ปีหน้า 2561 จะเป็นปีสำคัญของวงการโทรคมนาคมไทยอีกครั้ง เมื่อ กสทช. ประกาศจัดประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่ (คลื่นของ dtac ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในเดือนกันยายน 2561) ถือเป็นการประมูลครั้งสำคัญของ dtac ที่จะต้องทุ่มสุดตัว คว้าคลื่นมาครองให้จงได้
ในภาพรวม การประมูลครั้งนี้ถือเป็นภาคสุดท้ายของ "ไตรภาค" การประมูลคลื่นโทรคมนาคม ที่จะเป็นการปิดฉากความถี่ในระบบสัมปทานเดิม และเป็นการพาประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคของใบอนุญาตอย่างสมบูรณ์
ในโอกาสนี้เรามาย้อนดูการประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคมในไทยทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา
การประมูลคลื่นครั้งแรกของไทยเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2555 (ค.ศ. 2012) หรือเมื่อ 5 ปีก่อน หลัง กสทช. นำคลื่นย่าน 2100MHz จำนวน 45Mhz ที่ไม่เคยถูกใช้งานมาก่อนมาเปิดประมูล (จึงไม่มีปัญหาเรื่องการต่ออายุคลื่น) โดยมีบริษัทโทรคมนาคมใหญ่ทั้ง 3 รายคือ AIS, dtac, True เข้าร่วมประมูลเพื่อเปิดให้บริการ 3G
ผลการประมูลจบลงตามความคาดหมาย เพราะทุกรายต่างประมูลคลื่น 15MHz ตามที่ตัวเองต้องการ ทำให้ราคาสุดท้ายขยับจากราคาตั้งต้นไม่มากนัก
การประมูลครั้งนี้ กสทช. แบ่งคลื่น 45MHz ออกเป็น 9 สล็อต (สล็อตละ 5MHz) โดยมีราคาตั้งต้นสล็อตละ 4,500 ล้านบาท รวมเป็น 40,500 ล้านบาท (ราคาสุดท้ายจบที่ 41,625 ล้านบาท)
จากนั้น ประเทศไทยก็เริ่มก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทาน มาสู่ระบบใบอนุญาตแบบใหม่ โดยเริ่มจากสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz ของ True ที่หมดลงในปี 2556 (2013) แต่ กสทช. กลับไม่สามารถจัดประมูลได้ทัน จนเป็นเหตุให้ต้องออก "มาตรการเยียวยา" ต่ออายุให้ใช้งานคลื่นต่อไปอีกพักใหญ่ๆ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อผู้ใช้โทรศัพท์
ลำดับถัดมาเป็นคิวของ AIS กับคลื่น 900MHz ที่หมดสัญญาสัมปทานในปี 2558 (2015) แต่ กสทช. ก็ยังมีปัญหาไม่สามารถจัดการประมูลคลื่นได้ทันก่อนหมดสัญญา ทำให้ต้องต่ออายุใช้มาตรการเยียวยาเช่นเดียวกัน
เมื่อการประมูลล่าช้าออกไป กสทช. จึงตัดสินใจนำคลื่นทั้งสองย่านมาประมูลในช่วงไล่เลี่ยกัน ได้แก่ คลื่น 1800MHz ในเดือนพฤศจิกายน 2558 และคลื่น 900MHz ในเดือนธันวาคม 2558
การประมูลรอบนี้แตกต่างไปจากครั้งแรก เพราะมีผู้เล่นรายที่สี่อย่าง JAS Mobile เข้ามาร่วมด้วย ทำให้ดีกรีของการแข่งขันร้อนแรงกว่าเดิมมาก
การประมูลคลื่นชุด 1800MHz ต่อสู้กันอย่างดุเดือด และจบลงด้วยชัยชนะของ AIS กับ True ทำให้ราคาคลื่น 2 สล็อต (สล็อตละ 15MHz) พุ่งไปสู่ถึงสล็อตละประมาณ 4 หมื่นล้านบาท (สรุปผลการประมูล)
ในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา การประมูลคลื่น 900MHz ยิ่งร้อนแรงเข้าไปใหญ่ ใช้เวลาประมูลกันมาราธอน 4 วัน 4 คืน และจบแบบพลิกล็อกโดย JAS เข้ามาคว้าชัยคู่กับ True ในราคาสล็อตละประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาท (สรุปผลการประมูล) ท่ามกลางคำถามและข้อสงสัยว่า ราคาแพงเกินไปหรือไม่ และ JAS จะมีปัญญาจ่ายจริงหรือไม่
ผลลัพธ์เป็นไปตามคาดเมื่อ JAS ไม่มาจ่ายเงินค่าประมูล (บทวิเคราะห์) และ กสทช. ต้องจัดการประมูลคลื่น 900MHz ใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2559 (ค.ศ. 2016) โดยใช้ราคาตั้งต้นที่ 75,654 ล้านบาท เท่ากับราคาสุดท้ายของ JAS ผลคือมี AIS เข้าประมูลเพียงรายเดียว และได้คลื่นไปตามต้องการในราคาดังกล่าว
ภาพจาก Starwars.com
บริษัทเดียวที่ยังเหลือคลื่นภายใต้ระบบสัญญาสัมปทานเดิมคือ dtac ซึ่งสัญญาจะหมดลงในปีหน้า 2561 ทำให้การประมูลครั้งนี้สำคัญต่อ dtac มาก เพราะ dtac ไม่ชนะการประมูลใดๆ เลยในรอบก่อนหน้านี้ dtac จึงหลังชนฝาและต้องชิงคลื่นมาให้จงได้ มิฉะนั้นอาจต้องถอนตัวจากธุรกิจนี้ไปเลย
ตามแผนการของ กสทช. คือประมูลคลื่น 2 ย่าน (อ้างอิง) ได้แก่
การนำราคาสุดท้ายของการประมูลครั้งก่อน (ที่ต่อสู้กันไปเยอะจนแพงขึ้นมาก) มาใช้เป็นฐานคำนวณราคาตั้งต้นของการประมูลครั้งใหม่ จึงก่อให้เกิดคำถามว่า ในระยะยาวแล้ว ประเทศไทยจะต้องมีต้นทุนค่าคลื่นที่แพงขึ้นไปเรื่อยๆ หรือไม่ และจะส่งผลอย่างไรต่อสภาพธุรกิจของผู้ประกอบการ ซึ่งก็จะกระทบต่อผู้บริโภคในระยะยาว
เพื่อเป็นการจับตาการประมูลครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะปิดฉากระบบสัมปทานเดิมของไทยไปตลอดกาล (ใช้เวลา 6 ปีนับจากปี 2555) Blognone จึงจะมีซีรีส์การสัมภาษณ์และอภิปราย ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประมูลครั้งนี้ ผ่านทาง Facebook Live และเว็บไซต์ โดยจะเริ่มตั้งแต่ช่วงต้นปี 2561 เป็นต้นไป
Comments
1800MHz แบ่ง 3 slot ใหม่นี่หวังว่าคงไม่หารสามลงตัวแบ่งเค้กกันพอดีนะ
เห็นว่าใช้กฎ n-1 คือถ้ามีมายื่นซอง 3 เจ้า จะเอามาประมูลแค่ 2 ใบ
ถ้าจะประมูล 3 ใบ ต้องมา 4 เจ้า (AIS dtac TRUE-H JAS?)
มา 3 เจ้า จะเหลือได้แค่ 2 slot แล้ว slot ที่เหลือประมูลต่อด้วยเปล่าหว่า หรือทิ้งไว้เฉยๆ อะครับ
ถ้าประมูลต่อคนที่ไม่ได้ก็อาจจะได้ไปแทน ลงตัวอยู่ดีฮ่าๆ
ก็อาจจะแบบนั้นก็ได้ครับ แต่เห็นว่ารอบนี้จะกดกันคนละกี่ slot ก็ได้(ถ้าทีเงินจ่าย) รอบแรกเข้า 3 ประมูลได้ 2 อาจจะเจ้าเดียวเหมาไป 30Mhz*2 เลยก็ได้นะครับ //เอาไปต่อของเก่าตัวเองจะได้ 45MHz เปิด 4G 2CA 20+20 เหลืออีก 5 ไปเปิด 2G //แต่คงมีais ทำได้เจ้าเดียวเพระคลื่นที่จะเอามาประใูลใหม่ต่อกับของที่เอไอเอสเอาไปรอบที่แล้วทั้งนั้นเลย
ถ้าสูตร n-1 นี่รัฐได้เงิน แต่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ นะเนี่ย
เพราะอะไรครับประชาชนไม่ได้ผลประโยชน์
คลื่นเหลือ 1 slot ปล่อยไว้ไม่ได้เอาใช้ประโยชน์ครับ
ยังไงก็เอามาประมูลหลังจากนั้นอยู่แล้วนี่ครับ //ความจริงที่น่าห่วงคือระยะห่างระหว่างสองรอบห่างกันมากแค่ไหน
ถ้ามี 3 เจ้าประมูลรอบแรก ได้ไปสองเจ้าละ
ถ้าประมูลต่ออีกรอบ เจ้าที่ 3 ก็อาจจะได้ ก็ได้นะครับ ก็สรุปลงตัวสามเจ้าเหมือน 2100 ไม่เกิดการแข่งขัน
มีแน่นอนครับเพราะไม่แน่ซักหน่อยว่าเจ้าที่ 3 จะได้ของรอบสองเสมอไป
1800MHz น่าจะแบ่ง 3 สล็อต แต่ไม่เท่ากัน แบ่งเป็น 20 15 10 ใครอยากได้เยอะ ก็ทุ่มไป 20 เลย ไม่จำเป็นต้องใช้กฎ n-1 ซึ่งอาจทำให้เหลือคลื่นตกค้างที่ไม่ได้ประมูล แล้วต้องมาเสียเวลาประมูลใหม่อีก จริง ๆ วิธีนี้ก็มีคนเสนอไว้ตั้งแต่ประมูลรอบก่อนแล้วด้วย แต่ไม่เอามาใช้
รอชมเลยครับ จากผู้ใช้ที่หลงมาในคุกดีแตก
เอาจริง ๆ ถ้าเหมาหมดในงบ 200,000ล้านบาท ก็น่าจะไหวนะ //หาร 15 ตามอายุไลเซ่นแล้วก็ถูกอยู่ แต่กสทช.ให้จ่าย 4 งวดไง /___)
ดีแตกจะอยู่หรือจะไปน้าา ผมจะได้ย้ายค่ายอิอิ
หุ้นกลุ่มนี้จะเป็นอย่างไร
ผมอยากให้ดีแทคได้ เพราะถ้าเหลือแค่ 2 เจ้ามีหวังอาจรวมหัวกันขึ้นราคาได้ง่ายกว่าเดิม การแข่งขันก็น้อยลง
+1
ถูกต้องที่สุด
ท่านมองเห็นอนาคตจริงๆ +1 ครับ
1800MHz น่าจะแบ่ง 3 สล็อต แต่ไม่เท่ากัน แบ่งเป็น 20 15 10 ใครอยากได้เยอะ ก็ทุ่มไป 20 เลย ไม่จำเป็นต้องใช้กฎ n-1 ซึ่งอาจทำให้เหลือคลื่นตกค้างที่ไม่ได้ประมูล แล้วต้องมาเสียเวลาประมูลใหม่อีก จริง ๆ วิธีนี้ก็มีคนเสนอไว้ตั้งแต่ประมูลรอบก่อนแล้วด้วย แต่ไม่เอามาใช้
ผมมองกลับกันว่า DTAC ถ้าไม่เจ๊ง ขายให้ AIS หรือ CP ก็แห้งตายไปเลย เพราะ
DTAC ไม่ได้มีเงินเยอะขนาดนั้น รอบที่แล้ว 70,000 ล้านแล้วหยุดเลย 2 ปีผ่านมา มีแต่ข่าวนี้ลูกค้าใหลออกตลอด ถ้าเป็นคนก็ทวารแตกเลือดออกทั้ง 7 ทวาร เปิดราคานี้ก็ได้แค่ slot เดียวคือ 1800MHz แค่ 15MHz
แล้วก็
จากเมื่อปี 2015 โดนทั้ง ส่งแรงงานพม่ากลับบ้าน (ลูกค้าหลักซิมเติมเงิน) และ ความห่วย (ขอใช้คำว่าห่วย) ในการบริการ ทั้งลงทะเบียนซิม ทั้งคลื่น ทั้งระบบบิลลิ่ง และ support ห่วยหมดทุกองศาและฟิลิปดา จะมองทางมุม ลองติจูด-ละติจูดใหนก็ไม่มีอะไรดูดีขึ้น ถึงขนาดหนีไปซื้อ Line มาเป็น Brand ลูกที่ไม่มีหน้าร้าน แต่เพราะความห่วยของ Support (เพราะมันคือ DTAC ไง) ไม่ช้า Line ก็จะตายตามไปด้วย ผมต่อให้ Line ไปขอใช้คลื่น AIS เลยไม่รอดหลอก แล้วเจ้าอื่น เค้าทำกระเป๋าเงิน online กันหมด มีอยูเจ้าเดียวที่ไม่ทำ พอทำก็ทำแค่ อะไรนะ app coin อะไรซักอย่างใช้เองในบริษัทแล้วเอามาโฆษณาลงสื่อ ทำไปทำมัยฟะ ? งบเหลือไม่รู้จะเอาไปทำอะไรเหลอไง ?
ยังเว้ย .. ผมยังพูดไม่จบ
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ อย่าโทษใครเลยนะ DTAC ถ้าเจ๊งรอบนี้ โทษการบริหารงานแบบถอดใจ ไร้ความสร้างสรรค์ของบริษัทตัวเองเถอะ Data รั่ว คุณชดใช้ให้เป็นโทรฟรี 100 นาที หอยหลอดเอร๊ยย ไอ้ script ตอบลูกค้าแบบนี้เนี่ย คุณใช้หัวเข่าซ้ายหรือขวาคิดออกมาฟะ เจ๊งไปเหอะ อย่าอยู่ให้รำคาญลูกตาเลย
ตามนั้นแหละ ไม่ค่อยแค้นเท่าไหร่ ถ้าเจ๊งจริง จุดธูปให้ครึ่งดอก แล้วกรวดน้ำไปให้ (แบบไม่ถวายสังฆทาน)
จัดเต็มมาก อยากให้ผู้บริหารมาอ่านจัง มันสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารของดีแตกเลย
ถ้าไม่ชดเชย 100 นาที หรือ free data ควรเป็นอะไรหรอครับ
ฟรีค่าบริการ 1 รอบบิล อะไรประมาณนี้รึเปล่าครับ?
ผมว่าอาจจะได้ Line มาเป็นแบคอัพให้ DTAC นะครับ เพราะ Line ก็ ลงมาเล่น ธุรกิจนี้แล้วด้วย
เผลอ อาจจะควบธุรกิจด้วย ไม่ใช่แค่ พาร์ทเน่ออีกต่อไป
Dtacไม่กล้าทุ่มหรอกคราวก่อนยังป๊อดเลยพอ JASไม่จ่ายค่าประมูลยังขอลดครึ่งหนึ่งโดนAISงาบเลย
ลุ้นสุดตัว ว่างานนี้ดีแทคจะปลิวมั้ย
ถ้าให้มองในแง่ดี(มาก^googol) ช่วงนี้ดีแทคลงเสา 2100 เยอะมากอาจจะยังอยู่ต่อ 1800 ได้ใบเดียวไม่เป็นไร(มองในแง่ดีมาก มาก มาก มาก มาก ทรูไม่เอา ดีแทคเก็บได้สองใบ) หรือเก็บ 900 ได้อีกใบ แล้วไปเก็บ 2600(คงไม่เกิน20,000ล้าน) กับ 700(ราคาเริ่มต้นแสนล้านบาท/15MHz) + 2300ผ่านพอดี ดีแทคก็จะอยู่ต่อไปได้ ไม่ก็ช่วงเปลี่ยนไป 5G คงมีคลื่นล็อตใหม่สำหรับ 5G ออกมาอีกพี่ก็ไปเก็บอันนั้นก็ได้ (ถ้าพี่ไม่เจ๊งไปก่อนอะนะ)
แต่ละคนตำหนิ dtac อย่างนั้นอย่างนี้ใจจริงคงไม่อยากให้ dtac ว่าวเท่าไหร่หรอก โดนค่าบริการแพงแน่ถ้าไม่มี dtac ถ่วงดุลย์
ประมูลแพงคนที่รับกรรมคือประชาชน เพราะเขาต้องทำธุกิจเอาคืน
ประมูลไม่ได้เหลือสองเจ้าประชาชนเตรียมโดนเหมือนฟิลิปปิน
ประมูลรอบนี้แหละ เผาจริง DTAC
เอาใจช่วย DTAC อย่าเพิ่งเทเลย หมดขั้วที่สาม สองเจ้าก็ฮั้วกันขึ้นราคาอร่อยเลย