Nick Kralevich หัวหน้าทีมความปลอดภัย Android ไปพูดที่งาน Black Hat และเล่าประวัติความเป็นมาของระบบความปลอดภัยใน Android
เขาบอกว่าการที่มีอุปกรณ์รัน Android มากถึง 2 พันล้านเครื่อง เป็นทั้งเรื่องที่น่าดีใจและน่าหวาดหวั่นไปพร้อมกัน แนวทางของกูเกิลในอดีตคือการลดผลกระทบจากช่องโหว่ (exploit mitigation) เช่น การสุ่มตำแหน่งหน่วยความจำ address space layout randomization (ASLR) เพื่อให้แฮ็กเกอร์ไม่สามารถหาตำแหน่งที่ตายตัวในหน่วยความจำได้ เจาะเข้ามาก็อาจเจอแต่ข้อมูลอะไรก็ไม่รู้
อย่างไรก็ตาม ในปี 2012 มีรายงานของ Stephen Smalley นักวิจัยจาก NSA ออกมาวิจารณ์แนวทางของกูเกิลอย่างถึงพริกถึงขิง ส่งผลให้ทีมงาน Android เปลี่ยนแนวคิดด้านความปลอดภัยอย่างสิ้นเชิง หันมาสนใจเรื่องการลดโอกาสโดนโจมตี (surface attack) แทน
แนวคิดนี้ทำให้ช่วงหลัง Android เพิ่มมาตรการหลายอย่างเข้ามาอย่างที่เราทราบกัน เช่น
Kralevich ยังพูดถึงกรณีบั๊ก StageFright ว่ามีผลกระทบทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ในแง่ลบคือเป็นช่องโหว่ที่ถูกเจาะได้ แต่ในแง่บวกคือเป็นตัวเร่งให้เกิด Android Security Bulletin หรือการออกแพตช์ประจำเดือนของ Nexus/Pixel และช่วยให้แวดวง Android ขยันออกแพตช์กันบ่อยขึ้น
ที่มา - Threatpost
การแยกส่วนของ Project Treble ใน Android O
Comments
เจาะมาเลยครับ HDD ผมมีแต่หนังผู้ว่า
2 พันล้านเครื่องแต่มีโอกาสอัพแพทช์ พี่กี่ % ครับ
อาจจะไม่ถึงครึ่ง 55555
แต่เครื่องใหม่ๆ ก็มา เครื่องเก่าๆ ก้ไป ไงครับ
อย่าคิดมากครับ แอนดรอยด์มีอายุขัยเฉลี่ย 6-12 เดือน เท่านั้นเอง เปราะและพังง่ายมาก โดยเฉพาะ รุ่นต่ำกว่า 15,000 ลงไป
แล้วก็ต้องไปซื้อเครื่องใหม่ จึงจะได้ความปลอดภัยล่าสุด ก็เท่านี้เอง
หือ "รุ่นต่ำกว่า 15,000 แอนดรอยด์มีอายุขัยเฉลี่ย 6-12 เดือนเท่านั้นเอง" คุณใช้มือถือกันยังไงครับเนี่ย ???
มีอ้างอิงไหมครับ?
มี reference ไหมครับ
ตัว os นี่คงน้อย แต่ต้องไม่ลืมว่ามันมีอัพเดตผ่าน Google play services ด้วยครับ
ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และความพยายามที่ดี
ใช่ครับ ต้องเริ่มจาก attack Surface ให้ลดลง จากนั้นก็เปิดใจยอมรับ สักพักก็สั่ง Surface Pro, Laptop, Studio เข้าไปให้พนักงานใช้ให้ทั่วถึงครับ #เดี๋ยวนะ