ไมโครซอฟท์เปิดตัวชิป DPU (Data Processing Unit) ตัวแรกของตัวเองในชื่อ Azure Boost DPU
วงการ DPU หรือชิปช่วยประมวลผลข้อมูลที่วิ่งเข้าเซิร์ฟเวอร์ เพื่อลดภาระงานของซีพียู เริ่มได้รับความนิยมเรื่อยๆ ตัวอย่างชิปในวงการได้แก่ NVIDIA BlueField DPU, AMD Pansando, Intel IPU
ไมโครซอฟท์เริ่มบุกตลาดนี้ด้วยการซื้อบริษัท Fungible ในปี 2023 เวลาผ่านมาเกือบ 2 ปีก็ออกมาเป็น Azure Boost DPU ที่ออกแบบมาสำหรับศูนย์ข้อมูล Azure โดยเฉพาะ
นักปล่อยข้อมูลฮาร์ดแวร์ชาวจีนที่ใช้ชื่อ Golden Pig Update ให้ข้อมูลของชิปโน้ตบุ๊ก AMD Ryzen รุ่นของปี 2025/2026 ดังนี้
โน้ตบุ๊กสายบางเบา (ultraslim) และสายทำงานทั่วไป
ตอนกลางปี 2024 เราเห็น AMD เปิดตัวชิปโน้ตบุ๊ก Ryzen AI 300 หรือโค้ดเนม Strix Point เปิดตัวและใช้แบรนด์ AI PC กันมาแล้ว ช่วงปี 2025 เราจะยังเห็น Strix Point จับตลาดบนเช่นเดิม ใช้สถาปัตยกรรมซีพียู Zen 5 สูงสุด 12 คอร์ และจีพียู RDNA 3.5 สูงสุด 16 CU เหมือนเดิม แต่อัพเกรดมาใช้แรมที่เร็วขึ้นเล็กน้อยคือ LPDDR5x-8000 และรองรับแรม DDR5 แบบปกติด้วย
แม้ AMD ทำผลงานได้ไม่ดีนักกับ Ryzen ซีรีส์ 9000 แต่เมื่อออกซีพียูรุ่นย่อยสำหรับตลาดเกมมิ่ง Ryzen 9000X3D ที่เร่งประสิทธิภาพเกมมิ่งเพิ่มจากพลัง 3D V-Cache ก็ส่งผลให้ซีพียู Ryzen 7 9800X3D ขายดีมากจนสินค้าขาดตลาดในหลายประเทศ ทั้งในอเมริกาและยุโรป ส่วนร้านค้าในบางประเทศถึงกับมีการต่อคิวหน้าร้านด้วย
ผลการรีวิว Ryzen 7 9800X3D ออกมาดี ถือเป็นซีพียูเกมมิ่งที่แรงที่สุดในตลาดตอนนี้ โดย Tom's Hardware รีวิวได้ผลว่าเร็วกว่าซีพียูรุ่นก่อนหน้า 7800X3D ประมาณ 15%
Robert Hallock ผู้บริหารของอินเทลให้สัมภาษณ์กับช่อง HotHardware ยอมรับปัญหาของซีพียู Core Ultra 200S หรือ Arrow Lake ที่ให้ประสิทธิภาพของการเล่นเกมไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับซีพียูเจ็นก่อนหน้า Raptor Lake
Hallock บอกว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากทั้ง BIOS และการตั้งค่าระดับ OS ผสมผสานกัน และอินเทลกำลังเตรียมออกแพตช์แก้ปัญหาให้ประสิทธิภาพของซีพียูออกมาดีขึ้น แต่ยังไม่บอกว่าจะออกแพตช์มาเมื่อไร
ที่มา - Tom's Hardware
ของใหม่อย่างหนึ่งของ Core Ultra 200V หรือโค้ดเนม Lunar Lake คือการฝังหน่วยความจำลงในตัวแพ็กเกจชิปเลย (on-package memory) แบบเดียวกับชิปตระกูล M ของแอปเปิล ข้อดีของแนวทางนี้คือลดการใช้พื้นที่ลง และลดระยะการส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำลงได้
อย่างไรก็ตาม Pat Gelsinger ซีอีโอของอินเทล กล่าวในงานแถลงผลประกอบการว่า สถาปัตยกรรมแบบนี้จะใช้ครั้งเดียวใน Lunar Lake เท่านั้น โดยชิปโน้ตบุ๊กรุ่นถัดๆ ไปอย่าง Panther Lake, Nova Lake จะกลับไปใช้หน่วยความจำแยกจากตัวชิปเหมือนเดิม (off-package memory)
AMD เผยรายละเอียดของ Ryzen 9000X3D ซึ่งเป็นซีพียูเกมมิ่งแกน Zen 5 ที่ใช้แคชแนวตั้ง 3D V-Cache ตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ โดยชูว่า "the king of gaming processors is back"
ซีพียูตัวแรกที่เปิดตัวออกมาคือ AMD Ryzen 7 9800X3D มีจำนวนคอร์ 8 คอร์ 16 เธร็ด (เท่ากับ Ryzen 7 9700X แต่ต่ำกว่า 9900X ที่มี 12 คอร์) คล็อค 4.7/5.2GHz, แคช L2+L3 104MB, ใช้กระบวนการผลิต TSMC 4nm
ตัวเลขเบนช์มาร์คของ AMD โชว์ว่า 9800X3D มีประสิทธิภาพเล่นเกมดีกว่า 7800X3D รุ่นก่อนหน้า สูงสุด 26% ในเกม Hogwarts Legacy ในขณะที่บางเกมอย่าง Cyberpunk 2077 มีประสิทธิภาพดีขึ้นเพียง 1%
Cerebras บริษัทผู้พัฒนาชิปเร่งความเร็ว AI ที่คุยว่าทำงานได้เร็วกว่าจีพียู โชว์ประสิทธิภาพการรันโมเดล Llama 3.2 ขนาด 70B ด้วยอัตราตอบสนอง 2,100 โทเคนต่อวินาที สูงกว่าที่โชว์เมื่อรอบก่อนทำได้ 450 โทเคนต่อวินาที โดย Cerebras บอกว่าเป็นการรันบนชิป Wafer Scale Engine 3 (WSE-3) ตัวเดิม แต่ปรับแต่งซอฟต์แวร์ไปอีกมากเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก
Cerebras โชว์ตัวเลขข่มว่าสถิติ 2,100 โทเคนต่อวินาที สูงกว่าที่จีพียูทำได้ 16 เท่า และถ้าเทียบกับการเช่าคลาวด์รันจะทำได้สูงกว่า 68 เท่า
Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ยอมรับว่าชิป Blackwell มีปัญหาเรื่องการออกแบบจริงๆ ตามข่าวลือก่อนหน้านี้ ทำให้ต้องเลื่อนการส่งมอบออกไป
Huang ให้ข้อมูลว่ามันเป็นข้อบกพร่องของการออกแบบชิป ทำให้อัตราการผลิตสำเร็จ (yield) ต่ำลง ปัญหานี้เกิดจากฝั่ง NVIDIA 100% แต่บริษัทก็ร่วมมือกับ TSMC ช่วยกันแก้ปัญหานี้ได้สำเร็จแล้ว ตอนนี้ TSMC สามารถกลับมาผลิต Blackwell ได้เต็มกำลัง และจะเริ่มส่งมอบสินค้าได้ในไตรมาส 4 ปีนี้
Huang อธิบายว่า Blackwell มีความซับซ้อนสูง ต้องใช้ชิปย่อย 7 ตัวทำงานร่วมกัน และต้องเริ่มกระบวนการผลิตชิปพร้อมๆ กันด้วย ขนาดของตัวชิปนั้นใหญ่ขึ้นกว่าชิปรุ่นก่อนหน้ามาก
ความคืบหน้าของคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัท Arm Holding Plc กับ Qualcomm ที่ Arm มองว่า Qualcomm ทำผิดไลเซนส์การใช้งานสถาปัตยกรรม Arm โดยนำไลเซนส์ของบริษัทลูก Nuvia มาใช้กับบริษัทแม่ Qualcomm ด้วย ซึ่ง Arm มองว่าไม่สามารถทำแบบนั้นได้
อินเทลเปิดตัว Core Ultra 200S (Arrow Lake) ซีพียูเดสก์ท็อปรุ่นใหม่ของปีนี้ และเป็นครั้งแรกที่ซีพียูฝั่งเดสก์ท็อปเปลี่ยนมาใช้แบรนด์ Core Ultra ตามแนวทางของฝั่งโน้ตบุ๊กด้วย (ลาก่อนระบบ Gen สิ้นสุดที่ 14th Gen) เปลี่ยนมาใช้รหัสตัวเลขรุ่น 3 ตัวแบบเดียวกับฝั่งโน้ตบุ๊ก โดยเริ่มที่ซีรีส์ 200 เลย
Core Ultra 200S ยังใช้สูตร P-Core + E-Core เช่นเดียวกับรุ่นพี่ๆ แต่รอบนี้คือไม่มี Hyperthreading แล้ว (1 คอร์ = 1 เธร็ด) ถือเป็นจุดสิ้นสุดของ Hyperthreading ที่อินเทลใช้มายาวนานด้วย
AMD ประกาศพร้อมขายซีพียูกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ EPYC Gen 5 โค้ดเนม Turin อย่างเป็นทางการ ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา
ซีพียูนี้ใช้สถาปัตยกรรม Zen 5 และ Zen 5c รองรับการดีพลอยบนแพลตฟอร์ม SP5 มีตัวเลือกคอร์เริ่มต้นตั้งแต่ 8 คอร์ ไปจนถึงสูงสุด 192 คอร์ 384 เธรด มี Throughput ดีกว่าคู่แข่ง 2.7 เท่า
AMD ออกอัปเดต BIOS 1.2.0.2 สำหรับซีพียู Ryzen 5 9600X และ 9700X ซึ่งปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ค่า TDP เพิ่มขึ้นเป็น 105W จากเดิมสูงสุดที่ 65W ความเร็วจะเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 10%
นอกจากนี้ AMD ยังอัปเดตปรับปรุงประสิทธิภาพความหน่วงระหว่างคอร์ของซีพียูตระกูล Ryzen 9000 แบบ Multi-CCD ซึ่งก่อนหน้านี้พบกรณีที่ทำให้ขั้นตอนเขียนอ่านใช้เวลานาน โดยปรับปรุงให้ลดเวลาลงครึ่งหนึ่ง
สุดท้าย AMD เปิดตัวเมนบอร์ดใหม่ X870 และ X870E รองรับความเร็วเต็มอัตราของ PCIe Gen 5 สำหรับกราฟิกและหน่วยความจำ NVMe มี USB4 เป็นมาตรฐาน
ที่มา: Engadget
DeepMind เผยแพร่งานวิจัยของ AlphaChip โมเดลปัญญาประดิษฐ์ช่วยออกแบบวงจรในชิป ซึ่งใช้งานจริงมาเงียบๆ สักระยะหนึ่งแล้วกับชิป TPU สามรุ่นหลังสุด, ซีพียู Google Axion รวมถึงชิปของบริษัทอื่นอย่าง MediaTek Dimensity 5G ด้วย
DeepMind บอกว่าการออกแบบชิปในปัจจุบันมีความซับซ้อนสูงมาก จึงนำแนวคิด reinforcement learning ให้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการ "เล่นเกม" แบบเดียวกับ AlphaGo และ AlphaZero แต่แทนที่จะเป็นโกะหรือหมากรุก ก็เป็นเกมออกแบบผังวงจรอิเล็กทรอนิกส์แทน
อินเทลเปิดตัว Xeon 6 รุ่น P-core ล้วน (Granite Rapids) หลังจากออกรุ่น E-core ล้วน (Sierra Forest) ไปเมื่อเดือนมิถุนายน
Xeon 6 รุ่น P-core ล้วนถือเป็นซีพียู Xeon รุ่นมาตรฐานใช้สำหรับเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป ในขณะที่รุ่น E-core ล้วนเป็นของใหม่ในเจ็นนี้ เน้นอัดคอร์เยอะๆ ใช้สำหรับเซิร์ฟเวอร์ความหนาแน่นสูง
หลังประกาศวางขาย Ryzen 9 มาได้ประมาณ 1 เดือน Digital Trends รายงานว่ายอดขายของ Ryzen 9000 จัดว่าแย่มาก อย่างกรณีของร้านค้าในออสเตรเลียเปิดเผยว่า ยอดขายต่ำที่สุดตั้งแต่ที่เคยขาย AMD มาเลย โดยยอดขายยังไม่พ้นเลขหลักเดียวเลยด้วยซ้ำ
ในงานเปิดตัว Intel Core Ultra 200V "Lunar Lake" นอกจากการเปลี่ยนแกนซีพียู จีพียู NPU ใหม่ทั้งหมดแบบยกชุด และประหยัดพลังงานลงได้สูงสุด 50% ขึ้นมาทัดเทียมกับซีพียูสาย Arm แล้ว ของใหม่อีกอย่างที่น่าสนใจคือรหัสตัว V ต่อท้ายเลขรุ่นซีพียูทุกตัว (เช่น Core Ultra 9 288V) ซึ่งเราไม่เคยเห็นอินเทลใช้ตัว V มาก่อน
เรื่องนี้ Robert Hallock รองประธานฝ่าย Client Computing Group ของอินเทล อธิบายกับ PCWorld ว่า "V" หมายถึงสถาปัตยกรรม Lunar Lake แบบเจาะจง และเราจะได้เห็นซีพียูรหัส U, S, H ที่คุ้นเคยออกตามมาในภายหลัง ซึ่งคาดว่าอินเทลหมายถึงซีพียูแกน Arrow Lake สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊กพลังสูง ที่มีกำหนดเปิดตัวในปี 2024 นี้เช่นกัน
Qualcomm เปิดตัวชิปประมวลผลสำหรับพีซี Snapdragon X Plus รุ่น 8 คอร์ เพื่อรองรับโออีเอ็มของผู้ผลิตพีซี Copilot+ PC ให้ทำราคาที่ช่วงต่ำกว่า 900 ดอลลาร์ได้ โดย Snapdragon X Plus รุ่นที่ออกมาก่อนหน้านี้มี 10 คอร์ รองรับพีซีระดับราคาสูงกว่า 900 ดอลลาร์
Snapdragon X Plus 8 คอร์ ใช้ซีพียู Oryon เหมือนรุ่น 10 คอร์, มี NPU สมรรถนะเท่ากันที่ 45 TOPS, จีพียู Adreno สมรรถนะลดลงเป็น 1.7-2.1 TFLOPS, ส่วนแคชลดเหลือ 30MB, แบนด์วิดท์แรม LPDDR5x 8448 MT/s เท่าเดิม และใช้การผลิต 4nm เช่นกัน มีสองรุ่นย่อยคือ X1P-46-100 และ X1P-42-100
อินเทลเปิดตัวซีพียู Intel Core Ultra 200V ชื่อรหัส Lunar Lake ซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กบางเบา โดยชูฟีเจอร์สำคัญด้านกราฟิกและปัญญประดิษฐ์ โดยรวมพลังประมวลผลทั้งระบบมีพลังประมวลผล 120 TOPS
ส่วนสำคัญของ Core Ultra 200V คือส่วนกราฟิก Xe2 จำนวน 8 คอร์ รองรับจอภาพ 4K สามจอพร้อมกัน และชุดคำสั่ง Intel Xe Matrix Extensions (Intel XMX) สำหรับการใช้ส่วนกราฟิกมาเร่งความเร็วปัญญาประดิษฐ์ ได้พลังประมวลผล 67 TOPS ขณะที่ตัวซีพียูนั้น P-core พลังประมวลผสูงมีกำลังประมวลผลมากขึ้น 15% แต่ E-core ที่ใช้ในช่วงประหยัดพลังงานนั้นมีพลังประมวลผลสูงขึ้นมาก ลดการสลับไปใช้ P-core
ในงานเปิดตัว Pixel 9 ของใหม่ที่กูเกิลไม่ได้พูดลงรายะเอียดมากนักคือชิป Tensor G4 ที่เป็นชิปคัสตอมเองรุ่นที่ 4 แล้ว สิ่งที่กูเกิลพูดในงานคือ Tensor G4 เป็นครั้งแรกที่ทีม DeepMind มาทำงานร่วมกับทีม Google Silicon โดยตรง เพื่อให้โมเดลปัญญาประดิษฐ์ทำงานได้ดีที่สุด
เว็บไซต์ Tom's Hardware มีโอกาสสัมภาษณ์ตัวแทนจาก DeepMind และ Google Silicon เพื่อขยายความเรื่องนี้
AMD ประกาศวางขายซีพียูเดสก์ท็อป Ryzen 9000 ชุดแรกในวันพรุ่งนี้ 8 สิงหาคม หลังจากเลื่อนมาเล็กน้อยเพราะปัญหาคุณภาพสินค้าล็อตแรกๆ พร้อมประกาศราคาซีพียูซีรีส์ Ryzen 9000 ทั้งหมด 4 รุ่นย่อย ดังนี้
อินเทลยืนยันการเปิดตัวซีพียูโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ โค้ดเนม Lunar Lake หรือที่คาดกันว่าจะใช้ชื่อ Core Ultra ซีรีส์ 2 (รหัสรุ่น 200) ทำตลาด ในวันที่ 3 กันยายนนี้ ที่งาน IFA 2024 ประเทศเยอรมนี
Lunar Lake ถือเป็นสินค้าสำคัญของอินเทลในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หลังจากตลาดโน้ตบุ๊ก x86 ถูกโจมตีด้วย Snapdragon X ซึ่งอินเทลก็โฆษณาว่า Lunar Lake สามารถต่อกรได้ ทั้งเรื่องประสิทธิภาพของซีพียู จีพียู และ NPU ต้องรอดูกันว่าจะออกมาสมราคาคุยหรือไม่
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าซีพียู Core 13th/14th Gen (ซีรีส์ Raptor Lake) ของอินเทลมีปัญหาทำงานไม่เสถียร ซึ่งมีทฤษฎีต่างๆ มากมายสันนิษฐานว่าเกิดจากอะไรกันแน่
ล่าสุดอินเทลออกมาแถลงอย่างเป็นทางการ ยอมรับว่าซีพียูบางตัวในกลุ่ม Core 13th/14th Gen มีปัญหาเสถียรภาพจริงๆ โดยเกิดจากศักย์ไฟฟ้า (operating voltage) สูงเกินไปในบางกรณี และสาเหตุมาจากอัลกอริทึมใน microcode ในซีพียูทำงานไม่ถูกต้องในการกำหนดศักย์ไฟฟ้าของซีพียู
อินเทลบอกว่าแก้ปัญหานี้โดยออกแพตช์แก้ไข microcode โดยจะออกในช่วงกลางเดือนสิงหาคมนี้
ที่มา - Intel
อินเทลออกซีพียูเดสก์ท็อป Core 14th Gen Raptor Lake มาใหม่แบบเงียบๆ โดยเป็นรุ่นรหัสห้อยท้าย E ที่ตัดคอร์เล็ก E-Core ออก เหลือแต่เพียงคอร์ประสิทธิภาพสูง P-Core เท่านั้น
อินเทลระบุว่าซีพียูกลุ่ม E เหล่านี้ตั้งใจทำมาเพื่อตลาดอุปกรณ์ฝังตัว (Embedded) และไม่วางขายสำหรับลูกค้าทั่วไป มีทั้งหมด 9 รุ่น รุ่นใหญ่สุด i9-14901KE มี P-Core จำนวน 8 คอร์ TDP 125W ไปจนถึงรุ่นเล็กสุด 6 คอร์ TDP 45W
SoftBank Group ซื้อกิจการ Graphcore บริษัทผู้ผลิตชิปเร่งความเร็วปัญญาประดิษฐ์สัญชาติอังกฤษ โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Graphcore ก่อตั้งในปี 2016 โดย Nigel Toon และ Simon Knowles สองคู่หูที่เคยก่อตั้งบริษัท Icera ผลิตชิปโมเด็ม 3G ซึ่งขายกิจการให้ NVIDIA ในปี 2011
ชิปของ Graphcore เรียกว่า Intelligence Processing Unit (IPU) เป็นชิปสำหรับประมวลผลแบบขนาน ประกอบด้วยชิปย่อยๆ จำนวนมากเพื่อให้ประมวลผล machine learning ได้ดี ในช่วงที่ผ่านมา มี Microsoft Azure นำชิปของ Graphcore ไปใช้งาน แต่ Graphcore กลับไม่ประสบความสำเร็จนักในยุค AI บูม (ยิ่งเมื่อเทียบกับผลประกอบการของ NVIDIA ที่ถือเป็นคู่แข่งโดยตรง) จนต้องหาทางออกด้วยการขายกิจการ
อินเทลโชว์ชิปต้นแบบที่ส่งข้อมูล I/O ด้วยแสง optical compute interconnect (OCI) เชื่อมต่อเข้ากับซีพียู เพื่อให้ได้อัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นกว่าการส่งข้อมูล I/O ด้วยสัญญาณไฟฟ้าแบบดั้งเดิม
ชิป OCI ตัวนี้รองรับการส่งข้อมูล 64 ช่องทาง อัตราการส่งช่องละ 32 Gbps ในแต่ละทิศทาง อัตราการส่งข้อมูลรวม 4 Tbps ข้อดีอีกประการของการส่งข้อมูลด้วยแสงคือสามารถส่งข้อมูลแสงจากชิปต่อไปยังไฟเบอร์ออปติกส์ได้ไกล 100 เมตร แก้ปัญหาของ I/O ไฟฟ้าแบบเดิมที่ใช้ทองแดง ส่งได้ไกลสุดประมาณ 1 เมตร ช่วยขยายการใช้งานในศูนย์ข้อมูลได้หลากหลายขึ้น