ผู้หญิงที่ทำงานในวงการวิศวกรและเทคโนโลยี เมื่อมีครอบครัวและต้องรับภาระดูแลครอบครัวจนต้องลาออก เป็นเรื่องยากที่จะได้กลับเข้ามาทำงานในวงการเดิมอีกรอบ เพราะทักษะงานและเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว จึงมีแต่งานใหม่ที่กลุ่มคนเหล่านี้อาจไม่เคยจับต้องมาก่อน
IBM มีโครงการ Tech Re-Entry Program ให้ผู้หญิงที่ออกจากงานกลางคันเนื่องจากภาระครอบครัวสามารถเข้ารับการฝึกงานใน IBM ได้ โดยมีระยะเวลาฝึก 12 สัปดาห์ ผู้เข้ารับการอบรมจะมีเมนเทอร์ คอยให้ตำแนะนำลักษณะงานเช่น เขียนโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล เป็นโอกาสที่จะพิสูจน์ให้นายจ้างเห็นผลงานของพวกเขาก่อนจะจ้าง เป้าหมายของโครงการคือช่วยสร้างความหลากหลายในองค์กรด้วย
Jennifer Howland หัวหน้าโครงการระบุว่า ลูกจ้างประเภทที่พักงานไปดูแลครอบครัวบางคนพักยาวเป็นระยะเวลา 15-20 ปี จำเป็นต้องสร้างความมั่นใจให้กลับมาอีกครั้ง Howland บอกเพิ่มเติมว่าจะทำโครงการลักษณะนี้ในประเทศอื่นด้วย อย่างน้อยปีละครั้ง
ภาพประกอบจาก Facebook IBM
ที่มา - Cnet
Comments
ดีนะ ที่เห็นคุณค่าของพนักงาน
ดีงามมากครับ อยากให้ไทยคิดถึงคนมีครอบครัวมากขึ้นกว่านี้บ้าง
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ก็เห็นใจผู้หญิงนะครับ แต่ถ้ามองในแง่นายจ้างสมมุติว่าเป็นเราก็หนักใจเหมือนกัน เพราะบางทีงานรีบๆ ต้องส่งลูกค้า งานคือเงินเงินคืองาน ไม่มีงานก็ไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนมาจ้างเขา แต่ถ้าบริษัทใหญ่ๆ ถ้าไม่กระทบก็ควรแบ่งปันก็ถือเป็นเรื่องที่น่ายกย่อง
เข้าใจครับ ความเห็นผม ผมคิดว่าถ้าบริษัทไม่เล็กจนเกินไป การให้สวัสดิการพวกนี้แก่พนักงาน (จริง ๆ ผมอยากให้รวมไปถึงสามีด้วยนะ) ระยะยาวจะทำให้เป็นผลดีต่อบริษัทนะครับ เพราะปัญหาครอบครัวนำมาซื่งผลกระทบต่อการทำงานโดยตรงแน่ ๆ อยู่แล้ว อย่างในข่าวนี้ หลายคนต้องออกจากงานไปเลย ซึ่งผมว่าในมุมมองนายจ้าง เขาก็สูญเสียพนักงานที่ทำงานเป็นแล้วและเข้าขากับทีมงานไปเหมือนกัน การต้องจ้างคนใหม่อีกก็ต้องฝึกอะไร ๆ กันใหม่อีก และก็ใช่ว่าคนใหม่ที่ว่าจะเข้ามาแล้วทำงานได้จริง ๆ อาจฝึกไปสามเดือนปรากฏว่าไม่ผ่านโปรซะงั้นก็ได้นะครับ
ส่วนในแง่ของรัฐ การที่ครอบครัวมีปัญหาน้อย นำไปสู่ความสงบสุขของสังคม คุณภาพประชากรก็ดีขึ้น ปัญหาสังคมก็น้อยลง ระยะยาวยังไงก็ส่งผลดี (โดยเฉพาะประเทศไทยที่พูดกันปาว ๆ ว่ากำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ แถมอัตราการเกิดก็ต่ำเตี้ย ส่วนนึงก็เพราะรู้ว่ามีลูกแล้วเลี้ยงไม่ไหวนี่แหละ) ดังนั้นผมว่ารัฐควรช่วยประคองนายจ้างตรงนี้ด้วยไม่มากก็น้อยนะครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ถ้าจะปล่อยให้เอกชนแต่ละเจ้ามีจิตสำนึกในเรื่องนี้เองคงยากครับ ระบบเอกชนคิดถึงแต่ผลประโยชน์บริษัทเป็นหลักอยู่แล้ว รัฐต้องออกกฏหมายบังคับใช้ครับแบบนี้ ไม่งั้นคนที่มีการมีงานทำดีๆ ไม่อยากมีลูกกันพอดี กระทบต่ออัตราการเกิดของประชากรใหม่ (ที่มีคุณภาพ) อีก
ตัวอย่างที่ดีมากๆ ก็คือข้าราชการเองนี่แหละ ข้าราชการหญิงลาคลอดและเลี้ยงลูกได้ 3 เดือนเต็มๆ โดยได้รับเงินเดือนปกติแถมได้รับการเลื่อนขั้นตามปกติอีกต่างหาก และจะไม่กระทบต่อตำแหน่งงานใดๆ เลย กลับมาก็เหมือนเดิมทุกอย่าง ระหว่างนี้หน่วยงานต้นสังกัดจะตามงานใดๆ ไม่ได้ด้วย
ยังไม่พอ คุณพ่อข้าราชการ ยังสามารถลาไปช่วยภรรยาเลี้ยงลูกหลังคลอดได้อีก 15 วันอีก และไม่จำกัดจำนวนการท้อง ท้องอีกก็ได้รับสิทธิ์นี้อีก (และยังไม่รวมถึงสวัสดิการการเบิกค่าเล่าเรียนและค่ารักษาพยาบาลแบบเบิกตรงให้กับลูกถึง 3 คนได้อีก)
ฝั่งราชการถือว่าดีมากๆ แต่ส่วนฝั่งเอกชนถ้าจะให้เป็นแบบนี้คงยากที่จะให้เอกชนมีจิตสำนึกออกระเบียบมาเอง รัฐก็ต้องใช้กฎหมายแรงงานบังคับแหละครับ อย่างกฎหมายที่ให้พนักงานเอกชนลาคลอดได้ 90 วันเหมือนกันโดยบริษัทออกเงินเดือนครึ่งหนึ่ง และประกันสังคมออกครึ่งหนึ่งก็โอเค แต่ก็ยังได้ยินเคสที่ว่าพอกลับมาทำงานหลังคลอด ก็ไม่ค่อยมีอะไรให้ทำ เพราะคนใหม่ที่บริษัทรับเข้ามาทำงานระหว่างคลอดทำงานในตำแหน่งเดิมได้ดีแล้ว เหมือนเป็นการกดดันกลายๆ ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้น ถ้ามีลูกแล้วกระทบหน้าที่การงานก็จะทำให้คนอยากมีลูกน้อยลง อัตราการเกิดน้อยลง สุดท้ายมันก็จะย้อนมาทำร้ายระบบเศรษฐกิจและบริษัทเอกชนเหล่านี้เองที่แรงงานในอนาคตจะลดน้อยลง ถ้าจะทำธุรกิจในประเทศไทย ก็ต้องช่วยกันรับผิดชอบอนาคตของประเทศร่วมกันแหละครับ
สรุปว่าเราคิดเหมือนกันใช่มั้ยครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
แล้วในมุมมองผู้ประกอบการ พนักงานในตำแหน่งหายไป 1 คน ในระหว่างช่วงเวลานั้นก็ต้องมีคนทำงานแทนไม่ใช่เหรอครับ ถ้าไม่ให้จ้างคนใหม่มาทำงานในส่วนที่ขาดหายไปแล้วจะให้ธุรกิจดำเนินต่อไปอย่างไร หรือจะบังคับให้คนอื่นในทีมคอยทำงานแทนให้ เพิ่มงานแต่ไม่เพิ่มเงินเดือนหรือต่อให้เพิ่มเงินเดือนก็ต้องใช้เวลาทำงานนานมากขึ้น มันจะแฟร์กับคนที่ต้องมาช่วยได้อย่างไร
ผมเห็นด้วยเรื่องการเลี้ยงลูกให้มีคุณภาพ แต่ระบบงานมันก็ต้องดำเนินต่อไป อนาคตเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมแต่ไม่ใช่คิดแต่ผลระยะยาวโดยมองข้ามระยะสั้น สังคมจะมีคุณภาพได้ในอีกหลายปีแต่เจ้าหนี้การเงินก็ยังคงทวงเงินตามกำหนดการเดิม จะไปบอกให้เจ้าหนี้การเงินช่วยเหลือผ่อนผันมันก็ไม่ใช่เรื่อง
ผมเข้าใจทุกคนที่มองมุมมองผู้หญิง แต่ทุกฟันเฟืองมันก็ต้องขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจกันไปหมด จะมองว่าลูกต่อไปโตมามีคุณภาพ ระบบเศรษฐกิจต้องดีขึ้น แล้วบริษัทขาดทุนหรือได้กำไรน้อยลง ส่งผลให้ไม่สามารถขึ้นเงินเดือนหรือให้โบนัสสิ้นปีได้ เม็ดเงินก็หายไปจากระบบเศรษฐกิจบางส่วน ถ้ามองมุมนี้มันก็กระทบเศรษฐกิจเหมือนกัน
ส่วนตัวผมมองว่าลาได้ 90 วันควรได้รับเงินเดือนเต็ม จริง ๆ ถ้าอยากให้ปรับปรุงผมว่าควรอนุญาตให้ลาได้ 180 วันได้รับเงินเดือนเต็ม มากกว่านั้นผมว่ารายได้ของประเทศเราอาจจะไม่พอ บริษัทใหญ่ ๆ อาจจะทำได้ให้ได้แต่บริษัทเล็ก ๆ นี่แทบไม่มีทางเป็นไปได้เลย ส่วนเรื่องกลับมาทำงานแล้วกดดันผมว่ามันต้องยอมรับสภาพกันไป ถ้าเก่งจริงก็ต้องพิสูจน์ตัวเองได้ ถ้าไม่เก่งจริงก็คงต้องทนไปว่าจะเอาอย่างไรต่อ
That is the way things are.
ถือเป็นแนวทางเริ่มต้นที่ดีครับ เพราะคนสมัยนี้ไม่อยากมีครอบครัวเพราะมันทำให้ทำงานลำบาก ชีวิตลำบากมากขึ้น บางคนกว่าคิดว่าตัวเองจะพร้อมก็ 40 สุดท้ายมีลูกไม่ได้ทำให้ประชากรเสียผู้สืบเผ่าพันธุ์ที่ดีไปอีกควรมีแนวทางนี้ให้มากขึ้นสำหรับบริษัทใหญ่ๆ
ชื่นชมเลยครับ
ระบุมาชัดเจนว่าเฉพาะพนักงานหญิงแบบนี้ก็ไม่ยุติธรรมกับเพศอื่นสิ
เพศอื่นมีลูกไม่ได้นี่ครับ เคสนี้คือ"คนลาออกเพราะต้องไปคลอดลูกเลี้ยงลูก" ซึ่งตามธรรมชาติต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้นมันก็ไอ้ก็เท่านั้น
ส่วนผู้ชายหรือเพศอื่น ถ้าจะลาออกไปเลี้ยงลูกมันเป็นเคสพิเศษจริง ๆ นั่นคือภรรยาคลอดลูกแล้วเสียชีวิต นับเฉพาะเคสตามธรรมชาติเท่านั้นนะครับ ส่วนประเภทหย่ากัน หรือตัดสินใจให้ฝ่ายหญิงทำงานฝ่ายชายเลี้ยงลูก แบบนี้ไม่ใช่กรณีทางธรรมชาติ เป็นกรณีทางเลือก ก็ไม่จำเป็นต้องมีกฎระเบียบชัดเจนเพราะมีไม่บ่อย พิจารณาความเหมาะสมของแต่ละบุคคลกันไปจะดีกว่า
การเลี้ยงลูกเป็นหน้าที่ของผู้หญิง ผู้ชายไม่ต้อง ?
มันไม่ใช่ผู้ชายไม่ต้องเลี้ยงครับแต่ปกติแล้วผู้ชายก็ไม่ได้มีนมให้ลูกใช่ไหมครับ แล้วถ้าผู้ชายต้องออกจากงานมาช่วยผู้หญิงเลี้ยงลูกครอบครัวจะหาเงินจากไหนอะครับ มันเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ยุคหินแล้วที่ผู้ชายในเมื่อไม่มีนมแต่มีแรงก็ต้องออกไปทำงานให้ฝ่ายหญิง ถ้าฝ่ายชายต้องเลี้ยงลูกเองมันเคสพิเศษที่ควรจะคุยเป็นรายบุคคลไม่ใช่จัดโปรแกรมมาตรฐานแบบนี้ครับ
ง่ายดีนะครับ ทำท้องแล้วก็ปัดตูดสบาย ๆ (คือไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเพิ่ม ยังคงทำงานหาเงินเหมือนปกติ)
ลองคิดง่าย ๆ นะครับ คิดว่าการเลี้ยงลูกให้ออกมาดีกับการทำงานหาเงิน อันไหนลำบากกว่ากันครับ? แล้วรู้มั้ยครับหมอแนะนำให้แม่ให้นมลูกจนถึงหนึ่งขวบ แต่แม่ลาคลอดได้แค่ 3 เดือน (ถ้าเป็นเอกชนได้เงินเดือนแค่เดือนเดียวหรือเดือนครึ่ง) แปลว่าแม่ต้องเลือกเอาว่าจะเหนื่อยขึ้นกว่าเดิมคือทำงานไปเลี้ยงลูกไป หรือจะลาออกซะเลย ถ้าต้องการให้ลูกโตอย่างมีคุณภาพ
นี่ยังไม่นับว่าตั้งท้องอีกตั้ง 9 เดือนนะ ช่วงทรมานนี่ตั้ง 6 เดือนเลยนะครับ (3 เดือนแรกมักจะไม่ค่อยมีปัญหาอะไรนอกจากแพ้ท้อง)
และสุดท้าย ประเด็นสำคัญที่สุดเลย "การเลี้ยงลูกไม่ใช่แค่การให้นมครับ"
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมไม่ได้บอกให้ผู้ชายไม่ต้องมีความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูนะครับ ผมแค่มองในเคสนี้ว่าการที่แม่ลาดคลอดแล้วมีโปรแกรมกลับมาใหม่ควรจะทำ แต่ถ้ากรณีของฝ่ายพ่อมันเป็นเคสพิเศษถ้าใครก็ลากันไปเลี้ยงลูกได้ เพราะผู้หญิงกลับมาทำงานยากกว่าผู้ชายอยู่แล้ว ผู้ชายมันก็ทำงานถูกแล้วกลับมาก็เลี้ยงบริษัทไหนมันเอาผู้ชายไปทำงานได้ 24 ชมอะครับ ผู้ชายหลังจากทำงานจะกลับไปเลี้ยงไหมมันเป็นสำนึกของคนเป็นพ่อครับ แต่ถ้ามีลูกแล้วลาออกสองคนไปเลี้ยงลูกแล้วกลับมาเข้าโปรแกรมพวกนี้ง่ายๆ ผมว่ามันแปลกเกินไป
โอเค ผมเข้าใจที่คุณพยายามจะสื่อละ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ที่ผมออกตัวแรงไป แต่ผมคิดว่าการที่เรารู้สึกแปลก ๆ น่าจะเพราะที่ผ่านมาคนเป็นพ่อไม่ได้ทำหน้าที่เลี้ยงลูกอย่างจริงจังนั่นแหละครับ ไม่ว่าจะโยนความผิดให้สรีระที่แม่เกิดมาเป็นคนให้นมลูก หรือจริง ๆ แล้วคนเป็นพ่อมันขี้เกียจไปเอง หรือเพราะต้องออกไปทำงานหาเงินอย่างที่คุณกล่าวมา
ซึ่งตรงนี้ผมว่าเราควรเปลี่ยนแปลงมันได้แล้ว ทำให้เป็นบรรทัดฐานว่ามีลูกปุ๊บ หน้าที่เลี้ยงลูกเป็นของทั้งพ่อและแม่เท่า
ๆ กัน ไม่ใช่หนักไปทางแม่คนเดียว ถึงแม่จะมีนม พ่อไม่มีนม แต่พ่อยังทำหน้าที่ดูแลแม่ ดูแลบ้าน หาอาหาร เปลี่ยนผ้าอ้อม กล่อมลูกนอน พาไปเดินเล่น ฯลฯ ได้อีกเยอะแยะที่ะช่วยแบ่งเบาภาระให้แม่ได้
ซึ่งพอไปถึงจุดนั้น เราก็คงไม่รู้สึก "แปลก ๆ" กับสวัสดิการที่พ่อแม่ได้รับเท่ากันอีกต่อไป อาจใช้เวลาอีกสามสี่ชั่วอายุคนหรือมากกว่านั้น หรือเป็นไปไม่ได้เลยผมก็ไม่รู้นะ แต่ผมคิดว่าการเริ่มให้สวัสดิการพวกนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ลดมนุษย์พ่อพวกที่ชอบอ้างว่า "ทำงานหนัก" แล้วไม่ยอมช่วยเลี้ยงลูกได้ (แน่นอนว่าต้องควบคู่กับการปลูกฝังให้มนุษย์พ่อเข้าใจด้วยว่าหน้าที่เลี้ยงลูกเป็นของพ่อด้วย)
สรุป มนุษ์พ่อไม่ยอมเลี้ยงลูก อ้างว่าทำงานหนัก นายจ้างไม่ยอมให้สวัสดิการมนุษย์พ่อ เพราะคิดว่าให้ไปมันก็ไม่ไปเลี้ยงลูกหรอก ผมว่ามันเหมือนการแยกขยะในไทยอะ เทศบาลอ้างว่าชาวบ้านไม่ยอมแยกขยะ จะทำถังขยะแบบแยก ขนขยะแบบแยกให้เสียงบประมาณไปทำไม ส่วนชาวบ้านก็โทษเทศบาลว่าจะแยกขยะไปทำไม ในเมื่อเวลาเทศบาลมาเก็บขยะก็เห็นเก็บรอบเดียวเทรวมกันไป สุดท้ายมันก็ต้องทำควบคู่กันแบบจริงจังถึงสำเร็จ ไม่ใช่รอฝ่ายใดฝ่ายนึงทำก่อน ก็รอกันไปรอกันมาอยู่นั่นแหละ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
นี่มันสมัยไหนแล้ว
ยังคิดว่าผู้หญิงต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูก
ผู้ชายออกไปหาเงินเข้าบ้านอีกเหรอ
ผมมองถ้าสุดท้ายถ้าผู้หญิงมีนมให้ลูกกินเขาก็มีพิเศษในการกลับเข้ามาทำงานได้มากกว่าผู้ชายความเพื่อความเท่าเทียม ไม่ได้มองว่าอ่อนแอ หรือเป็นฝ่ายเลี้ยง แต่ลูกควรได้รับนมแม่ครับไม่ใช่นมชง
มันจะทำให้โอกาสที่ผู้ชายจะได้เลีัยงลูกห่างกันมากขึ้น
ถ้าผู้หญิงออกจากงานมาได้กลับไปทำงานตำแหน่งเดิม
ส่วนผู้ชายไม่ได้สิทธิ์นั้นเมื่อคิดถึงอนาคตแล้วผู้หญิงออกมาจะคุ้มค่ากว่า
เป็นการกีดกันไม่ให้ผู้ชายที่อยากออกจากงานมาดูแลลูกถูกกดดันให้ทำงานต่อ
ส่วนผู้หญิงที่อยากทำงานต่อเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานต้องพักงานออกมาดูลูกแทน
ผมนี่เห็นใจท่าน Hadakung อย่าไปเถียงอะไร เสียเวลา 555+
นโยบาย IBM เขาออกมาดีแล้วหล่ะ
จากประสบการณ์ที่ผมมีลูก อยากบอกว่า
ผู้หญิงเลี้ยงได้เก่งกว่าผู้ชายเป็นอย่างมากกกกก ก.ล้านตัว
สามารถทำอะไรได้หลายๆอย่างพร้อม เช่น เลี้ยงลูก+ทำงานบ้าน+อะไรหลายอย่าง และทำได้เร็วด้วย
ต่างจากผู้ชายที่ทำได้เพียง 1 อย่างเท่านั้น แถมทำได้ช้าด้วย
จากประสบการณ์ส่วนตัว หู้ชายบางคนไม่ยอมเลี้ยงลูกอ้างแต่ทำงานหาเงิน
การที่ไม่สามารถกลับเข้ามาทำงานต่อ
ในตำแหน่งเดิมส่วนผู้หญิงมีสิทธิ์นั้น
นี่ก็จะเป็นอีก"ข้ออ้าง"หนึ่งทีผู้ชายที่คุณพูดถึงจะให้เป็นข้อ
อ้างให้ผู้หญิงต้องออกจากงานมาเลี้ยงลูก
แทนที่จะทำงานที่ต่อแล้วให้สามาออกมาเลี้ยงลูก
โควต้าหมดขอตอบทีเดียว
คุณ Gored ผมตอบคุณ ekaphop ครับ
ที่บอกว่าอย่าเข้ามาเถึยงให้เสียเวลาแต่ไม่มีเหตุผลอะไรมาโต้แย้ง
และเหมารวมให้ผู้หญิงควรเป็นฝ่ายเลี้ยงลูกอยู่บ้านมากกว่าผู้ชาย
ซึ่งผมไม่เห็นด้วยเพราะมันจะเป็นการปิดโอกาสก้าวหน้าของผู้หญิง
ผู้ชายก็ใช้เหตุผลนี้มาสนับสนุนให้ผู้หญิงเป็นฝ่ายออกจากงานมาเลี้ยงลูก
–-----------------------------------------------------------------------------
ตอบคุณ Gored ที่ชอกว่าเพื่อนคุณหลายคนไม่เลี้ยงลูก
ผมว่าแนวความคิดนี้ควรจะเลิกได้แล้วเพราะถ้าใช้ตรรกะเดียวกัน
ผมเห็นเพื่อนผู้หญิงของผมหลายคนชอบใช้งานผู้ชายให้ทำงานให้
แบบนี้ก็จะเป็นการเหมารวมผู้หญิงทั้งหมดว่าทำงานสู้ผู้ชายไม่ได้
ถ้าเราจะพยายามเปลี่ยนแปลงสังคมให้ผู้หญิงมีความเท่าเที่ยม
ความแนวความคิดที่แบ่งแยกแบบนี้ควดจะเลิกได้แล้ว
ตอบคุณ Pichai_C
มีประเด็นอะไรก็อธิบายเหตุผลมาได้
น่าจะหมายถึงผมแต่ไม่กล้าเข้ามาเม้น
คุณกำลังเหมารวมว่าผู้หญิงเลี้ยงลูกได้ดีกว่าผู้ชาย
ซึ่งมันก็จะเป็นแนวความคิดแบบโบราณ
ที่ทำให้ผู้หญิงต้องออกจากงานไปเลี้ยงลูกจนหมดโอการที่จะก้าวหน้าในหน้าที่การงานนั่นแหละ
ลองอ่านเม้นท์ข้างล่างที่ผมเขียนไว้ ผมบอกเพื่อนผมหลายคนไม่ยอมเลี้ยงลูก จะหมายถึงคุณได้ไงครับเพราะผมยังไม่เคยรู้จักคุณ
น่าจะเป็นอาการสันหลังหวะแหละครับ
แล้วผู้ชายเลี้ยงไหมครับ คนที่ผมรู้จักหลายคนเป็นผู้ชายไม่เลี้ยงลูกให้แต่เมียเลี้ยง อ้างแต่ทำงานหาเงินจนเหนื่อย
ถามหน่อยเถอะมีผู้ชายกี่คนที่เลี้ยงลูก เพื่อนผมหลายคนมีลูกไม่ยอมเลี้ยงบอกหน้าที่ผู้หญิง แต่พอมีข่าวตปท.จะให้ผู้ชายหยุดงานเลี้ยงลูกบ้างมาโวยทำไมเมืองไทยไม่มีบ้าง ล้าหลังบ้าง โธ่นิสัยแบบนี้เขาให้หยุดคงไม่เลี้ยงลูกหรอก
ชอบเม้นดีครับ คุยกันยันไปถึง นมแม่ นมผง เลย ฮา
ปรกติ IBM ก็ยอมทุ่มเงินพัฒนาบุคคลากรตัวเองอยู่แล้ว การได้คนเก่งในอดีตเข้ามาร่วมงานเป็นอะไรที่คุ้มค่ามาก เพราะคุณไม่ต้องส่งเขาไปอบรมหลักสูตรอะไรต่อมิอะไรมากมายเหมือนเก่า ถ้าเจ้าตัวกลับมาแข็งแกร่งซัก 80 เปอร์เซนต์ของอดีต โดยที่ค่าตัวถูกกว่าหรือเทียบเท่าของกว่าเดิม มีประโยชน์กับ IBM มากกว่าปั้นเด็กใหม่จมหู คนเก่าที่คุ้นมือก็อยากทำงานร่วมกัน
ยกเว้น : ก่อนออกไปก่อคดีใหญ่โตไว้นะครับ อันนี้คงต้องแยกทางกันเดิน
ปล.ข่าวนี้ไม่เกี่ยวกับ"การลาคลอด"นะครับ ข้าราชการไทยจะมีระเบียบที่ดีอย่างไร พนักงานก็เช้าชามเย็นชามเหมือนเดิม เพราะองค์กรไม่เอื้อให้คนเก่งเติบโตตามสายงาน มีอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะมากมาย จนคุณต้องเดินตามสถานเดียว หลายคนทำงานให้ครบจำนวนปีที่ได้รับบำนาญ พอครอบครัวสบายค่อยลาออกไปสานฝันตัวเองต่อไป
"คอยให้ตำแนะนำ..." -> คำแนะนำ