กลุ่ม Bluetooth Special Interest Group (SIG) เผยสเปกของ Bluetooth Core Specification เวอร์ชัน 6.0 มีของใหม่หลายอย่างดังนี้
กูเกิลประกาศนำโค้ดบางส่วนของระบบปฏิบัติการ Android มาใช้กับระบบปฏิบัติการ ChromeOS ด้วย เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการพัฒนา และช่วยให้ออกฟีเจอร์ของ ChromeOS ได้เร็วขึ้น
ชิ้นส่วนแรกที่ ChromeOS นำมาใช้งานคือ Fluoride เฟรมเวิร์คสำหรับจัดการอุปกรณ์ Bluetooth ของ Android ที่นำมาใช้แทน BlueZ เฟรมเวิร์ค Bluetooth ของลินุกซ์ที่ ChromeOS ใช้งานอยู่ก่อน
ปัญหาของ BlueZ คือใช้ API คนละตัวระหว่างการใช้บนพีซีกับอุปกรณ์พกพา ทำให้ดูแลโค้ดได้ยากกว่า เมื่อ Android มี Fluoride ที่สถาปัตยกรรมเรียบง่ายกว่า และทดสอบความเข้ากันได้กับอุปกรณ์จำนวนมากกว่าอยู่แล้ว จึงสมเหตุสมผลที่จะนำ Fluoride มาใช้กับ ChromeOS ด้วย
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2023 กูเกิลประกาศบริการ Find My Device ตามหาอุปกรณ์ต่างๆ แบบออฟไลน์ โดยใช้พลังเครือข่าย Bluetooth ของอุปกรณ์ Android ทั่วโลก ลักษณะเดียวกับ Find My ของแอปเปิล
อย่างไรก็ตาม แผนการของกูเกิลถูกเลื่อนออกไป เพราะต้องการร่วมมือกับแอปเปิล ทำระบบรักษาความเป็นส่วนตัว ป้องกันผู้ใช้จากการถูกตามรอย (unwanted tracker detection) ได้ด้วย (ฝั่ง Android มีแต่แรกแล้ว ต้องรอฝั่ง iOS รองรับก่อน)
Google Maps เวอร์ชัน Android เริ่มรองรับการใช้งาน Bluetooth Beacon สำหรับนำทางภายในอุโมงค์ ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องพิกัด GPS
ข้อจำกัดเรื่องสัญญาณ GPS ทำให้ Waze ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกูเกิลที่ทำระบบแผนที่นำทางเหมือนกัน มีโครงกาาร Waze Beacon เป็นอุปกรณ์แปะในอุโมงค์เพื่อบอกเส้นทางที่ซับซ้อน (เช่น มีทางแยกในอุโมงค์) โดยเจรจากับเมืองใหญ่หลายแห่งทั่วโลก เช่น นิวยอร์ก ชิคาโก ปารีส ซิดนีย์ บอสตัน ให้นำไปติดตั้งในอุโมงค์
กูเกิลมีฟีเจอร์ Fast Pair สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ Bluetooth (เช่น หูฟัง) เข้ากับ Android มาตั้งแต่ปี 2017 ล่าสุดกูเกิลประกาศขยาย Fast Pair ให้ใช้ร่วมกับ Chromecast with Google TV แล้ว และจะขยายไปยังสมาร์ททีวี Google TV ภายในปีนี้
ผลคือเราสามารถเชื่อมต่อหูฟังไร้สายหรือลำโพงเข้ากับสมาร์ททีวีจอใหญ่ได้สะดวกขึ้น (เช่น ดูหนังบนทีวี แต่ให้เสียงออกเฉพาะในหูฟัง เพื่อไม่ให้รบกวนคนอื่นที่อยู่ในห้องเดียวกัน)
หน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์ของจีนออกร่างกำกับดูแลเทคโนโลยีล่าสุด โดยระบุว่าเพื่อควบคุมเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งไฟล์ ข้อมูล รูปภาพ หากันระหว่างอุปกรณ์ได้ โดยไม่ต้องใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งในร่างนี้ไม่ได้ระบุชื่อ แต่ก็หมายถึงเทคโนโลยีเช่น AirDrop ของแอปเปิล หรือวิธีการส่งไฟล์ทางบลูทูธต่าง ๆ
กูเกิลมีบริการตามหาอุปกรณ์ Find My Devices มานานพอสมควรแล้ว (เริ่มปี 2013 ชื่อเดิมคือ Android Device Manager) แต่ช่วงหลังๆ อาจไม่ได้มีฟีเจอร์ใหม่มากนัก เมื่อเทียบกับ Find My ของฝั่งแอปเปิลที่รองรับการหาอุปกรณ์แบบออฟไลน์มาตั้งแต่ปี 2019
ปีนี้กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์แบบเดียวกันให้ Find My Devices ดังนี้
Oppo เคยเปิดตัวชิปที่ออกแบบเองตัวแรกคือ MariSilicon X ชิปประมวลผลภาพ (imaging NPU) มาก่อนแล้วเมื่อปลายปี 2021 ซึ่งถูกนำไปใช้ใน Oppo Find X5 เรือธงของปี 2022
คราวนี้ Oppo เปิดตัวชิปออกแบบเองตัวที่สองคือ MariSilicon Y ทำหน้าที่ต่างออกไป มันเป็น Bluetooth audio SoC สำหรับจัดการเสียงผ่าน Bluetooth ไปยังหูฟังไร้สายหรืออุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ
ทีมวิจัยจาก Secure Mobile Networking Lab, TU Darmstad ในเยอรมนีรายงานถึงการสำรวจช่องโหว่ะดับฮาร์ดแวร์ของไอโฟน ที่เฟิร์มแวร์ส่วนใหญ่จะถูกตรวจสอบความถูกต้องด้วยลายเซ็นดิจิทัล แต่ชิป Bluetooth กลับไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องเฟิร์มแวร์ เปิดทางให้แฮกเกอร์แก้ไขและใส่โค้ดมุ่งร้ายลงไป
ชิป Bluetooth เป็นหนึ่งในวงจรที่ทำงานบนไอโฟนโดยปิดไม่ได้ เรียกว่า low power mode (LPM) โหมดนี้มีไว้สำหรับการทำงานของ Find My ที่สามารถหาโทรศัพท์หายได้แม้ปิดเครื่อง หรือ NFC ที่สามารถจ่ายเงินได้เสมอ
NCC Group แจ้งเตือนช่องโหว่ร้ายแรงปานกลางในแอป Tesla ที่สามารถปลดล็อกและสตาร์ตรถได้เมื่อโทรศัพท์ผู้ใช้หรือกุญแจไร้สายอยู่ใกล้รถ โดยการโจมตีใช้ relay attack ดึงสัญญาณเชื่อมต่อรถกับโทรศัพท์แม้จะอยู่ไกลกัน โดยการโจมตีแบบนี้อาจจะใช้กับการปลดล็อกอุปกรณ์อื่นๆ ที่อาศัยการประมาณระยะห่างของโทรศัพท์กับอุปกรณ์ด้วยความแรงสัญญาณได้เหมือนกัน
รถรุ่นใหม่ๆ, คอมพิวเตอร์, หรือประตูดิจิทัลหลายรุ่นมีฟีเจอร์ปลดล็อกได้เอง เมื่ออุปกรณ์ Bluetooth เช่นโทรศัพท์มือถืออยู่ใกล้ โดยผู้ใช้ไม่ต้องเปิดแอปหรือกดอะไรเลย โดยตัวอุปกรณ์ที่ล็อกอยู่เช่นรถยนต์นั้นจะวัดความแรงสัญญาณตอบกลับจากโทรศัพท์ว่าแรงพอหรือไม่ หากแรงพอก็จะถือว่าอยู่ในระยะใกล้และปลดล็อก
กูเกิลประกาศแนวทางปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานหูฟังไร้สายบน Android สองเรื่อง
อย่างแรกคือการสลับอุปกรณ์อัตโนมัติ เช่น จากสมาร์ทโฟนย้ายไปใช้แท็บเล็ต ตอนนี้ระบุว่าจะเริ่มจากหูฟังไร้สาย 3 แบรนด์คือ Sony, JBL, Pixel ของกูเกิลเอง โดยจะออกอัพเดตในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และจะร่วมมือกับ Qualcomm ทำให้หูฟังแบรนด์อื่นๆ ที่ใช้ชิป Qualcomm รองรับฟีเจอร์นี้ด้วย
อย่างที่สองคือ กูเกิลร่วมมือกับ Qualcomm รองรับมาตรฐาน LE Audio ที่ใช้ codec ใหม่ LC3 ให้คุณภาพเสียงดีขึ้น, อัตราหน่วง (latency) น้อยลง และสามารถกระจายสัญญาณเสียงให้หลายคนพร้อมกันได้ ตอนนี้มีระบุชื่อพาร์ทเนอร์แล้วคือ Samsung, OnePlus, Sony
ผู้ผลิตเครื่องเสียง Sonos เข้าซื้อบริษัท T2 Software สตาร์ทอัพพัฒนาระบบเสียงผ่าน Bluetooth ท่ามกลางข่าวลือว่า Sonos อาจทำหูฟังของตัวเอง
เว็บไซต์ Protocol รายงานว่า Sonos ได้เข้าซื้อ T2 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาแล้วอย่างเงียบ ๆ โดยบริษัท T2 เน้นอิมพลีเมนต์ระบบ Bluetooth LC3 ระบบโคเดคเสียงสำหรับมาตรฐานใหม่ Bluetooth LE Audio ที่เน้นเสียงคุณภาพสูงภายใต้อัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำลงมากกว่าโคเดคที่ใช้ใน Bluetooth ปัจจุบัน ทำให้อุปกรณ์กินพลังงานต่ำ ซึ่งฟีเจอร์ต่าง ๆ ของโคเดคภายใต้การพัฒนาโดย T2 ยังไม่ได้อยู่ในสเปคของ Bluetooth ปัจจุบัน
กูเกิลเริ่มวางขายกุญแจ U2F Titan Security Key มาตั้งแต่ปี 2018 โดยแยกเป็นรุ่น USB-A/NFC และรุ่น USB-A/Bluetooth แล้วออกรุ่น USB-C ตามมาในปี 2019
ล่าสุดกูเกิลประกาศหยุดขายกุญแจ Titan รุ่น USB-A/Bluetooth แล้ว ด้วยเหตุผลว่าสมาร์ทโฟนยุคใหม่รองรับ NFC กันหมดแล้ว ความจำเป็นของกุญแจแบบ Bluetooth จึงน้อยลงไป (แต่กุญแจเดิมก็ยังใช้งานได้ตามปกติ)
แอปเปิลมี AirTags และซัมซุงมี Smart Tag ล่าสุด Amazon จับมือกับ Tile บริษัททำเครื่องมือติดตามสิ่งของที่สูญหายและ Level ผู้ทำล็อกอัจฉริยะที่ควบคุมการล็อกได้ทุกที่ สร้างเครือข่ายและเพิ่มความสามารถเข้ามาใน Sidewalk ระบบไร้สาย โปรโตคอลเน้นใช้งานกับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำและเชื่อมต่อในระยะไกล
Tile เป็นอุปกรณ์แบบแผ่นเล็กๆ เจาะรูนำไปคล้องกับกุญแจ หรือเสียบใส่กระเป๋าเงินได้ ใช้บลูทูธเพื่อค้นหาสิ่งของที่สูญหาย เมื่อทำงานร่วมกับเครือข่าย Sidewalk บนอุปกรณ์ Echo แล้วจะสามารถค้นหาของผ่านการใช้งาน Alexa ได้ ยกตัวอย่างเช่นสั่งให้ Alexa หากุญแจของฉันให้ อุปกรณ์ Tile ที่ติดอยู่กับกุญแจจะสั่นและส่งเสียง ช่วยให้ค้นหาของที่อยู่ผิดที่ผิดทางได้
ช่วงนี้ดูเหมือนทีม Windows ขยันมาแก้บั๊กเก่าๆ หรือปัญหาที่เรื้อรังมานาน เช่น ปัญหาต่อจอนอกผ่าน DisplayPort แล้วหน้าต่างถูกรีเซ็ตตำแหน่ง
รอบนี้เป็นการแก้ปัญหาการเชื่อมต่อหูฟังหรือลำโพง Bluetooth ที่หลายคนเคยเจอว่า มีรายชื่ออุปกรณ์ตัวเดียวกันให้เลือกหลายอัน ไม่รู้เลือกอันไหนเสียงถึงออกถูกตัว
ไมโครซอฟท์บอกว่านี่เป็นเรื่อง multiple audio endpoint ของอุปกรณ์ Bluetooth ซึ่งตอนนี้แก้ไขให้แสดงผลตัวเลือกแค่ 1 อันใน UI และระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่เลือก endpoint ที่ถูกต้องให้เอง นอกจากนี้ยังมีของแถมเป็นแถบปรับระดับเสียงของอุปกรณ์ Bluetooth และรองรับ codec เสียงแบบ AAC เพิ่มมาด้วย
หลัง Google โชว์ฟีเจอร์ใหม่ที่จะเพิ่มใน Fast Pair (ระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์ Bluetooth ของแอนดรอยด์) ไปในงาน I/O เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ล่าสุด Google เพิ่มฟีเจอร์เหล่านี้ให้กับ Fast Pair อย่างเป็นทางการ หลังเปิดตัว Pixel Buds 2
ฟีเจอร์ Find Device ช่วยผู้ใช้ค้นหาหูฟัง โดยกดให้หูฟังข้างซ้ายหรือขวาส่งเสียงได้ และสามารถติดตามตำแหน่งล่าสุดของหูฟัง ในแอป Find My Device ได้ หากผู้ใช้เปิด Location History ไว้
กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์เปิดตัวแอป TraceTogether แอปที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่หาประวัติการเข้าใกล้ผู้ป่วยได้ง่ายขึ้นผ่านทาง Bluetooth ของโทรศัพท์มือถือ
ตัวแอปไม่ได้ใช้ GPS แต่ใช้เฉพาะ Bluetooth เท่านั้น โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโทรศัพท์ที่เข้าใกล้กันด้วยโปรโตคอล BlueTrace ที่ทาง Government Digital Servies (GDS) ของรัฐบาลสิงคโปร์ออกแบบขึ้นใหม่
กลุ่ม Bluetooth SIG ผู้พัฒนามาตรฐาน Bluetooth ประกาศมาตรฐาน LE Audio ที่เตรียมเพิ่มฟีเจอร์หลายอย่างให้กับการส่งข้อมูลเสียง ได้แก่
ปัญหาการถูกก๊อปปี้บัตรเครดิต (credit card skimming) ตามปั๊มน้ำมันไม่ได้มีปัญหาแค่ในไทย ทว่าปั๊มน้ำมันในสหรัฐจะเป็นแบบช่วยเหลือเหลือตัวเอง เติมเองและคิดเงินเอง โดยหัวจ่ายจะมีช่องเสียบบัตรเครดิตอยู่ ซึ่งมักจะถูกติดเครื่อง skimmer คล้ายตู้เอทีเอ็มบ้านเรา
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย California San Diego และ มหาวิทยาลัย Illinois Urbana-Champaign เลยร่วมมือกันพัฒนาแอปชื่อ Bluetana โดยอาศัยข้อมูลจากหน่วยสืบราชการลับ (US Secret Service) สามารถตรวจจับเครื่อง skimmer ได้โดยอาศัยบลูทูธ ซึ่งนักพัฒนบอกว่า Bluetana ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหา false-positive ที่มักเจอในแอปตรวจจับ skimmer ที่มีอยู่แล้ว
Signify บริษัทลูกด้านหลอดไฟของ Philips (เจ้าเดียวกับที่ทำ LiFi ส่งข้อมูลด้วยแสง) ประกาศออกหลอดไฟอัจฉริยะ Philips Hue เวอร์ชันใหม่ ที่สามารถเชื่อมต่อ Bluetooth ได้ในตัว ช่วยให้การเชื่อมต่อหลอดไฟกับสมาร์ทโฟนทำได้ง่ายขึ้นมาก ไม่จำเป็นต้องต่อฮับ Zigbee เหมือนกับเวอร์ชันก่อนๆ แล้ว (แต่ยังสามารถต่อฮับได้ถ้าต้องการ)
งาน WWDC 19 เมื่อวานนี้มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และซอฟต์แวร์ใหม่ๆ มากมาย แต่หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือการรวมเอา Find My iPhone และ Find My Friend เข้ามาไว้ด้วยกันเป็น Find My แอปเดียว ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ได้แม้ไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็ตาม จากเดิมที่หากเครื่องไม่ต่ออินเทอร์เน็ตก็จะไม่สามารถติดตามได้เลย
วิธีการทำงานจะคล้ายกับ Bluetooth Beancon คืออุปกรณ์อย่าง iPhone หรือแมคจะส่งสัญญาณบลูทูธร่วมกับ iPhone และแมคของคนอื่นกลายเป็นเครือข่าย Mesh และระบุตำแหน่งของอุปกรณ์นั้นๆ ใดๆ โดยแอปเปิลยืนยันว่าความสามารถนี้ไม่เปลืองแบตเตอรี่รวมถึงตัวสัญญาณจะถูกเข้ารหัสด้วย ไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของหรืออุปกรณ์ในเครือข่าย Mesh ดังกล่าวได้
Bluetooth Special Interest Group (Bluetooth SIG) ที่กำหนดมาตรฐานบลูทูธได้ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ให้กับบลูทูธ 5.1 ที่จะช่วยให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกัน สามารถระบุทิศทางและตำแหน่งของอุปกรณ์ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
บลูทูธ 5.1 มีฟีเจอร์สำหรับติดตามและค้นหาอยู่แล้วอย่าง proximity ที่ทำให้อุปกรณ์รู้ว่ามีอุปกรณ์บลูทูธอีกชิ้นอยู่ใกล้กัน รวมถึงฟีเจอร์ระบุตำแหน่งอย่าง real-time locating systems (RTLS) และ indoor positioning systems (IPS) สำหรับการติดตามและระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ ซึ่งฟีเจอร์รระบุทิศทาง (direction finding)ใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามารองรับครอบคลุมทั้ง 3 ฟีเจอร์ข้างต้น
ในงาน CES มีนวัตกรรมเพื่อผู้หญิงและความงามด้วย โดย Soma นำเสนอสมาร์ทยกทรง ที่มาในชุดยกทรงแบบสปอร์ต ทำงานคู่กับแอพพลิเคชั่น และใช้บลูทูธกับเซนเซอร์ เพื่อดูว่าไซส์ที่แท้จริงของเราเป็นไซส์อะไรกันแน่
ตัวบรามาพร้อมแถบโค้งเว้าสีแดง ที่สอดรับกับทรงของผู้หญิง ตรงบรายังมีแถบสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีส้ม ที่ติดตั้งเซนเซอร์และระบบบลูทูธไว้เพื่อทำงานเชื่อมกับแอพ เพื่อให้แอพแสดงข้อมูลไซส์ที่แท้จริงของตัวเอง เพื่อจะได้ซื้อบราได้ตรงไซส์ ให้ผู้หญิงซื้อบรามากขึ้น (Soma มีขายยกทรงด้วย)
นอกจาก HMD Global จะเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ Nokia 7.1 แล้ว ยังมีหูฟังเปิดตัวพร้อมกันถึงสองรุ่น ได้แก่ True Wireless Earbuds หูฟังแบบไร้สาย และ Pro Wireless Earphones
True Wireless Earbuds หูฟังแบบไร้สายที่มีน้ำหนัก 5 กรัม สามารถใช้งานได้นานสูงสุด 4 ชั่วโมง, ป้องกันน้ำกระเด็นใส่ มาตรฐาน IPX4, ชาร์จผ่าน USB Type-C, มาพร้อมตัวเคสใส่หูฟังทรงกระบอกเป็นที่ชาร์จหูฟังให้ในตัว หากตัวเคสชาร์จเต็มจะรองรับการชาร์จหูฟังได้สูงสุดถึง 3 ครั้ง เพิ่มระยะเวลาการใช้หูฟังได้นานรวมกันสูงสุดถึง 16 ชั่วโมง ราคา 129 ยูโร หรือประมาณ 4,800 บาท วางขายเดือนพฤศจิกายน