นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียในลอสแองเจลิส (UCLA) เปิดเผยว่า ทีมวิจัยได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งในการพัฒนาเพื่อสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ (solar cell) ที่มีประสิทธิภาพสูงโดยใช้พลาสติกราคาถูกร่วมกับซิลิกอน
เซลล์แสงอาทิตย์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้ มีประสิทธิภาพในการดูดกลืน (absorption) และการแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ดีกว่าแบบก่อนที่ใช้โพลิเมอร์ ซึ่งผู้บริโภคสามารถหาซื้อเซลล์แสงอาทิตย์แบบพลาสติกได้ง่ายจากร้านฮาร์ดแวร์ในท้องถิ่นได้ง่าย และนำไปแขวนเข้ากับผนังหรือกำแพงเช่นเดียวกับแผ่นโปสเตอร์
นอกจากนั้นแล้วนักวิจัยยังคาดหวังว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ เซลล์แสงอาทิตย์อาจมีขนาดบางเท่ากับกระดาษ และสามารถนำไปติดผนึกเข้ากับพื้นผิววัสดุต่างๆได้ตามที่ต้องการ โดยยังมีแนวคิดที่จะทำเป็นสีต่างๆอีกด้วยเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน
ทีมวิจัยค้นพบว่า การใช้อะตอมซิลิกอนแทนอะตอมคาร์บอนในส่วนประกอบหลักของพลาสติก ทำให้สามารถปรับปรุงคุณสมบัติโฟโตโวลตาอิก (photovoltaic) ของวัสดุให้ดีขึ้น
เซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่ที่ใช้โพลิเมอร์นี้ ใช้สารประกอบอินทรีย์ (organic compounds) ในการกำเนิดกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ซึ่งผลิตได้ง่ายกว่าแบบเดิมที่ใช้ซิลิกอนมาก และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ที่มา - xinhuanet
Comments
ดีครับจะเอามาทำเป็นผนังนอกบ้านจะได้ไม่ต้องทาสี
ตอนนี้มีที่พยายามค้นคว้าอยู่เป็นแบบสีทาภายนอกที่มีคุณสมบัติเป็น Paint-on photovoltaic ด้วยนะครับ เห็นว่าอยู่ในขั้นวิจัยอยู่ แต่ว่าประสิทธิภาพยังต่ำมากๆจนยังไม่คุ้มทุนเท่านั้นเอง (เนื่องจากต้องทาบนโลหะ ทำให้ทุนสูง)
เด็ดเลยครับ จะได้มีไว้ใช้กันเยอะๆ โลกมันร้อนเหลือกิน
ถูกๆ จะได้เอาไปติดตามหลังคาบ้านแล้วขายไฟฟ้าซะเลย
"เด็ดเลยครับ จะได้มีไว้ใช้กันเยอะๆ โลกมันร้อนเหลือกิน
ถูกๆ จะได้เอาไปติดตามหลังคาบ้านแล้วขายไฟฟ้าซะเลย"
มันดูจะขัดแย้งกันนะครับถ้าถูกแล้วคนจะซื้อไฟฟ้าทำไมครับ?
หมายถึงเป็นนายทุนรึเปล่าคับ
อาจจะหมายถึง Solar Grid ที่คนทั่วไปลงทุนติดโซล่าร์เซลล์ทั้งบ้าน รวมๆกันเป็นหมู่บ้าน แล้วเอาเศษเหลือขายโรงงาน ละมั้งครับ
นึกถึงเรื่อง ดวงอาทิตย์ที่รัก แผ่นแดดที่อยุธยา สมัยเรียนมัธยม :P
เคยอ่าน แต่รู้สึกของผมเป็น National Test ตอน ม.3