คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ออกเอกสารเพื่อขอความเห็นจากสาธารณะ (public consultation) เรื่องฟีเจอร์ของ iOS ที่ควรเปิดให้อุปกรณ์ยี่ห้ออื่นเชื่อมต่อได้ด้วย
เอกสารนี้กล่าวถึงฟีเจอร์หลายอย่างของ iOS แต่ที่สำคัญคือ AirDrop และ AirPlay ที่มุมมองของคณะกรรมการยุโรปเห็นว่า แอปเปิลควรเปิด AirDrop และ AirPlay ให้แอพหรืออุปกรณ์ค่ายอื่นๆ เข้าถึงได้ (กรณีของ AirPlay นั้นแอปเปิลเคยเปิดบ้างแล้ว)
ในเอกสารฉบับเดียวกัน ยังมีประเด็นว่าแอปเปิลควรอนุญาตให้แอพ 3rd party จากผู้พัฒนารายอื่น สามารถรันในแบ็คกราวน์ได้แบบเดียวกับแอพ 1st party ของแอปเปิลเอง
ที่ผ่านมาการแชร์ข้อมูลโดยตรงหากันระหว่างอุปกรณ์ผ่านบลูทูธ โดยเฉพาะช่องทางอย่าง AirDrop ในอุปกรณ์ของแอปเปิล เป็นช่องทางที่หน่วยงานของจีนพยายามออกระเบียบควบคุม เพราะสามารถติดตามตรวจสอบได้ยากกว่าช่องทางอื่น
ล่าสุดมีรายงานว่าหน่วยงานวิจัยของปักกิ่ง อ้างว่าพบวิธีดึงข้อมูล หมายเลขโทรศัพท์, อีเมล และชื่ออุปกรณ์ ของผู้รับและผู้ส่งรูปภาพผ่าน AirDrop ได้แล้ว โดยแกะข้อมูลจาก log ของอุปกรณ์
หน่วยงานวิจัยนี้บอกว่าข้อมูลผู้ส่งไฟล์ใน AirDrop นั้น มีการเก็บแบบเข้ารหัสไว้ใน log ที่ระดับอุปกรณ์ แต่สามารถถอดรหัสได้โดยใช้วิธี Rainbow Tables ซึ่งวิธีการนี้ทำให้หน่วยงานของจีนสามารถตรวจสอบผู้ต้องสงสัยหากมีการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้
หน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์ของจีนออกร่างกำกับดูแลเทคโนโลยีล่าสุด โดยระบุว่าเพื่อควบคุมเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งไฟล์ ข้อมูล รูปภาพ หากันระหว่างอุปกรณ์ได้ โดยไม่ต้องใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งในร่างนี้ไม่ได้ระบุชื่อ แต่ก็หมายถึงเทคโนโลยีเช่น AirDrop ของแอปเปิล หรือวิธีการส่งไฟล์ทางบลูทูธต่าง ๆ
แอปเปิลออกอัพเดตระบบปฏิบัติการ iOS 16.1.1 และ iPadOS 16.1.1 โดยแอปเปิลบอกเพียงเป็นการแก้ไขบั๊ก และปรับปรุงความปลอดภัยทั่วไป ซึ่งแนะนำให้ผู้ใช้งานอัพเดต ทั้งนี้บั๊กสำคัญที่คาดว่าแอปเปิลได้แก้ไขไปคือปัญหา Wi-Fi หลุดสำหรับผู้ใช้งานบางคน
ในอัพเดตนี้ยังพบการเปลี่ยนแปลง มีผลเฉพาะผู้ใช้งานในจีน โดยฟีเจอร์รับส่งไฟล์ AirDrop จะไม่สามารถเปิดโหมด Everyone (รับไฟล์จากทุกคน) ค้างไว้ได้ แต่จะเปิดได้เพียง 10 นาทีเท่านั้น ซึ่งคาดว่าเป็นการร้องขอจากหน่วยงานในจีน เพื่อควบคุมการส่งต่อข้อมูล
นอกจากนี้แอปเปิลยังออกอัพเดต macOS Ventura 13.0.1 แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัย 2 รายการอีกด้วย
เป็นที่ทราบกันว่ารัฐบาลจีนใช้ The Great Firewall ในการควบคุมข้อมูลข่าวสารของคนจีน ทว่าต่อให้กำแพงไฟนั้นใหญ่แค่ไหนก็ไม่อาจจะปิดกั้นข้อมูลที่ถูกส่งกันผ่าน Bluetooth และ Wi-Fi อย่าง AirDrop ของแอปเปิลได้ ซึ่งผู้ประท้วงฮ่องกงก็อาศัยฟีเจอร์นี้ในการส่งข้อมูล (ที่รัฐบาลจีนปิดกั้น) ไปให้กับคนจีนที่เดินทางมาฮ่องกง
เราได้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้โดยสาร จนทำให้เครื่องบินที่กำลังเดินทางอยู่ต้องลงจอดฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหานั้นอยู่บ่อยครั้ง สำหรับกรณีล่าสุดนี้น่าจะถือเป็นความผิดพลาดในการใช้เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน จนทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้น
โดยมีรายงานว่าเที่ยวบินของสายการบิน Hawaiian Airlines HA23 เดินทางจาก Oakland ไป Kahului ได้วนกลับมาลงจอดที่สนามบินนานถึง 90 นาที หลังออกเดินทางได้ไม่นาน เนื่องจากมีผู้โดยสารหลายคนร้องเรียนกับลูกเรือ ว่าโทรศัพท์พวกเขาได้รับภาพเด็กถูกฆาตกรรมเสียชีวิต (ภาพดูได้จากที่มา)
เว็บ 9to5Mac บอกว่าจากข้อมูลที่พวกเขาเห็นในโค้ดของระบบปฏิบัติการตัวใหม่ แอปเปิลได้เลือกใช้ชิป Wi-Fi แบบ Dual-band ใหม่จาก Broadcom รุ่น BCM4334 ซึ่งเป็นชิปสถาปัตยกรรมขนาด 40nm ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ารุ่นที่ใช้บน iPad 3 และ iPhone 4S ซึ่งถูกผลิตด้วยขั้นตอนสถาปัตยกรรมขนาด 65nm โดยชิปตัวใหม่นี้จะประหยัดไฟมากกว่าชิปเดิม 40-50% ทำให้แอปเปิลสามารถจัดสรรการใช้พลังงานใหม่ให้กับไอโฟนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจอภาพที่ใหญ่ขึ้นและชิป LTE ที่จะกินไฟมากกว่าไอโฟนรุ่นที่วางขายปัจจุบัน