อีกหนึ่งปรากฏการณ์บนโซเชียลมีเดียแห่งปี 2017 คือ การคุกคามทางเพศจนเป็นที่มาของแฮชแท็ก #MeToo ที่เริ่มต้นจากมีการเปิดโปงพฤติกรรมของโปรดิวเซอร์ใหญ่ในวงการฮอลลีวูด Harvey Weinstein ว่ามีพฤติกรรมคุกคามทางเพศดาราหญิงและลูกจ้างหลายราย คนแรกที่เริ่มเปิดโปงพฤติกรรมของ Weinstein คือ Ashley Judd นักแสดงสาว เธอบอกว่า Weinstein เชิญเธอไปที่โรงแรม Peninsula Beverly Hills เพื่อนัดทานอาหารเช้า แต่กลายเป็นว่าเขาเชิญเธอไปบนห้อง และปรากฏตัวด้วยชุดคลุมอาบน้ำแทน และยังถามเธออีกว่าเธอสามารถมองดูเขาอาบน้ำได้ไหม หลังจากนั้นก็มีอีกหลายคนออกมาเปิดโปงด้วย บางคนเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Weinstein effect
ภาพจาก Shutterstock
#MeToo ได้รับการกล่าวถึงในทวิตเตอร์กว่า 5 แสนครั้ง ภายในเวลาไม่ถึงเดือน และในเฟซบุ๊กมีการกล่าวถึงประเด็น #MeToo ถึง 12 ล้านครั้งภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง
#MeToo ไม่เพียงเป็นปรากฏการณ์ไวรัลในโซเชียลมีเดียชั่วคราว แต่เป็นอีกเหตุการณ์สำคัญที่ต้องบันทึก แม้แต่นิตยสาร TIME ยังยกให้ #Metoo เป็นบุคคลแห่งปี (ใช้ชื่อเรียก #MeToo ว่า The Silence Breaker)
ภาพจาก TIME
ภาพโดย Denis Makarenko Blognone ซื้อภาพจาก Shutterstock เพื่อประกอบบทความข่าวนี้
Harvey Weinstein อายุ 65 ปี สั่งสมประสบการณ์การทำภาพยนตร์มานาน ถือเป็นบุคคลหนึ่งที่มีอิทธิพลในวงการนี้ เขากับน้องชายร่วมกันก่อตั้งบริษัท Miramax ผลงานกำกับที่สร้างชื่อให้เขาคือ , Pulp Fiction, Heavenly Creatures, Flirting with Disaster, Shakespeare in Love
จนกระทั่งในเดือนตุลาคม 2017 The New York Times รายงานข่าว Harvey Weinstein ถูกกล่าวหาข้อหาละเมิดทางเพศ ข่มขืน และยังระบุด้วยว่ามีผู้หญิงหลายสิบคนต้องทนกับพฤติกรรมคุกคามทางเพศของ Weinstein เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 ปี The New York Times ยังรายงานด้วยว่า Weinstein จ่ายเงินค่าชดเชยให้ผู้หญิง 8 ราย ปิดปากไม่ให้บอกใคร
จากข้อกล่าวหา พฤติกรรมคุกคามทางเพศของ Weinstein เกิดขึ้นมานานนับสิบปี แต่ในปี 2017 เป็นปีที่เหยื่อแต่ละรายไม่ปิดปากเงียบอีกต่อไป คนทั่วโลกตกตะลึงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดาราสาวทยอยออกมาโพสต์โซเชียลติดแฮชแทก #MeToo ว่าตนก็เป็นอีกคนที่ Weinstein เคยคุกคาม และมีออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อเช่น Ashley Judd, Gwyneth Paltrow, Angelina Jolie, Cara Delevingne, Asia Argento
#MeToo จากเดิมที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากผู้ชายคนเดียว ได้ลุกลามไปจนถึงการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับประสบการณ์ที่เหยื่อของ Weinstein ต้องเจอ เหยื่อของเขาหลายรายต้องปิดปากเงียบมานานหลายปี เพื่อรักษาหน้าที่การงานของตนเองไว้
หลังจาก Weinstein ถูกเปิดโปง ก็มีรายนามคนใหญ่คนโตในวงการอื่นที่ไม่ใช่ฮอลลีวูดถูกเปิดโปงพฤติกรรมฉาวด้วย เช่น
กระแส #MeToo เริ่มขึ้นในสหรัฐฯ และแพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ในประเทศจีน กระแส #MeToo ไม่ได้ปะทุขึ้นในวงการบันเทิงและธุรกิจเหมือนในสหรัฐฯ แต่กลายเป็นวงการการศึกษา
Luo Qianqian อาจเป็นผู้หญิงจีนคนแรกที่ลุกมาจุดกระแส #MeToo เธอเล่าว่า Chen Xiaowu ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Beihang คุกคามทางเพศเธอตั้งแต่สมัยที่ Xiaowu เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญาเอกในปี 2005 เธอยังติดต่อศิษย์เก่ารายอื่นที่มีประสบการณ์เดียวกัน และรวบรวมหลักฐานแจ้งให้หน่วยควบคุมวินัยรับทราบ จนกระทั่ง Chen Xiaowu ถูกไล่ออก
หลังจากนั้นก็มีผู้หญิง นักศึกษาคนอื่นได้รับแรงบันดาลใจจาก Luo Qianqian ออกมาเล่าประสบการณ์ที่ถูกกระทำโดยผู้สอนบ้าง หลายเหตุการณ์ที่ถูกเก็บเงียบมานาน ได้รับการเปิดเผย
ในอินเดีย กระบวนการที่คล้ายๆ กับ #Metoo เริ่มขึ้นมาก่อนจะมีกระแส #Metoo เสียอีก Women In Cinema Collective (WCC) ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายรักษาสิทธิสตรีในวงการภาพยนตร์ เช่น ลาคลอด เลี้ยงดูบุตร รายได้ที่เป็นธรรมและเท่าเทียม และการคุกคามทางเพศ
ภาพจาก Facebook WCC
มองกลับมาที่วงการไอที ปี 2017 ถือเป็นปีที่การคุกคามทางเพศสร้างแรงกระเพื่อมมากจนบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญๆ หลุดออกจากตำแหน่งหลายราย กรณีสำคัญคือ Uber โดย Susan J. Fowler อดีตวิศวกรซอฟต์แวร์หญิงเขียนบล็อกเล่าว่าโดนผู้มีตำแหน่งสูงใน Uber เจ้านายล่วงละเมิดทางเพศด้วยวาจา (ขอมีเซ็กซ์ด้วย) และเมื่อแจ้งไปยังฝ่าย HR เรื่องกลับปิดเงียบ เมื่อเรื่องถูกตีแผ่ออกไปทำให้ริษัทตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้จริงจัง เป็นจุดเริ่มต้นของการลาออก และปลดผู้บริหารหลายราย Uber ถึงกับประกาศนโยบายปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรยกใหญ่
หลัง Uber ตกเป็นประเด็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ผู้หญิงในวงการคนอื่นก็กล้าเปิดเผยประสบการณ์ตัวเองมากขึ้น สำนักข่าว New York Times ตีแผ่ประสบการณ์ของผู้หญิงเล่านี้ พกเธอระบุว่า นักลงทุนมักจะเป็นฝ่ายคุกคาม เพราะมีเงินทุนถือไพ่เหนือกว่า และบรรดาสตาร์ทอัพที่พวกเธอทำงานอยู่ด้วยนั้นต่างก็ต้องพึ่งพาเม็ดเงินเหล่านี้
การเคลื่อนไหวต่อต้านคุกคามทางเพศในวงการไอที เริ่มมีมากขึ้นในปี 2017 แต่ยังไม่สามารถสร้างผลสะเทือนไปทั่วโซเชียลมีเดียและทั่วโลกได้มากเท่า Weinstein effect
ส่วนหนึ่ง ที่การคุกคามทางเพศในวงการไอที รวมทั้งวงการทำงานในอาชีพอื่นๆ ผู้ถูกกระทำไม่กล้าออกมาเปิดเผยข้อมูลนอกจากกลัวกระทบหน้าที่การงานแล้ว ยังมีเรื่อง NDA (non-disclosure agreement) หรือข้อตกลงการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ เป็นสัญญาที่ทั้งคู่ ในที่นี้คือนายจ้างและลูกจ้าง ทำความตกลงร่วมกันว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลในองค์กรออกไปภายนอก
Sundar Pichai ซีอีโอ Google ออกมาให้สัมภาษณ์กับ Recode และ MSNBC เมื่อพิธีกรถามถึงข้อตกลง NDA กับการไม่กล้าเปิดเผยของพนักงานที่ถูกคุกคามทางเพศ ว่ามีแผนจะปลดล็อกข้อตกลง NDA ให้เหยื่อออกมาเปิดเผยเรื่องราวคุกคามทางเพศหรือไม่ Pichai บอกว่า เขาไม่มีปัญหาเรื่อง NDA ออกมาเปิดเผยได้เลยถ้าถูกคุกคาม
อ้างอิง
Comments
ของผู้หญิงเล่านี้ ---> ของผู้หญิงเหล่านี้
พกเธอระบุว่า ---> พวกเธอระบุว่า
"เมื่อเรื่องถูกตีแผ่ออกไปทำให้ริษัทตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้จริงจัง" => บริษัท
ผลงานกำกับที่สร้างชื่อให้เขา =} ผลงานการอำนวยการสร้างที่สร้างชื่อให้เขา
Happiness only real when shared.
+1 ครับ อย่าง Pulp fiction นี่ทุกคน (ที่ดู) น่าจะรู้ว่าเป็นสไตล์เฉพาะตัวของเควนติน
Hollywood มันก็มีข้อดีข้อเสีย ตรงที่ว่า ถ้าประเด็นไหนไม่ได้เกิดกับคนใน Hollywood เอง ประเด็นนั้นจะไม่ถูก Hollywood ยกขึ้นมา แต่ถ้า Hollywood ยกประเด็นขึ้นมาแล้วจะเกิดการถอนรากถอนโคนแน่นอน
เคยได้ยินว่าบริษัทไอทีในไทยก็มีเรื่องแบบนี้นะ
เฮ้อ... (ไม่ขอเอ่ยล่ะกัน)
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB