Robinhood แพลตฟอร์มซื้อขายหุ้นในอเมริกา ประกาศเพิ่ม stablecoin USDC ของ Circle เป็นสินทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้บนแพลตฟอร์มมีผลตั้งแต่เมื่อคืนนี้ รวมทั้งรองรับการโอนย้ายผ่านเครือข่าย Polygon และ Ethereum ด้วย
ความเคลื่อนไหวนี้เป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตรายใหญ่อย่าง Binance ประกาศหยุดสนับสนุน USDC ซึ่งถึงตอนนี้ยังเป็น stablecoin ที่มีมูลค่ารวมในตลาดเป็นอันดับ 2 ส่วน BUSD ของ Binance อยู่ในอันดับ 3
ที่มา: CoinDesk
บริษัท Robinhood Markets, Inc. เจ้าของแอพเทรดหุ้น-คริปโต Robinhood รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2022 มีรายได้รวม 318 ล้านดอลลาร์ ลดลง 44% จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลมาจากจำนวนผู้ใช้งานลดลงตามสภาพตลาดหุ้นในไตรมาสที่ผ่านมา ภาพรวมขาดทุน 295 ล้านดอลลาร์
ประเด็นสำคัญคือ Robinhood ยังประกาศปลดพนักงานออกราว 23% (เกือบ 1/4 ของพนักงานทั้งหมด) เพื่อลดค่าใช้จ่าย หลังจากเพิ่งปลดไป 9% รอบหนึ่งแล้วเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา (รวมกันแล้วปลดประมาณ 1,000 คน)
กรมบริการทางการเงินของรัฐนิวยอร์ก (DFS) ปรับฝ่ายธุรกิจคริปโตของบริษัท Robinhood Markets, Inc. ผู้ให้บริการแอพซื้อขายหุ้น Robinhood ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในสหรัฐฯ เป็นจำนวน 30 ล้านเหรียญสหรัฐเนื่องจากกระบวนการของ Robinhood ไม่ครบถ้วนตามกฎหมายกำกับดูแลหลายส่วน ทั้งกฎหมายการซื้อขายเงินคริปโต, การตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน, และการป้องกันภัยไซเบอร์
Sam Bankman-Fried หรือ SBF ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง FTX แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตรายใหญ่ ให้สัมภาษณ์กับ NPR บอกถึงสถานการณ์ราคาสินทรัพย์คริปโตที่ปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมา ว่าปัจจัยหลักมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed หรือธนาคารกลางสหรัฐ ที่ทำเพื่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ
Sam Bankman-Fried หรือ SBF ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง FTX ออกมาปฏิเสธ หลังมีรายงานข่าวว่า FTX กำลังเจรจาซื้อกิจการ Robinhood Markets แพลตฟอร์มซื้อขายหุ้นชื่อดัง โดยบอกว่าไม่มีแผนควบรวมกิจการ แต่บอกว่าได้ศึกษาหาวิธีเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกันอยู่
ด้าน Robinhood ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
แอปเทรดหุ้น Robinhood รายงานว่าถูกโจมตีแบบ social engineering กับฝ่ายซัพพอร์ตลูกค้า ทำให้แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ได้จำนวนมาก แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่มีข้อมูลเชิงลึกเช่นข้อมูลการจ่ายเงินหรือรายการซื้อขายหุ้นก็ตาม
คนร้ายได้อีเมลลูกค้า Robinhood ไป 5 ล้านรายการ ชื่อ-นามสกุลลูกค้าอีก 2 ล้านรายการ และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เช่น รหัสไปรษณีย์, วันเกิด อีกเล็กน้อย 310 รายการ นอกจากนี้มีข้อมูลของลูกค้าประมาณ 10 ราย ที่ถูกเปิดเผยรายละเอียดในบัญชี
ตอนนี้ทาง Robinhood เรียก Mandiant เข้ามาช่วยสอบสวนกรณีนี้
ที่มา - Robinhood
Robinhood แอปซื้อขายหุ้นชื่อดังในอเมริกา รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ปี 2021 รายได้รวมโต 35% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 365 ล้านดอลลาร์ และขาดทุนอยู่ 1,317 ล้านดอลลาร์
ส่วนของรายได้จากการทำธุรกรรมใน Robinhood เพิ่มขึ้น 32% เป็น 267 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็น ออปชั่น 164 ล้านดอลลาร์ (+29%) คริปโต 51 ล้านดอลลาร์ (+860%) และหุ้นสามัญ 50 ล้านดอลลาร์ (-27%)
แอปเทรดหุ้นและคริปโต Robinhood ประกาศเพิ่มบริการซัพพอร์ตทางโทรศัพท์แบบ 24/7 ให้ผู้ใช้ทั้งหมด 31 ล้านคนอย่างเป็นทางการแล้ว ถือเป็นครั้งแรกของบนริษัทตั้งแต่ก่อตั้งมาราว 8 ปี
แม้ Robinhood จะได้รับความนิยมมาก แต่ก่อนหน้านี้ผู้ใช้จะต้องขอซัพพอร์ตด้วยการแชทกับบริษัทหรือใช้อีเมล ส่วนระบบซัพพอร์ตผ่านโทรศัพท์ยังจำกัดกับลูกค้าที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเทรดบางอย่างในเวลาที่กำหนดเท่านั้น ซึ่ง Robinhood เองช่วงหลังมีผู้นิยมใช้งานพุ่งสูงขึ้นมาก สามารถเทรดผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย และบริษัทก็เข้าตลาดหุ้นแล้ว ทำให้ต้องลงทุนกับการซัพพอร์ตลูกค้าให้มากขึ้น
แอปเทรดหุ้น Robinhood เตรียมเพิ่มฟีเจอร์กระเป๋าเงินคริปโตสำหรับผู้ใช้งาน โดยจะเริ่มทยอยเปิดให้ผู้ใช้ในเดือนหน้า เป็นการขยายความสามารถในโลกคริปโตเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่ Robinhood สามารถเทรดคริปโตได้ภายใต้ความสามารถและจำนวนเหรียญที่ค่อนข้างจำกัด
ฟีเจอร์กระเป๋าเงินคริปโตของ Robinhood จะเป็นการเปิดตัวแอปสู่โลกคริปโตมากขึ้น จากปัจจุบันที่เปิดให้เทรดเพียงอย่างเดียว ซึ่งการเปิดกระเป๋าเงินก็ทำให้ผู้ใช้โอนหรือรับโอนเหรียญคริปโตของตัวเองจาก Robinhood เข้าออกได้เหมือนกับคู่แข่งอย่าง Coinbase
Robinhood แอปซื้อขายหุ้นชื่อดังในอเมริกา รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 ซึ่งเป็นการรายงานครั้งแรกหลังบริษัทไอพีโอเมื่อเดือนที่แล้ว
แอป Robinhood มีจุดเด่นคือไม่มีค่าธรรมเนียมในการเทรดหุ้น จนเป็นที่มาของปรากฏการณ์ meme stock อย่างหุ้นของบริษัท GameStop อย่างไรก็ตาม Robinhood เองก็รองรับการซื้อขายเงินคริปโตด้วย ซึ่งมีข้อมูลน่าสนใจที่บริษัทรายงานดังนี้
Robinhood แอปเทรดหุ้นชื่อดังในอเมริกา ที่เพิ่งไอพีโอไปไม่รอช้า ประกาศซื้อกิจการ Say Technologies ด้วยเงิน 140 ล้านดอลลาร์ โดยดีลนี้จ่ายเป็นเงินสด
Say Technologies เป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับบริษัทจดทะเบียน ในงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถจัดการใช้สิทธิออกเสียงผ่านตัวแทน และส่งคำถามเพื่อสอบถามผู้บริหารบริษัทเมื่อมีการแถลงข่าวหรือนำเสนอข้อมูล ได้อย่างสะดวกมากขึ้น
Robinhood แอปเทรดหุ้นชื่อดังในสหรัฐฯ ได้นำหุ้นเข้าเทรดในเข้าตลาดหุ้น Nasdaq อย่างเป็นทางการแล้ว โดยใช้สัญลักษณ์ซื้อขาย HOOD หลังจากยื่นไฟลิ่งไปเมื่อต้นเดือน โดยตอนเปิดราคาพุ่งไป 12% ก่อนจะปิดตลาดที่ 34.82 ดอลลาร์ต่อหุ้น ต่ำกว่าราคาที่ออกขายหุ้นไอพีโอเล็กน้อย
แอปเทรดหุ้น Robinhood ได้ยื่นเอกสารไฟลิ่งต่อ กลต. สหรัฐ เพื่อเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นแนสแดคด้วยตัวย่อ HOOD ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับความสนใจมากจากนักลงทุน เนื่องจากมีการเติบโตสูง และเป็นแอปหลักของนักลงทุนในการซื้อขายหุ้นจนเป็นข่าวอย่างกรณี GameStop
จุดเด่นของ Robinhood คือการให้บริการเทรดหุ้นโดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย จนทำให้แอปซื้อขายหุ้นรายอื่นต้องทำตาม โดย Robinhood มีรายได้ส่วนใหญ่จากการนำคำสั่งซื้อขายไปขายให้โบรกเกอร์อีกต่อหนึ่ง และรายได้อีกส่วนจากการขายบริการพรีเมียมให้ลูกค้า
แอพเทรดหุ้น Robinhood ประกาศระดมทุนเพิ่ม 3.4 พันล้านดอลลาร์ เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องหลังกระแสนักลงทุนรายย่อยบูมจากหุ้น GameStop จนทำให้ Robinhood มีปัญหาเรื่องการนำเงินสดไปจ่ายค่าหุ้นให้ clearing house
Vlad Tenev ซีอีโอของ Robinhood ยังให้สัมภาษณ์กับ Elon Musk บนแพลตฟอร์มไลฟ์ Clubhouse เปิดเผยว่าบริษัท clearing house โทรหาเขาตอนตีสาม เพื่อให้ Robinhood เตรียมเงินมาวางค้ำประกันหลักทรัพย์มากถึง 3 พันล้านดอลลาร์
เงินก้อนนี้มาจากนักลงทุนหลายราย นำโดย Rabbit Capital และ VC ชื่อดังอื่นๆ เช่น ICONIQ Capital, Andreessen Horowitz, Sequoia, Index Ventures, NEA
แอพลิเคชันซื้อขายหลักทรัพย์ Robinhood ตัดสินใจจำกัดการซื้อหุ้น AMD ไม่เกินรายละ 1 หุ้นด้วยเหตุผลว่า หุ้น AMD มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
และจากข่าวว่า AMD คือบริษัทเทคโนโลยีที่โตเร็วที่สุดในอเมริกา แซงหน้า Apple และ Nvidia การไปจำกัดให้ซื้อหุ้น AMD ได้แค่ 1 จึงโดนผู้ใช้วิจารณ์ในแง่ลบอย่างหนัก ตามที่มา
เป็นประเด็นต่อเนื่องมาทั้งสัปดาห์กับการซื้อหุ้น GameStop และหุ้นอื่นๆ ของนักลงทุนรายย่อย โดยมีแอพเทรดหุ้น Robinhood เป็นสมรภูมิหลัก จนทำให้ Robinhood ต้องจำกัดการซื้อหุ้นบริษัทเหล่านี้ชั่วคราว จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก
ล่าสุด Robinhood ออกมาชี้แจงและตอบคำถามในประเด็นขัดแย้งต่างๆ แล้ว โดยเริ่มจากอธิบายกระบวนการทำงานเบื้องหลังของ Robinhood ที่มีสถานะเป็นนายหน้า (broker) ของนักลงทุนรายย่อยก่อน
ผู้ใช้งานรุมรีวิวแอปพลิเคชั่นเทรดหุ้น Robinhood ให้คะแนน 1 ดาวบน Google Play ล่าสุด Google ออกมายืนยันว่าได้ลบคอมเม้นท์เหล่านั้นออกไปแล้วร่วมแสนคอมเม้นท์
จากปรากฏการณ์นักลงทุนรายย่อยแห่ซื้อหุ้น GameStop ผู้จัดจำหน่ายวิดีโอเกม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่กำลังขาดทุน รวมถึงแห่ซื้อหุ้น AMC ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ และ Nokia จนทำให้ระบบ Robinhood ล่ม จน Robinhood ต้องระงับการซื้อหุ้น GameStop แต่ยังขายได้ จนผู้ใช้งานแห่มารีวิวแอปในทางที่ไม่ดี โดย Google มีอำนาจสามารถลบคอมเม้นท์บน Google Play ได้ หากมีเนื้อหาที่มีเจตนาบิดเบือนการให้คะแนนของแอปอย่างชัดเจน