เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จีนเปิดตัวศาลไซเบอร์ (cyber court) ให้เริ่มดำเนินการครั้งแรกที่เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง (Hangzhou Court of the Internet) หลังจากที่มีประเด็นข้อพิพาทบนโลกออนไลน์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก คดีที่ศาลนี้ให้ความสำคัญคือข้อพิพาทระหว่างพลเรือนบนโลกออนไลน์ การละเมิดลิขสิทธิ์ และอีคอมเมิร์ซ
คดีแรกหลังจากเปิดศาลไซเบอร์คือการพิจารณาข้อพิพาทในคดีการละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างนักเขียนออนไลน์กับบริษัทที่ทำเว็บไซต์ การพิจารณาคดีนี้ใช้เวลาเพียง 20 นาทีเท่านั้น ถือเป็นการรักษาเวลาและต้นทุนต่ำ เพราะจำเลยและโจทก์ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาศาลแต่ดำเนินการผ่านวิดีโอแชท จีนเพิ่งทดลองไต่สวนคดีเช่นนี้เมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา
หลังจากต่อสู้กันอย่างยาวนานระหว่าง Uber แอพพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่จากสหรัฐอเมริกาและแท็กซี่ดำแห่งลอนดอนจนเป็นที่มาของการที่คณะกรรมการออกใบอนุญาตรถแท็กซี่แห่งสหราชอาณาจักร ( Licensed Taxi Drivers' Association :LTDA) ยื่นคำร้องให้ศาลสูงอังกฤษวินิจฉัยว่า การที่แอพพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ใช้สมาร์ทโฟนที่มี GPS ในการคำนวณระยะทางและค่าโดยสารนั้น เป็นพฤติการณ์เดียวกันกับการใช้มิเตอร์คิดค่าโดยสารของรถแท็กซี่หรือไม่
หลังจากที่ทางการตุรกีได้ปิดกั้นการใช้งาน Twitter ทุกรูปแบบ ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ไม่เว้นแม้กระทั่งการบล็อค Google DNS ไปจนถึงขั้นแบนไอพีของ Twitter จนส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ Twitter ในตุรกีราว 10 ล้านคนนั้น ล่าสุดศาลยุติธรรมของตุรกีได้มีคำสั่งชั่วคราวให้รัฐบาลระงับคำสั่งการแบนดังกล่าวนั้นแล้ว
สำนักข่าวรอยเตอร์สได้สัมภาษณ์ผู้พิพากษา Richard Poster ผู้ตัดสินคดีการฟ้องร้องกันระหว่างแอปเปิลกับโมโตโรล่า โดย Poster ซึ่งตอนนี้อายุ 73 ปีแล้วเผยว่าเขาไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์กับไอทีจำเป็นจะต้องมีสิทธิบัตร
Poster กล่าวว่า "มันยังไม่ชัดเจนว่าเราต้องการสิทธิบัตรในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เรามีอยู่ส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ" และเขายังบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับสิทธิบัตรทุกวันนี้ว่า "สุดท้ายแล้วเราก็มีแต่สิทธิบัตรที่แตกแขนงกันออกมาเรื่อย ๆ"
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม Poster เชื่อว่าอุตสาหกรรมยาและการแพทย์คืออุตสาหกรรมที่ต้องการสิทธิบัตรอยู่ เพราะว่า "ในการที่จะสร้างยาใหม่ออกมาได้ จะต้องมีการลงทุนอย่างมหาศาล"