อินเทลปรับลดราคาจำหน่ายซีพียูของตนลงกว่าหมื่นบาท หลังจากที่ซีพียู AMD Ryzen เปิดตัวพร้อมให้พรีออเดอร์ในหลายเว็บไซต์ เริ่มต้นที่หลักหมื่นบาท ในเว็บไซต์หน้าร้านของไทยก็เริ่มรับพรีออเดอร์แล้ว
ซึ่งการปรับลดราคาครั้งนี้มีซีพียูของอินเทลหลายรุ่นทั้ง Core i ซีรีย์ 4-7 บนทั้ง LGA1150, LGA1151 และกลุ่ม HEDT ซึ่งตัวที่ลดราคามากสุดคือ Core i7-6950X จาก 1,899 เหลือ 1,599 เหรียญสหรัฐฯ เป็นต้น
ไม่แน่ใจว่าแนวโน้มนี้จะส่งผลถึงตลาดบ้านเราหรือไม่ ใครติดตามราคาอยู่ก็แชร์กันได้ครับ
อินเทลเปิดตัว Xeon E7 v4 พี่ใหญ่รุ่นที่สี่ (ตัวต่อจาก Xeon E7 v3 ที่ออกเมื่อปีที่แล้ว) ตัวนี้ยังเป็นสถาปัตยกรรม Broadwell ตามรหัส v4 นะครับ (ถ้าเป็น v5 ถึงเป็น Skylake)
Xeon E7 v4 แยกเป็นสองซีรีส์ย่อยคือ E7-8800 และ E7-4800 จุดเด่นคือใส่หน่วยความจำได้สูงถึง 24TB และรองรับการคอนฟิกสูงสุด 256 ซ็อคเก็ตถ้าใช้คอนโทรลเลอร์พิเศษเข้าช่วย นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์สำหรับตลาดบน เช่น Intel Run Sure Technology ช่วยเพิ่มเสถียรภาพของระบบ มีตัวช่วยถอดรหัสที่ฮาร์ดแวร์ ประสิทธิภาพดีกว่า Xeon E7 v3 ถึง 70%
แม้จะมีแง้มๆ มาจากฝั่ง ASRock ว่าอินเทลมีแผนเปิดตัว Core i7 แบบ 10 คอร์ ล่าสุดที่งาน Computex 2016 อินเทลได้ใช้เวทีเปิดตัวเจ้า 10 คอร์ที่ว่านี้เรียบร้อยในชื่ออย่างเป็นทางการว่า "Intel Core i7-6950X Extreme Edition"
ซีพียูตัวนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม HEDT (High-End Desktop) ผลิตบนสถาปัตยกรรม Broadwell-E มาพร้อม TDP ที่ 140 วัตต์ ใช้ Socket 2011-v3 และต้องการเมนบอร์ดที่ใช้ Intel X99 มีคอร์พื้นฐานที่ 10 คอร์ รองรับ Hyper-Threading ได้สูงถึง 20 เทรด มี L3 Cache ที่ 25 MB มีความเร็วพื้นฐานที่ 3.0 GHz รองรับ Turbo Boost 2.0 ได้สูงสุด 3.5 GHz และรองรับการใช้งานกับ Turbo Boost Max 3.0 (เร่งความเร็วสูงสุดที่คอร์เดี่ยว 1 คอร์) ในตัว และรองรับการ Overclock จากภายนอกด้วย
มีข้อมูลเพิ่มเติมของซีพียูกลุ่ม HEDT (High-End Desktop) ของอินเทลที่จะมาเป็นลำดับต่อไปอย่างโค้ดเนม "Broadwell-E" ที่เมื่อเดือนก่อนมีหลุดข้อมูลของชิปเบอร์ Core i7-6950X ที่มากับ 10 คอร์ 20 เธรด แคชรวม 25MB ซึ่งตอนนี้ทราบแล้วว่าเป็นตัวท็อป ในราคาคาดกันไว้ที่ 999 เหรียญสหรัฐฯ และจะเปิดตัวในงาน Computex 2016 ปีหน้า ราวต้นเดือนมิถุนายน
ล่าสุดมีมาเพิ่มเป็น 4 รุ่น ตามระดับราคา คือ 6900K (8C/16T, 20MB L3), 6850K (6C/12T, 15MB L3) และ 6800K (6C/12T, 15MB L3) ในราคาที่ประมาณการไว้ในช่วง 650, 550 และ 450 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ข้อมูลของ 6850K และ 6800K ไม่ระบุว่ามีจำนวนเลน PCI-Express ลดหลั่นจากรุ่นอื่นเหมือนสมัย 5820K หรือไม่
ทิ้งช่วงไปเกินปีหลังจากเปิดตัวซีพียูรุ่นแรงรหัส Haswell-E ที่มีรุ่น i7-5960X รุ่นเรือธงตัวแรกที่มีถึง 8 คอร์ ล่าสุดมีข่าวลือของซีพียูรุ่นต่อในรหัส Broadwell-E ออกมาบ้างแล้ว
ข้อมูลดังกล่าวหลุดออกมาจากเว็บไซต์ภาษาจีน XFastest มาทั้งหมด 4 โมเดล โดยรุ่นบนสุด i7-6950X จะเพิ่มจำนวนคอร์มากขึ้นเป็น 10 คอร์ 20 เธรด มีสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 3GHz เร่งได้ถึง 3.5GHz ขยายแคช L3 เพิ่มอีกเป็น 25MB และยังใช้ซ็อกเก็ตเดิม LGA2011-v3 (แปลว่าน่าจะใช้กับบอร์ด X99 ได้) ส่วนรุ่นที่เหลือก็ลดหลั่นจำนวนคอร์ และขนาดแคชลงมา แต่เพิ่มความถี่ขึ้นไปแทน
Toshiba อัพเดตสเปก Chromebook 2 ที่เปิดตัวในงาน IFA ปี 2014 มาใช้ซีพียูรุ่นใหม่ขึ้นเป็น Intel Core i3 Broadwell หรือ Celeron ไม่ระบุรุ่นย่อย
สเปกอย่างอื่นยังเหมือนเดิมคือหน้าจอ 13.3" 1080p, ใส่แรมได้สูงสุด 4GB, ความจุ 16GB eMMC, แบตเตอรี่ 3860 mAh, พอร์ต USB x2 ราคาขายคือ 330 ดอลลาร์สำหรับรุ่น Celeron และ 430 ดอลลาร์สำหรับรุ่น Core i3
ที่มา - AnandTech
นอกจากจะเปิดตัวพอร์ต Thunderbolt 3 ในงาน Computex ปีนี้อินเทลถือโอกาสเปิดตัวซีพียูซีรีส์ Core รุ่นที่ 5 แบบปรับปรุงในรหัส Broadwell-H ทั้งฝั่งเดสก์ท็อป โน้ตบุ๊ก และเซิร์ฟเวอร์ ที่ผลิตบนสถาปัตยกรรมขนาด 14 นาโนเมตร ที่ออกมาคั่น Skylake ซึ่งยังยืนยันว่าจะเปิดตัวภายในปีนี้
ฝั่งเดสก์ท็อปมีออกมา 5 โมเดล เป็น Core i5 สามรุ่น และ Core i7 สองรุ่น ทุกรุ่นมี TDP อยู่ที่ 65 วัตต์ และมาพร้อมกับ Iris Pro 6200 ซึ่งอินเทลเคลมว่าสามารถรัน League of Legends ที่การตั้งค่าระดับสูงบนความละเอียด 1080p ได้ถึง 147 เฟรมต่อวินาที (แรงกว่า Intel HD 4600 สองเท่า) ทุกรุ่นรองรับ Hyper-Threading
อินเทลเปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่ห้ารหัส Broadwell บนโน้ตบุ๊กไปแล้ว สิ่งที่หลายคนรอคอยคือเมื่อไร Core Broadwell รุ่นเดสก์ท็อปจะมาสักที
ที่งาน GDC 2015 อินเทลนำ Core Broadwell รุ่นเดสก์ท็อปมาโชว์เป็นครั้งแรก โดยรันประกอบกับจีพียู Iris Pro รุ่นล่าสุด และเผยข้อมูลว่าจะวางขายจริงช่วงกลางปีนี้ (mid-2015)
อินเทลยังให้ข้อมูลว่ากำลังร่วมพัฒนา DirectX 12 และ Vulkan เพื่อให้ทำงานบนฮาร์ดแวร์ของอินเทลได้อย่างเต็มที่
ที่มา - Intel Blog
นอกจากช่วงครึ่งหลังปีนี้เราจะได้เห็น Core M รหัส Skylake สำหรับอุปกรณ์พกพาแล้ว ฝั่งเดสก์ท็อปพีซีก็ไม่น้อยหน้า เพราะมีรายงานว่าอินเทลเตรียมแผนเปิดตัวซีพียูตัวแรงชุดใหม่สำหรับเดสก์ท็อปในรหัส Broadwell-E เช่นกัน แต่อาจจะมาช้าหน่อยเป็นช่วงต้นปี 2016 โน่น
รายละเอียดของ Broadwell-E บนเดสก์ท็อปยังไม่ออกมามากนัก คาดกันว่าจะมีรุ่นสูงสุดแปดคอร์ ปลดล็อกมาให้โอเวอร์คล็อกกันตั้งแต่ต้น TDP เท่ากันหมดที่ 140 วัตต์ โดยคาดว่ารุ่นท็อปจะเป็นซีรีส์ X ที่มีแปดคอร์ และซีรีส์ K ที่มีหกคอร์ ข่าวดีคือน่าจะยังใช้งานได้กับซ็อกเก็ต LGA 2011-v3 บนชิปเซ็ต X99 ได้ต่อไปครับ
ราคาตอนนี้เดาๆ กันว่าเริ่มต้นที่ 400 เหรียญ แพงสุดที่ 999 เหรียญ
Dell ถือโอกาสอัพเกรดโน้ตบุ๊กของตัวเองเกือบทุกแบรนด์ย่อยรับซีพียู Core Broadwell ที่เป็นข่าวไปแล้วคือ XPS, Alienware, Inspiron ส่วนในข่าวนี้คือแบรนด์โน้ตบุ๊กธุรกิจ Latitude ที่ได้ซีพียู Core Broadwell เช่นกัน
รอบนี้ Dell อัพเกรด Latitude ทีเดียวครบทั้งซีรีส์ ตั้งแต่รุ่นราคาถูก Latitude 3000, รุ่นราคากลาง Latitude 5000 และอัลตร้าบุ๊กรุ่นบนสุด Latitude 7000 โดยมีขนาดหน้าจอ 12/14/15 นิ้วให้เลือก รหัสของโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่จะใช้เลข xx50 ต่อจากโน้ตบุ๊กรุ่นก่อนที่ใช้ xx40
ซีพียูรหัส Broadwell ของอินเทลถือว่าผิดรอบการออกปีละครั้งด้วยปัญหาการผลิต และที่ผ่านมาอินเทลก็แก้เกมด้วยการออกเฉพาะซีพียูพลังงานต่ำ Core M มาเพียงอย่างเดียวก่อนตั้งแต่กลางปี ในขณะที่ซีพียูสายหลักคือ Core i3/i5/i7 ต้องล่าช้าไปอีกครึ่งปี มาออกในปี 2015 แทน
วันนี้อินเทลเปิดตัว Core i3/i5/i7 รุ่นที่ห้าที่พัฒนาจากสถาปัตยกรรมย่อย Broadwell แล้ว ของใหม่ที่สำคัญของ Broadwell คือใช้การผลิตระดับ 14 นาโนเมตร, สมรรถนะกราฟิกดีกว่าเดิม 37%, แบตเตอรี่อยู่ได้นานขึ้น 1.5 ชั่วโมง, รองรับจอ 4K, Wireless Display (WiDi) และเทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียงพูดและท่าทาง Intel RealSense
ในงาน IFA 2014 นอกจาก ASUS จะเปิดตัว ZenWatch, EeeBook และ MeMO Pad 7 ไปแล้ว ASUS ยังเปิดตัว Ultrabook ในตระกูล Zenbook รุ่นอัพเกรดใหม่ โดยรุ่นนี้มีความพิเศษตรงที่ มันใช้ชิป Intel Core M ซึ่งมีพื้นฐานจากสถาปัตยกรรม Broadwell ตัวแรกของโลกด้วย
สำหรับสเปกของ ASUS Zenbook รุ่นใหม่นี้ (UX305) ประกอบด้วย
ซีพียูรหัส Broadwell เลื่อนกว่ากำหนดมานานเกือบปีด้วยเหตุผลด้านการผลิต แต่ในที่สุดอินเทลก็ออกมาเผยข้อมูลของ Broadwell เป็นบางส่วน ก่อนจะเปิดเผยรายละเอียดแบบเต็มๆ ในงาน IDF 2014 เดือนกันยายน
Broadwell เป็นซีพียูในขา "tick" ของอินเทลตามยุทธศาสตร์ tick-tock โดยรอบนี้จะคงสถาปัตยกรรมซีพียูเดิมจาก Haswell (ปรับแต่งเล็กน้อย เปลี่ยนจากเดิมไม่เยอะ) แต่เปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตจาก 22 นาโนเมตร มาเป็น 14 นาโนเมตรแทน
ของใหม่ใน Broadwell จึงแยกเป็นส่วนของเทคโนโลยีการผลิต และส่วนของสถาปัตยกรรมซีพียูครับ เริ่มจากเทคโนโลยีการผลิตกันก่อนเลย (ข่าวนี้ภาพเยอะหน่อยนะครับ)
Brian Krzanich ซีอีโออินเทลออกมาให้ข้อมูลว่า พีซีที่ใช้ซีพียู Core รุ่นใหม่รหัส Broadwell จะออกวางขายทันช่วงฤดูจับจ่ายช่วงสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน แม้ว่าอาจจะออกไม่ทันวันเปิดภาคเรียนของสหรัฐ (ราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) ก็ตาม
ข้อมูลของ Krzanich ถือเป็นข้อมูลละเอียดที่สุดที่อินเทลเคยประกาศออกมา เพราะก่อนหน้านี้อินเทลบอกเพียงว่า Broadwell จะออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2014 เท่านั้น
ถ้าตีความจากคำพูดของ Krzanich ก็แปลว่าเราน่าจะเห็นสินค้าที่ใช้ Broadwell เริ่มวางขายช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมเป็นต้นไปครับ
ที่มา - Reuters
เมื่อวานนี้ที่งาน Intel Developer Forum (IDF) ที่เซินเจิ้น อินเทลได้เปิดตัวซีพียูรหัส Braswell เป็นรุ่นที่พัฒนาต่อมาจาก Bay Trail ให้มีขนาดเล็กลงจาก 22 นาโนเมตรเหลือ 14 นาโนเมตร ซึ่งถือเป็นซีพียูในตระกูล Atom รุ่นที่ 5 (5th Gen) เป็น System on Chip (SoC) สำหรับแท็บเล็ต โดยยังไม่มีรายละเอียดว่าจะวางขายเมื่อไหร่
ขณะที่รุ่นใหญ่ที่จะใช้ชื่อรหัสว่า Broadwell (รุ่นต่อจาก Haswell) ยังคงไม่มีข่าวคราวความคืบหน้าอะไรเพิ่มเติมครับ
ที่มา - Engadget
อินเทลประกาศเปิดตัวซีพียูเดสก์ทอป Haswell ชุดใหม่ อัพเดตคั่นก่อนที่จะเริ่มเปลี่ยนชุดไปยัง Broadwell ได้แก่ "Devil's Canyon" ซีพียูสำหรับเกมเมอร์ที่ปลดล็อกสัญญาณนาฬิกา โดยจุดเปลี่ยนสำคัญคือการอัพเดตแพ็กเกจระบายความร้อนแบบใหม่ อีกตัวหนึ่งคือ Pentium รุ่นครบรอบ 20 ปีเป็น Pentium สำหรับเกมเมอร์ที่ปลดล็อกสัญญาณนาฬิกาเช่นกันและเพิ่มฟีเจอร์ Intel Quick Sync เข้ามา ทั้งสองรุ่นวางขายจริงกลางปีนี้
อีกตัวที่อัพเดตใหญ่กว่าคือ Haswell-E เป็นซีพียูเดสก์ทอปไม่ล็อกสัญญาณนาฬิกาแบบ 8 คอร์ ใช้หน่วยความจำแบบ DDR4 ตัวแรก และต้องใช้กับชิปเซ็ต X99 ที่ออกมาคู่กัน ทาง Tom's Hardware ระบุข่าวลือจากเอกสารที่ไม่เปิดเผยว่า X99 นั้นจะมีพอร์ต SAS อีกสี่พอร์ตทำให้รองรับ SATA รวมถึงสิบพอร์ต
ในการเปิดตัวซีพียู Quark ที่งาน Intel Developers Forum (IDF) ประจำปี 2013 ที่ซานฟรานซิสโก Brian Krzanich ซีอีโอคนใหม่ของอินเทล ได้โชว์โน้ตบุ๊กจากเอชพีที่ไม่เคยปรากฏตัวที่ใดมาก่อน (ดูภาพได้ที่ท้ายข่าว)
จากยอดขายพีซีที่เริ่มหดตัวลง หรืออาจต้องการกระตุ้นรายได้จากฝั่งซีพียูเดสก์ท็อปให้มากขึ้น ทำให้ตอนนี้อินเทลมีข่าวลือว่าจะปรับซ็อกเกตสำหรับซีพียูเดสก์ท็อปแล้ว
แหล่งข่าวจาก PCPerspective ระบุว่าตั้งแต่ซีพียูโค้ดเนม Broadwell ที่มีแผนออกในปี 2014 จะเปลี่ยนซ็อกเกตจากเดิมที่ใช้แบบ LGA ซึ่งให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเองได้ เป็นแบบ BGA ที่ฝังตัวซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมื่อดูจากรายละเอียดของ Broadwell ที่ออกมาว่าจะเป็นชิปที่เน้นลดการใช้พลังงาน (ตัวเลขที่ออกมาคือ 10-57 TDP) พอเป็นเบาะแสของข่าวลือนี้ได้อีกทาง
ถ้านี่เป็นเรื่องจริง ต่อไปการอัพเกรดคอมคงแพงขึ้นอีกพอตัว