อินเทลเปิดตัว Xeon Scalable รุ่นที่ 3 ชื่อรหัส Ice Lake รุ่นใหม่ หลังจากเปิดตัวชุดแรกไปเมื่อปีที่แล้ว โดยซีพียูชุดใหม่เพิ่มจำนวนคอร์สูงสุด 40 คอร์ รองรับแรม 6TB ต่อซ็อกเก็ต และมี PCIe 4.0 64 เลนต่อซ็อกเก็ต
ฟีเจอร์ใหม่ที่รองรับในซีพียูชุดใหม่ คือ Intel Total Memory Encryption สำหรับการเข้ารหัส ป้องกันการโจมตีกรณีที่คนร้ายเข้าถึงเครื่องโดยตรงแล้วถอดแรมออกไปอ่านข้อมูล, Intel Platform Firmware Resilience สำหรับป้องกันการแก้ไขเฟิร์มแวร์, และ Intel Crypto Acceleration ชุดคำสั่งรวมๆ หลายชุดสำหรับเร่งความเร็วการเข้ารหัสยอดนิยม เช่น AES, ECDSA, หรือแฮช SHA
กลางปีที่แล้ว อินเทลเปิดตัวซีพียูแบรนด์ Core 10th Gen สถาปัตยกรรม Ice Lake/10 นาโนเมตร โดยยังมีเฉพาะซีพียูกินไฟต่ำรหัส U (15 วัตต์) และ Y (9 วัตต์) เท่านั้น
วัฏจักรของ Ice Lake ไม่น่าอยู่กับเรานานนัก เพราะอินเทลเพิ่งเปิดตัว Tiger Lake ที่เป็นภาคต่อของซีพียู 10 นาโนเมตร แต่อัพเกรดจีพียูเป็น Xe ที่คุยว่าแรงกว่าของเดิมมาก กำหนดการออก Tiger Lake ระบุคร่าวๆ ว่า "ภายในปีนี้"
ชิปกราฟิกที่ฝังตัวมาบนซีพียูของ Intel ที่ผ่านมาค่อนข้างเป็นที่รู้กันว่าประสิทธิภาพไม่ได้โดดเด่นอะไรมากนัก และมักถูกมองข้าม โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับชิปกราฟิกแยกจาก NVIDIA หรือ AMD
ล่าสุด PCWorld ค้นพบว่าประสิทธิภาพของชิปกราฟิกที่มาพร้อมกับซีพียู Core 10th Gen 'Ice Lake' กลับมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่ดีกว่าบน Whiskey Lake เกือบเท่าตัว โดย PCWorld ทำกราฟเปรียบเทียบคะแนนประสิทธิภาพของชิปกราฟิกตั้งแต่ 4th Gen 'Haswell' มาจนถึง Ice Lake ที่ถูกวัดผลด้วย 3DMark Sky Diver ซึ่งชี้ว่าประสิทธิภาพตั้งแต่ Haswell จนมาถึง Whiskey Lake แทบไม่แตกต่างกันมากนัก ก่อนคะแนนจะพุ่งสูงบน Ice Lake รุ่นล่าสุด
หลังจากเปิดตัว สถาปัตยกรรมซีพียู Core 10th Gen "Ice Lake" เมื่อเดือนพฤษภาคม ล่าสุดอินเทลเปิดตัวสินค้าชุดแรกออกมาแล้ว โดยเป็นซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กและอุปกรณ์พกพา ที่เรารู้จักกันในชื่อซีพียูรหัส U (โน้ตบุ๊กทั่วไป) และ Y (โน้ตบุ๊กกินไฟต่ำ) รวมทั้งหมด 11 รุ่นย่อย
วิธีการเรียกชื่อรุ่นของ Ice Lake ตรงตามข่าวก่อนหน้านี้ นั่นคือใช้เลขรหัส 4 ตัวเหมือนเดิม (ไม่ได้ขยับขึ้นเป็น 5 ตัว) โดยเลข 2 หลักแรกจะเป็น "10" แต่จะมีพิเศษจากระบบตั้งชื่อปกติของอินเทล โดยมีตัว G ห้อยท้ายเข้ามา เช่น G1, G3, G4, G7 ซึ่งตัวเลขนี้จะบ่งบอกถึงระดับประสิทธิภาพของจีพียูด้วยนั่นเอง
วันนี้ อินเทลเปิดตัว 10th Gen Core หรือโค้ดเนม "Ice Lake" โดยให้ข้อมูลของสถาปัตยกรรมใหม่ Sunny Cove, จีพียูตัวใหม่ Gen11, กระบวนการผลิต 10 นาโนเมตร และฟีเจอร์ของตัวซีพียู (Thunderbolt 3 และ Wi-Fi 6) โดยไม่ให้รายละเอียดของรุ่นผลิตภัณฑ์ซีพียูเลย
ข้อมูลอย่างเป็นทางการของอินเทล บอกเพียงว่าซีพียูชุดแรกจะเป็นรหัส U (รุ่นกินไฟต่ำสำหรับโน้ตบุ๊ก) และรหัส Y (รุ่นกินไฟต่ำมาก), มีตั้งแต่ Core i3 จนถึง Core i7, จำนวนคอร์สูงสุด 4 คอร์ 8 เธร็ด, คล็อคสูงสุด 4.1GHz และโน้ตบุ๊กจะวางขายจริงช่วงปลายปี 2019
ส่วนข้อมูลบนเวทีแถลงข่าวก็บอกเพียงว่าจะมีรุ่นย่อย (SKU) ทั้งหมด 11 รุ่นเท่านั้น
อินเทลเปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่ 10 หรือ Ice Lake สำหรับโน้ตบุ๊ก (ตระกูล U และ Y) พร้อมกับระบุว่าเริ่มส่งมอบสินค้าให้กับผู้ผลิตแล้ว โดยปรับกระบวนการผลิตเป็น 10 นาโนเมตร และเปลี่ยนแกนซีพียูเป็น Sunny Cove พร้อมส่วนกราฟิกเป็น Iris Plus ที่ประสิทธิภาพเพิ่มกว่ารุ่นเดิมประมาณเท่าตัว
ตระกูล Y ในรุ่นที่ 10 นี้จะปล่อยความร้อนที่ 10 วัตต์ สามารถคอนฟิกเพิ่มพลังประมวลผลเป็น 12 วัตต์ ใช้แรม LPDDR4
ขณะที่รุ่น U ปล่อยความร้อนที่ 15 วัตต์ คอนฟิกเพิ่มพลังประมวลผลได้ถึง 25 วัตต์ สามารถใช้แรมได้ทั้ง DDR4 และ LPDDR4 รองรับชิปกราฟิกภายนอกพร้อมการสวิตช์เปลี่ยนชิปกราฟิก
อินเทลเพิ่งโชว์ซีพียู Core 9th Gen สำหรับโน้ตบุ๊กไปเมื่อวันก่อน แต่ทุกคนก็ทราบดีว่า Core 9th Gen ถือเป็นซีพียูขัดตาทัพของอินเทล ที่เป็นการอัพเดตเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างรอ "ตัวจริง" อย่างซีพียูรหัส Ice Lake ที่เปลี่ยนทั้งสถาปัตยกรรมใหม่ Sunny Cove และใช้กระบวนการผลิต 10 นาโนเมตร
อินเทลนำต้นแบบของ Ice Lake มาโชว์เมื่อต้นปี และในงานแถลงผลประกอบการไตรมาสล่าสุด บริษัทก็ยืนยันว่า Ice Lake จะออกวางขายจริงในช่วงปลายปีนี้ตามแผนเดิมที่ประกาศไว้
อินเทลเผยข้อมูลของซีพียูรุ่นถัดไปรหัส "Ice Lake" (ที่น่าจะเรียกว่า Core 10th Gen หรือเปลี่ยนระบบนับรุ่นไปเลย) ที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งฝั่งของสถาปัตยกรรม (ใช้สถาปัตยกรรม Sunny Cove ตัวใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว) และกระบวนการผลิตระดับ 10 นาโนเมตร (อธิบายง่ายๆ คือ Sunny Cove เป็นชื่อสถาปัตยกรรม ส่วน Ice Lake เป็นชื่อผลิตภัณฑ์)
นอกจากสถาปัตยกรรมซีพียูแล้ว มันยังมาพร้อมจีพียูตัวใหม่ที่เรียกว่า Gen11 ที่มีสมรรถนะสูงถึง 1 TFLOPS น่าจะช่วยให้จีพียูของอินเทลไล่กวดทันคู่แข่งได้ดีขึ้น