ในประเทศญี่ปุ่นจะมีบริการให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาความเครียดในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะกับเด็กมัธยม ไม่ว่าจะจากโรงเรียน จากงาน สังคมหรือแม้แต่การถูกแกล้ง (bully) ในลักษณะคล้ายจิตแพทย์แต่ไม่ใช่จิตแพทย์ (แต่ผู้ให้คำปรึกษาต้องมีใบอนุญาต) โดยตอนนี้รูปแบบการให้คำปรึกษานี้เริ่มเปลี่ยนแปลง จากที่มีแค่ผ่านทางโทรศัพท์ ตอนนี้หนึ่งในผู้ให้บริการนี้ในจังหวัดนางาโนะ เริ่มปรับรูปแบบการให้บริการจากโทรศัพท์มาเป็นผ่านทาง LINE แทนแล้ว
อย่างไรก็ตามการบริการผ่าน LINE ยังอยู่ในช่วงทดสอบเท่านั้น โดยในช่วงสัปดาห์แรกผู้ให้คำปรึกษาได้รับคำร้องเพื่อให้คำปรึกษาผ่าน LINE เข้ามามากกว่าโทรศัพท์ถึง 25 เท่า เฉลี่ยเป็น 170 เคสต่อวัน ขณะที่ผู้ให้คำปรึกษาสามารถรับมือได้เฉลี่ย 45 เคสเท่านั้น ทำให้หลายๆ ครั้งผู้ให้คำปรึกษาต้องพิมพ์ผ่านคีย์บอร์ดมือเป็นระวิง เพื่อไม่ให้นักเรียนที่ติดต่อเข้ามารู้สึกว่าถูกมองข้ามหรือไม่สนใจ
ภาพจาก Pixels
หนึ่งในสาเหตุที่การพูดคุยลักษณะนี้ผ่าน LINE ได้รับความนิยมมากกว่าโทรศัพท์ น่าจะเกิดจากการที่เด็กๆ รู้สึกเป็นส่วนตัวมากกว่าและไม่ต้องเปิดเผยตัวตนเท่ากับการพูดคุยผ่านโทรศัพท์ อย่างไรก็ตามบริการผ่านโทรศัพท์จะยังคงมีอยู่ต่อไป สำหรับกรณีฉุกเฉินอย่างเวลาที่เด็กอยากฆ่าตัวตายหรือมีปัญหาที่ต้องการความใส่ใจ การพูดคุยผ่านโทรศัพท์น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า LINE
ทั้งนี้กระทรวงการศึกษาร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงกีฬา และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีแผนจะทำแบบสำรวจและศึกษาประสิทธิภาพการให้บริการให้คำปรึกษาผ่านโซเชียลมีเดียในอีก 10 จังหวัดเพิ่มเติมในช่วงปีหน้า
ที่มา - Japan Times
Comments
จากกงาน --> จากงาน
การทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี => กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เห็นภาพเลย คนพิมพ์ข้อความ 5-6 คน ล้อมรอบคนคิดคำสนทนาคนเดียว "เอาไงดีครับพี่ น้องเขาถามว่าทำไมถึงตอบช้าจัง " >_<"
ถ้าในไทย เจอคนเข้ามาปรึกษาแบบ
"พริๆ คร๊นูมีปังหาชีวิด บับแว่ช่วงเน้ นูเพ่งอกหักมาคร๊ ~* นูกำลังเคียจมั่กเลย ~(° °~) ยั่กถามพริแว่นูจาทามงายดีคร๊ (+ _*)~"
อาจทำให้ที่ปรึกษาเครียดแทน
ต่อไปบ้านเราอาจจะมีแบบ แนวดูดวงกันผ่าน line ก็เป็นได้