Tesla รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2017 ขาดทุน 671.4 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นการขาดทุนมากที่สุดในไตรมาสเดียวของบริษัท โดยมีรายได้รวม 2,984.7 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 7% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน
ในจดหมายรายงานกับนักลงทุน Tesla บอกว่ารถยนต์คันลำดับที่ 250,000 ได้ถูกส่งมอบในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการผ่านด่านสำคัญเพราะเมื่อ 5 ปีที่แล้ว บริษัทได้ส่งมอบรถคันที่ 2,500 ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป บริษัทก็ผลิตรถส่งมอบได้มากขึ้นถึง 100 เท่า
Tesla ระบุว่าคำสั่งซื้อ Model S และ Model X ยังคงเพิ่มสูงขึ้นทำสถิติใหม่ต่อเนื่อง ขณะที่ Model 3 ซึ่งมีปัญหาในสายการผลิตและส่งมอบได้ไม่กี่ร้อยคันนั้น Tesla มีแผนจะลดสัดส่วนการผลิต Model S และ X ลง 10% เพื่อปรับมาเป็นสายการผลิต Model 3 แทน
จดหมายรายงานนี้ยังบอกว่าการแก้ปัญหาคอขวดในการผลิต Model 3 ยังคงทำต่อเนื่อง แต่ตอบได้ยากว่าทั้งหมดจะจบลงเมื่อใด เพราะแต่ละปัญหาก็กำหนดเวลาแก้ไขให้เสร็จยากอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็มีปัญหาคอขวดใหม่เพิ่มมาอีก ทั้งนี้ Tesla ได้ปรับคาดการณ์กำลังการผลิต Model 3 จากเดิมคาดว่าจะผลิตได้สัปดาห์ละ 10,000 คัน ในต้นปี 2018 มาเป็น 5,000 คันต่อสัปดาห์ เพื่อสะท้อนกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ที่มา: Tesla และ Business Insider
Comments
อ่าวใหนข่าวก่อนบอกไล่คนออกไม่ใช่เพราะขาดทุนแต่เป็นเพราะผลประเมินไม่ถึง แต่ก็นะสุดท้ายก็ต้องรายงานผลงานให้ผู้ถือหุ้นอยู่ดี แต่ขนาดไล่ออกไปตัั่งเยอะยังขาดทุนมากกว่าเดิม นี่แสดงว่าต้องรีบย้ายมาจีนให้ด่วนเลยรับรองรุ่ง..........ถ้าไม่โดนกอปไปก่อนอะนะ
คิดว่าไม่ได้ไล่ออกเพื่อตบตัวเลขหรอกครับ เพราะถ้าทำแบบนั้นสิ้นคิดมาก วิธีตบให้กำไรมีเยอะแยะ
บ.เมกัน ส่วนใหญ่เขามีวิธีการแบบนี้มานานแล้วครับเป็น action มาตรฐานเลยก็ว่าได้ ยอดขายตก demand น้อยลงหรือต้นทุนพุ่ง สิ่งแรกที่ทำคือลดคนงานครับ เพราะเป็นสิ่งที่ได้ไวและเห็นผลชัดเจน แม้จะไม่ cover ผลขาดทุนทั้งหมด แต่มันเห็นๆตัวเลขเลยว่าลดลงได้เท่าไร แต่พอยอดดี ความต้องการสูง ก็จ้างกลับไปใหม่
แต่ที่มั่นใจได้แน่ คือระบบการชดเชยเขาครบถ้วน ให้เกินกฎหมายกำหนดกันทั้งนั้น(เพราะถ้าเป็นบ.มาตรฐาน ต้องมีการกันเงินสำรองส่วนนี้ไว้ครับ) ไม่ค่อยเหมือนบ.แถบๆเอเชีย ที่ถ้าลดคนงานนี่คือบ.จะล้มแล้ว เผลอๆค่าจ้างงวดสุดท้ายต้องไปฟ้องศาลแรงงานกันเอาเอง
การไล่ออกมีผลต่องบในปีถัดๆ ไปครับ ปีที่ออกมันต้องจ่ายชดเชย ฯลฯ ด้วย จะหนักกว่าปกติด้วยซ้ำ แต่ผลประกอบการขาดทุนไม่ได้แปลว่าไล่คนออกเพราะขาดทุนนะครับ อาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
เงินชดเชยตามกฎหมายต้อง"กันสำรอง"ไว้ตั้งแต่แรกแล้วครับ(ไม่รวมงบชดเชยเพิ่มพิเศษ)ตรงนี้แหละที่ต่างจากบ.เล็กๆมาก
แต่นั่นแหละไล่คนออกไม่ได้หมายความว่าเพราะขาดทุน
แต่มันคือเครื่องมือในการบริหารงบแบบหนึ่งครับ และเป็นสิ่งแรกๆ ที่จะใช้ ในขณะที่บ.ญี่ปุ่นมักจะใช้เป็นวิธีสุดท้าย
กันสำรองกันสักกี่ %ครับ?
ถ้าเป็นที่ผมเคยเห็นกันสำรอง 100% ครับ (แต่กระบวนการ อาจจะใช้การรับรู้หนี้สิน ตามมาตรฐาน IAS19 ตรงlink นี้มีอธิบายบางส่วน)
รวมไปถึงต้องกันสำรองเงินที่จะต้องชดเชยจำนวนวันลาพักร้อนด้วย(กรณีออกต้องชดเชยเงินตามจำนวนวันลาพักร้อนที่เหลือ)
ไม่แน่ใจว่าเป็นทุกที่ไหม แต่ที่พูดมา คือบ.ข้ามชาติขนาดใหญ่ตั้งโรงงานในไทยที่เคยมีพนักงานเกิน3หมื่นคนครับ
+1
"บริษัท" บอกไงครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ส่องมอบ => ส่งมอบ
ยากกว่า => ยากว่า
ไม่มองชุดคิดบ้างเหรอเทสล่าาาาา