หลายคนอาจจะรู้ว่าการออกแบบอินเทอร์เน็ตนั้นมีเป้าหมายว่าจะสร้างเครือข่ายที่ทนทานต่อสงครามนิวเคลียร์ ซึ่งแม้เอาเข้าจริงแล้วหลายรายงานจะระบุว่ามันทนไม่ได้จริงๆ ก็ตามแต่อินเทอร์เน็ตก็ทำงานได้ค่อนข้างน่าเชื่อถือตลอดเวลาหลายปีมานี้
แต่กับอวกาศนั้นโจทย์จะต่างกันออกไป เพราะการเชื่อมต่อข้ามดวงดาวนั้นมีเงื่อนไขต่างกันหลายอย่างเช่น การสื่อสารออกแบบขาดช่วงไปเป็นชั่วโมง, วัน, หรือกระทั่งเดือน ก่อนที่จะกลับมาติดต่อกันได้ใหม่ อีกทั้งดีเลย์ในการติดต่อก็สูงมาก เช่นดาวอังคารนั้นใช้เวลาส่งข้อมูลถึงโลกอยู่ในช่วง 3.5 ถึง 20 นาที
งานนี้ทาง NASA เลยจัดการออกแบบระบบเครือข่ายแบบใหม่ในชื่อว่า DTN (Disruption-Tolerant Networking) ที่เอาไว้ส่งข้อมูลระหว่างดวงดาวโดยเฉพาะ โดยหนึ่งในทีมงานออกแบบนั้นรวมถึง Vint Cerf บิดาอินเทอร์เน็ตอีกคนหนึ่งด้วย
DTN นั้นจะเข้ามาช่วยจัดการการเลือกเส้นทาง ตลอดจนการจัดตารางเวลาการส่งข้อมูลที่ทุกวันนี้ต้องทำด้วยมือทั้งหมด
NASA ได้เริ่มทดสอบการใช้งาน DTN นี้มาหนึ่งเดือนแล้ว และกำลังติดตั้งเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ โดยสถานีอวกาศนานาชาตินั้นจะเริ่มใช้งานโพรโตคอลนี้ช่วงหน้าร้อนปีหน้า
ที่มา - AFP
Comments
รอจนกว่าวันที่จะมี Ansible
ประเทศไหนจะเจอแมงก่อน?
เผื่อใครจะหาใน wikipedia
http://en.wikipedia.org/wiki/Delay_Tolerant_Networking
มันใช้ตัวนี้อะครับ
หมายถึงใช้เวลาส่งข้อมูลถึงโลก หรือเปล่าครับ?
แก้แล้วครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
วิจัยควอนตัม เทเลพอร์เทชั่น เลย ดีกว่ามั้งครับ
คอนเน็คต์ซักชั่วโมง แต่ส่งข้อมูลด้วยความเร็วเหนือแสง
GALANET = GALAXY NETWORK
7blogger.com
เหมือนเคยได้ยินมานาน แต่เพิ่งเห็นว่าเริ่มทดลองใช้กันจริง ๆ (ก็ใครจะมาทดลองใช้ให้ล่ะ)
——————————————————————
คิดๆ ขีดๆ เขียนๆ | นั่งเล่นในสวน ชวนคุยเรื่องเกม
LinkedIn
สื่อสารผ่าน stargate เอาจิ
รวดเร็ว และไม่ดีเลย์
subspace communication
overmind -> hives -> overloads -> queens เป็นระบบที่พิสูจน์แล้วว่าใช้ได้จริงครับ ข้ามไกลๆ ยังได้เลย
ช่วงนี้อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ (^_^;)
arthuran.net :: my tools
ระวังโดน Psi Disrupter ละ
สรุปมาจาก paper ครับ
หากมีข้อผิดพลาดต้องขออภัยด้วย