงจังและเข้มแข็ง หากเราพิมพ์ธนบัตรเองและไปอ้างกับคนอื่นว่าเป็นเงินบาทจะมีโทษตามกฎหมาย แม้แต่ชื่อธนาคารต่างๆ หากเรานำชื่อธนาคารไปแอบอ้างก็ถูกดำเนินคดีได้เช่นกัน และมักมีการตรวจตราจากธนาคารอย่างจริงจังด้วยว่ามีคนนำชื่อไปทำเสียหายหรือไม่ แต่ชื่อบิตคอยน์กลับเป็นชื่อสาธารณะ ตัว Satoshi เองระบุชื่อนี้เอาไว้ในเอกสารการออกแบบ มีคนพยายามจดเครื่องหมายการค้ากันอยู่บ้าง แต่จนตอนนี้ยังไม่มีการควบคุมหรือการฟ้องร้ององค์กรใดจากความพยายามแอบอ้างบิตคอยน์

สำหรับคนทั่วไปที่อยากลงทุนบิตคอยน์คำถามแรกคงเป็นว่า "คุณได้ซื้อบิตคอยน์จริงๆ ไหม" สำหรับคนที่เข้าใจกระบวนการทางเทคนิคการพิสูจน์ว่าซื้อ Bitcoin สำเร็จทำได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่เข้าใจกระบวนการดาวน์โหลดฐานข้อมูล การสร้าง Wallet ฯลฯ การตรวจสอบว่าได้ซื้อเงินสำเร็จแล้วจริงหรือไม่อาจจะยากเกินไป การลงทุนที่ถูกชักชวนอาจจะเป็นเพียงการหลอกลวง

2.การสร้างเงิน "คอยน์" ใหม่ๆ ทำได้ไม่ยาก

สิ่งที่ตามมาจากการความนิยมในสกุลเงินดิจิตอล คือการสร้างเงินคอยน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทดลองทางวิศวกรรมหรือการลงทุน สิ่งที่ต้องเตือนคือการสร้างเงินคอยน์เหล่านี้ทำได้ง่ายอย่างยิ่ง ด้วยการรันซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ไม่ซับซ้อนนัก หลายโครงการมีดัดแปลงเงื่อนไขต่างๆ กันไป เช่น การออกแบบให้รองรับธุรกรรมได้มากขึ้นหากได้รับความนิยมสูงในอนาคต หรือการสร้างสัญญาที่ซับซ้อนได้ (Ethereum)

แต่ลำพังการสร้างเงินคอยน์ใหม่ๆ สามารถสร้างได้ในเวลาอันรวดเร็วหาก การลงทุนในเงินคอยน์ใหม่ๆ จึงควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและข้อจำกัดของเงินคอยน์เหล่านั้น รวมถึงมันเป็นระบบไร้ศูนย์กลางแบบเดียวกับบิตคอยน์จริงหรือไม่ หรือทีมพัฒนามีความเชี่ยวชาญจริงหรือไม่

3.บิตคอยน์โดนขโมยแล้วเอาคืนไม่ได้

ระบบการเงินไร้ศูนย์กลางเช่นบิตคอยน์ไม่มีหน่วยงานที่สามารถออกมาแสดงความรับผิดชอบได้เหมือนกับธนาคาร ที่แม้จะมีความผิดพลาดจนเงินถูกขโมยออกไปจากบัญชีได้บางกรณี ก็ยังมีหน่วยงานรับผิดชอบ รวมถึงมีหน่วยงานรัฐคุ้มครองเงินฝาก

ทุกวันนี้โดยตัวบิตคอยน์เองยังไม่มีรายงานการขโมยเงินไป แต่บริการรอบข้างเช่นศูนย์รับแลกเงินต่างๆ ตัวแอปที่ผู้พัฒนาไม่เชี่ยวชาญเพียงพอ รวมถึงความไม่เชี่ยวชาญของผู้ถือบิตคอยน์ก็ทำให้เงินถูกขโมยไปได้เรื่อยๆ กรณีคลาสสิกคือผู้ประกาศข่าว Bloomberg เผลอแสดงโค้ด QR ที่เป็นกุญแจสำหรับบัญชีเงินออกทีวี ทำให้เงินถูกขโมยไปในทันที

4.เงินคอยน์หายไปตลอดกาลได้

ระบบเงินไร้ศูนย์กลางเช่นบิตคอยน์ไม่เหมือนกับเงินฝากในธนาคาร ที่แม้เราจะทำสมุดบัญชีสูญหายไป เราก็สามารถแจ้งความและพิสูจน์ตัวตนเพื่อนำเงินกลับออกมาได้ เนื่องจากระบบเช่นบิตคอยน์ไม่มีหน่วยงานที่มาดูแลพิสูจน์ตัวตนของเจ้าของเงิน กุญแจบัญชีเงินฝากเป็นเพียงตัวเลขขนาดใหญ่ หากทำตัวเลขนี้หายไปเงินทั้งหมดก็จะหายไปตลอดกาล

รายงานบิตคอยน์ที่เคยหายไปมากที่สุดคือ 7,500 BTC มูลค่าปัจจุบันคือ 722 ล้านบาทและหากไม่สามารถหากุญแจลับกลับมาได้ก็ไม่สามารถนำเงินกลับมาได้อีกเลย

5.ค่าเงินผันผวน แต่ความยากในการขุดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

คนจำนวนหนึ่งอาจจะไม่ได้ลงทุนบิตคอยน์โดยการซื้อขาย แต่สนใจการขุดบิตคอยน์ด้วยการลงทุนคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ในแง่นี้ควรตระหนักว่าอัตราการแฮชของเงินดิจิตอลที่ได้รับความนิยมเช่นบิตคอยน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แทบไม่มีช่วงเวลาที่ลดลงเลยในระยะยาว ต่างจากค่าเงินที่มีช่วงเวลาที่ซบเซาเป็นเวลานานๆ และเมื่อสกุลเงินได้รับความนิยมขึ้นมาอีกครั้ง อัตราการแฮชก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่คนอ่าน Blognone ควรตระหนัก (ถ้ายังไม่ได้ตระหนักมาก่อนหน้านี้) คือข่าวรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบิตคอยน์ ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าบิตคอยน์กำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง เมื่อมูลค่าของมันสูงขึ้นเรื่อยๆ มีธุรกรรมจำนวนมากกระทำผ่านบิตคอยน์มากขึ้นเรื่อยๆ มันคงเป็นเรื่องที่เราต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงของมัน และความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ในอนาคต

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

ตอนนี้มันเป็นแชร์ลูกโซ่ไปแล้วครับโดยเฉพาะการขุด เพราะเราไม่สามารถจะขุดเจอด้วยตัวเองแล้ว
เราเลยต้องไปสมัครงานแล้วรับจ้างขุดให้ pool ที่เขาเปิด Server ให้ขุด (เอากำลังขุดของคนหลังๆ ไปจ่ายค่าขุดให้คนแรกๆ เมื่อไหร่ไม่มีเงินจ่ายก็ปิดตัว เหมืองแตก)

ก็ยังห่างไกลแชร์ลูกโซ่อยู่ดีครับ ลองศึกษาให้ลึกๆ ใครถอดรหัสได้มากก็ได้มาก ไม่มีใครมาก่อนหลังต้องจ่ายเงินให้ใคร ถ้ามีระบบเชิญขั้นบันไดแบบนั้นคุณโดนเว็บหลอกแล้วครับ

การทำงานแบบทอดๆ ไม่ใช่แชร์ลูกโซ่นะครับ

แชร์ลูกโซ่คือธุรกิจที่ทำเงินจากการเก็บค่าเข้าเป็นสมาชิกโดยไม่มีผลิตภัณฑ์จริง หรือมีจริงแต่ก็ไม่ใช่รายได้หลักของธุรกิจ

ถ้ารับจ้างทำงานเรียกว่าแชร์ลูกโซ่ แบบนี้การซอร์สงาน (ที่คนไทยติดปากว่าเอาท์ซอร์ส) ให้บริษัทอื่นนี่เข้าข่ายกันทั่วโลกเลยนะครับ เพราะมีทั้งแบบ 1 ระดับ 2 ระดับ เคยเจอมากสุดก็ 4 ระดับ

เว็บอย่างพวก freelancers, elance นี่คงเป็นแหล่งรวมของพวกทำแชร์ลูกโซ่ครับ

ผมเข้าใจที่เขาพูดนะครับ เข้าไม่ได้บอกว่ามันเป็นแชร์ลูกโซ่ แต่เขาถึงการไปขุดกับชุมชุนชาวหเมืองต่างๆและค่าตอบแทน

ก็เข้าบอกมันเป็นแชร์ลูกโซ่ไปแล้วหรือผมเข้าใจผิด?

พูลปกตินะจะขุด่ายตังก่อนแล้วได้แรงขุดซึ่งจะได้เงินจากที่ขุดไหมเรื่องของคนจ้าง ส่วนคนขุดก็ขุดทุกสัปดาห์ก็จะจ่ายค่าแรงแล้วหักค่าธรรมเนียม

ผมโควทประโยคแรกมาให้อ่านครับ

ตอนนี้มันเป็นแชร์ลูกโซ่ไปแล้วครับโดยเฉพาะการขุด

อันนี้อันที่ 2

ผมมายถึงการรับจ้างขุด(ขายกำลังขุด)ต่างหากที่มีความเสี่ยงเป็นแชร์ลูกโซ่

ผมว่าเค้าไม่มีพื้นฐานว่าแชร์ลูกโซ่คืออะไรด้วยอ่ะครับ ... ความเข้าใจก่อนวิจารณ์เป็นสิ่งที่จำเป็นนะครับ ไม่งั้นเอาความเข้าใจผิดๆ ไปแพร่ต่อนี่เหมือนช่วยกระจายข้อมูล และความเข้าใจผิดๆ

pool ไม่มีการเอาค่าขุดคนหลังๆ ไปให้คนแรกๆ นะครับ

มีแต่ช่วยกันขุด สมมติขุดกัน 1000 คน แล้วมีคนนึงเจอ pool ก็เอารางวัลมาแบ่งให้ทุกคนที่ขุด ตามสัดส่วนกำลังที่ออกแรงไป อ่อมีแบ่งค่าหัวคิวให้ pool ด้วยนิดหน่อย

มันจะมีอีกประเภทครับ พวกที่อ้างระดมทุน ว่าทำธุรกิจนู่นนี่นั่น แล้วเปิดรับเงินลงทุนเป็น bitcoin พวกนี้นี่คืออันตรายของแท้เลย มันก็คือแชร์ลูกโซ่ที่แทนที่จะรับโอนเงินสดแบบสมัยก่อน เปลี่ยนมารับเป็น bitcoin แทน

ซึ่งมันเยอะมาก (จากที่ผมลอง search ใน FB ดู เป็นพวกนี้ไปซะครึ่ง) เลยต้องมาเขียนเตือนกันนี่ล่ะครับ

ทุกวันนี้คงซื้อขายเก็งกำไรกันเป็นหลัก เอามาใช้จ่ายจริงๆยังไม่เหมาะครับ ร้านค้าที่รับก็ไม่อ้างอิงราคาแลกเปลี่ยนตามตลาดแบบ realtime
เช่น ตลาดซื้อขายกันที่ 90,000 บาทต่อ BTC แต่ร้านค้ารับจ่ายค่าสินค้าในอัตรา 70,000 บาทต่อ BTC
ที่สำคัญคนส่วนมากยังฝากบัญชี bitcoin ไว้กับพวกเว็บต่างๆด้วย เช่น bx.in.th bitcoin.co.th coins.co.th
ถ้าเว็บพวกนี้โดนแฮคระบบทีก็ไม่อยากจะคิด

kimpercy Sun, 06/11/2017 - 21:30

ในมุมมองของผม ตอนนี้เก็บได้นิดๆหน่อยๆก็เก็บไว้เถอะครับ ไม่ต้องเต็ม 1BTC ก็ได้ ถือไว้ให้อุ่นใจเล่นๆ อิอิ

นอกจากการปั่นแล้ว ผมยังคิดไม่ออกเลยว่า Cryptocurrency อย่าง Bitcoin หรือ Ethereum
นั้นมูลค่าสูงขึ้นได้อย่างไร โดยเฉพาะอันหลังที่ขึ้นมาเป็น 1600% จากเดือน 3/2017

sintawee Thu, 08/24/2017 - 16:20

ผมคิดว่า มันขึ้นอยู่กับการยอมรับของแต่ละคนครับ ถ้าเรารู้และยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้ เราก็ลงทุนได้ครับ
การลงทุนขุด และการเทรด เป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่สูง แน่นอนต้องมีความเสี่ยงอยู่ อย่างที่เคยได้ยินการ High risk ,High return การเทรดจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าและรวดเร็วการขุด แต่ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน
สำหรับผม ผมสนใจการเทรดมากกว่า เนื่องจากไม่มีความทางด้านคอมพิวเตอร์เยอะนะ และต้องการผลตอบแทนที่รวดเร็ว ถ้าสนใจการเทรด ผมแนะนำให้เริ่มที่การเปิดพอร์ตสำหรับซื้อขายเหรืยญ คล้ายกับพอร์ตหุ้นอะครับ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด สมัครที่ลิงค์นี่้ได้เลยครับ

ลิงก์ถูกลบเนื่องจากเป็นสแปม

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
Tinder
public://topics-images/hwizi8ny_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png