หากใครเคยเล่นเกมแนว RPGs อาจจะพอคุ้นเคยกับระบบการเล่นแบบ interactive ที่เปิดให้ผู้เล่นได้เลือกรูปแบบการดำเนินเรื่อง ผ่านบทสนทนาหรือแอคชันต่างๆ ในเกม ล่าสุดแนวคิดนี้ไปปรากฎบนภาพยนตร์ของ Netflix ที่ทำให้ผู้ชมได้ตัดสินใจเลือกการดำเนินเรื่องของหนังเอง
อย่างไรก็ตามโปรแกรมนี้ยังเป็นเพียงขั้นทดลองเท่านั้น ซึ่ง Netflix ตัดสินใจจะลองกับรายการของเด็กก่อนผ่านเรื่อง Puss in Book: Trapped in an Epic Tale ก่อนจะปล่อยเรื่องที่ 2 ในเดือนหน้า และหากโปรแกรมนี้ได้เสียงตอบรับที่ดี ก็มีแนวโน้มจะขยายไปยังภาพยนตร์หรือซีรีส์เพิ่มเติม
รูปแบบการชมแบบ interactive นอกจากเส้นเรื่องที่จะแตกต่างไปตามการตัดสินใจ จนทำให้ผู้ชมต้องวนดูใหม่หลายรอบแล้ว ยังส่งผลต่อความยาวของหนังด้วย อย่าง Puss in Book สั้นที่สุดที่ 18 นาทีและยาวที่สุด 39 นาที
อย่างไรก็ตามการชมแบบ interactive นี้ ณ ตอนนี้รองรับเฉพาะบนสมาร์ททีวีใหม่ๆ บางรุ่น, เกมคอนโซล, Roku และอุปกรณ์ iOS ก่อนเท่านั้น ส่วนการชมบนเว็บ, Apple TV และแอนดรอยด์ตอนนี้ชมได้อย่างเดียว ยังไม่สามารถเลือกเส้นเรื่องได้
ทั้งนี้ Puss in Book สามารถรับชมในไทยได้ ใครมีอุปกรณ์ที่รองรับสามารถลองไปเล่นแล้วเอามาแบ่งปันกันในคอมเมนท์ด้วยก็ดีนะครับ
ที่มา - The Verge
Comments
อยากให้มีโปรรายวันจังเลย เพราะผมไม่ได้อยากดูหนังทุกวันเป็นเดือนๆ
ผมว่าราคา 350 ต่อเดือนก็ ok อยู่นะครับ ไม่ได้แพงอะไรมากมาย ถึงแม้ว่าเราจะดูหนังได้แค่เสาร์อาทิตย์ก็ตามที เพราะตอนนี้ไปดูโรงหนังถูกที่สุดก็ 100 กว่าบาทต่อที่นั่งแล้ว เท่ากับดูหนัง 3.5 เรื่องก็พอเช่าได้เดือนหนึ่งแล้ว
ถ้ารายวันประมาณ 30-40
ผมว่าเจาะกลุ่มคนชั้นกลาง และคนมีรายได้น้อยได้นะครับ
เพราะเป็นจำนวนเงินที่ตัดสินใจจ่ายได้ง่าย
อีกทั้ง
การดูหนังวันอาทิตย์อยู่ที่บ้านกับครอบครัว ก็นับว่าเป็นความสุขอย่างมากเลยครับ
ถ้าคิดแบบรายวัน ผมว่าอยู่ที่ 35-40 บาท
แล้วยังจะซื้อรายวันไหมฮะ
ผมซื้อนะ เพราะไม่ดูบ่อย ดูอันที่อยากดูจริงๆ
แนะนำเช่าดูเป็นเรื่อง ๆ ครับ iTunes ก็มีระบบเช่าครับ
+1
หาคนหารสี่จะถูกมากครับ แต่ของผมโดนเกาะล้วน
จะเสียจุดยืนของผู้กำกับ ที่เป้าหมายคือสื่อการตีความบทหนังมาให้ผู้ชมเห็นในมุมความคิดของเค้ามั้ยนะ
คิดว่าไม่นะ แค่มีแบบ interactive เป็นทางเลือกเพิ่ม
คือ บทหนังแบบปัจจุบันคงไม่หายไปแน่นอน
เหมือนที่หนังทุกวันนี้มีทั้งแบบ 2D และ 3D ให้เลือกชม
เกมที่บทดีๆ สมัยนี้ (อย่าง Life is Strange) ก็มีเส้นเรื่องหลากหลาย แต่บางเหตุการณ์ถึงจะเลือกได้ก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ก็มีครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้กำกับต้องการจะสื่อ
มองในอีกมุมหนึ่ง นี่น่าจะเป็นวิธีการที่ช่วยตอบสนองความต้องการของผู้กำกับได้เช่นกันนะครับ บางเรื่องหนังไฟนอลที่ออกมาก็ไม่ได้เป็นแบบที่ผู้กำกับต้องการจนต้องมีการออกแผ่นเป็น Director's cut ออกมา
อีกระดับของ visual novel สินะ
นึกถึงหนังเรื่อง Last call ที่ขอเบอร์คนดูไว้ตอนซื้อตั๋ว พอหนังฉายไปถึงตอนที่นางเอกโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ ก็จะสุ่มโทรเข้าโทรศัพท์ของคนดูในโรงจริงๆ แล้วคนที่รับโทรศัพท์ก็ต้องคอยบอกทางที่นางเอกควรจะไป เพื่อให้รอดปลอดภัยจากศัตรู แล้วหนังก็จะฉายฉากที่นางเอกหนีไปตามคำบอกของคนในสายแบบ Real time
ถ้าบอกพลาดอะครับ ไอ้คนโทรไม่โดนคนดูตีตายรึ
เด๋วในโรงหนังมัน รับโทรศัำท์ได้ด้วยรึ
จำได้ว่าเค้ามีแจ้งไว้ก่อนแล้วครับว่าจะมีการสุ่มโทรแบบนี้ คนที่เข้าไปดูก็ลุ้นครับว่าจะเป็นตัวเองหรือเปล่าที่ได้เล่น
นึกถึงสมัยนึงที่บาง youtube channel จะชอบมีให้คนดูกดเลือก ว่าจะเดินเลือกไปแบบไหน