เรียกว่าเงียบกริบมานาน สำหรับค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นอย่างโตโยต้า ว่าจะเอาอย่างไรกับทิศทางของบริษัทที่เทรนด์ของโลกมุ่งหน้าไปยังรถยนต์ไฟฟ้า แถมก่อนหน้านี้ก็ชูเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเป็นพลังงานทางเลือก แต่ก็ไม่ได้มีท่าทีว่าจะทำตลาดจริงจัง
ล่าสุดโตโยต้าได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าล้วนอย่างจริงจัง โดยจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แบตเตอรี่ (Battery electric vehicle - BEV) ด้วยกัน 10 รุ่น ภายในปี 2020 และรถยนต์ทุกรุ่นของบริษัท (รวมถึงเล็กซัส) จะมีให้เลือกเป็นแบบไฟฟ้าหรือไฮบริดภายในปี 2025
ประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ มีดังนี้
เพิ่มรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาเป็นตัวเลือกทั้งโตโยต้าและเล็กซัส
- ภายในปี 2030 โตโยต้าตั้งเป้าขายรถยนต์ไฟฟ้า (รวมไฮบริด) ได้มากกว่า 5.5 ล้านคัน โดย 1 ล้านคันต้องเป็นรถยนต์แบบไร้มลพิษ คือรถยนต์ไฟฟ้าล้วน และรถยนต์ใช้เซลล์เชื้อเพลิง
- ภายในปี 2025 รถยนต์ทุกรุ่นรวมถึงเล็กซัสจะมีทั้งแบบไฟฟ้าล้วน และเป็นตัวเลือกแบบใช้ไฟฟ้า โดยมาในรูปแบบไฮบริดหรือปลั๊กอินไฮบริด และเพิ่มรุ่นรถที่ใช้ไฟฟ้าล้วน และเซลล์เชื้อเพลิงด้วย
- สุดท้ายแล้ว จำนวนรถยนต์ของโตโยต้าที่มีเฉพาะเครื่องยนต์สันดาปภายในอย่างเดียวจะเป็นศูนย์
รถยนต์ไร้มลพิษ (Zero-emission vehicles)
- โตโยต้าจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าล้วนแบบใช้แบตเตอรี่อย่างน้อย 10 รุ่นภายในปี 2020 โดยเริ่มที่ประเทศจีนก่อน แล้วค่อยไปเจาะตลาดอื่น
- จะเพิ่มรถยนต์ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงมากขึ้น ภายในปี 2020
รถยนต์ไฮบริดและปลั๊กอินไฮบริด
- โตโยต้ายังไม่ทิ้งเทคโนโลยีไฮบริดที่ลงทุนลงแรงมานาน โดยยังจะพัฒนาระบบไฮบริดต่อจากเทคโนโลยี Toyota Hybrid System II ที่ใช้ใน Prius รุ่นปัจจุบัน ซึ่งต่อไปรถยนต์ไฮบริดของโตโยต้าจะมีกำลังมากขึ้น และจะมีระบบไฮบริดที่เรียบง่ายสำหรับรถยนต์บางรุ่นเช่นกัน
- โตโยต้าจะเพิ่มรุ่นรถยนต์ที่เป็นปลั๊กอินไฮบริดภายในปี 2020
สรุปแล้วทิศทางของโตโยต้ายังถือว่าไม่วู่วามสุดขั้วเหมือนที่ผู้ผลิตรถยนต์หลายๆ เจ้าทำกัน คือไม่ได้ทิ้งเครื่องยนต์สันดาปฯ ไปเลย แต่เลือกการเพิ่มออปชั่นไฟฟ้าเข้ามาในรถทุกรุ่นแทน ควบคู่ไปกับการพัฒนารถยนต์ที่เป็นไฟฟ้าล้วนด้วย
ที่มา - Electrek
2017 Toyota Prius Prime (Plug-in Hybrid)
Comments
Adapt or die.
อยากให้เข้าไทย
อยากให้รถมอเตอร์
ก่อนการมาของ iphone nokia ก็เคยยิ่งใหญ่มาก่อน
Toyota ไปตั้งโรงงานใหญ่เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในจีนก็ดีครับ ตลาดใหญ่มาก กำลังซื้อเยอะ
ส่วนโรงงานในไทยจะทำให้รองรับรถยนต์ไฟฟ้าไหมเอ่ย หรืออนาคตจะย้ายฐานการผลิตไปเลย
ข่าว โตโยต้า ชี้เร็วไปที่คนไทยจะซื้อรถ EV ใช้เอง (30 พ.ย. 2560)
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV อาจเร็วเกินไปหากคนไทยจะซื้อมาไว้ใช้เอง เนื่องจากปัญหาของแบตเตอร์รี่ที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการชาร์จไฟฟ้าแบบ Normal Charge นานถึง 8 ชั่วโมง ส่วนระยะทางในการขับขี่ เพียง 100 กิโลเมตร เป็นระยะทางที่ค่อนข้างสั้น
อีกทั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในไทยขณะนี้ยังมีน้อย ดังนั้น การที่ไทยเพิ่งเริ่มส่งเสริมรถ EV ถือว่าไม่ช้าจนเกินไปหากเทียบกับในต่างประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกา สามารถขายรถ EV ได้ปีละ 85,000 คัน ขณะที่ตลาดรวมเมื่อปีที่แล้ว (59) อยู่ที่ 17.5 ล้านคัน คิดเป็นร้อยละ 0.5 ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีปัญหาและความต้องการไม่เหมือนกัน
สำหรับประเทศไทย จะต้องมองภาพรวมความต้องการเป็นหลักก่อน ซึ่งอาจต้องใช้ระบบผสมผสานกันระหว่างเชื้อเพลิง ระบบไฟฟ้า และไฮบริด หากไทยยกเลิกเครื่องยนต์เผาไหม้ทั้งหมดโดยทันที ก็จะส่งผลกระทบต่อราคาพืชผลทางการเกษตรที่นำมาใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิง
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรม มองว่า กว่าที่รถยนต์ไฟฟ้าจะได้รับความนิยมในไทย อาจต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปี เพราะมีปัญหาเชิงโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะสถานีชาร์จไฟฟ้า ประกอบกับ ราคาที่ค่อนข้างสูง เฉลี่ยคันละ 2-3 ล้านบาท มีระยะการวิ่งได้ไม่ไกล แค่ 200-300 กิโลเมตร รวมทั้งความกังวลเรื่องการกำจัดกากอุตสาหกรรมจากแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า
ทั้งนี้ มองว่า ประเทศไทยต้องหลุดพ้นประเทศรายได้ปานกลาง จึงจะมีความสามารถซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ เนื่องจากรายได้ของคนไทย เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ที่ 5,800 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องเพิ่มเป็นกว่า 12,000 ดอลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ซึ่งน่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 20-30 ปี ดังนั้น ในระยะเปลี่ยนผ่าน จะมีรถยนต์ไฮบริดที่เข้ามาทำตลาดในไทย เป็นทางเลือกสำหรับประชาชน ซึ่งปัจจุบัน มียอดจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก เพียง 8 หมื่นคัน
ขณะที่ นายทาเคชิ อุชิยามาดะ (Takeshi Uchiyamada) กรรมการบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Nikkei Asian Review ระบุว่า หากรถยนต์ไฟฟ้า มาเร็วเกินไป ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่จะเจ๊งกันหลายราย ไม่เว้นแม้แต่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ อย่าง โตโยต้า เนื่องจากการที่ผู้ผลิตรถยนต์แต่ละราย ต้องหันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นหลายเท่า เช่น รถยนต์พริอุส ที่เป็นปลั๊กอิน-ไฮบริด การผลิตแบตเตอรี่ใน พริอุส ต้องใช้ต้นทุนเพิ่มขึ้น 3 เท่าเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ในรถยนต์ทั่วไป แต่แบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า ต้องใช้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก 5 เท่าเมื่อเทียบกับการผลิตแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฮบริด
ซึ่ง พริอุส ใช้เวลาพัฒนานานถึง 20 ปี กว่าจะมาถึงจุดนี้ ฉะนั้นที่บอกว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะครองตลาด ร้อยละ 30 ในปี 2030 (2573) จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ หรืออาจต้องขึ้นอยู่กับการผ่อนปรนข้อกฎหมายของแต่ละประเทศ แต่ส่วนตัว มองว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะแจ้งเกิดจริงๆ คือ นับตั้งแต่ปี 2030 เป็นต้นไป
ที่มา - Voice TV
แถลงข่าวปลอบใจ supply chain ที่จะหายไปค่อนวงการ
มีนักการตลาดในไทยประเมินไว้ว่า การมาของรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ Supply chain ของรถยนต์จะเหลือรอดแค่ประมาณ 800 รายครับ หายไปเกินครึ่ง อยู่รอดแค่ประมาณ 35% เท่านั้น
เอาแค่ค่าอะไหล่รุ่น Hybrid คนก็หนีเพียบแล้ว
ต้องเริ่มฝึกพันมอเตอร์และ
Hybrid ไม่ซื้อแน่นอนครับ แต่ถ้ามอเตอร์เพียวๆ แล้ววิ่งได้สัก 300 กม.ต่อการชาร์จครั้งนึง อาจจะได้เงินผมไป
ตอนนี้ใช้ดีเซลอันแสนประหยัดไปก่อน
my blog :: sthepakul blog
ค่าอะไหล่เนี่ย
Hybrid/EV ยังไม่เข้าสู่ความแมสครับ
ลอง Supply chain หดหาย ผู้ผลิตส่วนใหญ่ขยับไปทำ Hybrid/EV ดู
เผลอๆต้นทุน MA ในแบบ Mass production จะถูกกว่าฝั่งสันดาปหลายเท่า
เพราะความซับซ้อนมันน้อยกว่า และส่วนสึกหรอก็ควรจะน้อยกว่าด้วย(จากความซับซ้อนที่ลดลง)
(ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ตั้งธงว่า Battery Recycling ต้องดีมากๆๆ เพราะถือว่า Lithium เป็นธาตุที่มี Supply จำกัด)
อย่างไรก็ตาม... ปริมาณรถถ้าเกิดแมสจริง ถ้ายังเคลียร์ปัญหาโรงไฟฟ้าไม่ได้ ยังไงก็เลี่ยงแบบ hybrid ลำบากหรือเปล่า
ของฝรั่ง ev มาพร้อม sola cell ครับ ผลิตไฟไช้ที่บ้านเองเลย ค่า sola cell ของตลาดโลกมันลดลงเรื่อยๆ ว่ากันว่าอีกไม่เกิน 20 ปี ไฟฟ้าจาก sola cell จะถูกกว่าค่า'ผลิต'ไฟฟ้า
บ้านเราก็น่าจะตามๆ กัน ที่ต่างไปคือ บ้านเราฤึดูที่ไช้ไฟเยอะคือหน้าร้อน (ซึ่ง sola cell ทำงานได้ดี) ต่างกับฝรั่งที่ฤึดูที่ไช้ไฟเยอะคือหน้าหนาว (ซึ่ง sola cell ทำงานไม่ดี) และพ่อค้าคนกลางเคี่ยว ทำให้ประเทศไทยน่าจะบูมช้า แต่บูมแรง
ส่วน Battery ... ขอให้ Na-glass battery ออกมาก่อนเถอะ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เชื้อเพลิงฟอสซิล ก็มีจำกัดนะครับ เพราะย่อยสลายไม่ทันใช้
ผมได้แต่ลุ้นว่าสักวันนึงรถไฟฟ้าจะประหยัดพลังงานจนใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนเพียวๆได้ โดยไม่ต้องง้อการสำรองเชื้อเพลิงของแบตเตอรี่
ลองรัฐออกนโยบายว่า ปีหน้าลดภาษีรถ EV ล้วนแบบตอนรถคันแรกสิ จุดชาร์จมาเต็มแน่นอน
จากเจ้าตลาด นำการพัฒนาไฮบริดมาคนเดียว แต่ในวันที่ทั้งโลกหันไปเทใจให้รถไฟฟ้าล้วน เจ็บตัวหนักเหลือเกิน
ใช่ การที่แนวโน้มมันกระโดดจากน้ำมันไปไฟฟ้าเลย โตโยต้าเจ็บหนักสุด เพราะนำร่องไปก่อนลงเงินไปเยอะกับไฮบริด แต่คนอื่นไม่ตาม จะหนีไปไฟฟ้ากันเลย แต่จะไม่เอาด้วยก็ไม่ได้ เพราะถ้าไม่ปรับตัวเผลอๆ มีเจ้ง
ค่ายเมกา ค่ายยุโรป ไปไกลแล้วยิ่งยุโรปนี่มีกำหนดการชัดเจนแล้ว ว่าจะบังคับใช้กันเมื่อไหร่ ยิ่งเป็นตัวเร่งการพัฒนารถไฟฟ้าที่ดี บ้านเราจะได้ใช้จริงๆ ก็คงหลังยุโรปนั่นแหละ ถึงตอนนั้นก็คงมีขายกันทุกยี่ห้อแล้วล่ะ
แต่ก่อนยังดัน Fuel cell เต็มที่อยู่เลย พอ Tesla นำเท่านั้นแหละ ดริฟแทบไม่ทัน
สงสารบริษัทอะไหล่ที่จะตายไปจากวงการรถยนต์จำนวนมหาศาล
ไม่ปรับตัวก็อยู่ไม่ได้อ่ะนะ
..: เรื่อยไป
โตโยต้าก็น่าสงสารจริงๆ ในมุมที่ เค้าก็ต้องเลี้ยงคนไปด้วย
เปลี่ยนสายนี่กระทบคนเยอะนะครับ ผมว่าในไทยมีหลัก 2-3 แสนคนตกงานอ่ะ
ผมสงสัยเรื่องของการเติมพลังงานไฟฟ้าอ่ะครับ
คือในกรณีของรถน้ำมัน ถ้าน้ำมันหมด ก็แค่แล่นเข้าไปเติมน้ำมันหรือซื้อน้ำมาจากปั๊มน้ำมันใส่แกลลอนมาเติมรถที่หมดกลางทาง รถก็แล่นต่อได้ทันทีละ (ต่อให้ 4000 กม. ก็วิ่งต่อเนื่องจากกรุงเทพไปจีนได้ ขอแค่มีจุดเติมน้ำมันระหว่างทางก็พอ)
แต่ในกรณีของรถไฟฟ้า เวลาที่แบตหมด... อืม..ก็แค่แล่นเข้าจุดชาร์จก็ชาร์จแบตได้... แล้ว... "มันใช้เวลาชาร์จนานแค่ไหนจึงจะแล่นต่อได้" กันล่ะ!!? เพราะขนาดโทรศัพท์ยังใช้เวลาชาร์จเป็นชั่วโมง ถ้าใช้เวลาชาร์จนานแบบนี้ ไม่กระทบเวลาการเดินทางหรือ? มันก็เป็นข้อเสียรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าเลยนะครับ ..ดังนั้น ผมจึงอยากทราบว่า เขาใช้วิธีอะไรมาอุดช่องโหว่งเรื่องเวลาในการชาร์แบตครับ? (คือไม่ได้ตามข่าวรถยนต์ไฟฟ้ามากนัก จึงสงสัยครับ)
fast charge ตามสถานี แต่ก็ไม่เร็วเท่าเติมน้ำมันอยู่ดี
คิดในแง่ดีคือ ที่ไหนมีปลั๊กที่นั่นชาร์จได้ครับ
วิธีหนึ่งคือเพิ่มขนาดความจุแบตครับ ถึงจะวิ่งจากกรุงเทพไปจีนได้แต่คนขับก็ต้องจอดแวะพักกินข้าว เข้าส้วม นอน ถ้าสามารถวิ่งได้ตลอดระยะเวลาช่วงขับก็ถือว่าตอบโจทย์ครับ อย่าง Tesla Model S P100D วิ่งได้ประมาณ 550-600 KM ต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง (ซึ่งก็วิ่งไปอย่างน้อยๆ 4-5 ชม. แล้ว) ก็ควรหยุดจอดแวะพักบ้าง ซึ่งที่เมืองนอกถ้าชาร์จที่จุด Supercharger ชาร์จ 20 นาที แบตเพิ่ม 50% 75 นาทีได้ 100% ก็ขับไปพักไปแหละครับ ตกกลางคืนก็ชาร์จยาวๆ ไป
แต่จริงๆ แล้วคนเราไม่ได้ขับรถทางไกลขนาดนั้นบ่อยๆ ถ้าขับแค่ไปทำงาน เดินห้าง เมื่อถึงที่หมายเราก็ชาร์จกับที่ชาร์จของสถานที่นั้น หรือกลับมาชาร์จที่บ้านก็ยังได้ครับ
ต่อไปจะมีการเก็บค่าชาร์จไฟเพิ่มจากค่าที่พักโรงแรม ที่จอดรถ และอื่นๆ
แล้วคนเราจะวิตกกับการคิดวิธีประหยัดค่าไฟ โดยจะไม่ชาร์จไฟที่บ้าน เหมือนมือถือทุกวันนี้ ไปชาร์จฟรีที่ทำงาน
แล้วถ้าอยู่บ้านหรืออยู่ที่ทำงาน แล้วลืมชาร์จแบต หรือหาจุดชาร์จแบตไม่ได้ แล้วแบตหมดกลางทางจะทำไงอ่ะครับ? ยังมีเรื่องแบตเสื่อมตามอายุ และสภาพอากาศที่ร้อนจนทำให้อายุแบตเสื่อมเร็วขึ้นอีก แถมยังมีเรื่องแบตที่ระเบิดได้อีก (เห็นว่าใช้แบต Li-ion หรือ Li-Po อีก ซึ่งมันก็มีปัญหาเรื่องแบตบอมแบตระเบิดด้วย) ถ้าเป็นแบตน้ำแบบ 3K อะไรที่ใช้ในรถก็ยังพอว่า ..เขาจะแก้ไขเรื่องพวกนี้กันอย่างไร?
เรื่องจุดชาร์จ ลืมชาร์จ อารมณ์คงแบบเดียวกับรถ ICE ครับ ทุกวันนี้คือลาก/ยกเอา ในอนาคตอามีรถแบต มาจิ้มแบตสัก 10-15 นาทีให้พอวิ่งไปจุดชาร์จใกล้ๆ ได้ แต่จริงๆ อนาคตถ้ารถ EV แพร่หลายแล้ว เราอาจจะขอไปจิ้มตามบ้านหรือห้างร้านใกล้ๆ ที่ไหนก็ได้ เพราะคนที่ใช้ EV จะมีจุดชาร์จในที่จอดประจำอยู่แล้วครับ
เรื่องแบตเสื่อมคงตามอายุครับ ต้องพัฒนาแบตกันไป ส่วนเรื่องแบตระเบิดนี่ เท่าที่เคยเห็นข่าวคือต้องชนยับพอควรถึงระเบิด ซึ่งถึงจะเป็นรถ ICE ก็คงระเบิดเหมือนกัน ตรงนี้คงต้องรอดูเทคโนโลยีแบตใหม่ๆ มา พวกที่ปลอดภัยขึ้น ชาร์จไวขึ้น อายุใช้งานนานขึ้น
มีสถานีบริการที่สามารถเปลี่ยนแบตเป็นลูกๆ เลยน่าจะพอแก้ปัญหานี้ได้นะครับ ทำประมาณว่าเป็นแบต module แยกออกมาจากแบตหลัก เพื่อความสะดวกสำหรับการเดินทางระยะไกล
ผมเคยดูใน You tube ของ Tesla สามารถเปลี่ยนแบตทั้งโมดูล ได้อยู่แล้วครับ แต่ไม่รู้ว่าทำได้ทุกรุ่นของ Tesla รึเปล่า
ในวิดีโอ อีลอน โชว์ให้ดู เปลี่ยนเร็วมากครับ ไม่ถึง 1 นาทีเสร็จ
ไม่ใช่ทำได้ทุกรุ่นไหมแต่คือเลิกไปเลยครับ ไม่มีรุ่นไหนได้ใช้
จริงๆ ก็เกินนาทีอยู่นะครับ (เอ หรือมีอัปเดตที่เร็วกว่านี้ผมจำไม่ได้ละ)
บางทีอนาคตอาจมีพาวเวอร์แบ๊งสำหรับรถยนต์ก็เป็นได้
ตอนนี้ก็มีครับ จากค่าย GM อันประมาณเท่ากระเป๋าเป้ ชาร์จเอาแค่พอไปจุดชาร์จที่ใกล้ที่สุดได้
โฆษณาของโตโยต้าบอกไฮบริดคืออนาคต แล้วไฟฟ้าก็น่าจะถัดจากอนาคตไป
ถ้ามาขายในไทยแล้วบูม ๆ นะ ผมว่าจะมีคนเอาไป modify ให้มันเปลี่ยนก้อน battery ได้ แบบ ยกออก-ยกลงตูม ขับต่อได้เลย, รับเปลี่ยนใส้ battery เก๊ (พร้อม reset ค่าในระบบ) หรือ อาจจะโหดขนาด แกะมอเตอร์มาพันขดลวดใหม่เลยก็ได้นะครับ
ลองไปดู Video ของ Tesla นะครับ ค้นคำว่า “tesla battery swap“ ถ้าวิธีนี้แพร่หลาย ปัญหาการชาร์จไฟจะหมดไป การเปลี่ยนแบต อารมณ์เหมือนเปลี่ยนถังแก๊ส
Battery Swap Event | Tesla
ปัญหาคือ แค่ปริมาณ Lithium ที่จะเอามาผลิตแบตยังเป็นที่กังวลเลยครับ
ยังไงที่สุดแล้วมันน่าจะโดนเรต 20-30 นาทีต่อการชาร์จแบต 1 ลูกไป 80% อยู่แล้ว (20% บนใช้เวลานาน)
ถ้าใช้เรตเหมือนการเติมน้ำมัน (3นาทีต่อคันต่อหัวจ่าย)
รอบนึงเปลี่ยนแบต 9 ก้อน (เต็มถัง) (เพราะแบตน่าจะใช้แบบ avarage use)
ในชั่วโมงเร่งด่วนรถเต็ม 10 หัวจ่าย ต้องสำรองแบต 90ก้อน*20รอบ = 1800 ก้อน
ซึ่งอาจจะต้องเพิ่มเป็น 3600 ก้อน สำหรับชาร์จวนให้ทันรอบต่อไปด้วยนะ
จำนวนแบตที่ต้องไปกองเป็น reserve นี่น่าจะเยอะเหมือนกันนะครับ
(แล้วแค่เอาให้พอรถก็ไม่พออยู่แล้ว ยังต้องไปเป็น Reserve อีก)
ยังไม่นับเรื่องความกังวลว่าได้มาแบตไม่ถึงเรต แบตเก็บไฟไม่อยู่ เสื่อม บวม และอื่นๆอีก
คงต้องดูกันไป
ก็อาจจะไม่น่าลงทุนทำปั๊ม ถ้าไม่ได้อยู่ไกลระดับนึง (ทุกๆ 50-100 กม. มีสักปั๊มก็อาจจะพอ)