Qualcomm จัดงานพบปะนักลงทุน Qualcomm Investor Day มีข้อมูลที่น่าสนใจคือพูดถึง Snapdragon X Elite รุ่นที่สอง (น่าจะใช้ชื่อว่า Gen 2 ตามระบบของ Qualcomm ในปัจจุบัน) ว่าจะใช้ซีพียู Oryon รุ่นที่สอง ประสิทธิภาพแบบคอร์เดี่ยวดีขึ้นจากรุ่นแรก 30% (วัดจาก Geekbench Single-Core), ถ้าวัดจากชิปทั้งตัวลดการใช้พลังงานลง 57%
งานนี้เป็นการพูดภาพรวมธุรกิจของ Qualcomm ยังไม่ใช่งานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเป็นทางการ คาดว่า Qualcomm น่าจะเปิดตัว Snapdragon X Elite Gen 2 ในเดือนธันวาคม (ตามธรรมเนียม Qualcomm) หรืออาจเปิดตัวในงาน CES 2025 ต้นเดือนมกราคมทีเดียวเลย
นักปล่อยข้อมูลฮาร์ดแวร์ชาวจีนที่ใช้ชื่อ Golden Pig Update ให้ข้อมูลของชิปโน้ตบุ๊ก AMD Ryzen รุ่นของปี 2025/2026 ดังนี้
โน้ตบุ๊กสายบางเบา (ultraslim) และสายทำงานทั่วไป
ตอนกลางปี 2024 เราเห็น AMD เปิดตัวชิปโน้ตบุ๊ก Ryzen AI 300 หรือโค้ดเนม Strix Point เปิดตัวและใช้แบรนด์ AI PC กันมาแล้ว ช่วงปี 2025 เราจะยังเห็น Strix Point จับตลาดบนเช่นเดิม ใช้สถาปัตยกรรมซีพียู Zen 5 สูงสุด 12 คอร์ และจีพียู RDNA 3.5 สูงสุด 16 CU เหมือนเดิม แต่อัพเกรดมาใช้แรมที่เร็วขึ้นเล็กน้อยคือ LPDDR5x-8000 และรองรับแรม DDR5 แบบปกติด้วย
แม้ AMD ทำผลงานได้ไม่ดีนักกับ Ryzen ซีรีส์ 9000 แต่เมื่อออกซีพียูรุ่นย่อยสำหรับตลาดเกมมิ่ง Ryzen 9000X3D ที่เร่งประสิทธิภาพเกมมิ่งเพิ่มจากพลัง 3D V-Cache ก็ส่งผลให้ซีพียู Ryzen 7 9800X3D ขายดีมากจนสินค้าขาดตลาดในหลายประเทศ ทั้งในอเมริกาและยุโรป ส่วนร้านค้าในบางประเทศถึงกับมีการต่อคิวหน้าร้านด้วย
ผลการรีวิว Ryzen 7 9800X3D ออกมาดี ถือเป็นซีพียูเกมมิ่งที่แรงที่สุดในตลาดตอนนี้ โดย Tom's Hardware รีวิวได้ผลว่าเร็วกว่าซีพียูรุ่นก่อนหน้า 7800X3D ประมาณ 15%
Robert Hallock ผู้บริหารของอินเทลให้สัมภาษณ์กับช่อง HotHardware ยอมรับปัญหาของซีพียู Core Ultra 200S หรือ Arrow Lake ที่ให้ประสิทธิภาพของการเล่นเกมไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับซีพียูเจ็นก่อนหน้า Raptor Lake
Hallock บอกว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากทั้ง BIOS และการตั้งค่าระดับ OS ผสมผสานกัน และอินเทลกำลังเตรียมออกแพตช์แก้ปัญหาให้ประสิทธิภาพของซีพียูออกมาดีขึ้น แต่ยังไม่บอกว่าจะออกแพตช์มาเมื่อไร
ที่มา - Tom's Hardware
ของใหม่อย่างหนึ่งของ Core Ultra 200V หรือโค้ดเนม Lunar Lake คือการฝังหน่วยความจำลงในตัวแพ็กเกจชิปเลย (on-package memory) แบบเดียวกับชิปตระกูล M ของแอปเปิล ข้อดีของแนวทางนี้คือลดการใช้พื้นที่ลง และลดระยะการส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำลงได้
อย่างไรก็ตาม Pat Gelsinger ซีอีโอของอินเทล กล่าวในงานแถลงผลประกอบการว่า สถาปัตยกรรมแบบนี้จะใช้ครั้งเดียวใน Lunar Lake เท่านั้น โดยชิปโน้ตบุ๊กรุ่นถัดๆ ไปอย่าง Panther Lake, Nova Lake จะกลับไปใช้หน่วยความจำแยกจากตัวชิปเหมือนเดิม (off-package memory)
AMD เผยรายละเอียดของ Ryzen 9000X3D ซึ่งเป็นซีพียูเกมมิ่งแกน Zen 5 ที่ใช้แคชแนวตั้ง 3D V-Cache ตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ โดยชูว่า "the king of gaming processors is back"
ซีพียูตัวแรกที่เปิดตัวออกมาคือ AMD Ryzen 7 9800X3D มีจำนวนคอร์ 8 คอร์ 16 เธร็ด (เท่ากับ Ryzen 7 9700X แต่ต่ำกว่า 9900X ที่มี 12 คอร์) คล็อค 4.7/5.2GHz, แคช L2+L3 104MB, ใช้กระบวนการผลิต TSMC 4nm
ตัวเลขเบนช์มาร์คของ AMD โชว์ว่า 9800X3D มีประสิทธิภาพเล่นเกมดีกว่า 7800X3D รุ่นก่อนหน้า สูงสุด 26% ในเกม Hogwarts Legacy ในขณะที่บางเกมอย่าง Cyberpunk 2077 มีประสิทธิภาพดีขึ้นเพียง 1%
กูเกิลเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล C4A ใช้ซีพียู Axion ที่เปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยชูประเด็นความคุ้มราคาดีกว่า x86 ที่ขนาดเท่ากันสูงสุดถึง 65% และยังระบุว่าดีกว่าชิป Arm ของคู่แข่งอยู่ 10% แม้จะไม่ระบุว่าเป็นของคลาวด์รายใด
เมื่อแยกตามประเภทงาน C4A ดีกว่า x86 แตกต่างกันไป เช่น SPEC 2017 ทดสอบการประมวลผลเลขจำนวนเต็มประสิทธิภาพดีกว่ามาก แต่ดีกว่า 30% เมื่อเป็น MySQL และ 35% เมื่อเป็น Redis
เครื่องมีให้เลือก 3 กลุ่ม ได้แก่ Standard 1 คอร์ต่อแรม 4GB, High CPU 1 คอร์ต่อแรม 2GB, และ High Memory 1 คอร์ต่อแรม 8GB อัดสุดได้ 72 คอร์ แรม 576GB พร้อมเน็ตเวิร์ค 100 Gbps
มีให้ใช้งานทั้งสหรัฐฯ, ยุโรป, และสิงคโปร์แล้ววันนี้
ปี 2024 เดินทางเข้ามาใกล้สิ้นปี ในปีนี้เราเห็นการมาถึงของสถาปัตยกรรม Zen 5 ทั้งฝั่งเดสก์ท็อป Ryzen 9000 และฝั่งโน้ตบุ๊ก Ryzen AI 300 แต่ก็มิวาย AMD ยังรักมั่นกับซีพียูสถาปัตยกรรม Zen 3 ที่ออกครั้งแรกในปี 2020 โดยเมื่อกลางปีได้ออก Ryzen 5900XT และ 5800XT รุ่นอัพเกรดคล็อคเล็กน้อยสำหรับคนที่ยังมีเมนบอร์ดซ็อคเก็ต AM4
แม้ว่า Intel และ AMD เพิ่งจับมือตั้งกลุ่มพัฒนาสถาปัตยกรรม x86 แต่นอกจากนั้นแล้ว ทั้งสองยังเป็นคู่แข่งกันโดยตรง
ในโอกาสที่ Intel เตรียมวางขาย Core Ultra 200 Arrow Lake ซีพียูเดสก์ท็อปตัวใหม่ในวันที่ 24 ตุลาคม ฝั่ง AMD ก็โต้กลับทันที ด้วยการลดราคาซีพียู Ryzen 9000 Series ที่เริ่มวางขายตั้งแต่เดือนสิงหาคม ลงจากเดิม โดยซีพียูรุ่นเรือธง Ryzen 9 9950X ลดราคาลง 50 ดอลลาร์ ส่วนรุ่นรองลงไปคือ 9900X, 9700X, 9600X ลดราคาลง 30 ดอลลาร์
ตำนานการพัฒนาชุดคำสั่งแบบ 64 บิตของซีพียูตระกูล x86 นั้น เราเข้าใจกันว่าอินเทลเลือกแทงข้างสถาปัตยกรรมใหม่ IA-64 ในซีพียู Itanium ซึ่งพ่ายแพ้ให้กับ AMD64 ที่เป็นส่วนต่อขยายของชุดคำสั่ง 32 บิตดั้งเดิม จนภายหลังอินเทลต้องซื้อไลเซนส์ AMD64 มาใช้งานภายใต้ชื่อ x86-64 แทน
อย่างไรก็ตาม ตำนานเล่าขานนี้อาจต้องเขียนใหม่ เพราะ Bob Colwell อดีตหัวหน้าทีมสถาปัตยกรรม x86 ของอินเทลในยุค Pentium 4 ไปตอบกระทู้ใน Quora เปิดเผยว่า Pentium 4 มีชุดคำสั่ง x86-64 ของตัวเอง แต่ถูกปิดการทำงานเอาไว้ เพราะฝ่ายบริหารของอินเทล (ยุคนั้น) ต้องการผลักดัน Itanium มากกว่า
ไมโครซอฟท์เริ่มให้บริการ VM ที่รันอยู่บนซีพียู Cobalt 100 ที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเอง หลังจากเปิดรันแบบทดสอบมาสักระยะหนึ่ง ตอนนี้เปิดให้บริการทั่วไป หรือ generally available แล้ว
ไมโครซอฟท์เปิดตัวซีพียู Cobalt 100 ครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2023 โดยเป็นสถาปัตยกรรม Arm64 ตัวแรกที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเองทั้งหมดเพื่อรันงานบน Azure
ไมโครซอฟท์บอกว่า Cobalt 100 ให้ประสิทธิภาพดีกว่าซีพียู Arm ตัวก่อนๆ บน Azure (ไม่ได้เทียบกับ x86) เฉลี่ย 1.4 เท่า, งาน Java ประสิทธิภาพดีขึ้น 1.5 เท่า, งานเว็บเซิร์ฟเวอร์และ .NET ดีขึ้น 2 เท่า หากเทียบประสิทธิภาพต่อราคาดีขึ้น 50%
Jensen Huang ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ NVIDIA ให้ความเห็นต่อข่าว Intel จับมือ AMD ตั้งกลุ่มพัฒนาสถาปัตยกรรม x86 ร่วมกัน โดยเขาบอกว่า x86 เป็นสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่สำคัญต่อบริษัท NVIDIA ทั้งในพีซี เวิร์คสเตชัน ศูนย์ข้อมูล การที่สถาปัตยกรรมใดๆ แตกแยกไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ย่อมไม่เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรม ดังนั้นเขาจึงชอบสิ่งที่ Intel/AMD ทำ นั่นคือการร่วมมือกันและพยายามให้ x86 ยังเป็น x86 ต่อไป
ส่วน Pat Gelsinger ในฐานะซีอีโอ Intel กล่าวว่าการคาดการณ์ว่า x86 จะล่มสลายนั้นมีอยู่เรื่อยๆ แต่พวกเรายังอยู่ดีและเติบโต การที่ตัวเขาและ Lisa Su ซีอีโอ AMD เห็นตรงกันในบางเรื่อง น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีอยู่แล้ว
เดือนที่แล้ว อินเทลเพิ่งเปิดตัวชิป Lunar Lake สำหรับโน้ตบุ๊ก โดยนับเป็นซีพียู Core Ultra ซีรีส์ 200 ซีพียูลำดับที่สองในยุคใหม่ Core Ultra
แผนการใหญ่ฝั่งโน้ตบุ๊กของอินเทล เริ่มจาก Core Ultra ซีรีส์ 100 Meteor Lake ในปี 2023 ตามด้วย Core Ultra 200V Lunar Lake ในปี 2024 และมี Panther Lake ตามมาในปีหน้า 2025 ซึ่งก็น่าจะใช้ชื่อ Core Ultra 300 ทำตลาด
Intel และ AMD ประกาศตั้งกลุ่ม x86 Ecosystem Advisory Group เชิญบริษัทผู้ผลิตพีซี เซิร์ฟเวอร์ และคลาวด์ เข้ามาช่วยผลักดันสถาปัตยกรรมซีพียู x86 ให้ก้าวหน้าต่อไป
Intel และ AMD บอกว่าสถาปัตยกรรม x86 เป็นรากฐานของโลกคอมพิวเตอร์มานาน 4 ทศวรรษ แต่ตอนนี้ตลาดคอมพิวเตอร์เปลี่ยนไปมาก มีรูปแบบการทำงานใหม่ๆ อย่างการรัน AI, การวางชิปแบบ custom chiplet, การวางแพ็กเกจชิปแบบ 3D ฯลฯ จึงจำเป็นต้องหาแนวทางการผลักดัน x86 ต่อไปในอนาคต
อินเทลเปิดตัว Core Ultra 200S (Arrow Lake) ซีพียูเดสก์ท็อปรุ่นใหม่ของปีนี้ และเป็นครั้งแรกที่ซีพียูฝั่งเดสก์ท็อปเปลี่ยนมาใช้แบรนด์ Core Ultra ตามแนวทางของฝั่งโน้ตบุ๊กด้วย (ลาก่อนระบบ Gen สิ้นสุดที่ 14th Gen) เปลี่ยนมาใช้รหัสตัวเลขรุ่น 3 ตัวแบบเดียวกับฝั่งโน้ตบุ๊ก โดยเริ่มที่ซีรีส์ 200 เลย
Core Ultra 200S ยังใช้สูตร P-Core + E-Core เช่นเดียวกับรุ่นพี่ๆ แต่รอบนี้คือไม่มี Hyperthreading แล้ว (1 คอร์ = 1 เธร็ด) ถือเป็นจุดสิ้นสุดของ Hyperthreading ที่อินเทลใช้มายาวนานด้วย
AMD เปิดตัวซีพียูโน้ตบุ๊กสำหรับ AI รุ่นที่ 3 ในชื่อแบรนด์ Ryzen AI PRO 300 สถาปัตยกรรม Zen 5 มีจีพียูแกน RDNA 3.5 และชิป NPU XDNA 2 ที่ประสิทธิภาพตั้งแต่ 50-55 TOPS จำนวนสูงที่สุดในบรรดาซีพียูที่มี NPU ด้วยกัน
ซีพียูผลิตด้วยเทคโนโลยี 4 นาโนเมตร ทุกรุ่นรองรับ Copilot+ PC บน Windows 11 ของไมโครซอฟท์
ซีพียูตระกูล Ryzen AI PRO 300 มีออกมา 3 รุ่นย่อยได้แก่
AMD ประกาศพร้อมขายซีพียูกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ EPYC Gen 5 โค้ดเนม Turin อย่างเป็นทางการ ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา
ซีพียูนี้ใช้สถาปัตยกรรม Zen 5 และ Zen 5c รองรับการดีพลอยบนแพลตฟอร์ม SP5 มีตัวเลือกคอร์เริ่มต้นตั้งแต่ 8 คอร์ ไปจนถึงสูงสุด 192 คอร์ 384 เธรด มี Throughput ดีกว่าคู่แข่ง 2.7 เท่า
MediaTek เปิดตัวชิป SoC เรือธงประจำปี Dimensity 9400 ซึ่งอัปเกรดจากรุ่นก่อนหน้าเมื่อปีที่แล้ว ผลิตด้วยเทคโนโลยี 3 นาโนเมตรของ TSMC มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีขึ้นถึง 40%
ซีพียูของ Dimensity 9400 เป็น Cortex-X925 ทำงานเป็นคอร์ใหญ่ตัวหลักที่ 3.62GHz ร่วมกับ Cortex-X4 จำนวน 3 คอร์ และ Cortex-A720 จำนวน 4 คอร์ การทำงานแบบคอร์เดี่ยวเร็วขึ้น 35% และมัลติคอร์เร็วขึ้น 28% ส่วนจีพียูเป็น Immortalis-G925 จำนวน 12 คอร์ การประมวล Ray Tracing เร็วขึ้น 40%
ส่วนประมวลผล AI เป็น NPU รุ่นที่ 8 ของ MediaTek สามารถตอบสนองกับ Prompt ของ LLM ได้เร็วขึ้น 80%
อินเทล ให้ข้อมูลกับ The Verge ว่าปัญหาซีพียู 13th/14th Gen Raptor Lake ไม่เสถียร ตอนนี้แก้ได้ทั้งหมดแล้ว หลังจากอัพเดต microcode ครบทั้ง 3 ตัวตามแผน
AMD ออกอัปเดต BIOS 1.2.0.2 สำหรับซีพียู Ryzen 5 9600X และ 9700X ซึ่งปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ค่า TDP เพิ่มขึ้นเป็น 105W จากเดิมสูงสุดที่ 65W ความเร็วจะเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 10%
นอกจากนี้ AMD ยังอัปเดตปรับปรุงประสิทธิภาพความหน่วงระหว่างคอร์ของซีพียูตระกูล Ryzen 9000 แบบ Multi-CCD ซึ่งก่อนหน้านี้พบกรณีที่ทำให้ขั้นตอนเขียนอ่านใช้เวลานาน โดยปรับปรุงให้ลดเวลาลงครึ่งหนึ่ง
สุดท้าย AMD เปิดตัวเมนบอร์ดใหม่ X870 และ X870E รองรับความเร็วเต็มอัตราของ PCIe Gen 5 สำหรับกราฟิกและหน่วยความจำ NVMe มี USB4 เป็นมาตรฐาน
ที่มา: Engadget
เว็บไซต์ XDA ตั้งข้อสังเกตว่า บรรดาผู้ผลิตโน้ตบุ๊กทั้งหลายยังเลือกใช้ซีพียูอินเทล ในโน้ตบุ๊กระดับพรีเมียมกันต่อไป แม้ในตลาดมีคู่แข่งทั้ง AMD Ryzen AI และ Qualcomm Snapdragon X ก็ตาม
ตัวอย่างโน้ตบุ๊กระดับพรีเมียมของปี 2024 ได้แก่
อินเทลเปิดตัว Xeon 6 รุ่น P-core ล้วน (Granite Rapids) หลังจากออกรุ่น E-core ล้วน (Sierra Forest) ไปเมื่อเดือนมิถุนายน
Xeon 6 รุ่น P-core ล้วนถือเป็นซีพียู Xeon รุ่นมาตรฐานใช้สำหรับเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป ในขณะที่รุ่น E-core ล้วนเป็นของใหม่ในเจ็นนี้ เน้นอัดคอร์เยอะๆ ใช้สำหรับเซิร์ฟเวอร์ความหนาแน่นสูง
อินเทลเผยผลการสอบสวนอย่างละเอียด ว่าค้นเจอสาเหตุของ ปัญหาซีพียู Core 13th/14th Gen Raptor Lake ทำงานไม่เสถียร แล้ว
อินเทลเรียกปัญหานี้ว่า Vmin Shift Instability อาการคือแผงวงจรคล็อค (clock tree circuit) ที่เสี่ยงต่อการไม่เสถียร หากศักย์ไฟฟ้าและอุณหภูมิเกินปกติ โดยอินเทลบอกว่ามี 4 สถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้น
หลังประกาศวางขาย Ryzen 9 มาได้ประมาณ 1 เดือน Digital Trends รายงานว่ายอดขายของ Ryzen 9000 จัดว่าแย่มาก อย่างกรณีของร้านค้าในออสเตรเลียเปิดเผยว่า ยอดขายต่ำที่สุดตั้งแต่ที่เคยขาย AMD มาเลย โดยยอดขายยังไม่พ้นเลขหลักเดียวเลยด้วยซ้ำ