Tags:
Node Thumbnail

Facebook เผยแพร่บทความ Hard Questions โดย Samidh Chakrabarti ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ Facebook ยอมรับว่า โซเชียลมีเดียอาจไม่ได้ส่งผลดีต่อระบบประชาธิปไตย

Chakrabarti บอกว่าโซเชียลมีเดียช่วยให้คนทั่วโลกมีสิทธิ์มีเสียงทางการเมืองง่ายขึ้น เช่นถกเถียงในประเด็นต่างๆ เรียกร้องให้ผู้นำมีความรับผิดชอบต่อภารกิจ โซเชียลมีเดียยังมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่นเหตุการณ์อาหรับสปริง แต่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2016 ข่าวปลอมบนโซเชียลมีเดียจากการแทรกแซงโดยต่างประเทศ และทำให้เกิดขั้วสองฝั่ง โดยที่ผลกระทบจากโซเชียลมีเดียที่มีต่อการเมืองไม่เคยได้รับการตรวจสอบ นำไปสู่คำถามสำคัญว่า "โซเชียลมีเดีย มีผลต่อประชาธิปไตยอย่างไร?"

Chakrabarti บอกว่า ในฐานะผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่รับผิดชอบในการมีส่วนร่วมของประชาชนใน Facebook เขายังมองผลกระทบของอินเทอร์เน็ตต่อประชาธิปไตยว่ายังเป็นเรื่องดี แต่คงไม่สามารถทำเป็นมองไม่เห็นความเสียหายที่อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดขึ้นได้ เขาจึงต้องทำความเข้าใจความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และทำให้แน่ใจว่าด้านดีของโซเชียลมีเดียจะเอาชนะข้อเสียได้

Chakrabarti ระบุปัญหาเป็นข้อๆ รวมทั้งวิธีแก้ไข ดังนี้

  • การแทรกแซงจากต่างประเทศ ที่ Chakrabarti มองว่าเป็นช้างตัวใหญ่ในห้อง รัสเซียสร้างบัญชีแพร่เนื้อหาปลอมประมาณ 80,000 โพสต์ เข้าถึง (reach) คนสหรัฐฯประมาณ 126 ล้านคนภายในสองปี ถือเป็นภัยคุกคามแบบใหม่ ทางแก้คือบัญชีที่ซื้อโฆษณาการเมืองต้องระบุตัวได้ มีตัวตนอยู่ในโลกจริง
  • ข่าวปลอม Chakrabarti มองว่าข่าวปลอมสร้างความแตกแยกและกระทบประชาธิปไตย Facebook ไม่ใช่ผู้ตัดสินว่าเนื้อหาถูกผิด แต่ Facebook ให้ผู้ใช้รายงานข้อมูลผิดได้ง่ายขึ้น และร่วมมือกับองค์กรตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
  • ผู้ใช้ Facebook จะเสพเนื้อหาเฉพาะที่ตนเห็นด้วย Facebook กำลังทดลองฟีเจอร์ Related Articles หรือบทความเนื้อหาคล้ายกันในมุมมองอื่นๆ
  • ถูกคุกคามเนื่องจากเห็นต่างทางการเมือง Chakrabarti บอกว่าางครั้งฝ่ายรัฐก็มีส่วนร่วมในการคุกคามนั้นด้วย ผ่านการแถลงการณ์ที่มีถ้อยคำแสดงความเกลียดชัง Facebook จึงเพิ่มทีมเพื่อดูแลเนื้อหาคุกคาม

เรียกได้ว่าปฏิกิริยาล่าสุดของ Facebook ครั้งนี้ ถือเป็นการยอมรับกลายๆ อย่างเป็นทางการครั้งแรกต่อประเด็นที่ Facebook ถูกวิจารณ์มาตลอดคือ โซเชียลมีเดียสร้างความแตกแยกในสังคม หลังจากตอนที่เกิดเรื่องใหม่ๆ Facebook ปฏิเสธตลอด Mark Zuckerberg ยังมองว่าข่าวปลอมเปลี่ยนผลการเลือกตั้งเป็นความคิดที่ประหลาด แม้เขาจะออกมาขอโทษต่อคำพูดตัวเองในภายหลังก็ตาม

No Description
ภาพจาก Facebook Newsroom

ที่มา - Facebook Newsroom, NPR

Get latest news from Blognone

Comments

By: thanyadol
iPhone
on 23 January 2018 - 15:38 #1029900

ผมว่า ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศมากว่า ลองเป็นประเทศไทยสิ ถ้ามีแต่ทีวีนะ

By: alph501
iPhoneWindowsIn Love
on 24 January 2018 - 08:45 #1029966
alph501's picture

อืมแต่มีแต่ประเทศที่มีประชาธิปไตย ที่น่าจะอยู่รอดได้นะ ถ้าเป็นแบบอื่นอาจจะโดนบล๊อกไปแล้ว

By: neizod
ContributorTraineeIn Love
on 24 January 2018 - 10:58 #1029991
neizod's picture

อะไรคือ "ช้างตัวใหญ่ในห้อง" ครับ?

By: orbitalz
ContributorWindows PhoneAndroidUbuntu
on 2 February 2018 - 13:18 #1031904 Reply to:1029991

++ 6.626

By: nrml
ContributorIn Love
on 2 February 2018 - 13:24 #1031906 Reply to:1029991
nrml's picture

ลองไปหาคำแปลมา น่าจะแปลประมาณว่า เห็นชัดเจนว่ามีปัญหาแต่ก็ไม่มีใครอยากจะพูดถึงหรืออยากจะไปแตะ