เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จีนเปิดตัวศาลไซเบอร์ (cyber court) ให้เริ่มดำเนินการครั้งแรกที่เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง (Hangzhou Court of the Internet) หลังจากที่มีประเด็นข้อพิพาทบนโลกออนไลน์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก คดีที่ศาลนี้ให้ความสำคัญคือข้อพิพาทระหว่างพลเรือนบนโลกออนไลน์ การละเมิดลิขสิทธิ์ และอีคอมเมิร์ซ
คดีแรกหลังจากเปิดศาลไซเบอร์คือการพิจารณาข้อพิพาทในคดีการละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างนักเขียนออนไลน์กับบริษัทที่ทำเว็บไซต์ การพิจารณาคดีนี้ใช้เวลาเพียง 20 นาทีเท่านั้น ถือเป็นการรักษาเวลาและต้นทุนต่ำ เพราะจำเลยและโจทก์ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาศาลแต่ดำเนินการผ่านวิดีโอแชท จีนเพิ่งทดลองไต่สวนคดีเช่นนี้เมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน Liang Xiaojun ชี้ว่า ถ้าจะถ่ายทอดคดีนี้บนโลกออนไลน์อาจจะไม่เหมาะสมเท่าไร เพราะผู้ที่เกี่ยวพันกับคดีต่างๆ อาจจะไม่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวต่อสาธารณชน
เว็บไซต์ Phys.org ระบุว่าจีนเป็นแหล่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดในโลก เมื่อปีที่ผ่านมามีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากถึง 731 ล้านราย และอีคอมเมิร์ซก็เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้จีนด้วย โดยเมื่อปลายปี 2016 ที่ผ่านมา Alibaba มีลูกค้าใช้จ่ายออนไลน์มากถึง 1.78 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์
สาเหตุที่เลือกเมืองหางโจวเป็นที่ตั้งศาลไซเบอร์แห่งแรกนั้น เนื่องจาก หางโจวนั้นถือเป็นเมืองหลวงของอีคอมเมิร์ซ เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ Alibaba, NetEase ตามหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของจีน การดำเนินคดีความจะใช้สถานที่ที่เป็นแหล่งพำนักของผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหา ศาลที่หางโจวเคยพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซมาแล้วเป็นจำนวนมากนับตั้งแต่ปี 2013 จาก 600 คดี เพิ่มเป็นกว่า 10,000 คดีในปี 2016
ที่มา - China Daily, BBC, Phys.org, NetCourt.Gov.Cn, The Verge, China Law Blog
Comments
อยากให้มีแบบนี้ที่เมืองไทยบ้าง..........
ถ้าจะให้ดีคือ ต่อไปเวลาจะติดต่อราชการใดๆ ก็มีบูธเป็นตู้เข้าไปนั่งประจำตามจุดชุมชนสำคัญๆ จะต่อบัตรประชาชน ย้ายที่อยู่ ทำพาสปอร์ต etc. ก็กดเลือกเมนูแล้ว Video Call (เพื่อยืนยันตัวด้วย) กับ Call Center ส่วนกลางเลย
กลัวตู้หาย
แสดงว่าระบบเครือข่ายสัญญาณต้องดีมากๆ
ถึงยุค China 5.0 แล้วหรือนี่
จีนตอนนี้เจริญกว่าไทยไปแล้วครับ ไปเมื่อตอนต้นปีมา ประทับใจ และแปลกใจ ขนาดไม่ได้ไปเมืองใหญ่นะเนี้ย
เจริญกว่านานแล้วครับ รายได้ต่อหัวสูงกว่าไทยด้วย
China 5.0 จริงด้วย
เรื่องแบบนี้จะใช้ได้กับคดีแพ่งเท่านั้น คดีอาญาหมดสิทธิ์ เว้นแต่เป็นผู้ต้องสงสัยในเรือนจำที่ถูกสันนิษฐานว่าได้กระทำความผิด ( จริง ๆ กฎหมายให้บริสุทธิ์ ) ก็จะนั่งฟังหรือสืบพยานในเรือนจำได้ ซึ่งกระบวนวิธีพิจารณาของไทย เป็นระบบเปิดอยู่แล้ว ก็ดูน่าสนใจดี
ขอแก้นะครับไม่มีสืบจำเลยในเรือนจำนะครับ เบิกตัวจำเลยมาพิจารณาที่ศาลทุกกรณีครับ เพราะปวิอ.มาตรา 172 บังคับไว้การพิจารณาคดีต้งทำต่อหน้าจำเลยทุกคดี
คดีแพ่งทำ e-court ได้เพราะคดีแพ่งส่วนมากคดีพิพาทศาลดูจากพยานเอกสารเป็นหลัก คู่ความนำพยานมาเบิกประกอบเท่านั้น ยิ่งทำนิติกรรมออนไลน์เรียก ฐานข้อมูลมาดูได้ก็ตัดสินผ่านเนทได้เลย แต่คดริาญาทำไม่ได้แน่นอนเพราะพยานที่ใช้ประจักษ์พยานเท่านั้น ศาลต้องคอยจับพิรุธประจักพยานว่าคำให้การเชื่อถือได้ไหม e-court คดีอาญาทำไม่ได้ครับ
ส่วนศาลไทยคงอีกนานแต่ตอนนี้ศาลนำระบบ e-filling มาใช้ในศาลแล้ว คู่ความยื่นฟ้องยื่นคำให้การผ่าน internet ได้เลย