วันนี้กสทช. ชี้แจงกับบริษัทเอเจนซี่โฆษณาถึงแนวทางการโฆษณาระบุว่าภายในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้หากเว็บที่กสทช.ถือว่าเข้าข่ายการแพร่ภาพและเสียงยังไม่มาลงทะเบียนถือว่าเป็นการบริการที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และผู้ที่ลงโฆษณากับเว็บเหล่านั้นจะกลายเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องรับโทษ 2 ใน 3
ตอนนี้ทั้ง Facebook และ YouTube ยังไม่ติดต่อลงทะเบียนผู้ให้บริการโครงข่ายแต่อย่างใด
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
นิยามกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามพ.ร.บ.กสทช.
Comments
ถามผู้รู้หน่อยครับ ประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ มีเนื้อหากฏหมายแบบนี้บ้างหรือป่าวครับ?
บางประเทศ คุมไม่ได้ ก็ไม่ให้ใช้เลย เช่นจีน
รัฐเซียก็เหมือนจะ มีมาตราการด้วยมั้ง ขนาดว่า จะต้องมีตั้ง Sever ประเทศด้วย
ท้ายที่สุด ฝั่งรัสเซีย ก็ใช้ LINE Facebook Google Yandex และ VK ได้ แล้ว บล็อค WeChat แทนครับ
ทั้งจีน และรัสเซีย ยังไม่อยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้วนี่นา
สงสัยคำตอบเหมือนกัน คำถามให้จำกัดเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ไหงตอบวิธีดำเนินการในประเทศกำลังพัฒนา
ภาพและเสียง ทุกทาง
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
Twitch ล่ะ
The Dream hacker..
"ระบบคลื่นความถี่ ระบบสาย ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า หรือระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบรวมกัน หรือกิจการอื่นทำนองเดียวกัน"
ไม่ยึดดวงตาผมไปเลยหล่ะครับ
[ หรือกิจการอื่นทำนองเดียวกัน ]
struct bannedSystem
a || b || c || d || x? || Array<' anyClass '> || x? kindof bannedSystem
TRUE
ผมว่าเค้าอาจกำลังคิดอยู่ก็ได้นะ แต่ยังเขียนออกมาเป็นรูปธรรมไม่ได้
ส่วนตัวล้วนๆ กสทช บล็อคเลย อยากทุบกำแพงกะลาดูเหมือนกัน
ไม่เห็นด้วย แบบล้าน% เพราะญี่ปุ่นใช้ Social Network / VDO Website ได้ทุกตัว เนื่องจาก Social Network / VDO Website มีประโยชน์มากกว่าโทษ แบบล้าน% ครับ
ถึงบอกความเห็นส่วนตัวล้วนๆ
ขอบคุณครับสำหรับคำตอบ สาเหตุที่ผมคิดว่าไม่เห็นด้วยนั้น เพราะอย่าลืมว่า ฝั่งรัสเซีย บล็อค WeChat แล้วฝั่งเขาก็ใช้ LINE Facebook Google Yandex และ VK ได้ครับ
ยังงี้ถ้ามนุษย์ต่างดาวยิงโฆษณาแล้วดันเข้าเสาอากาศแปลงภาพออกมาเป็นภาพบนทีวี ก็ผิดใช่มั้ยครับเนี่ย
เหมือนเขียนกฏหมายแกล้ง ให้คนใช้บริการผิดยังไงไม่รู้แฮะ
เหมืินเขียนกฏหมายกว้างๆ ให้คนควบคุมใช้ตามดุลพินิจ แต่เผอิญว่าเค้าดันไม่มีกัน
“ดุลยพินิจ“ เป็นสิ่งที่น่ากังวลที่สุด งานเดียวกัน คำถามเดียวกัน กับหน่วยงานเดียวกัน คำตอบไม่ค่อยตรงกันเลย จบที่ระดับหัวหน้าทุกที เปลืองเงินไม่ว่า เปลืองเวลานี่ทำใจไม่ค่อยได้
บล็อกเลยครับ ค่า VPN ไม่กี่บาท
เข้าใจว่ามีเป้าหมายสองอย่าง คือเก็บภาษี e-commerce ถ้าไม่ยอมเปิดเผย ก็ยากที่จะรู้ตัวเลขที่แท้จริง สองคือควบคุมข่าวสาร
แต่ถ้าเขาไม่ยอม ก็กล้าๆblock ไปเลย จับคนลงโฆษณาเข้าคุกเลยครับ จะได้รู้กันว่า ทำแบบนั้นแล้วเศรษฐกิจจะไปทางไหนต่อ?
ความเห็นอันมาจากการประมาณด้วยความรู้สึกส่วนตัวนะครับ
"...จะได้รู้กันว่า ทำแบบนั้นแล้วเศรษฐกิจจะไปทางไหนต่อ?"
ผมรู้สึกว่า เศรษฐกิจอาจจะดีขึ้นก็ได้นะครับ!
ผมรู้สึกว่า Youtube เอย Facebook เอย มีแต่ทำให้ GDP ประเทศเราแย่ลงครับ มีแต่เงินไหลออก ไหลออก
คนส่วนน้อยเท่านั้นที่เงินไหลเข้ากระเป๋าตัวเอง ด้วยจำนวนที่รวมของทุกคนที่ได้เงินไหลเข้ากระเป๋าแล้ว ยังเป็นแต่เศษเสี้ยวของเงินที่ไหลออก
ย้ำว่า "รู้สึกเอา" นะครับ
ยูทูบกับเฟสบุคส่วนนึงมันก็ทำให้เงินหมุนในประเทศเพิ่มขึ้นนะครับ เกิดการจับจ่ายใช้สอยพวกของฟุ่มเฟือยได้ง่ายขึ้น ถ้าขาดพวกโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คไป ร้านขายของออนไลน์ก็ต้องปรับตัวเยอะอยู่
การค้าขายonline boost เศรษฐกิจในประเทศเต็มๆเลยครับ คนขายก็คนไทย คนรับเงินก็คนไทย จริงๆเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจของกิจการขนาดเล็ก sme ถ้าห้ามโฆษณาonline เหมือนไปตัดแข้งตัดขาตัดช่องทางขายเขา แล้วโยกเงินกลับไปกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศเหมือนเดิม?
FB,google ได้เงินแค่ค่าโฆษณาครับเขาไม่ได้กินส่วนต่างโสหุ้ยอย่างอื่น
โดยปกติของการทำธุรกิจแล้ว คนที่คิดจะลงโฆษณา ถ้าลงแล้วขายของได้กำไรน้อยกว่าค่าโฆษณา เขาไม่ลงหรอกครับ จะบอกว่า Facebook กับ Youtube ดูดเงินไปอย่างเดียว โดยที่เราไม่ได้อะไร ก็คงไม่ใช่
ส่วนเรื่องเงินออกนอกประเทศ มันคือการค้าขายนี่ครับ เหมือนที่เราเอาสินค้าไปขายต่างประเทศนั่นแหละ ถ้ามัวแต่กลัวเงินออก คงไม่ต้องค้าขายกันพอดี และเศรษฐกิจจะแย่กว่าเดิมอีก
รู้สึกเอา รู้สึกเอา แต่ไม่มีข้อมูลใดๆ จับต้องได้จริง (หรืออย่างน้อยแอบอ้างว่าเคยเห็นข้อมูลก็ยังดีกว่า) ผมรู้สึกเอาว่าคอมเม้นต์แบบนี้ไม่ต้องคอมเม้นต์ก็ได้
ย้ำว่า "รู้สึกเอา" นะครับ
ผมไม่เห็นด้วยกับส่วนนี้นะครับ คือคิดยังไง (คิดกรองหน่อยก็ดีแต่ถ้ามั่นใจ) ก็พูดออกมาพิมพ์ออกมาครับ ถูกผิดจะได้มาแลกเปลี่ยนกัน ดีกว่าเก็บกดไว้มั่นใจคนเดียวเรื่อยๆ ครับ
การแสดงความคิดเห็นโดยบอกล่วงหน้าว่าไม่มีข้อมูลแบบนี้ดีแล้วครับ จะได้แลกเปลี่ยนกันว่าแนวคิดนี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร
ถ้าเอาข้อมูลมั่วๆมาโยนใส่กันแล้วทำผยองว่า"ฉันถูก"มากกว่าที่แย่
ผมแสดง "ความคิดเห็น" ครับ ไม่ได้แสดง "ข้อเท็จจริง" หรือ "ความจริงเชิงประจักษ์"
ขึ้นต้น ผมบอกชัดเจนนะครับ
อีกอย่าง Comment ก็คือ Comment ครับ ไม่ใช่ Fact หรือ Reality
ดังนั้น ที่แน่ๆ คือ ผมไม่ได้ "รู้สึกเอา" ว่า Comment แปลว่า "ข้อเท็จจริง" หรือ "ความเป็นจริง" ครับ
และถึงเป็นเรื่องที่ผมเชี่ยวชาญสุดโต่งแบบชนิดที่เหยียบจมดินได้ ผมก็ไม่เคยทำและไม่เคย "รู้สึกว่า" ผมมีสิทธิที่จะบอกให้คนอื่น "งดออกความเห็น" ครับ (หรือจะใช้คำว่า "หุบปาก" ดี?)
และโดยเฉพาะผลกระทบถึง GDP จากเหตุในข่าวนี้นั้น ทุกคน "รู้สึกเอา" ทั้งนั้นแหละครับ ไม่เว้นกระทั่ง "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา" หรือกระทั่ง "Mark Zuckerberg" เอง เพราะไม่มีใครมีตัวเลข Exactly เลย กระทั่ง Facebook เอง ยังมีแค่ตัวเลขที่ตนเอง "ได้รับ" เท่านั้น (และไม่ได้เปิดเผยตัวเลขจริงทั้งหมดด้วย)
คุณจะถามหา "ข้อเท็จจริง" นี้จากใครในโลกใบนี้ครับ?
ผมเอ่ยชื่อพาดพิงเลย เพราะอันนี้ไม่ได้ "รู้สึกเอา" อย่างแน่นอน มันคือ "ข้อเท็จจริง" แน่นอน ไม่งั้นก็เอาทหารมาอุ้มผมไปได้เลย ถ้า "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา" บอกตัวเลขนี้ Exactly ได้จริง!
เหตุเพราะนี่เอง นอกจากคุณคนเดียวที่ไม่ได้ออกความเห็นต่อ "เนื้อหา" ในข่าว แต่ออกความเห็นต่อ "การแสดงความคิดเห็น" ของผม คนอื่นผมจึงไม่ได้ออกความเห็นต่อเนื่องใดๆ อีกเลย เพราะที่จริงแล้ว การที่ผม "ย้ำ" ประโยคขึ้นต้นว่า "ผมรู้สึกว่า" แบบชัดๆ หลายๆ ทีนั้น แท้จริงคือการพยายามบอกคนอื่นเป็นนัยๆ อย่างแยบยลอยู่แล้ว ว่าทุกคน "รู้สึกเอา" ทั้งนั้นแหละครับ ไม่มีใครสามารถสรุปตัวเลขได้จริงๆ ว่า Facebook และ Youtube ส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศเราให้ดีขึ้นหรือเลวลงจริงหรือไม่! (แค่ไหนด้วย)
ขอกล่าวแบบตรงๆ เน้นๆ ได้ว่า ผมแค่รอว่าจะมีใครมี "สติปัญญา" พอจะเห็นนัยยะที่ผมใส่เอาไว้ว่า "ทุกคนรู้สึกเอาเอง" กันทั้งนั้นหรือไม่!
สิ่งที่คุณคิด "ผิด" ครับ
ผมว่าเพราะ social media นี่แหละครับที่ทำให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ผู้ค้ารายย่อยแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน และทำให้เกิดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากแบรนด์เล็กแบรนด์น้อยเกิดขึ้นและประสบความสำเร็จมากมาย จากการทลายกำแพงข้อจำกัดด้านเงินทุนของยุคก่อน
"...ที่ทำให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ผู้ค้ารายย่อยแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน..."
ขอปรับแต่งเป็น
"...ที่ทำให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ผู้ค้ารายย่อยใหม่แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน..."
ผู้ค้ารายย่อยเก่า เช่น แม่ค้าทุรียน น้ำเต้าหู้ ข้าวโพดปิ้ง ส้มตำน้ำตก ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ฯลฯ ซึ่งเป็นฐานล่างของปิระมิดเศรษฐกิจของประเทศเรา แทบไม่ได้อะไรจาก Facebook และ Youtube เลยครับ
ตอนนี้เราควรมาพูดคุยโฟกัสตรงความเป็นเครื่องมือทางการตลาดของ Social media กันก่อนนะครับ จากย่อหน้าสุดท้ายของคุณตรงนั้นผมมองว่าเป็นเรื่องของความสามารถในการใช้เครื่องมือในการทำตลาดและกลยุทธ์ของแต่ละธุรกิจมากกว่า ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าของธุรกิจที่ต้องวางแผนจัดการเอง จะรุ่งหรือจะรอดตรงนี้มันก็มีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่างประกอบกัน ซึ่งถ้าคุณพิจารณาดีๆ จะพบว่าผู้ค้ารายย่อยที่สามารถใช้ประโยชน์จากตรงนี้ก็มีเยอะเช่นกัน ทั้งสินค้าอุปโภคหรือบริโภคทั้งหลายแหล่ไม่ว่าจะเป็น ร้านขนมร้านเค้กร้านเล็กๆ ปูนึ่ง ร้านหมูกระทะ ฯลฯ
คือต้องมองว่าการเกิดขึ้นมาของ Social media ทำให้เกิดเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงพลังโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้งบในการลงทุนที่มากแบบแต่ก่อน และทุกคนมีความเท่าเทียมในจุดนี้
โดยถ้าจะให้แนะนำจริงๆ ผู้ค้ารายย่อยเก่าที่คุณว่ามาก็สามารถใช้สื่อเหล่านี้สื่อสารกับลูกค้าได้อยู่แล้วครับ ขึ้นอยู่กับว่าเขามองเห็นช่องทางหรือความเป็นไปได้ตรงนี้หรือเปล่า และในชีวิตจริง ผมก็เห็นผู้ค้าเหล่านี้บางส่วนก็หันมาใช้ social media ทำตลาดแล้วครับ ที่เคยเห็นผ่านตามาบ้างตัวอย่างก็เช่น พ่อค้าแซ่บ แม่ค้าแซ่บ หรือที่ดังๆ เมื่อสี่ห้าวันที่ผ่านมาก็ เมียด่ายังมาอยู่ ลองค้นดูครับ
เอาเท่าที่รอบๆตัวผมเห็นนะครับ หลายคนก็เป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย ตลาดนัดแบกะดินมาก่อนครับ(ปูเสื่อนั่งพื้นขายเลย) จนมาเปิดร้านในเพจ และก้าวไปอีกระดับ
เพจขายของ sme หลายเจ้าก็มาจากพ่อค้าแม่ค้าตลาดนัด แต่ใช้เทคโนโลยีเป็นช่องทางการขายใหม่ๆครับ ส่วนตัวอย่างของกินที่คุณยกมา คงขายonlineลำบากหน่อย แต่ก็ใช่่ว่าจะไม่มี อย่างพวกขายอาหารclean แบบส่งถึงบ้านหรือข้าวกล้อง
ป.ล.เพื่อนผมเคยไปเช่าแผงตลาดนัดวันละ50บาท(ตลาดนัดชานเมือง) ตอนนี้จ้างลูกน้องpack ของส่งปณ.อย่างเดียวครับ ลงโฆษณาใน FB ประจำ
https://www.facebook.com/J.AengFood/ ยกตัวอย่างครับ ร้านนี้เก่าแก่มาก จากที่ขายอยู่กับที่ (และรับงานอีเวนต์บ้างตามโอกาส) ตอนนี้มีส่งถึงบ้านด้วย
และพอลองค้นเล่น ๆ ก็จะพบว่ามีร้านอาหารเก่าแก่แบบนี้อยู่อีกพอสมควร ก็ไม่เถียงนะครับว่าคนที่ได้รับประโยชน์จากมันยังมีน้อย แต่ผมว่ามันก็ค่อย ๆ มีคนได้รับประโยชน์มากขึ้นเรื่อย ๆ นะ (จริง ๆ มันขึ้นอยู่กับว่าร้านพวกนั้นจะหันมาใช้ประโยชน์มันมั้ย และขนาดกิจการและรูปแบบการให้บริการมันเหมาะหรือเปล่า)
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
รายเก่ารายใหม่แบ่งแยกกันตรงไหนครับ ถ้ารายเก่ารู้จักพัฒนาตัวเอง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดตามกระแสโลก เค้าจะยังเป็นรายเก่าอยู่ไหม
ทำไมรายเก่าที่คุณว่าเค้าถึงไม่ได้ประโยชน์จาก Social Media เพราะมันไม่เคยเอื้อประโยชน์ให้เค้า หรือเพราะเค้าไม่เคยรู้จักหาประโยชน์จากมัน
ถ้าเค้ารู้ตัวว่าอยู่ฐานล่าง ทำไมเค้าถึงไม่พัฒนาตัวเองให้อยู่ตรงกลางของปิระมิด ทั้งๆที่ทุกวันนี้มีสิ่งต่างๆที่ช่วยลดช่องว่างตรงนี้ลงมาก สิ่งที่คุณค้านขึ้นมานั่นผมกลับมองว่ายิ่งช่วยย้ำถึงช่องว่างตรงนี้มากขึ้นไปอีกด้วยซ้ำ อยู่ดีๆมีช่องทางการโฆษณาง่าย จ่ายเงินหลักร้อยบาทก็โฆษณาออกสื่อที่ประเทศนี้มีคนใช้มากเป็นอันดับต้นๆของโลกอย่าง Youtube ได้ ทำไมเค้าถึงไม่เลือกใช้ช่องทางนี้ แล้วทำไมถึงควรจะสนับสนุนให้การใช้ช่องทางนี้ยากลำบากกว่าเดิม
เข้าใจว่า กสทช. คงจะไม่ block facebook และ youtube แต่จะจับโฆษณาจากไทยที่ไปลงแทน เพื่อกดดันให้ facebook และ youtube มาจดทะเบียนในไทยให้ได้
ใหญ่เหลือเกิน ออกกฏหมายเพื่อคนๆเดียวหรือคนกลุ่มเดียว งั้นใครเปิดบริการอะไรนอกไทยต้องบินมาลงทะเบียนที่ไทยอะนะ
FB google เขาคงไม่อะไรหรอกแต่คนซื้อโฆษณานี่หนาวเลย
เฟซบุ๊คมาไทย อยู่เหนือกฎหมายหลายข้อเลยนะ
- ไม่ต้องเสียภาษี เพราะยังมีช่องโหว่ประเภทธุรกิจ
- แทบไม่ต้อง(/ไม่ยอม)ช่วยกันป้องปรามสิ่งผิดกฎหมายใดๆ (ขายครีม ข้อมูลการแพทย์เถื่อน ยาเสพติด ... ไม่นับรวมไปถึง 112 อีก) --> จริงๆเป็นหน้าที่ของ Platform ในการป้องกัน/ยับยั้ง ทั้งโลกนี่แหล่ะ
- ปราศจากความรับผิดชอบใดๆ ต่อความผิดอันเกิดจากข้อบน
- และใช้ประชาชนเป็นโล่ เวลาจะโดนลงโทษด้วยการบล๊อค
ซึ่งเอาตรงๆ ถ้าเป็นบริการอื่นโดนบล๊อค/มีบทลงโทษทางกฎหมายไปนานแล้วอ่ะ
จะบอกว่ากลั่นแกล้งก็ได้
หรือถ้าไปมองว่าปีก่อน FB เสียภาษีแค่หลักแสน จะมองว่าละเว้น ก็ได้เหมือนกัน
ส่วนตัวคิดว่า ก็สมน้ำสมเนื้อกันดี 55
อีกอย่างส่วนตัวเชื่อว่า การสนับสนุนโจร ก็มีความเป็นโจรด้วยเช่นกัน
เลื่อนลงไปข้างล่าง ข่าว EU ปรับกูเกิลค่าผูกขาด .. คิดกำไร "ทั้งโลก" ในการประเมินค่าปรับ (ทั้งที่ผิดแค่ใน EU) ...
อยากตั้งคำถามง่ายๆ ...
- ถ้าคุณขายยาเถื่อน ผิดกฎหมายไหม ...
- ถ้าคุณลงภาพโป๊ ผิดกฎหมายไหม ...
- ถ้าคุณขายซอฟท์แวร์เถื่อน ผิดกฎหมายไหม ...
- ถ้าคุณขโมยผลงานของคนอื่นมาใช้ ผิดกฎหมายไหม ...
แล้วถ้าคุณตั้งเว็บบอร์ดขึ้นมาหนึ่งเว็บ
- มีคนมาขายยาเถื่อน ลงภาพโป๊ ขายซอฟท์แวร์เถื่อน โพสต์ผลงานลิขสิทธิ์
เจ้าของเว็บบอร์ดผิดกฎหมายไหม ... ควรต้องดูแลไหม ... ควรต้องรับผิดชอบไหม
ถ้าคุณบอกว่าไม่ควรต้องรับผิดชอบ ... ลองบอกเว็บบริษัท หรืองานที่เกี่ยวข้องมา
ผมอาจจะจะลองหาทีมที่พร้อมจะลงสิ่งผิดกฎหมายแบบนั้นดูในบอร์ด แล้วดูกันว่าจะเป็นยังไง
...
ปัจจุบันนี้ เฟสบุ๊ค มี "ทุกอย่าง" ที่ผิดกฎหมาย
แต่เฟสบุ๊คแทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย ... รีพอรทลบบล๊อคได้ก็จริง แต่ก็กระจายไวรัลไปเรียบร้อยแล้ว
ความเชื่อผิดๆ ก็มากมายเต็มเกลื่อนไปหมด แชร์ลูกโซ่เรื่องเล่ามั่ว ด่าคน มีครบหมด
มองยังไงผมว่าก็ควรเป็น Platform ที่ต้องรับผิดชอบกับเรื่องพวกนี้บ้าง จะโทษแต่คนแต่ผู้ใช้มันก็ไม่ใช่
และในเมื่อขอความร่วมมือจากเฟสบุ๊คดีๆ ไม่ได้
ก็ใช้วิธีบังคับอ้อมๆ จากแหล่งทำเงิน ในฐานะ สนับสนุนโจร ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดี
แบบนี้ถ้าพ่อค้ายาใช้มือถือในการติดต่อกับลูกค้า ผู้ให้บริการเครือขายก็ผิดและควรโดนลงโทษด้วยสินะครับ?
เปรียบเทียบแบบนี้ ไม่แฟร์เลยครับ
พ่อค้ายาใช้มือถือ --> Content ที่พูดคุยผ่านมือถือเป็น Private ครับ ส่วนตัวเฉพาะพ่อค้า/ลูกค้าแบบ Peer to peer
Facebook และ Youtube --> Content เป็น Public ครับ One to many กระจายไกลยิ่งกว่าตลาดสด ยิ่งกว่าโทรทัศน์ปกติ (ซึ่งถ่ายทอดได้แค่ในประเทศ)
หลับหูหลับตากำปั้นทุบดิน เปรียบเทียบไม่แฟร์เลยครับ
ถ้า Trace เบอร์ได้/มีหมายศาลประกอบ
ทุกวันนี้ ผู้ให้บริการเครือข่าย ทำถึงขั้น ให้ Call Log/Location Log/Last Cell Site พร้อมเวลา รวมไปถึงข้อมูลการจดทะเบียน ถ้าเป็นแบบลงทะเบียน
ลองมองกลับกัน รัฐจะขอ Facebook เพื่อตรวจสอบย้อนกลับไปหาผู้ก่อตั้งเพจ หรือทีมแอดมินเพจ ยังไม่ได้เลยครับ ...
อยากให้ลองดูย้อนไปจะพบว่าจริงๆ Facebook ให้ความร่วมมือกับภาครัฐต่ำมากๆเลย ในการการจัดการเนื้อหาผิดกฎหมาย / รวมถึงเรื่องการจ่ายภาษีจากธุรกิจ นะครับ ต่ำมากจริงๆ
ถ้าจากความเห็นนี้ผมก็มองว่าเฟสบุ๊คควรรับผิดชอบนะครับ
ถ้ามองว่าเฟสบุ๊คหรือเว็บบอร์ด เท่ากับพื้นที่ เราก็จะพอมองออกว่ามันเป็นเหมือนตลาดหรือห้าง
ซึ่งรายได้ของตลาดหรือห้าง ก็มาจากคนที่เข้ามาใช้พื้นที่ในการทำธุรกิจ
ทีนี้เราลองมานึกถึงตลาดหรือห้างที่ไม่มีการควบคุมสินค้าที่นำมาขาย บางคนอาจนึกออกว่ามีที่ไหนบ้าง บางที่ก็พยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง ซึ่งนี่คือความรับผิดชอบที่เจ้าของพื้นที่ควรจะมี
ไม่ได้บอกว่า เฟสบุ๊ค ไม่มีความรับผิดชอบนะ ก็มีอยู่บ้าง แต่มันน้อยไปถ้าเทียบกับความเสียหายที่เกิด
อ่านแล้วงงกับจุดประสงค์ครับ ตกลงคืออยากให้ facebook ทำอะไร ในเมื่อเนื้อหาผิดกฎหมายเราก็สามารถรีพอร์ทได้อยู่แล้ว
แต่Reportไป อันที่ผิดจริงๆก็แทบไม่โดนบล็อกเลยนะครับ
โดยส่วนตัว report กิจกรรมที่ผิดกฎหมายประจำ(ขายอาวุธ ลงlive porn ในกลุ่มปกติ) และพบว่าได้รับการตอบรับเสมอนะครับ
อยากเรียนทำ home server ต้องทำยังไงบ้างครับ ??? ผมรู้จักเรื่อง network แค่ "สายแลน"
พอดีเขียนเวบเป็น ทำ app ได้ และคิดจะทำ prototype ดูน่ะครับ
พวกบริษัทที่เป็น host จัดการ security ยังไงครับ ?? ต้นทุนสูงใหม ?? ทำเองได้ใหม ??
+1 เมื่อเข้ามาหาผลประโยชน์ ก็ควรเคารพกฎหมายของประเทศนั้นๆ
ผมว่าหลายๆ คนที่ออกมาเดือดร้อนแถวนี้ ถ้าได้อ่านข่าวเรื่อง Supreme Court ของ BC ที่ Canada สั่งให้ google deindex search results เกี่ยวกับบริษัทนึงออกทั่วโลก อาจจะช้อกตายเลยก็ได้
เพราะเคสเรามันอยู่ใน jurisdiction เดียวกัน แต่ของ Canada นี่ บังคับข้ามประเทศกันเลยทีเดียว
ไม่ช็อคตายหรอกครับ เพราะเขาทำตามกระบวนการศาลปกติ ด้วยกฎหมายปกติ
ไม่ใช่ด้วยดุลพินิจตีความแบบกว้างขยายเขตอำนาจไม่รู้จบ ขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง
หลายๆประเทศก็เก็บภาษีonline ครับ แต่เขาออกมาเป็นกฎหมายชัดเจน ไม่ใช่ประกาศให็เก็บเอาดื้อๆโดยไม่มีหลักฐานอะไร...
กฎหมายที่ กสทช. ใช้คราวนี้ไม่ปกติเหรอครับ?
ผมกลับคิดว่ามันก็แฟร์ดีแล้วนะครับ
กสทช. ก็ใช้กม.ตามที่ตัวเองตีความว่ามีอำนาจ ถ้า FB ไม่เห็นด้วย ก็สั่งให้ legal counsel ของตัวเอง ไปร้องศาลปกครองก็ได้ ออฟฟิศก็อยู่ห่างกันไม่กี่ตึก หรือ จะร้องกับองค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ก็ได้ มีให้เลือกหลายที่เลย
ข้อขัดแย้งพวกนี้กับรัฐบาลของประเทศต่างๆ มันมีทั่วโลกครับ ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่ไทยที่เดียว UK ก็บีบจะเก็บภาษีเพิ่มให้ได้, EU ก็ฟันเรื่อง antitrust อยู่บ่อยๆ, แม้แต่ใน US เองก็เริ่มตั้งคำถามกับ freedom of speech, แต่พอบริษัทเหล่านี้มีปัญหากับหน่วยงานของไทย บางคนก็จะมีข้ออ้างไปได้ล้านแปดว่ามันไม่เหมือนกับกรณีในต่างประเทศ ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน
บริษัทจาก Silicon Valley เจ้าใหญ่บางแห่งมาทำธุรกิจในเมืองไทย แต่ไม่ชอบทำตามกม.ไทยเท่าไหร่ พนักงานบางคนยังให้ sit on SG payroll อยู่เลย ทั้งๆที่อยู่เมืองไทยปีละ 300 กว่าวัน รับเงินเดือนไม่ต้องเสียภาษีให้สรรพากรสักบาท ผมรู้เพราะแต่ก่อนออฟฟิสมันเล็ก ทำอะไรก็รู้กันหมดแหละ
ออกตัวก่อนว่า ผมอาจจะพูดในมุมมองของคนที่ไม่ได้ยกย่องบูชาบริษัทเหล่านี้เท่าไหร่นะครับ offer จาก FB ผมก็เคยปฏิเสธมาแล้ว (ไม่ใช่ที่ไทย) ทั้งที่ให้เงินสูงกว่าเดิม ถ้า FB แน่จริงผมแนะนำให้ทิ้งตลาดไทยไปครับ ตัดจาก EM tier ไปเลย ไหนๆเวลารายงานกรมพัฒนาธุรกิจฯ ก็บอกว่าตัวเองมีกำไรแค่ปีละสี่แสนบาทอยู่แล้ว ตัดไปคงไม่กระเทือนมาก, กลัวแต่จะไม่อยากทิ้งเพราะมูลค่าตลาดจริงๆ มันสูงกว่านั้นนะสิ...
ผมสังเกตมานานแล้ว ว่าคนในเวบบอร์ดเทคโนโลยี โดนล้างสมองง่าย
กลุ่มคนที่มีคอมพิวเตอร์เป็นเพื่อน - โดนสภาวะ "เพื่อนออนไลน์" เป่าหู จะเข้าสังคมต้องตาม
ช่องว่างนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นให้กลุ่มคอม กลุ่มล้มประเทศ แห่กันใช้ประโยชน์หมด
แป๊ะป๋วยปี่แปกอ - สร้างเผด็จการทุนนิยม เจ๊กคอม ครองเมือง สุดท้ายโดนไล่
มีลูกสามตัว เป็นครึ่ง zerg
ต่อมาลูกสามตัว -
ตัวนึง ก็ไปเปิดเวบ ไอย์เหลาว์ ปรสิตหทัย
อีกตัว ย้ายไปอยู่แดน zerg
ต่อมาเริ่มเผยแพร่ได้ซักหลายๆปี ก็มีคนนำมาเขียนข่าวแพร่ในเวบ BBoyd
คนเริ่มถูกชักตาม โดยไม่ทราบที่มา ที่ไป
ติดเชื้อ zerg กันทั่วหน้า และก็กลายเป็นวัฒนธรรมด่ารัฐไว้ก่อน สำเร็จความใคร่กันทั่วหน้า ได้สังคม ได้ลัทธิ "เพื่อน"
ผมก็คงโดนล้างสมองไปแล้วแหละครับ เพราะผมอ่านคอมเมนต์ของคุณไม่เข้าใจด้วยซ้ำครับ
อืม... ถ้าไม่โดนล้างสมองแล้วเป็นแบบคุณ ผมยอมโดนดีกว่า คุยอะไรไม่รู้เรื่องเลย
วัฒนธรรมด่ารัฐไว้ก่อนนี่มันไม่ได้มาหนักที่สุดตอนยุคทักษิณเรอะ ทุกวันนี้อะไรไม่ชอบมาพากลยังอ้างแม้วอยู่เลย แล้วไอ้การใช้สรรพนามเรียกเค้าว่า "ตัว" นี่ก็แสดงถึงความสูงส่งของคุณมากเลย
นายน่าาจะเป็นคนที่เข้าสังคมลำบากนะ เหมือนเพื่อนผมคนนึงเปะ จะชอบพูดจาแนวๆ นี้แหละ แต่ไม่มีสกิลในการทำงานเลยแม้แต่น้อย ทุกวันนี้เป็นคนที่แทบจะไม่มีคุณค่า
ใช่จริงด้วย ถ้าคุณไม่พูดขึ้นมานี่ผมก็แทบไม่รู้สึกเลยนะเนี่ย ค่อนข้างช็อคเหมือนกันเพราะผมว่าผมเห็นมีชัดๆ คนนึงในเว็บนี้ที่ดูจะเข้าเค้าว่าถูกล้างสมองไปเรียบร้อยแล้ว คนในเว็บนี้ควรมาช่วยกันดึงสติให้เขานะครับ
น่าสงสารเขานะครับ
รักนะคะคนดีของฉัน
ถ้าอ่านตามนี้ LINE, WhatsApp, WeChat ก็ใช้โทรเป็นเสียง ก็ถือว่าเป็นกิจการกระจายเสียงรึเปล่าครับ
ว่าแต่การดึงวิดีโอ (ผู้รับส่งคำร้องขอไปขอสัญญาณภาพมา) โดยตรง ไม่ใช่การกระจายเสียง (eg. ส่งสัญญาณออกไปแล้วตัวรับแปลงสัญญาณเอง) จะถือว่าเข้าข่ายไหม ?
ผมนึกถึงกรณี UBC อยู่
ส่งเสริมเศรษฐกิจดีครับ ผู้ใช้จะได้ดูแต่โฆษณาจากนอกประเทศกันแล้วสินะ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
พอไม่มีคนไทยลงโฆษณา รายได้จากประเทศไทยจะตกวูบ บริษัทพวกนี้ก็คงจะต้องทำอะไรบ้างแหละ แล้วปกติโฆษณาในยูทูปที่ผมเคยเจอส่วนใหญ่เป็นของบริษัทไทยนะครับ
เป็นของบริษัทไทยเพราะไทยลงโฆษณาครับ
รายได้จากประเทศไทยตกวูบ ก็ได้รายได้จากประเทศอื่นๆมาอยู่ดีนี่ครับ ปกติโฆษณาพวกนี้เป็น pay per view/click อยู่แล้ว ไทยไม่ลง เจ้าจากประเทศอื่นเห็นโอกาสก็ลงอยู่ดีครับ โฆษณาที่เป็น global ได้ก็ไม่ใช่จำนวนน้อยๆ พวกของกิน รถ เครื่องใช้ไฟฟ้า
ถึงมีจำนวนเจ้าลงน้อยลง ก็แสดงที่มีซ้ำๆ view/click ก็ได้เท่าเดิม เพียงแต่เปลี่ยนมือคนเสียเงินแค่นั้นเองครับ
สิ่งที่ไทยเสียคือ 'โอกาส' ครับ ลองคิดว่าถ้า platform หนึ่ง Coke/Pepsi โฆษณาได้อิสระ แต่ Est โฆษณาไม่ได้ดูครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
โควต้าตอบจะหมดล่ะ คงตอบได้แค่อันนี้
---- เรื่องรายได้จากประเทศอื่น เอาเข้าจริงมันชดเชยกันไม่ได้มากหรอกครับ ทุกวันนี้เราเจอโฆษณาแบบ "Geographic Based/Specific Target" กันทั้งนั้นล่ะครับ
คลิปโฆษณาในยูทูปไทยจะวนเวียนอยู่ประมาณสิบกว่าบริษัท และโฆษณาในฝั่งเฟสบุ๊คหมวดอาหาร สาธารณูปโภค เครื่องสำอางค์ เครื่องแต่งกาย ก็มีประมาณ 30-40 Brand เอง
Coke/Pepsi อาจจะโฆษณาได้อิสระจริงๆ
แต่ถ้า Coke กับ Pepsi เลือกยืนกรานโฆษณา บริษัทที่เป็น Importer ก็ต้องรับกรรมเรื่องบทลงโทษไปด้วย ...
และถ้าให้ Importer เลือกระหว่าง โฆษณาแล้วร่วมรับผิดชอบ / กับไปเจรจา ปรับเปลี่ยนข้อตกลง การค้าและการโฆษณา ... ผมมองว่าถ้าบทลงโทษแรงผู้นำเข้าก็น่าจะเลือกทางหลังนะ
บริษัทที่เป็น importer/distributor รับกรรมอย่างไรครับ? ในทางกฎหมายสามารถเอาผิดได้ด้วย?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ตรงไหนในข้อกฎหมายบอกไว้ครับ
แล้วถ้าผู้ลงโฆษณา เป็นagencyที่อยู่ต่างประเทศ ลงโฆษณาด้วยนักแสดงไทย เสียงบรรยายไทย จะทำอย่างไร
ก็ถ้าทำมาถึงประกาศขนาดนี้ได้แล้ว ม.44 จะไปยากตรงไหน ผมว่าเค้าดันจนสุดทางนั่นแหล่ะ
และถ้าไม่ใช้ ม.44. ยังมีออพชั่นให้เลือกด้วยการเอา กสทช/คณะกรรมการโฆษณา ผ่านการประกาศทางกฎกระทรวง มาห้ามด้วยได้อีกทาง ... จริงๆร่างที่มันผ่านมาให้อำนาจเสือกระดาษไว้เยอะแยะมากมายที่จะเอามาใช้ได้อ่ะนะครับ
คุณมีสินค้า แต่ลงโฆษณาในช่องทางที่ (ถูกทำให้) ผิดกฎหมาย
Agency ลงโฆษณาผิดกฎหมาย แต่ลงโฆษณาให้บริษัทหนึ่งบริษัทใด ก็ย่อมตีความเป็นบริษัทนั้นได้รับประโยชน์จากโฆษณานั้นอยู่ดี สืบกันไปมาแล้ว การทำกิจการใดๆ on behalf of มันก็รับโทษด้วยกันแหล่ะครับ
ไอกระบวนการ Agency ต่างชาติ ลงโฆษณาด้วยนักแสดงไทยเสียงบรรยายไทย ก็คือการเลี่ยงบาลีประเภทนึงถูกไหมครับ ... ไม่งั้นผมก็แค่ไปจ้าง agency ที่ไหนก็ได้ โจมตีคุณตรงๆ ประจานให้เสื่อมเสีย ... และเนื่องจาก agency นั้นอยู่นอกเหนือกฎหมายไทย และไม่ได้โยนภาระผูกมัดมาที่ผมเลย ... ผมก็ประจานฟรีเลยแบบนั้นป่าว
คือมันมีวิธีการจัดการกับกระบวนการที่เลี่ยงบาลี (ด้วยการออก พรก พรบ กฎกระทรวง กฎหมายประกอบ) เยอะแยะไปหมดเลย ถ้าจะทำ (หมายถึงตอนนี้เค้าขอแค่ให้ FB/GOOG มาลงทะเบียนถูกต้อง ก็จบแล้ว แต่ถ้าจะงัดกันด้วยกระบวนการอื่นก็ได้...ทางปกติก็มีเพียบ ทางพิศดารก็มีเยอะ ... [ส่วนตัวก็ไม่สนับสนุนทางพิศดารหรอก] )
ส่วนตัวยังคิดว่าเบากว่าเรื่อง Antitrust ที่ GOOG โดนไป 2.5 Billion EUR อีก
ปล. ไม่ตอบเพิ่มแล้วนะ ติดลิมิต ไว้ตอบเรื่องอื่น
-ผมว่าย้อนกลับมาดูตัวกฎหมายดีกว่าว่าทำไม เขายังไม่ยอมมาลงทะเบียน
-ถ้าเลียงบาลีแล้วไม่ผิดยังไงก็ไม่ผิดยกเว้นยัดข้อหา หรือการออกกฎหมายพิศดาร ให้ผิด(เฉพาะในประเทศ) ก็ต้องดูผลกระทบด้วย
-ส่วนการประจานผ่านagency กฎหมายที่มีอยู่เยอะครับที่เอาผิดแบบข้ามประเทศได้ (ไม่ต้องพิศดารด้วย)
ม.44 พ่อทุกสถาบันสินะ...
ถ้าอะไรที่ควบคุมไม่ได้ ก็ปิดกั้นมันซะ - จากหัวข่าวข่าวนึง xD
The Dream hacker..
เราไม่ได้จะควบคุมเขา แต่เราจะจัดการวิธีที่เขาทำเงินกับมัน เหมือนจะเคยอ่านเจอแถวๆ นี้
ใช่ที่ว่าเราจะไม่พูดกับเขาเป็นภาษาอังกฤษ เขาต้องหาคนมาคุยกับเราเองรึเปล่าครับ? (เพราะงี้ป่าวเขาเลยไม่มาซักที XD )
ตอนหลังมีการงุบงิบขอให้ลบข่าวในไทย แต่ต้นทางยังโชว์หรา ไม่รู้จะพูดยังไงดีเลย
ผมเคยบอกแล้วว่า ตั้ง บ. ที่สิงคโปร์ แล้วให้ตามไปจ่านเงินที่นั่น ได้นะครับ
ใช้เวลา ประมาณ 1 วันเท่านั้น
แล้วตีความกฏหมายแบบนี้
ศูนย์ DC ทุกศูนย์ในประเทศ เข้าข่ายวิทยุ โทรทัศน์ หมดเลยครับ
เพราะคุณรับจ้างจัดเก็บ แทะ ทวนทวนสัญญาณกระจายภาพ และ เสียงอยู่
ทุกวันนี้ เข้าใจว่าใบเสร็จ หรือใบเรียกเก็บเงินของwebsite พวกนี้ ลงนามในบ.ที่ตปท.อยู่แล้ว
ผมซื้อเกม ซื้อ app จาก playstore ใช้บัตรเครดิตไทยจ่าย ไม่จำเป็นต้อง"เดินทาง"ไปด้วยตัวเองนะครับ ก็ได้ใบเสร็จจาก google ภูมิภาคต่างๆครับ
สมมติผมซื้อบริการของ google สาขาเยอรมนี จะตีความว่าผมซื้อบริการในประเทศไทยได้อย่างไร?
ถ้าจะห้าม คงต้องห้ามทำการจ่ายเงินข้ามประเทศเลย ถึงจะห้ามได้สำเร็จ
ถามตรงนี้เลยแล้วกัน ว่าใครเคยซื้อ boost post จาก Facebook ได้ใบเสร็จลงจากที่ไหนบ้าง?
บ. agency โฆษณาไทย ไปตั้ง สนง. ที่สิงคโปร์
แล้วซื้อโฆษณา google / YouTube เอาครับ
จ้าง account เก่งๆ แล้ว โยกชื่อพนักงานไปที่สิงคโปร์
แต่นั่งทำงานในไทย จ่าย cheque จาก สิงคโปร์
บริหารการจ่ายภาษีให้น้อยที่สุด ไม่จ่ายได้ยิ่งดี ก็ได้นะครับ
เห็นทำแบบนี้หลาย บริษัทเลย แต่เจ้าที่ใน บ. ต้องแรงระดับนึง
อ๋อ หมายถึงบ.Agency ที่เป็นคนกลางรับงานต้องย้ายฐานไปสิงคโปร์ ok เข้าใจแล้วครับ
คือ ถ้าเลยวันที่กำหนดแล้วจะบล็อคเหรอครับ
ผู้ได้ประโยชน์น่าจะเป็น Agency โฆษณาต่างประเทศอีกทีหรือเปล่า
"ผู้ที่ลงโฆษณากับเว็บเหล่านั้นจะกลายเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องรับโทษ 2 ใน 3"
ดังนั้นก็ฝาก Agency ไปจัดการเอง คนไทยก็ไม่ได้เป็นผู้ลงโฆษณา ส่วน Agency ก็อยู่ต่างประเทศก็ไม่สามารถเอาผิดได้
ถ้าดู Content ว่าใครเป็นเจ้าของ สมมุติว่ามีโฆษณาหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งใน FB, YT หน่วยงานรัฐนั้นผิดกฎหมายไหม
คิดไปคิดมาชักอยากรู้ว่าเหตุผล ประโยชน์ โทษ มันอยู่ที่ไหนกับบ้างเนี่ย
คิดเล่นๆ ว่า สมมุติว่าต่างประเทศหลายๆประเทศตั้งกฎหมายลักษณะแบบนี้กับบริษัทไทยเท่านั้นจะเกิดอะไรขึ้น
ประมาณว่าถ้าบริษัทไทยจะโฆษณาขาย Product หรือ Service อะไรในประเทศ X ต้องลงทะเบียนที่ประเทศ X ก่อนไม่งั้นจะโดนภาษีพิเศษอะไรพวกนี้นะ เอาจริงชักเริ่มกังวล Reaction มากกว่านะ
ผู้ได้ประโยชน์จริงๆ ผมว่าเป็นเพจไทยๆ ที่ tie-in โฆษนาเข้ามาในโพสครับ อันนั้นตรวจสอบไม่ได้ใหญ่เลย แต่เงินน่าจะยังได้อยู่ดี
Vimeo ล่ะ?
คือจะบอกว่าไม่จำเป็นต้องเป็นสองเจ้าดังๆเหอะ ใครก็มีสิทธิ์ ทำคอนเทนต์ได้กันทั้งนั้น ยุคนี้สมัยนี้ อะไรๆก็ใช่ว่าจะเป็นของรัฐไปหมด
ผมว่าปัญหาหลักๆของรัฐบาลปัจจุบันคือแนวคิดเรื่องใช้อำนาจ ชอบคิดแบบราชการ ออกคำสั่งมาแล้วใครไม่ทำตามก็ขู่เข็น จะมีความผิด จะติดคุก อย่างนั้นอย่างนี้ท่าเดียว
ทั้วๆที่จริงๆแล้ว เรื่องเดียวกัน สามารถใช้วิธี จูงใจ ให้สิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าในการดึงคนให้มาเข้าเป็นพวก ใช้หลักการค้าได้ มีอีกหลายวิธีที่น่าจะช่วยส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนทางธุรกิจมากกว่านี้แต่เขาไม่เลือก เขาชอบออกประกาศแบบขู่จะจับคนเข้าคุกมากกว่า
อันนี้เห็นด้วยเต็มๆ ภาพ4.0 งาน0.4
บ้านเราขยันสร้าง red tape จริงๆ
เขาไม่ฟัง คุณก็ไปขู่เขาโดยจะจัดการคนที่จ่ายเงินให้เขาแทน
แล้วถ้าหากว่า เขาโอนเงินออกไปเมืองนอก แล้วตกลงคุยกันที่เมืองนอกหล่ะ
จะทำยังไง
คาราบาวแดงไปโฆษณาริมสนามบอลในอังกฤษ แล้วฉายเมืองไทย ไอบริษัท EPL
ต้องมาเสียภาษีด้วยมั้ย หรือ เบียร์ช้างไปโฆษณาในหนังสไปเดอร์แมน แล้วบริษัทหนังต้องจ่ายภาษีเนื่องมาจากรายได้จากการโฆษณา(นอกเหนือจากค่าตั๋วจากโรงหนัง)ด้วยรึเปล่า
เพิ่มเติมอีก
มันต้องเล่นงานที่กูเกิ้ล หรือไม่ เฟซบุ๊คโดยตรงนู่น บริการมันเกิดขึ้นที่ต่างประเทศ ก็เชิฟเวอร์มันอยู่ในบ้านเราซะที่ไหนหล่ะ เรามีอินเตอร์เน็ตก็เหมือนเราออกไปท่องโลก แล้วไปดูคอนเทนส์ จะมาเล่นงานอะไรกับคนไทยด้วยกันเองหล่ะ ห้ามคนไทยซื้อบริการจากต่างชาติงั้นดิ บินไปตัดผมฮ่องกงกลับมาเดินหล่อแถวสยาม ช่างตัดผมต้องจ่ายภาษีให้รบ.ไทยด้วยงั้นดิ
แล้วไอบริษัทเขาเนี้ย ใช้ทรัพยากรอะไรของประเทศไทยหล่ะที่จะไปเก็บภาษีเขาเนี้ย พนักงานเขาเดินทางมาทำงานด้วยรถเมล์คนไทย
มันก็ถูกแล้วประเทศเรามันกระจอก ไม่มีบริการดีๆอย่างเขา คนไทยก็ไปซื้อของเมืองนอกเขา คนไทยก็แห่กันออกไปดู แล้วไอรัฐไทยจะไปตักตวงอะไรหล่ะ ตักตวงไม่ได้ก็ดักมันซะเลยห้ามคนไทยไปซื้อบริการของเขา ถ้าจะทำก็ทำไป แต่อย่ามาขวางไม่ให้คนไทยออกไปดูโลกข้างนอกก็แล้วกัน
กระบวนการที่จะทำทั้งหมด มันมาจากการคิดหาทางเพื่อไปยังธง ส่วนเส้นทางก็ค่อยมาแหวก แหก ฉีก สามัญสำนึกมันไปเรื่อยๆงี้แหละ ก่อนกินก๋วยเตี๋ยวก็ถามแม่ค้าก่อนละกันว่าจ่ายภาษีถูกต้องรึเปล่า หรือจะจ้างดาราออกงานอีเว้นท์หน่ะ แน่ใจแล้วเหรอว่า รัฐเก็บภาษีเงินได้ดาราคนนั้นได้อย่างถูกต้องตรงไปตรงมาแล้ว แล้วแบบนี้จะไปจ้างดาราคนไหนดี
ทางแก้ที่ถูกต้องที่สุดคือ ให้คนไทยเปิดบริการให้ดีกว่า เสียภาษีในไทยถูกต้อง และให้ประชาชนเลือกเอาว่าจะดูจากเจ้าไหน ถ้าคนไทยติดงอมแงม ทีนี้ คุณจะจัดการคอนเทนส์อย่างไร จะดูดเงินขนาดไหน ก็เอาปืนไทยไปบีบเอาได้ทั้งนั้น
ชัดเจนเลยครับ ความเห็นนี้ ทำให้ผมเปิดกะลาเลย
งั้นก็ต้องต่มไปไล่เก้บภาษีทุกอย่างที่คนไทยจ่ายเงินให้ ตปท สอนะ หุหุ
จริงๆแล้ว ตรงนี้แหล่ะคือช่องโหว่ของพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ทำให้ไม่สามารถจัดเก็บอะไรได้เลย
ปัญหาของกฎหมายเดิมๆบ้านเราคือ ยังไม่นิยามผลิตภัณฑ์พานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นมาครับ
เราซื้อสินค้าใดๆก็ตามจากต่างประเทศ ... เมื่อเรานำเข้ามาในประเทศ ทุกอย่างต้องเสียภาษี(หรือสำแดงภาษี) เว้นแต่จะมีประกาศยกเว้นสินค้าประเภทใดประเภทนึงเป็นการเฉพาะ
--- แต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ ไม่มีหลักฐานชัดเจน
ส่วนตัวผมมองว่า โฆษณา จัดเป็นสินค้าประเภทนึง
คุณนำสินค้าประเภทนั้น ขายให้กับ ผู้บริโภคในประเทศ
เงินของประเทศเรา -> ซื้อโฆษณา(มองเป็นสินค้า) -> เพื่อขาย(แสดง)ให้กับคนในประเทศเรา
แต่ข้อจำกัดของกฎหมายพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน ไม่สามารถ "เก็บภาษีได้
เอาจริงๆหน้างาน/หน้าสินค้า ทุกอย่างเกิดขึ้นในประเทศเราหมดเลย (Physical Display คือประเทศไทย) แต่เราเก็บอะไรกับตรงนี้ไม่ได้เลย (ใช้ไฟบ้านเรา ใช้พื้นที่บ้านเรา ใช้การตรวจสอบดูแลบ้านเรา ขายสินค้าที่อยู่ในบ้านเรา) มันมีหลายอย่างที่ใช้ของในบ้านเรา ... การจัดการดูแลเกิดขึ้นในบ้านเรา ปัญหาต่างๆที่ตามมาก็เกิดในบ้านเรา
มันต่างกับการที่เราไปต่างประเทศ(แบบ Physical) แล้วซื้อนู่นซื้อนี่ซื้อนั้นตรงที่ (ใช้ไฟบ้านเค้า ใช้พื้นที่บ้านเค้า ใช้การตรวจสอบดูแลบ้านเค้า ขายสินค้าที่อยู่ในบ้านเค้า)
ในการใช้สินค้าไอที เราไม่ได้พึ่งพา infrastructure ของชาติเราจริงหรือ
Bandwidth ระหว่างประเทศ/ค่าไฟ/เวลา+ทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารจัดการ/ปัญหาอันเกิดขึ้นจากการละเมิดข้อกฎหมาย ... พวกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นของที่ใช้ของประเทศนั้นๆทั้งนั้นแหล่ะ
มันมีเส้นแบ่งบางๆอยู่ ระหว่าง เลือกปฏิบัติ กับครอบคลุมเกินไป
... แต่ครั้งนี้ที่มันดูเหมือนเลือกปฏิบัติ เพราะเจ้าใหญ่ที่กระทบมันมีแค่ 2 เจ้าไงครับ
หลักๆเขาก็เขียนให้ครอบคลุมแหล่ะ คือถ้ามีเจ้าอื่นที่ทำแพลตฟอร์มโฆษณา มันก็กระทบแบบเดียวกัน
ดังนั้น ไม่ได้บอกว่าข้อบังคับพวกนี้เขียนมาดีแล้ว ... ยังมีหลายสิ่งต้องปรับปรุง
แต่ยืนยันคำเดิมว่ามันก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำอยู่ดี
ปล. ตอนเป็น Tangible product เราคิดหาวิธีบริการจัดการได้ มีการแบ่งได้ว่าอะไรคือของผลิตในของเค้า ของผลิตในของเรา ของขายในประเทศเค้า ของขายในประเทศเรา นำเข้า ส่งออก .. เพราะมันจับต้องได้ชัดเจน สินค้าเมดอินยูเอส เมดอินไชน่า เอามาขายให้คนไทย ก็เสียภาษีนำเข้า/เข้าประเทศ
พอเป็น intangible product เรากลับแยกไม่ออกว่า นี่คือการนำเข้าบริการมาขายข้ามชาติ โดยเลี่ยงทุกข้อกฎหมายภาษีของแทบทุกชาติ ... สินค้าเมดอินยูเอสเช่นกัน เอามาขายให้คนไทย ไม่ต้องเสียภาษีใดๆ (เพราะเรามองว่าสินค้ายังอยู่ที่ US อยู่ ... แต่ถ้ามองว่าบริการมันก้ำกึ่งมากไง)
ลองดูเพิ่มเติมนะครับ จริงๆเค้ามองกันทั้งโลกแหล่ะเรื่อง Tax Evade อ่ะ ไม่ใช่แค่บ้านเรา
http://www.afr.com/technology/technology-companies/google/yes-google-does-pay-tax-on-2-billion-ad-revenue-5-million-in-singapore-20150413-1mjymy
https://www.opendemocracy.net/uk/jeremy-fox/googling-google-what-tax-do-they-owe
https://www.theguardian.com/technology/2016/feb/11/can-google-say-it-pays-close-to-the-rate-of-uk-corporation-tax
จะมาบอกไทยแลนด์ 4.0 0.4 ... แต่จริงๆกลุ่มพัฒนาแล้วหลายประเทศก็พยายามหาทางและโมเดลในการบริหารจัดการภาษีเชิงบีบบังคับ/เชิงกฎหมาย กับ GGL/FB ทั้งนั้นแหล่ะครับ แต่ฝั่งเราบ้านเรามองกันว่าถอยหลัง ในขณะที่คนบ้านเค้ามองว่ามันจำเป็น ลองหาดูก็ได้ คีย์เวิร์ดจากสามลิงค์ก้คงเยอะพอให้หาต่อแล้ว
ผมว่าคุณเอาทุกอย่างมารวมๆกัน แล้วก็จัดนู่นจัดนี่ให้มันเข้าข่ายเองมากกว่าหรือเปล่าครับ ผมจะขอข้ามเรื่อง service เป็น goods ไปละกันเพราะมันไม่ใช่ เว้นแต่เราจะอยากคิดต่างจากประเทศอื่นๆแล้วไม่ยอมรับหลักการสากลเอง(เช่นไม่ชอบหลักการของ WTO แล้วอยากจะออก) อันนี้ขอถามคำถามนึงคือเงินค่าโษณาที่ Google จ่ายให้ channel ต่างๆนี่ถ้าถือว่า service เป็น goods จริง คนไทยต้องเสียภาษีรายได้ให้สิงคโปร์ด้วยใช่หรือไม่? หรือค่าลิขสิทธิ์ที่ Google แบ่งจ่ายให้บริษัทในไทย บริษัทในไทยต้องไปชำระภาษีที่สิงคโปร์หรือไม่?
ใช่ครับ เกิดที่บ้านเราหมดถ้าเราเป็นผู้บริโภคสื่อ แต่ตรงนี้คนที่ต้องรับผิดชอบไม่ใช่ Google นะครับแต่เป็น ISP ของฝั่งเรา เพราะ Google ไม่ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้โดยตรงเลย เพราะ Google ก็แค่เผยแพร่โฆษณาในส่วนของตัวเองผ่าน server ตัวเอง แต่เป็นเราเองทั้งนั้นที่ไปดึงข้อมูลเหล่านั้นมาผ่าน ISP ซึ่ง ISP ก็ได้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อตรงนี้โดยตรง มี content ให้ผู้ใช้บริการใช้ เรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บริการ โฆษณาจาก Google ไม่สามารถวิ่งตรงมายังหน้าจอได้โดยตรงครับ
เอาจริงๆผมก็อยากให้ไทยลองแบน service จากต่างประเทศให้หมดให้เหลือแต่ของไทยนะ ถ้าไม่มองเชิงประชาชนจะมาต่อต้านแต่มามองแต่เชิงเศรษฐกิจ อยากลองดูว่าที่ต่างชาติไม่ต้องได้ตังค่าโฆษณาจากไทยไป มันคุ้มที่จะเสีย content เหล่านั้นไปหรือเปล่า
เรื่อง Australia มันจบไปแล้วครับ สรุปว่า Australia ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจาก Google ได้ อันนี้ผมเข้าใจว่าคุณอ่านข้าม comment อันแรกๆของผมไปนะ ทางแก้ของ Australia ก็คือในเมื่อเก็บภาษีที่เกิดนอกประเทศไม่ได้ ก็ขึ้นภาษีที่เก็บได้ในประเทศมันซะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
จริงๆ ที่กำลังจะบอกคือ "แนวคิดแบบนี้ว่าควรเก็บ/หาวิธีเก็บ/การลงทะเบียน มันมีกันทั้งโลกแหล่ะครับ" ไม่ใช่ว่าคนมีแนวคิดแบบนี้จะแปลงร่างจาก 4.0 เป็น 0.4
ส่วนจะ Define ไปในทางไหน ง้อหรือไม่ง้อ (ทั้งผู้ให้บริการง้อ และผู้ใช้บริการง้อ) สุดท้ายผมมองว่าโมเดลธุรกิจมีสิ่งที่เรียกว่า การประนีประนอม(compromise) อยู่แล้ว คือผมไม่เชื่อว่า ถ้ายังมีทางเลือกที่ทำให้ได้ผลประโยชน์และรายได้ ... เขาจะไม่เลือกทางนั้น จะมีผู้ให้บริการกี่เจ้าที่เลือกว่า ในเมื่อมันยากนัก ไม่เอาสักสลึงเลยก็ได้ (ใช้กลยุทธ์โมเดลแบบ Uber อ่ะเหรอ ใช้ประชาชนผู้เสพติด services แล้วเป็นกำแพง เพื่อจะได้ไม่ต้อง deal กับข้อกฎหมายของประเทศนั้นๆ) คือประเทศไทยเราใช้ Youtube time อันดับ 8 ของโลก .. ใช้เฟสบุ๊คอันดับต้นๆของโลก .. ต่อให้ครึ่งนึงบล๊อคโฆษณา ก็ประเมินรายได้ทั้งสองบริษัทในระดับ พันล้านบาทต่อปีได้ไม่ยากนะครับ ... บริษัทเหล่านี้จะยอมบอกว่า "โอเค ไม่เอาก็ได้วะ กฎหมายกับภาษีงี่เง่า พันล้านช่างมัน" จริงๆหรือครับ
ยิ่งบอกว่า โฆษณาเงินเข้ากระเป๋า Google จะบอกว่า Google เองไม่ได้ประโยชน์โดยตรงเลยเหรอครับ ถ้ามองแบบนั้นเราก็มองไม่ตรงกันแล้ว ผมว่าถกเถียงไปอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรเลย ... มันไม่ใช่แค่เราบล๊อคเค้านะ เค้าก็บล๊อคเราได้เช่นกัน ข่าวใน blognone ก็เห็นตลาดที่ google/facebook ไม่เข้าไปทำธุรกิจนะ
คือพออ่านหลายๆโพสต์ เหมือนคุณกำลังบอกว่า พอเป็นธุรกิจออนไลน์ พรมแดนการค้าและระบบประเทศก็ไม่มีอีกแล้ว ...เพราะธุรกิจ online server อยู่ประเทศไหน จ่ายภาษีประเทศนั้นประเทศเดียวก็พอ อย่างไรอย่างนั้น ซึ่งตรงนี้ผมว่าเราคิดไม่เหมือนกัน
ส่วนเรื่อง Youtuber ทำรายได้.. โดยปกติแล้ว Tax ระหว่างประเทศจ้ายให้ประเทศที่อยู่พำนักเป็นหลัก (183วัน/ถ้าไม่มีก็ตามพาสปอร์ท) .. ในเคสนี้ก็เป็น income tax บ้านเรา (และเป็น expense ของเค้าเต็มจำนวนอยู่แล้ว) .... ซึ่งผมมองว่ามันเป็นคนละเรื่องกัน ...
เรื่องถัดมา
มองแบบ Goods ก่อนนะเวลาเราสั่งซื้อสินค้าจากเมกา ผู้ผลิตฝั่งเมกาก็ ship ของมา แล้วเราก็โดนภาษีนำเข้าฝั่งเราอยู่ดีนี่ครับ (ส่วนทางฝั่งผู้ผลิตต้องเสียภาษีอะไรบ้างก็เป็นอีกเรื่องนึง จะเสียสองต่อหรือต่อเดียวก็อยู่ที่จะเคลียร์เรื่อง double tax relief หรือเปล่า ... (คือตรงนี้อยากให้ลองดูว่าเราจัดการกับ Goods ยังไงก่อนนะครับ)
services กับ goods มันเคยแยกกันได้เด็ดขาดก็จริง แต่พอช่วงหลายปีหลังมานี้ โลกนี้เกิดสิ่งที่เรียกว่า platform-as-a-service ... ส่วนตัวผมมองว่าจริงๆแล้ว platform = goods, software ก็คือ goods, server ก็คือ goods, printed-ad ก็คือ goods, advertising(video/sound) ก็คือ goods .. แต่พอแปลงร่างเป็น as-a-services ของที่ควรจะเป็น goods (และมี boundary เดิมที่ goods มี เช่นพรมแดนประเทศ/พรมแดนการค้า ระบบภาษี ตัวสินค้าที่จับต้องได้) มันก็หายไป และมันก็ยังไม่ชัดเจน ไม่เคลียร์ .. การที่อะไรๆเป็น services มันได้สิทธิ์ประโยชน์ในตัวกฎหมายต่างกับ goods มากเลย ...
คือมีแต่กลุ่ม EU ที่ตอนนี้เคลียร์นิยามนี้ได้แล้ว และกำหนด VAT สำหรับธุรกิจออนไลน์เหล่านี้แยกไป (แถมมีนิยามให้มันด้วย) ...
ภาษี Electronically-supplied-services
จะสำเร็จและยิ่งใหญ่พอจะทำแบบนี้ได้ คงมีแต่กลุ่ม EU ... ยกเว้นกลุ่มอื่นๆเช่น AEC จะจับมือกันได้ ซึ่งคงยากแหล่ะครับ ..
คราวนี้ที่ผมยึดโยงกับ EU เป็นหลัก เพราะเราก็กำลังจะมี AEC เต็มตัว และยังมีกลุ่มประเทศในฝั่งอาเซียนอีก (พอกับการที่กลุ่มน้ำมันก็ตั้งตัวเองเป็น OPEC) คือเราก็ไม่ได้ไปผูกติดกับอเมริกาและกลุ่มอเมริกามากมายขนาดนั้น ถึงมันจะยากแต่ผมก็ยังเชื่อว่ามันเป็นทางที่ควรไปอยู่ดี (คือแทบทุกประเทศแหล่ะนอกจาก US ก็เสียประโยชน์จากโมเดลธุรกิจนี้แทบทั้งนั้น แต่แค่ยังไม่ได้คุยกันหรือกำหนดข้อตกลงร่วมกัน เพราะลีดเดอร์ในการตกลงดันเป็น US ซะเอง)
คือผมเข้าใจในมุมคุณนะ หลายเรื่องเห็นด้วยและเคยคิดแบบนั้นแหล่ะ
เพียงแต่ส่วนตัวหลังๆมา ผมมองว่า พอมองอะไรในกลุ่มธุรกิจออนไลน์แบบนี้ มัน Cross-border/Grey Area (ระหว่าง Services กับ Goods) แล้วไม่ถูกนิยามเลยจริงๆจังๆ ซึ่งผมมองว่าโดยแนวโน้มแล้วมันจะนำมาซึ่งผลเสียมากกว่า(ขอบเขตภาษี ขอบเขตความรับผิดชอบ กฎหมายที่ควบคุมประชากรในพื้นที่ต่างๆ) (EU มันใหญ่พอจะนิยามได้ว่าอะไรต้องเสียเพิ่ม อะไรต้องเก็บได้ อันไหนเก็บที่ไหน) แต่ประเทศไทยมันเล็ก ดูไม่มีอำนาจต่อรอง ทำแบบที่ทำอยู่มันก็ดูจะมีแต่ผลเสียมากกว่าจริงๆ ตามหลายๆเม้นว่านั่นแหล่ะ ...
เทียบกันกับ Bitcoin .. พอเราไม่นิยาม ไม่พูดถึง มันก็ไม่มีกฎหมาย ไม่มีวิธีการจัดการ ไม่มีการสอดส่องดูแล ต่างจากญี่ปุ่น/รัสเซีย ที่ยอมรับมันดื้อๆ แล้วสุดท้ายก็จะเกิดกฎ กติกาต่างๆตามมา
อ้อ ผมยังยืนยันความคิดเดิมว่า "วิธีที่ทำอยู่ มันไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง หรือเหมาะสม ... แต่มันเป็นหนึ่งในวิธีที่มีคนพยายามและลองทำกันหลายที่แล้ว แต่สำเร็จหรือเปล่าอีกเรื่อง ซึ่งถ้าไม่สำเร็จมันก็จะนำมาซึ่งวิธีทางใหม่ๆเอง" แต่แนวคิดในการบีบ Local เพื่อหวังผลให้ Foreign มาอยู่ใต้ระเบียบ เป็นแนวคิดที่ spontaneous นะครับ (ทุกชาติเพื่อนบ้านก็เสียประโยชน์ทางภาษีในเชิงเดียวกัน) ลองทำมีผลมีฟีดแบ๊คทาง ชาติเพื่อนบ้านก็จะทยอยๆทำ(หรือไม่ทำ)ตาม รวมกันเป็นกลุ่มก้อนที่ใหญ่ขึ้นได้ในที่สุด ... คราวนี้ถ้าขยายสเกล จากแค่พันล้านกับสามพันล้าน มันจะกลายเป็นเท่าไรล่ะ แล้วจะไม่ยอมทำเพื่อเข้ากติกาแบบนั้นหรือ
*** ขออภัยใช้ศัพท์ผสมกันเยอะ ไม่รู้จะหาคำไทยไหนมาแทน
*** ผมพยายามตอบยาวให้ครอบคลุมเท่าที่จะทำได้ และจะมาตอบอีกน้อยมากถ้าคิดว่าเคลียร์ในคำตอบแล้ว คือผมไม่ได้มีประโยชน์จากการเป็น Contributor ซึ่งลิมิตการตอบโพสต์มันต่างกันอ่ะครับ
เรื่องนี้ผมถึงมองว่ามุมมองแบบชาติ-รัฐชาติโดดๆมันไม่เพียงพอต่อโลกในยุคปัจจุบันแล้วครับ(อันนีัอธิบายไปในเม้นข้างล่างที่ลิ้งไปแล้ว) มันทำให้การนิยาม การบังคับใช้ ความร่วมมือทางภาษีไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ส่วนเรื่องรายได้ ผมไม่แน่ใจเรื่องรายได้ทั้งหมดของ Google นะ แต่รายได้จาก YouTube ในไทยนี่ผมมั่นใจว่าไม่พอค่าใช้จ่ายแน่ๆ ยกตัวอย่างจาก YouTube เพิ่งบริหารเท่าทุนได้ทั่วโลกเมื่อสองปีที่แล้ว
ส่วนเรื่อง Europe มอง electronically supplied services เป็น goods นี่ผมก็ยังไม่คิดว่ามันเป็นแบบนั่นนะครับ การคิดภาษีในลิ้งคุณเองก็ยังเป็นเพียงภาษี VAT ที่ผู้ซื้อสินค้าและบริการต้องจ่ายอยู่แล้ว ไม่ใช่ภาษีธุรกิจที่กิจการต้องจ่าย หรือเป็นภาษีนำเข้า
มันก็เป็นหลักการในข้อตกลงทางการค้าอยู่นี่ครับ?
เรื่องมันจะเป็น 0.4 หรือ 4.0 นี่ผมไม่ได้คิดตรงนั้นเลยครับ ผมคิดแค่ว่ามันจะเป็นผลดีผลเสียต่อเรายังไง หรือมันจะวุ่นวายขนาดไหน ไอ้ตรงนั้นมันก็แค่ชื่อที่เอาไว้เรียกกัน
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ตอบเรื่องนี้และคงไม่เปิดประเด็นใหม่ก่อนละกันนะครับ (เหลือ 2 / 555)
ตรงกำไรเนี่ย ผมมองว่า การได้เท่าทุนที่เกิดจากการ invest ใน infrastructure แล้วตัดเป็นรายจ่าย ทำให้สุดท้ายแล้ว CapEx ของบริษัทมันเพิ่มนะ(เป็นกำไรในรูปแบบของมูลค่า/ขนาดกิจการ) ... Youtube เองตอนสัมภาษณ์ Bloomber จะใช้คำว่า Investment Mode ... ซึ่งโดยมากควรแปลว่าแปลว่าได้เงินกำไร(รายรับ-OpEx > 0) เท่าไรก็เอามาลงทุนให้หมด เอาแค่ Par เพื่อให้ไม่มีกำไรที่ต้องเสียภาษีมากกว่านะครับ
ในฝั่ง EUR ในลิงค์ที่แปะให้มันกำหนดประเภทแบบลงลึกแล้ว (เพิ่งทำได้มาไม่กี่ปีนี้เอง) .. ซึ่งถ้าเค้าพอใจกับรายได้เค้าก็หยุดแค่เก็บ VAT .. แต่ในตัวกฎหมายเองก็มี "นิยามโปรดักส์" แล้วซึ่งถึงจะใช้คำว่าเพียงภาษี VAT แต่ใน EU มันก็คือ 20% นะครับ (จริงๆหลายอย่างกำหนดเรตไม่เท่ากันด้วยนะ ใน EU ไม่ใช่ Flat Rate แต่มีเรตกลาง) ซึ่งถ้าเล่นเกมหรือใช้บริการออนไลน์ย้อนไปยุคก่อนมีการแบ่งประเภท ราคาสินค้า Digital ใน EU เท่ากับโซนนอกนะครับ มุดไปซื้อได้ .. แต่พอมีกฎหมายชุดนี้มา การซื้อการเช่า Web ของคนใน EU มีราคาใหม่งอกมาซะงั้น (เป้นยุคแห่งการ Lock Zone ซื้อนอกห้าม Redeem ใน EU, โปรดักส์ที่ขายใน EU เอาไปรีดีมที่อื่นไม่ได้เป็นต้น)
ภาษาบ้านเรามีคำว่า VAT-Inclusive กับ VAT-Exclusive
ซึ่งผมมองว่ามันคือภาระจ่ายที่ร่วมกันนั่นแหล่ะ Inclusive ก็ดึงภาระไว้กับตัว, Exclusive ก็โยนภาระมาที่ผู้บริโภค ... ใช้ภาษาสวยๆก็ Vat-inclusive แต่ขอขึ้นค่าบริการโฆษณา 20%
ที่ใช้คำว่าจ่ายร่วมกันเพราะอะไร
เพราะว่า ถ้าคนซื้อโฆษณาวางงบไว้ 1 ล้านบาท เค้าไม่เพิ่มงบเป็น 1.20 ล้านบาท เพื่อจ่ายภาษี
แต่เค้าก็ยังจ่าย 1 ล้านเท่าเดิม (แปลว่ารายได้จริงที่จะได้รับจะเหลือแค่ 8.333 แสนบาท)
ตอนนี้ VAT ยังไม่ต้องจ่ายเลยครับ ... แต่โดยสรุปมันก็วนเวียนอยู่แถวๆวิธีไหนไม่เวิร์คก็จะเกิดวิธีใหม่เอาเอง เลี่ยงบาลีกันไป (ก็คือแค่เปลี่ยนคำถูกไหมครับ .. EU เองก็อยู่ใน WTO และก็เก็บ VAT ได้ / และต้องลงทะเบียนเป็นผู้เสีย VAT ด้วยเช่นกัน)
มันจะไปยากอะไร แค่กำหนดภาษีมูลค่าเพิ่มธุรกิจประเภทแบบเดียวกับ EU ใช้ VAT เรทพิเศษ (มีสิทธิ์ปรับอยู่แล้วนี่ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ... เอาเป็นว่าในทางอักษร จะเขียนยังไงก็ไปว่ากันอีกทีเนอะ แต่ในทางปฏิบัติ ผลเหมือนๆกัน (มีคนต้องจ่ายเพิ่ม+จดทะเบียนVAT+มีบริษัทที่ไม่เสีย VAT+ตามกฎหมาย VATเรทพิเศษว่าไป) .. [ส่วนมากผมมองในมุมปฏิบัตินะ ภาษากฎหมายไปเขียนกันเอาละกัน เขียนแล้วท้วงก็ไปเขียนแบบใหม่มา ภาษากฎหมายบ้านเรามันดูประหลาดซับซ้อนตีความยาก]
ตรงนี้การบริหารปกติก็ต้องทำตามนี้อยู่แล้วนี่ครับ? เพื่อเป็นการกันไม่ให้บริษัทขาดทุน
ส่วน VAT ใน EU มีระบบ self-assessment(exclusive VAT) อยู่แล้วนี่คับ อย่าง Google ก็ใช้ กิจการที่ซื้อบริการต้องคิดภาษีไปจ่ายเอง กิจการที่ขายบริการไม่มีภาระตรงนี้ครับ
ซึ่งจะว่าไปตัว VAT เองก็ไม่เกี่ยวกับตัวธุรกิจอยู่แล้ว แต่เป็นภาษีอุปโภคบริโภคของผู้บริโภคปลายทางที่รัฐขอให้กิจการช่วยเก็บ จะเป็น inclusive VAT หรือ exclusive VAT มันก็แค่การแสดงราคานี่ครับ ยังไงผู้บริโภคก็ต้องจ่ายอยู่ดี ส่วนกิจการไปขอคืนก็ได้ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย
อย่างภาษีจำนวนหนึ่งที่ไทยได้จาก Google นี่ผมก็คิดว่าเป็นภาษีที่ได้เกินจาก VAT นะไม่ใช่จากธุรกิจ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ส่วนตาคนนี้ อ่านมาตั้งนาน พยายามคิดตามผมสรุปสั้นๆแบบนี้ได้ป่าว
"ก็ทำๆมันไป" แต่มันต้องมีหลักการคิด ไม่ใช่เห็นว่า กูเกิ้ลอยู่เมืองนอกเอาไม่ถึง ก็เอามันกับการซื้อบริการจากเมืองนอก
ผมบอกเลยตามหลักการ มันต้องเอาที่ ISP ที่ดูดข้อมูลจากกูเกิ้ล แต่มันจะเป็นอะไรที่ตำบอนสุดๆ
และกลับมาที่หลักการที่ตรงไปตรงมาที่สุดคือ แบน! เหมือนที่เกาหลีเหนือทำแค่นั้นแหละ
แต่ไอนี่เล่นลิ้นไปมา กลัวผลกระทบ รู้ว่างานนี้ถ้าตรงไปตรงมาไม่ใช่ Hall of fame แน่ๆ
มันคือ Hall of shame ที่คนไทยจะเดือดร้อนมหาศาล
หรือเอาแบบตรงไปตรงมาอีกแบบ ก็ไปเจรจากลับ รบ.ที่ประเทศเขาตั้งขอส่วนแบ่งภาษีมาซะ ไม่งั้นตูบล็อกคนในประเทศ ยังไงซะคนในประเทศตูก็อยู่ในกำมือตูอยู่แล้ว
เอ้าเสนอทางออกอีกแบบ ไทยก็ทำบริการแข่งไปเลย บอกคนไทยว่านี่แหละ "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" แล้วจะไถ่ยังไงก็ไถ่เลย ลากปืนลากรถถังไปเลย
(ผมพิมพ์ข้อเสนอไปเยอะหล่ะ ไม่ใช่วิธีลอดรู อดสูแบบนี้หรอก)
ผมก็ไม่อยากเปิดประเด็นว่าจริงๆแล้วเขาต้องการควบคุมภาษีหรืออะไรอย่างอื่นมากกว่ากัน เพราะมันไม่เกี่ยวกับเนื้อข่าว
แนะนำว่าอย่าไปเสียเวลาเถียงกับคนใช้ avatar ปลอมเป็นฝรั่งเลยครับ
เขาใช้วิธีเถียงแบบ non-comprehensive เป็นแค่วิธีแสดงตัวตน (มีส่วนร่วม)
แบบคนไม่มีความรู้ แค่อยากเข้าสังคมกับคนที่มีความรู้ อยากดูมีความรู้มีปัญญาเสมอเหมือน
คนประเภทนี้จะไม่มีข้อมูลอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แต่จะใช้วิธีดักรอข้อมูลจากฝั่งคุณ -
และทำการ disguise เป็นคนรู้เท่าด้วยการรังสรรค์ประเด็นลอยมาแย้งเป็นคำๆไป
ซึ่งโดยมากก็แค่ไปเปิดวิกิเพเดีย สดๆ มาหาเรื่องแย้งกันเท่านั้นเอง
วิธีแย้งไม่มีอะไรซับซ้อน แค่จินตนาการสิ่งที่เป็นนิเสธ มาประกอบ
และสรรหาคำพูดที่พอจะดูเป็นนิยายเนื้อเดียวกันมาใช้เป็นฐาณทางความสอดคล้องเชิงภาษา
บางครั้งก็กล้าๆกลัวๆ กลัวหน้าแตก ก็จะพิมพ์น้อย เพราะข้อมูลน้อย .
ซึ่งเป็นลักษณะวิธีการของคนที่ไม่รู้จักการสนทนาทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการสนทนาเชิงวาทะศาสตร์ (ไร้สาระ)
เขาจะรอจนกว่าคุณมอบข้อมูลให้เขานำไปประดิษฐ์นิเสธ
วิธีรับมือกับคนประเภทนี้ คืออย่าไปให้ข้อมูลอะไรกับเขา เพราะคนไม่มีความรู้
จะกลัวการสำแดงความไม่รู้มากที่สุด
เขาจะไม่กล้าพิมพ์อะไรตราบใดที่คุณไม่มอบข้อมูลให้เขาประดิษฐ์นิเสธ
การประดิษฐ์นิเสธ ไม่ได้ทำด้วยกลไกทางสติปัญญา
แต่กระทำด้วยความรู้สึกด้อย เขาจึงพยายามจำลองตนเองเป็นสิ่งที่ทัดเทียมกับคุณ
รอบที่แล้วผมพูดเรื่อง miracle age of japan ซึ่งเป็นศัพท์บ้านๆ พื้นๆ ไม่ได้หรูหราอะไร
ใครๆก็รู้กันทั้งนั้น ว่า korea war คือจุดเริ่มต้นของ miracle of japanเพราะสร้างรายได้มหาศาลให้กับญี่ปุ่น
เหมือนเด็กเรียน สปช ต่อให้ไม่ตั้งใจเรียน ก็ควรจะได้ยินชื่อ นิวตัน ผ่านหูมาบ้าง
คนๆนี้ก็พยายามดริฟข้ามไปเรื่องที่ไม่เกี่ยวกันเลย
ขนาดในวิทยานิพนธ์ของ Masahiro Takada อาจารย์เอกฟิสิกช์และคณิตศาตร์ก็เขียนบรรยายไว้อย่างเรียบๆง่าย ๆ
http://www.lehigh.edu/~rfw1/courses/1999/spring/ir163/Papers/pdf/mat5.pdf
The recovery of the Japanese economy was achieved through the implementation
of the Dodge Plan and the effect it had from the outbreak of the Korean War. The so
called Korean War boom caused the economy to experience a rapid increase in
production and marked the beginning of the economic miracle.
ก็ยังจะมีคนแถออกนอกโลกอยู่นั่น
คนบางประเภทไม่ได้ใช้อินเตอร์เนตเพื่อสรรหาความรู้ แต่เล่นเพื่อแสวงหาปมทางสังคม และหน้าตา
ต้องการ disguise หรือเล่นบทบาทสมมุติ ด้วยการสำแดงตนร่วมกับกลุ่มคนที่เขาสนใจ (และเป็นเป้าหมายในการ disguise)
คำแนะนำผม - ถ้าเจอคนประเภทนี้ อย่าพยายามไปตอบโต้ครับ .
เพราะการตอบสนองจากคุณ จะทำให้เกิดสภาพบทสนทนา
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เขาต้องการ เขาต้องการหล่อเลี้ยงภาพลักษณ์ในอินเตอร์เนต ที่ตั้งธงไว้ว่า
ต้องดูดี มีความรู้ ใครจะรู้มากกว่า ต้องมาเถียงกับเขา เขาจะเท่าคนอื่นให้ได้ ทั้งที่ไม่ได้มีความรู้อะไรแต่แรก
ตลกดีนะครับที่คุณ ideocondo ที่ควรจะเป็นคนที่มีแต่คนชื่นชม(ในความคิดของคุณเอง) แต่ในความจริงดันเป็นอีกอย่าง แถมโดนแบน account มาก็หลายครั้ง ต้องแอบๆซ่อนๆเล่น
ตลกดีครับ การที่ผมบอกว่าอเมริกาไปรบสงครามเกาหลี แต่ซื้อสินค้าจากญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นเจริญ เป็นเพราะความเก่งกาจด้านนโยบายการค้าของญี่ปุ่น ไม่ใช่ด้านกองกำลังทหารของญี่ปุ่นนี่ทำให้ผมแถออกนอกโลกเลย?
ตัวคุณเองหรือเปล่าครับที่มีแค่ความรู้หรือข้อมูลเล็กน้อย ก็เอามาสรุปเป็นตุเป็นตะว่าต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้?
อ้อ อีกอย่างนึงเผื่อคุณจะไม่รู้แล้วแสดงความไม่รู้ออกมาอีก Avatar ผมไม่ได้ปลอมเป็นฝรั่งครับแต่เป็น idol ผม คนในรูปคือ David Hewlett ซึ่งแสดงเป็น Rodney 'McKay' ใน Stargate SG-1 และ Stargate Atlantis
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมรู้หล่ะ ปัญหาของคุณเนี้ยคือ การตีความว่าโฆษณาที่คนไทยยอมดูๆกันเนี้ย
คุณบอกว่าเป็น สินค้าโฆษณา เอามาขายในไทย
ขายในไทยตรงไหนครับ คุณขายอะไรกันแน่อย่ามั่ว เอาตรงนี้ก่อน
คุณบอกว่า โฆษณาที่เอามาเปิดกลางเมืองเนี้ยเป็นสินค้า ถูกต้องมันเป็นสินค้า
แต่ไม่ใช่สินค้าของคนไทยครับ มันคือสินค้าของเอเจนซี่โฆษณาไทย แล้วเขาก็ไปซื้อมาครับ
เขาขนเงินเขาออกไปซื้อข้างนอกครับประเทศ
ส่วนที่บอกว่าหน้างานเกิดในบ้านเรา ผมถามจริงๆบ้านเรามีเชิฟเวอร์เหรอครับ
ข้อมูลทั้งหมดเก็บอยู่ที่อื่น โปรแกรมเมอร์เขาก็ไม่ใช่คนไทย ทำจากตปท.ทั้งนั้น
ยกตัวอย่างง่ายๆ คาราบาวแดงไปโฆษณาข้างสนามฟุตบอลในอังกฤษ บริษัท EPL ก็ต้องจ่ายภาษีให้ไทยด้วยงั้นสินะครับ เพราะไอภาพคำว่าคาราบาวมันก็มันมาฉายที่เมืองไทยเหมือนกันเป็นนิยามสินค้าเพี้ยนๆที่คุณคิดเอาเอง
มันคือบริการที่เอเจนซี่โฆษณาหอบเงินไปเมืองนอกไปซื้อ แล้วตั้งไว้บนเชิฟเวอร์เมืองนอก เพราะประเทศเราไม่มีแบบเขา ส่วนไอเราคนไทยก็ใช้บริการ ISP ไปเมืองนอกไปชมนู่นชมนี่ แล้วก็แลกกับการดูโฆษณา
มันก็แค่นั้นแหละ แต่ความตรงไปตรงมา คือ เราคนไทยยอมจ่ายค่า ISP ค่าไฟ ไปเป็นสินค้าให้กูเกิ้ลเอาไปขาย เหมือนช่องสามขายฐานคนดู แค่นั้นแหละ ถ้าคิดว่า เอาข้อมูลกูเกิ้ลเข้ามาเป็นสินค้า งั้นก็ไปเก็บกับ ISP สิ ก็ไปดูดข้อมูลกูเกิ้ลจากเมืองนอกเข้ามาในไทยทำไมหล่ะ แล้วISP ก็จะมาชาร์ทที่คนไทยที่ติดต่อไปเชิฟเมืองนอกอีกที อยากทำก็ทำกันไป จะตำบอน แค่ไหนก็ค่อยมาคุยกันใหม่
ส่วนถ้าจะทำแบบนั้นจริง จะไปขัดกับกฎ WTO ที่ไทยเป็นสมาชิกหรืออะไรรึเปล่าอันนั้นผมก็ไม่รู้นะ
ไม่ใช่จะตะแบงทำอย่างเดียว เคยไปรับปากอะไรเขาไว้บ้างก็ไม่สนใจ ทำหน้าด้านๆหน้าไม่อาย ให้เสื่อมเสียเกียรติยศประเทศ
หลักการคิดหน่ะมันต้องเป๊ะ ไม่ใช่สะเปะสะปะตีความเอาง่าย เข้าข้างอย่างที่ใจอยากให้เป็นอย่างเดียว
มันทุเรศมามากพอแล้ว รัฐไทยหน่ะ
ขอตอบในฐาณะคนหากินกับโฆษณา (Google firebase + Admob)
คือโฆษณาในอินเตอร์เนตมันต่างจากโฆษณา (แฝง) ในตัว media ครับ
โฆษณาในอินเตอร์เนตรายได้ตาม cpm / click พูดง่ายๆคือรายได้ยึดโยงกับ ”จำนวนคนใช้งาน” โดยตรง
ในขณะที่ป้ายโฆษณาริมสนามบอลมันเป็นแค่ ”ส่วนหนึ่งของ media" (รายการฟุตบอล)ซึ่งไม่ได้เกิดจากเจตจำนงของผู้ใช้ ส่วนจะยึดโยงกับจำนวนคนหรือไม่ขึ้นกับสัญญา ซึ่งส่วนมากเป็นการเหมาจ่าย รายการใหนดังคนดูมาก ก็ราคามาก แต่ไม่ได้มีลักษณะเป็น ”การ distribute" ตามจำนวนหัวของผู้เข้าชม
ไม่ใช่แค่รายการฟุตบอล ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีโฆษณาแฝงหมด สินค้ายี่ห้อต่างๆที่ตัวละครใช้ นั่นแหละ เขาประมูลโฆษณา และให้ใช้ในภาพยนต์ . ตัวอย่างที่เห็นบ่อยๆก็รถ aston martin ในเจมส์บอนด์ ครับ ถ้าเอาตัวอย่างแบบน่าอายก็ FF7 the movie นั่นแหละทั้งเรื่องเป็นแค่ โฆษณามือถือ
สุดท้าย ISP ไม่ได้ดูดข้อมูลจากกูกเกิลในลักษณะเหมาจ่าย แต่การดูดข้อมูลเกิดจาก
USER สั่ง REQUEST ทุกครั่งที่เปิด WEBPAGE ดังนั้น USER จึงเป็นผู้ซื้อโดยตรง (เพราะเป็นผู้สั่ง request)
ยกตัวอย่างเช่นโฆษณาที่คุณเห็นอยู่มุมขวาของเวบนี้ ---> แสดงผลจากการ
request () ที่คุณเลือกเข้า blognone.com ในทางพฤตินัยคุณเป็นผู้เรียกให้เกิดการแสดงผล
ISP ไม่ได้เกี่ยวข้องแม้แต่น้อย
ตัวอย่างที่คุณยกมาจะเป็นจริงต่อเมื่อ - ISP คัดลอกข้อมูลทั้งหมดของ google / facebook มาประจำไว้แบบ offline
และ user ทำการ request () มาจาก data center ของ ISP. โดยไม่มีทางเชื่อมต่อใดๆกับ google / facebook
ทั้งนี้ขอให้ทำความเข้าใจประเด็นเรื่อง [การแสดงผลของโฆษณา] เป็น ”สินค้า" ก่อนครับ
[หนังโฆษณา] เป็นสินค้าที่ผลิตจากสตูดิโอเฮาส์
[โปสเตอร์โฆษณา] เป็นสินค่าที่ผลิตจากครีเอทีฟเฮาส์
[การแสดงผลโฆษณา] เป็นสินค้าที่ผลิตโดย facebook / google มีรายได้ตามเรต cpm / clicks โดยตรง
แล้วมันเป็นสินค้าของใครเหรอครับ คนดูหน่ะเป็นสินค้าให้กูเกิ้ลขาย ถูกมั้ย!
แค่เนี้ย สั้นๆง่ายๆ กูเกิ้ลได้เงินจากใคร จากคนดูเหรอ ไม่ใช่ซะหน่อย
คนดูไม่ใช่ลูกค้ากูเกิ้ล ครับ
ก็ใช่ไง การแสดงโฆษณา เป็นสินค้า บริการ ที่ผลิตโดย Facebook/google ไม่ผิดเลย
ผมไม่ได้เถียงเลย
ก็ผมบอกไงว่า คนไทยไปซื้อสินค้าบริการเมืองนอกมันผิดตรงไหน ก็ซื้อไปดิ๊ ซื้อแล้วมันก็ลอยอยู่ที่เชิฟเวอร์เมืองนอกหน่ะแหละ แล้วไงหล่ะ แล้วจะไปจัดการอะไรกับคนเอาเงินไปซื้อบริการเมืองนอกหล่ะ
ตอบต่อมาซิ๊
เขาไม่ได้จัดการกับคนเอาเงินไปซื้อบริการเมืองนอก
เขาจะจัดการกับผู้ให้บริการ ซึ่งใช้ทรัพยากรของประเทศไทย (สายไฟ สายแลน ค่าไฟฟ้า) ในการขาย products
ในการสร้างมูลค่าของ products (ด้วย request() จากคนใช้ในประเทศนั้น)
วงจรอุบาวท์หนึ่งที่ควรคำนึงคือ
บริษัทไทยซื้อโฆษณาจาก google --> google คิดราคาตามจำนวน cpm / clicks
--> เกิดการเปิดบริษัทปลอมเปิดบอทกด request() เพื่อปั่นจำนวน cpm / clicks
= บริษัทไทยเสียเงินซื้อโฆษณาโดยเปล่าประโยชน์ (โฆษณาไม่ได้เข้าสู่สายตามนุษย์)
เคสนี้คือ คนไทยเสียทั้งเงินค่าโฆษณา เสียทั้งทรัพยากร (ไฟฟ้า สายไฟ สถานที่)
โดยที่ Google/FB ได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว
สรุปสั้นๆ การเก็บภาษีจาก Google/FB เป็นสิ่งที่ต้องทำมานานแล้ว เพราะทรัพยากรในการสื่อสารเป็นของประเทศไทย
ถ้า Google Facebook ส่งระบบโทรจิตเข้าสมองคนไทยโดยตรงได้ ก็ต้องเก็บภาษี ”ทรัพยากรมนุษย์” อยู่ดี
อุตส่าห์รออ่าน ไอที่คุณพูดมาทั้งหมดเนี้ยนะครับ ถ้ามันเกิดขึ้นจริงมันจะเป็นกรณีระหว่างผู้ให้บริการโฆษณา และเอเจนซี่ซื้อโฆษณาที่เป็นผู้เสียหาย และ ผู้ซื้อโฆษณาสามารถงดการซื้อในครั้งต่อๆไป รวมถึงเรียกร้องเอาจากศาลที่มีเขตอำนาจที่เฟซบุ๊คมีออฟฟิค หรือว่า ออกใบเสร็จได้อีกด้วย ไม่เห็นจะไปเกี่ยวกับ กสทช.ไทยตรงไหน
แล้วกสทช.ไทยจะขู่ว่าผู้ซื้อโฆษณามีความผิดได้อย่างไร
ถือว่านี่คือนวัตกรรมใหม่ทางกฎหมายของไทย ขอชื่นชม กสทช ครับ
ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ผมยังไม่มองเห็นทางออกไหนที่จะมาบีบให้ สื่อยักษ์ใหญ่ของโลกทั้ง 2 มาจ่ายเงินภาษีให้ประเทศไทยได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
กลัวอยู่อย่างคือ ทั้งสองที่จะจับประชาชนเป็นตัวประกัน คือพับเสื่อกลับบ้าน แล้วให้เราๆ ท่านๆ มาประท้วงรัฐบาลเหมือนอย่างประเทศจีน
นวัตกรรมทางกฎหมาย คุณกล้าใช้คำนี้ด้วยเลยเหรอ กฎหมายมันต้องมีหลักนิติธรรมค้ำ ไม่ใช่จะออกแบบไหนก็ได้
งั้นคุณตอบผมมาว่า ถ้าหลักการนี้เอาไปใช้ทั่วไป คุณจะไปจ้างดารามางาน คุณจะต้องรู้ก่อนเหรอว่าเขาเสียภาษีถูกต้องรึเปล่า ไม่งั้นคุณผิดไปด้วย แล้วถ้าเขาเสียภาษีไม่ถูกต้อง รัฐให้เขารับงานไม่ได้ เขาจะเอาเงินจากไหน
กฎหมายประหลาดๆ หาลู่ทางเพื่อไปยังธง จะแหวก จะมุด จะลอด อะไรก็ไม่สนใจทั้งนั้น ไม่แคร์มันจะเกิดผลประหลาดขึ้น การบังคับใช้ก็ทำแบบเป็นการทั่วไปเสมอภาคไม่ได้ แบบนี้เนี้ยนะ เรียกว่านวัตกรรมทางกฎหมาย
ถ้ามันไปไม่ถึง ก็ไม่ต้องไป นู่นไปทางกระทรวงตปท.นู่น ไปขอแบ่งภาษีจากประเทศเขา แลกเปลี่ยนความร่วมมืออะไรก็ว่ากันไป หรือถ้าคิดไม่ก็ปูผ้ากราบกันดื้อๆ เผื่อเขาจะเมตตาทำบุญทำทนกลับมาให้บ้าง
แนวคิดตรงนี้มันมาจากการที่เห็นคนไทยเป็นหนูถีบจักร เป็นของสินทรัพย์ส่วนตัว ที่ไม่ว่าใครจะมาหาผลประโยชน์ก็ต้องมาเสียค่าดูแล
แต่รัฐไม่เคยมีแนวคิดแบบ จอห์น ล็อค ที่ประชาชนยอมที่จะเสียผลประโยชน์บางอย่างเพื่อที่จะให้รัฐคุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพ และทรัพย์สิน ถ้าผลประโยชน์อะไรที่ประชาชนไม่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าเสียสละให้รัฐ รัฐก็ไม่ควรเข้าไปยุ่ง
มีที่ไหนจะไปลงโทษคนไทยที่จะไปซื้อบริการจากต่างชาติ แล้วบอกว่านี่นวัตกรรม
ผมบอกเลยว่า นิติบุคคลคอนโด ยังเคารพแนวคิด สิทธิ เสรีภาพ เท่าเทียม การถูกตรวจสอบและจำกัดอำนาจ กว่ารัฐไทยเลย
ผมว่ามันเป็นกฎหมายที่ประณีประนอมมากเลยนะ จะเรียกว่ามีนิติธรรมก็น่าจะได้
คำถามที่คุณถามน่าจะไม่ตรงประเด็นและเปรียบเทียบไม่ถูก ถ้าจะเปรียบเทียบต้องเปรียบเทียบว่า ถ้าคุณจะไปจ้างหมอมารักษาคนอื่น และหมอไม่ได้ขึ้นทะเบียน หรือไม่มีใบประกอบโรค แล้วคุณก็ได้ประโยชน์ หรือผลประโยชน์จากหมอ (เช่นค่าคอมฯ เปรียบเสมือน คนไปลงโฆณษณาก็ได้ผลประโยชน์จากการที่ได้แสดงโฆษณาของตัวเองกลับมา)
คุณได้ประโยชน์จากหมอเถื่อนมาแถมส่งเสริมให้เขามีรายได้ คุณว่าคุณควรผิดหรือเปล่า
ถ้าหมอคิดว่าตัวเองดีมีความรู้ ก็ควรไปสอบใบประกอบโรค หรือมาขึ้นทะเบียนให้มันถูกสิ แล้วได้ค่ารักษาจากคนไข้จะแบ่งค่านายหน้าอย่างคุณ ก็แบ่งไปก็ไม่มีใครว่าคุณ แต่หมอก็อย่าลืมจ่ายภาษีให้มันถูกต้องด้วย อันจะถือว่ามีหลักนิติธรรมในใจก็น่าจะได้
และจะดีมากถ้าคุณจะเสนอแนวทางที่ดีกว่า พรบ นี้หน่อย
อันนี้เพี้ยนนะครับ เรื่องหมอเอามาเทียบได้ยังไง คนละโลกกันเลย
เอาแบบนี้ง่าย ๆ ดีกว่า ผมไปซื้อโฆษณาทีวีดาวเทียมของอินโด ให้คนไทยที่มีจานดาวเทียม ที่ดูผ่านดาวเทียมอินโดได้เห็นเนี่ย ถามว่าบริษัท ฯ โฆษณาในอินโดที่ผมจ้างต้องจ่ายภาษีให้ใครครับ รัฐไทยหรือรัฐบาลอินโด แล้วเค้าต้องมาลงทะเบียนกับรัฐไทยไหมครับ
เนี่ยเห็นชัด ๆ เลยครับ ตรรกะเนี่ยโคตรจะเบสิคเลย
เป็นการส่งสัญญาณภาพและเสียงเหมือนที่ กสทช.ตั้งไว้เลย ไม่ต้องลากไปสาขาที่เทียบกันไม่ได้เลย
ถ้าคุณจะบอกว่า ผมหน่ะจ้างหมอเกาหลี ให้คนไทยบินไปอัพหน้าใหม่ที่เกาหลี มันผิดด้วยเหรอ
หมอเกาหลี ได้รับการรับรองจากเกาหลี ทำในเกาหลี แล้วไอคนไทยที่อัพหน้าใหม่ ก็สวยขึ้นมากลับมาอวดโฉมที่เมืองไทย รับงานอีเว้นท์ พริ้ตตี้เมืองไทย แล้วทำไม?
ผมถามสิว่าผิดตรงไหน หมอเกาหลีที่รบ.เกาหลีรับรอง เขาก็ถูกต้องตามกฎหมายเกาหลีทุกอย่าง แต่ถ้ามองในมุมมองแพทยสภาไทย มันก็ผิดเพราะแพทยสภาไทยเขาไม่ได้รับรองแพทย์คนนี้ มาทำงานในไทยไม่ได้
แล้วไอหมอเกาหลี ที่ต้องมาขึ้นทะเบียนที่ไทยด้วยเหรอ รับงานโมด์หน้าให้คนไทยต้องเสียภาษีที่เมืองไทยด้วยงั้นสิ?
คนไทยต่างหากที่บินไปหาเขาเอง ก็ที่เมืองไทยไม่มีหมอเก่งที่เชื่อมือได้อย่างเขานี่หว่า
ตั๋วเครื่องบินคนไทยก็ออกเอง (ISP ตูก็จ่ายเงินเอง) สายการบินก็เสียภาษีสนามบิน รายได้ถูกต้อง
แล้วจะเอาอะไรอีก
หัดคิดซะบ้างนะว่าไอหมอคนนี้มันต้องมาเกี่ยวอะไรกับคนไทย จะห้ามไม่ให้คนไทยบินไปอัพหน้าที่เกาหลีงั้นดิ๊
ถ้าอยากควบคุมให้หมอเสียภาษี เมืองไทยก็จัดสร้างหมอเก่งๆกว่าเกาหลีเขาซะสิ แล้วทีนี้จะรีดภาษี จะไถ่เงิน จะควบคุมให้จมูกห้ามยาวเกินกี่นิ้วๆ ก็เอาปืนไทย ไปบีบเอาตามใจชอบเลย
ส่วนที่ให้เสนอแนวทางหน่ะ ฟังนะครับ คุณจะชอบรึเปล่าผมไม่รู้
1. แก้เรื่องภาษีที่จัดเก็บไม่ได้โดยให้บริษัทจากประเทศที่เจริญแล้ว มีเทคโนโลยี มีกำลังผลิตสูง มาตั้งฐานในไทย โดยทำเช่นนี้
1.1 ที่ดีที่สุดเลยก็ปรับปรุงกฎหมายให้ มีมาตราฐาน ยกเลิกกฎหมายป่าเถื่อน และละเมิดสิทธิมนุษยชนที่คนจากสังคมที่เจริญแล้วเขาหวงแหนกัน เพื่อทำให้ประเทศเราน่าลงทุน และมาตั้งฐานการทำธุรกิจ โดยทำอย่างจริงใจและคงเส้นคงวา
1.2 สร้างสาธารณนูปโภค ของประเทศให้ดีเพื่อรองรับและดึงดูดภาคธุรกิจ
1.3 ให้คนไทยพัฒนาความรู้ ความสามารถ เพื่อรองรับธุรกิจที่ต้องการความสามารถที่สูงขึ้น
2. การควบคุมเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย
2.1 ถ้าหากข้อ 1 ยังทำไม่สำเร็จ สำหรับเนื้อหาที่ผิดกฎหมายสากล ต่างชาติยอมรับ ให้กระบวนการศาลของประเทศที่มีเขตอำนาจ เช่น อเมริกา หรือ สิงคโปร์ ส่วนถ้าข้อ 1 สำเร็จแล้ว ก็ใช้กระบวนการศาลไทย อย่าทะลึ่งเอาปืนที่หรืออาวุธที่ไม่เคยแม้แต่จะผลิตเองไปบีบเขา เด่วมันจะขัดกับ 1.1
2.2 ถ้าหากข้อ 1 ยังทำไม่สำเร็จ สำหรับเนื้อหาที่ผิดกฎหมายแต่ของไทยที่เดียว นานาเขามองว่าปัญญาอ่อน ก็อย่าไปถือสาหาความ ปรับปรุงตัวเอง ให้มีความอดทนเข้ากับสังคมของโลกที่เขาเจริญแล้วซะบ้าง และถ้าหากข้อ 1 สำเร็จแล้วก็อย่าทะลึ่งไปอะไรบ้าๆอีก ไม่งั้นเด่วมันจะขัดกับ 1.1 ซะเอง
เข้าใจหรือยังครับ หรือผมต้องเขียนให้ดูเป็น Pseudo Code
ทำไมผมเขียม ตรรกะคุณจัง ผมแนะนำหาที่ลงเรียน เรื่องการ คิด วิเคราะห์ การใช้เหตุผล
ลองวิเคราะห์ให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ ว่าตรรกะผมเพื้ยนหรือประหลาดยังไง
เผื่อผมจะได้เห็นการใช้เหตุผลหรือตรรกะที่เข้าท่าเป็นตัวอย่างได้บ้าง
จากสภาพแวดล้อมของการเสพสื่อในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป
มีใครพอจะบอกได้ไหมว่า จะเก็บเงินภาษีให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยจาก Google กับ Facebook ได้อย่างไร เหมือนที่เก็บค่าสัมปทานจาก ช่อง Digital TV
ทั้งๆ ที่ Google กับ Facebook โกยเงินจากประเทศไทยไปไม่รู้เท่าไหร่ แต่ประเทศได้ภาษีกลับมานิดเดียว
หรือเราไม่ต้องสนใจรายได้จากตรงนี้กันแล้ว Google กับ Facebook อยากจะโกยเงินจากประเทศไทยต่อก็โกยไป ไม่ต้องเสียภาษงภาษีอะไรมากมายเหมือน TV Digital
ส่วน TV Digital จ่ายเงินค่าสัมปทานไปแล้ว มันแข่งไม่ได้ก็ให้มันตายไป เพราะเราอยู่ในยุคเสรีแล้ว การค้าก็เสรี สื่อก็เสรี มือ Google กับ Facebook ยาว จากอเมริกาสาวได้ก็สาวเอา
กสทช ก็มารีดเลือด กับช่อง TV Digital ที่เหลือชีวิตรอดต่อไป
หรือมันมีอะไรที่พอจะดีกว่า พรบ นี้ไหม
ผมว่าตอนนี้ก็ต้องแยกประเด็นกันแหละครับ ระหว่างเรื่องการจัดเก็บภาษีกับการลงโทษหรือการแบนต่างๆ ซึ่งในกรณีที่ว่า Google กับ Facebook เสียภาษีให้กับรัฐบาลน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ตรงนี้ผมว่าคนส่วนใหญ่ก็น่าจะค่อนข้างเห็นด้วย แต่ส่วนที่ไม่เห็นด้วยก็คงจะเป็นเรื่องของมาตรการการลงโทษที่กระทบต่อคนหมู่มากอะไรพวกนั้นเสียมากกว่า
และตอนนี้ผู้ใช้งานก็ดูจะเป็นเครื่องมือให้กับทั้งสองฝั่งที่สามารถเอามาใช้เป็นเครื่องมือต่อรองได้เช่นกัน โดยยกนี้บ้านเราเป็นคนเขี่ยลูกเริ่มเกมส์นี้ก่อน โดยจี้ลงโทษผู้ใช้งานที่ไปลงโฆษณากับบริการเหล่านั้น
ยกเรื่อง Google ละกันนะครับ
เวลาที่เราไปเที่ยวต่างประเทศหรือไปอยู่ต่างประเทศ เราซื้อนู่นซื้อนี่จ่ายค่าบริการนอกประเทศ รัฐมีสิทธิ์ไปเก็บภาษีที่มี transaction อยู่นอกประเทศด้วยหรือเปล่าครับ? เงินไหลออกนอกประเทศเหมือนกัน
กรณีเดียวกันครับ Google ให้บริการอยู่นอกประเทศ(เราแค่ไปเชื่อมต่อเค้ามา) transaction ต่างๆก็เกิดที่ต่างประเทศ และเราก็ไม่ได้มีความร่วมมือด้านภาษีแบบเดียวกับยุโรป(ซึ่งเอาจริงๆ Google ก็ dodgy อีกซะงั้น) ดังนั้นอย่างกรณีนี้ Google ก็ไปจ่ายภาษีที่สิงคโปร์(ยกตัวอย่างเช่นเงินจากออสเตรเลีย) ส่วนจะจ่ายถูกหรือจ่ายผิดหรือจะหนีก็เป็นเรื่องของ Google กับสิงคโปร์ครับ
ทางแก้ไขก็คือความร่วมมือด้านภาษีระหว่างประเทศครับ หรือถ้าย้อนเวลาไปอีกซักหน่อย(หรือนานมาแล้ว)ก็คือทำยังไงก็ได้ให้ Google มาเปิด service(ไม่ใช่แค่การเชื่อมต่อ service)ในประเทศเรา ให้ transaction เกิดที่ประเทศเรา ไม่ว่าจะเป็นมาตรการด้านภาษี ด้านกฎหมาย หรืออื่นๆ ตรงนี้เป็นเรื่องวิสัยทัศน์ล้วนๆ
หรือไม่ก็ทำอย่างที่ไทยกำลังจะทำ(หรือแบบเดียวกับที่ออสเตรเลียกำลังจะทำ) ซึ่ง Google จะยอมจ่ายหรือเปล่าก็เป็นอีกเรื่องครับ
อันนี้ความเห็นส่วนตัวล้วนๆคือโมเดลชาติ-รัฐชาติโดดๆ ในปัจจุบันมันตามโลกยุคนี้ไม่ทันแล้ว จะเห็นว่าแต่ละประเทศเริ่มหลอมรวมกันมากขึ้น ฝั่งเราเองก็มี AEC(ที่ไม่รู้ถึงไหนแล้ว เน่าหรือยัง)ครับ
ส่วนที่ลงทุนไปกับใบอนุญาตินี่เข้าใจว่าเค้าประมูลกันเพราะ'คาดว่าจะเกิดกำไร' ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนธุรกิจแบบหนึ่ง ต้องวางแผนให้รอบคอบอยู่แล้วนี่ครับ? ไม่วางแผนเลยกะว่าลงทุนแล้วยังไงก็กำไร content จะทำห่วยยังไงก็ได้ พอเจ๊งแล้วจะมาโทดปี่โทดกลองก็ยังไงอยู่
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
สรุปผิดตั้งแต่มีอินเตอร์เน็ตแล้ว ต้องปิดกั้นให้หมด
ยิ่งไม่เห็นด้วยแบบ ล้าน% เพราะที่ญี่ปุ่น อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากกว่าโทษแบบ ล้าน% ซึ่งทำให้ที่ญี่ปุ่น มีอินเทอร์เน็ตที่เร็วที่สุดในโลก เช่น 10 gbps / 2.5 gbps (down/up) แบบราคาประหยัด ซึ่งมาก่อนอเมริกา ผู้ให้กำเนิดอินเทอร์เน็ตแล้วครับ
ภาษีไม่ใช่ประเด็นสำหรับเขาหรอกครับ ประเด็นสำคัญคืออยากควบคุมได้สื่อที่คนไทยใช้เยอะ เลยหาข้ออ้างด้านภาษีมาเป็นให้คนไทยเลือดรักชาติออกมาเห็นด้วยมากกว่า งั้นเขาก็ต้องเรียกบริการทุกอย่างบนโลกนี้มาเสียภาษีแล้ว ทำไมกฏหมายถึงเลือกปฏิบัติ?
เคยได้ยินไหมครับที่ว่าสรรพากรไปนับถ้วยก๋วยเตี๋ยว เพื่อเก็บภาษีกับผู้ประกอบการรายเล็ก แล้วก็จะมีคนมาพูดว่า ทำไมเลือกปฏิบัติกับรายเล็กรายย่อย
แล้วรายใหญ่ๆ อย่าง Google กับ Facebook ล่ะ
ตอนนี้สรรพากรก็กำลังไล่เบี้ยกับผู้ประกอบการออนไลน์รายย่อยในประเทศด้วยด้วย อ้างอิง >> “คลัง” จ่อรีดภาษีออนไลน์ เตรียมรอชง ครม. " http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000064777
แล้ว Google กับ Facebook มีอภิสิทธิ์อะไรที่จะไม่ต้องจ่ายภาษีให้มันเต็มเม็ดเต็มหน่วยให้ประเทศไทย
แต่มันก็จะยังไม่มีทางที่จะให้สองที่นี้จ่ายให้ประเทศแบบไม่ใช่เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้
ผมว่า พรบ นี้น่าจะช่วยบีบได้
ถ้าฐานของบริการเกิดที่สิงคโปร์ transaction เกิดที่สิงคโปร์ Google ต้องจ่ายภาษีให้สิงคโปร์แล้วบอกว่า Google จ่ายให้เราไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนี่ไม่ใช่แล้วครับ
แบบนีัเกิดคนต่างชาติมาเที่ยวบ้านเรา เงินไหลเข้าประเทศมหาศาล เกิดประเทศบ้านเกิดไม่พอใจที่เงินไหลออก บอกบริษัทในประเทศไทยต้องเสียภาษีให้เค้าด้วย ไม่งั้นจะแบนไม่ให้คนมาประเทศ จะทำไงครับ?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
"ถ้าฐานของบริการเกิดที่สิงคโปร์ transaction เกิดที่สิงคโปร์ Google ต้องจ่ายภาษีให้สิงคโปร์แล้วบอกว่า Google จ่ายให้เราไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนี่ไม่ใช่แล้วครับ"
ผมมองว่ามันเป็นภาษีนำเข้าอย่างหนึ่งแม้ทรานแซคชั่นเกิดที่สิงคโปร์แต่การบริการเกิดขึ้นที่ประเทศไทย ก็ต้องปิดกั้นบริการหรือสินค้านั้นถ้าไม่เสียภาษี
"แบบนีัเกิดคนต่างชาติมาเที่ยวบ้านเรา เงินไหลเข้าประเทศมหาศาล เกิดประเทศบ้านเกิดไม่พอใจที่เงินไหลออก บอกบริษัทในประเทศไทยต้องเสียภาษีให้เค้าด้วย ไม่งั้นจะแบนไม่ให้คนมาประเทศ จะทำไงครับ?
การบริการของการท่องเที่ยวเกิดขึ้นที่ประเทศไทยจะตามมาเก็บภาษีมันทำไม่ได้อยู่แล้ว
แต่ถ้าจะแบนคนไม่ให้มาเที่ยวหรือเก็บเงินคนที่จะมาเที่ยวเขาก็ทำได้
มีบางประเทศทำเช่น
จีนลดการไปเที่ยวเกาหลีใต้ สาเหตุมาจากไม่พอใจที่เกาหลีใต้ติดตั้งระบบต่อต้านขีปนาวุธ
เกาหลีทำไรไม่ได้
รัฐบาลซาอุห้ามคนซาอุมาเมืองไทย ประเทศไทยก็ทำอะไรไม่ได้
ภาษีในเรื่องนี้กับภาษีนำเข้ามันคนละกรณีกันนี่ครับ วิธีคิดภาษีนำเข้ากับภาษีธุรกิจก็คนละแบบอยู่แล้ว หรือถ้าสามารถคิดแบบนั้นได้จริงๆ--
บริการที่เกิดขึ้นที่ Google ที่สามารถ generate revenue คือบริการรับเผยแพร่'โฆษณา' ตัวบริการเองอยู่ที่ต่างประเทศอยู่ครับ ภาษีเป็นภาษีธุรกิจ ภาระภาษีคิดจาก'ภาระการใช้งานทรัพยากร'ในประเทศนั้นๆ อันนี้ไทยควรมีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่ครับ
ส่วนบริการที่'อาจจะ'มองว่าเป็น'การนำเข้า'ที่คุณพูดถึงคือบริการการให้เข้าถึง VOD, streaming บริการตรงนี้ไม่เกิด revenue 'ทางตรง' ดังนั้นจะเก็บจากอะไรครับ
อันนี้ผมไม่รู้ว่าคุณต้องการจะสื่ออะไรนะครับ เพราะมันไม่ได้ขัดแย้งกับสิ่งที่ผมสื่อนะ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
น่าจะเปรียบเทียบไม่ถูกนะครับ ต้องเปรียบการเป็นผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีครับ
การที่เปรียบเทียบคนต่างชาติมาเที่ยวบ้านเรา แล้วจ่ายเงินให้ผู้ประกอบการในไทย ซึ่งเขาก็พอใจจ่าย แล้วผู้ประกอบการในไทยเสียภาษีให้ประเทศไทยหรือเปล่าล่ะ ก็จ่าย แถมมีเงินหมุนในประเทศหลายรอบด้วย ภาษีแวทย่อมได้เยอะตามมาอีก อันนี้มันเป็นเรื่องดี
มันต่างกับ google กับ facebook นะ
google กับ facebook นั้นมาหากินในประเทศไทยโดยเป็นผู้ประกอบการเหมือนกัน แสดงเนื้อหาและโฆณษณาให้คนไทยดู และ คนไทย (เปรียบเหมือนนักท่องเที่ยวท่ี่ยกตัวอย่าง)ก็พอใจจ่ายเงินค่าโฆษณาให้กับ google กับ facebook ปีละเกือบ 1 หมื่นล้านบาท
แต่ google กับ facebook จ่ายภาษีให้ประเทศไทยเท่าไหร่ แค่กระจิดริด ทั้งๆ ที่ควรได้มากกว่านี้
เปรียบเทียบถูกแล้วครับ
ภาระภาษี คือภาระที่กิจการจะต้องจ่ายให้รัฐ เนื่องมาจากผลประโยชน์รายได้ที่กิจการหามาได้จาก'ทรัพยากรของรัฐ' เช่นเปิดบริษัทที่ไทย ใช้คนไทย รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับเรื่องต่างๆเช่นการศึกษา การคมนาคม สาธารณูปโภค สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและเรื่องต่างๆของลูกจ้างและกิจการ การเก็บภาษีธุรกิจมีเป้าหมายเพื่อชดเชยเรื่ิองนี้
กลับกันการไปเที่ยวต่างประเทศ กิจการของที่นั่นก็ใช้ทรัพยากรของที่นั่น ภาษีของกิจการที่นั่นก็ต้องจ่ายให้ที่นั่นครับ
อันนี้ผมอยากรู้ว่า Google มาใช้ทรัพยากรอะไรของ'รัฐ'ไทยหรือครับ หรือแค่มี'รายได้จากคนไทย'แค่นั้น คือถ้าแค่ว่ามีรายได้จากประเทศไหนก็ต้องจ่ายให้ประเทศนั้นนี่วุ่นกันทั่วทั้งโลกแน่ครับ
กรณีนี้ถ้าคุณจะมองว่าใครใช้ทรัพยากรจากรัฐไทยแล้ว'ได้รายได้'จาก Google หรือ Facebook ควรไปมองที่ ISP ในประเทศแทนครับ
อีกอย่าง Google กับ Facebook ไม่เคย'มาหากิน'ในประเทศไทยเต็มตัวนะครับ มีแต่เราไปขอเค้าใช้เอง อันนี้ผมบอกว่าประเทศไทยที่ทำตัวเป็น leecher แทนที่ Google จะกำไร แต่ดันต้องขาดทุนเพราะลงทุนกับค่า infra+service มหาศาลแต่ดันเจอผู้ใช้ adblock นี่ กรณีนี้ไทยควรต้องจ่ายค่า compensate จากการทำตัวเป็นปลิงของคนในประเทศหรือเปล่าครับ?
Facebook กับ Google ได้รายได้จากไทยปีละหมื่นล้านบาทจริงหรือครับ? หักลบกับค่า infra+service แล้วเหลือเท่าไหร่ครับ? ภาษีธุรกิจนิติบุคคลไม่ได้คิดจากฐานรายได้นะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
โลกอินเทอร์เน็ตมันกว้างแบบเข้าถึงกันได้ง่ายๆ นะครับ ทำไมต้องมองแบบนั้นล่ะ
มองว่า Google Facebook มาหากินในประเทศไทย?
หรือ
มองว่าคนไทยไปใช้บริการ Google Facebook ที่ต่างประเทศ?
เอ้า จะมองว่าคนไทยไปใช้บริการที่ต่างประเทศได้ยังไงล่ะ ก็นั่งๆ ใช้กันอยู่ในประเทศ
เอ้า แล้วจะมองว่า Google Facebook มาหากินในประเทศไทยได้ยังไงล่ะ ก็เซิร์ฟเวอร์วางอยู่ที่ต่างประเทศ
ว่าแต่พวกบริการของไทยที่ไม่ฟรี คนต่างประเทศ (รวมถึง US) มาใช้บริการนี่ต้องจ่ายภาษีให้รัฐบาลประเทศเค้าหรือเปล่าครับหรือแค่จ่ายให้รัฐบาลไทย
จริงๆมองใกล้ๆเรื่องนี้แค่ YouTube จ่ายตังให้คนผลิตคลิป(channel)คนไทย แล้วคนไทยจะต้องไปเสียภาษีเงินได้ที่สิงคโปร์ก็วุ่นละครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมเข้าใจว่าประเด็นหลักคือการเก็บภาษีจาก platform เหล่านี้ ที่ปัจจุบันเม็ดเงินมันไหลไปตรงนี้หมดโดยที่ทางรัฐไทยแทบไม่ได้อะไรเลย และกฏหมายมันก็ปรับตัวให้รับมือกับ platform แบบนี้ไม่ทัน แน่นอนว่าทุกคนเห็นตรงกันว่าควรจะให้ platform เหล่านี้เสียภาษีให้ถูกต้องและเหมาะสมมากกว่า
แต่วิธีการสำหรับประเทศต่าง ๆ นี่เขาเรียกเก็บภาษีจาก platform เหล่านี้กันยังไงครับ ซึ่งอย่างคุณ McKay แนะนำเอาไว้ก็น่าสนใจ แต่ไม่รู้ว่ามีวิธีไหนที่ประเทศอื่น ๆ ทำแล้วมัน work อีกบ้างครับ
รู้สึกว่าเดิมที เขาให้จัดการกับคนที่โพสท์หมิ่น แต่เมื่อยังไม่มีการจัดการอะไรเขาเลยเรียกเก็บเงิน (ตัดขากันอ้อมๆ)รึป่าวครับ เพราะว่าจะไปปิดไปทำอะไรเดี๋ยวประชาชนลุกฮือเอาเปล่าๆ ส่งนเรื่องรายได้เหมือนตอนแรกสาระมันไม่ใช่เรื่องนี้นะ แต่ดูท่าอาจจะของเข้าตัว
รัฐบาลที่มองเห็นแค่ข้อเท้าตัวเองตลอดเวลา ก็จะประมาณนี้แหละครับ
จะเก็บภาษีเขา ทำอย่างไรให้ถูกต้อง ยังทำไม่ถูกเลย สินค้า-บริการ อยู่ต่างประเทศล้วนๆ
เห็นเขารวยมีเงินเยอะติดอันดับโลก จะเอาเงินเขาอย่างเดียว แถวบ้านผมเรียกขู่กรรโชกทรัพย์
นะครับ
ถ้าวันหนึ่งโรงงาน ต่างชาติใช้ Robot ล้วนๆ ไม่ใช้คนงาน แบบ 300 บาทต่อวัน
กับ นั่งใน office เลยจ้างพนักงานทำความสะอาด ไว้ซัก 900 คน เพือไว้เซ็นรับรอง
ให้ต่างชาติมาทำงานได้ แล้วจ้างเป็น outsource ล้วนๆ เพื่อ balance บัญชิ
กำไรเยอะขึ้น จ่ายภาษีลดลง ไม่มีใครเสีย ภงด.90 ภงด.91 คงหาเรื่องให้เขาเสียภาษีเยอะขึ้น
ดื้อๆเลย สินะครับ
แบบอยู่ดีๆ ก็จ่ายเงินมาไม่งั้นก็ไม่ออกใบอนุญาติให้ ปิดโรงงานไปซะ อะไรอย่างนี้
หนีกันหมดแน่แน่ ลงทุนไปแล้ว ไม่พอใจก็แกล้งทุกวิถีทาง ประเทศอะไรเนี่ย
น่าลงทุนจิมๆ ให้ตายเหอะ
ถ้าบอกว่า การลงทะเบียน OTT ของ กสทช เพื่อประโยชน์ของประเทศในด้านการจัดเก็บภาษีอย่างที่อ้างจริง หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตรงนี้คือ สรรพากร ไม่ใช่เหรอ? กสทช ทำเกินหน้าที่ป่าว?
นี่ยังไม่รวมถึงข้อกฎหมายเรื่องภาษีที่ถ้าต้องการจัดเก็บ ต้องไปดูว่าทำยังไงได้บ้าง เพราะมันไม่ได้เกี่ยวกับกฎหมายประเทศไทยเราอย่างเดียว มันต้องไปดูกฎหมายระหว่างประเทศด้วยว่าทำได้ไหม เรามีอนุสัญญาระหว่างประเทศอะไรบ้าง ที่เป็นข้อจำกัด ไม่ใช่นึกอยากจะเก็บก็เก็บได้ อย่าง "อนุสัญญาภาษีซ้อน" ที่บริษัทในไทยก็ได้ประโยชน์จากอนุสัญญานี้อยู่เหมือนกัน อยู่ๆ ไปยกเลิก บริษัทในไทยก็ต้องซวยด้วย
แต่ก็ว่ากันไป ยุคนี้ อะไรก็เกิดขึ้นได้ .....
เอาเขาจริง ภาระกิจกสทช. เขาควบคุมเนื้อหานั่นหน่ะแหละครับ
แต่ทีนี้มันไปตรงๆไม่ได้ไง เลยมุด ลอด ขุดรู นู่นนั่นนี่ไปเรื่อยๆ
มันก็เลยเป๋ไปเป๋มา ไปก้าวก่ายงานสรรพากรบ้างอะไรบ้าง
ก็เละๆเทะๆกันไป แต่ถ้าได้ผลลัพท์ตามธง ก็ถือว่าสำเร็จ เป็นนวัตกรรมที่มีเพื่อนสมาชิกยกยอเอาไว้ (นวัตกรรมบ้าอะไร ลอกมาจากประเทศล้าหลังกว่าเราอย่างเวียดนามแท้ๆ ประเทศดีๆที่ไหนเขาทำกัน ต่อไปก็คงลอกเกาหลีเหนือ บ้านพี่เมืองน้อง)
+1 ผมก็คิดแบบนี้เหมือนกัน พยายามดึงให้อยู่ใต้กฏหมายไทย เพื่อจะได้ควบคุมเนื้อหา
กรณีแบบนี้ ไม่เห็นด้วยทุกประการ แบบล้าน% เพราะฝั่งญี่ปุ่น ยอมรับอินเทอร์เน็ตว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษ มาตั้งนานแล้ว ทำให้ฝั่งญี่ปุ่น มีเว็บที่น่าสนใจมากมาย เช่น NicoNico ซึ่งมี VDO ที่น่าสนใจมากกว่า YouTube อย่างเต็มขั้นครับ
+1 นั่นแหละครับ ที่เราก็รู้อยู่
เดี๋ยวจะหาว่าภาคประชาชน ไม่แม่นนะครับ
"ประกอบกิจการ" กระจายภาพและเสียง ดูไม่ดู ก็เรื่องของคุณ
ประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ วิทยุ และ cable ทีวี = ผู้ให้บริการ internet หรือ โทรศัพท์ = กำกับดูแลโดย กสทช.
บริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ = YouTube RED = กำกับดูแลโดย กบว.
ประกอบกิจการ ร้านเช่าวีดีโอ หรือ สื่อบันทึกภาพ หรือ ร้านเล่นเกม หรือ ร้าน internet = กำกับดูแลโดย สถานีตำรวจในเขตนั้นๆ
อยากดู ทำการร้องขอ แล้วจึงส่งสื่อบันทึกภาพและเสียงให้
ประชาชนธรรมดา " ไม่ได้ประกอบกิจการ "
แต่ ถ่าย vdo หรือ สื่อสื่อมาจากต่างประเทศ แล้วแลกเปลี่ยนกันดู โดยการแลกเปลี่ยนม้วนเทป แผ่นcd แผ่น dvd หรือ file ข้อมูล " ไม่ต้องมีกฏหมายรองรับครับ " ไม่ต้องผ่าน กบว. และ หน่วยงานรัฐ ครับ
Agency โฆษณา, ผู้ซื้อโฆษณา ก็ไม่เกี่ยวข้องครับ
แต่ กสทช. ทำอะไรครับ ไปร้องขอให้
Agency โฆษณา, ผู้ซื้อโฆษณา อย่าลงโฆษณา
คืออะไรครับ ? หน้าที่คุณเหลอครับ ? มีอำนาจตามกฏหมายข้อใหนครับ ?
บอกว่ามีโทษ 2 ใน 3 ใช้กฏหมายข้อใหน ระวางโทษคืออะไรครับ ?
ปล. เราดูฟรี ใช้บริการต่างประเทศฟรี กันทั้งประเทศ นะครับ อย่าลืมคิดถึงตรงนี้บ้าง