ไมโครซอฟท์โชว์ความคืบหน้าของงานด้าน quantum computing ในงานสัมมนา Ignite 2017
แกนหลักสำคัญคือ Michael Freedman นักคณิตศาสตร์ชื่อดังซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายวิจัยของไมโครซอฟท์มายาวนาน และเป็นผู้เสนอทฤษฎี topological quantum computer หรือการจัดวางอนุภาคควอนตัมให้เรียงตัวกันอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีกว่า quantum computer แบบดั้งเดิม
ตามแนวคิดของ quantum computer ที่อยู่บนพื้นฐานของคิวบิท (qubit) จำเป็นต้องมีคิวบิทอย่างน้อยเป็นหลักหมื่นตัวเพื่อใช้ประมวลผลงานได้ แต่ปัญหาของการจัดการคิวบิทจำนวนมากๆ คือเรื่องเสถียรภาพ ซึ่งแนวทาง topological qubit จะเข้ามาแก้ปัญหานี้ ทั้งเรื่องเสถียรภาพและป้องกันค่าผิดพลาด
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าเริ่มประสบความสำเร็จตามแนวทางนี้ และกำลังสร้างองค์ประกอบของ topological quantum computer ขึ้นมาให้ครบชุด ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และภาษาโปรแกรมที่ใช้ควบคุมมัน
ตอนนี้ฮาร์ดแวร์ของไมโครซอฟท์ยังไม่ก้าวหน้าเท่ากับความสำเร็จในเชิงทฤษฎี แต่ไมโครซอฟท์จะออก quantum simulator ที่ให้โปรแกรมเมอร์มาลองทดสอบกันก่อน พร้อมทั้งจะสร้าง "ภาษาโปรแกรมใหม่" (ยังไม่ประกาศชื่อ) สำหรับ quantum computer ด้วย การเขียนโปรแกรมจะอยู่บน Visual Studio และโค้ดที่รันบน simulator จะสามารถรันบนฮาร์ดแวร์จริงได้ในอนาคต
ตัว simulator จะอนุญาตให้รันงานบนคิวบิทเสมือน 30 ตัวบนพีซี และไมโครซอฟท์จะเปิดให้ลูกค้ากลุ่มองค์กรขนาดใหญ่บางราย รันแบบ 40 คิวบิทได้บน Azure
ไมโครซอฟท์ยังไม่ระบุว่าจะออกเครื่องมือเหล่านี้ให้ทดสอบกันเมื่อไรครับ
ที่มา - Microsoft
Comments
Q#
นั่นหละฮะ
ไม่ผ่านมาตรฐานการตั้งชื่อของไมโครซอฟต์ครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมนึกถึง Q basic
แอบส่องดู เป็นไฟล์นามสกุล qb
สภาพการใช้งาน Quantum Computer ตอนนี้เป็นเหมือนยุคเมนเฟรมหรือย้อนไปถึงยุคหลอดสูญญากาศเลยหรือเปล่าครับ?
I need healing.
ยุคไอซีเกิดมาใหม่ๆครับ เริ่มโปรแกรมได้แต่ต้องเขียนใหม่จากศูนย์