Tags:
Node Thumbnail

Kaspersky Lab ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยจากรัสเซียซึ่งถูกรัฐบาลสหรัฐฯ สั่งแบน เตรียมปิดออฟฟิศใน Washington D.C. ซึ่งเป็นสำนักงานที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลสหรัฐฯ แต่ทางบริษัทจะยังคงการดำเนินธุรกิจกับลูกค้าที่ไม่ใช่รัฐบาลต่อไป และเตรียมจะเปิดออฟฟิศใน Chicago, Los Angeles และ Toronto เพิ่มเติมในปีหน้า

Anton Shigarev ผู้บริหารจาก Kaspersky กล่าวในการให้สัมภาษณ์ถึงการปิดออฟฟิศดังกล่าว และยังพูดถึงเรื่องการเปิดซอร์สโค้ดของบริษัทให้กับบริษัทภายนอกตรวจสอบด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าซอฟต์แวร์ของ Kaspersky ไม่มีฟังก์ชันแอบแฝงใด ๆ ไม่มีการส่งไฟล์ไปยังบุคคลที่สาม ไม่มีการสอดแนม และทำตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับลูกค้าอย่างเต็มที่

Shingarev กล่าวว่า การเสียลูกค้าระดับรัฐของ Kaspersky นั้น อาจทำให้บริษัทต้องเสียรายได้จำนวนมาก และทำให้ Kaspersky ต้องคอยตอบคำถามของลูกค้าเกี่ยวกับความปลอดภัยของตัวซอฟต์แวร์หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งแบน

นอกจากนี้ ในฝั่งสหราชอาณาจักรที่เพิ่งประกาศเตือนเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดยรัสเซียนั้น Shingarev กล่าวว่า National Cyber Security Centre ของสหราชอาณาจักรเพียงแค่ “แนะนำ” เท่านั้น

นอกจากนี้ Kaspersky จะยังสร้าง Transparency Centers ในสหรัฐฯ, ยุโรป และเอเชียด้วย โดยศูนย์นี้จะจัดตั้งให้มีผู้เชี่ยวชาญอิสระมาศึกษาโค้ดได้ โดยศูนย์เล่านี้จะมีความปลอดภัยระดับ SCIF มีกล้องตรวจสอบความปลอดภัย ไม่มีอินเทอร์เน็ต และมีผู้เชี่ยวชาญอิสระคอยตรวจสอบโค้ดและมีพนักงาน Kaspersky คอยตอบคำถาม

สุดท้ายนี้ Shingarev กล่าวว่าทางบริษัทก็ไม่ต้องการให้รัฐบาลรัสเซียสั่งบล็อกการใช้ซอฟต์แวร์จากสหรัฐฯ ภายในประเทศเหมือนกัน เขายืนกรานต่อต้านการแบนทุกประเภท และยืนยันว่าการปกป้องในลักษณะนี้จะเป็นอันตรายในระยะยาว Kaspersky เชี่ยวชาญในการปกป้องธนาคารจากการโจมตีโดยแฮกเกอร์รัสเซีย และถ้าสหรัฐฯ แบน Kaspersky จากธนาคารในประเทศก็เหมือนกับกำลังยิงตัวเองในระยะหนึ่งฟุต และยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “มาตรการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ (protectionism) ที่มากเกินไปนั้นสามารถทำลายการแข่งขันได้”

ที่มา - Bloomberg

Get latest news from Blognone

Comments

By: LazarusSP1
ContributoriPhone
on 9 December 2017 - 09:04 #1022931

หน่วยงานภาครัฐของไทย หลายหน่วยงานก็ใช้ Kaspersky Enterprise อยู่นะครับ ไม่รู้ว่ามีโครงการ Open Transparency ด้วยไหม แต่อย่างน้อยก็ยังรู้สึกดีว่ามีการใช้งานโปรแกรมป้องกันโปรแกรมประสงค์ร้าย ที่เป็นลิขสิทธิ์ อยู่บ้าง