Bukalapak อีคอมเมิร์ซจากอินโดนีเซีย ได้นำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นจากราคาไอพีโอ 850 รูเปีย (ประมาณ 1.92 บาท) ปิดการซื้อขายที่ราคาสูงสุดที่สามารถซื้อขายได้ระหว่างวัน (ซิลลิ่ง) ที่ 25% เป็น 1,060 รูเปียต่อหุ้น
บริษัทขายหุ้นไอพีโอได้เงินทุนเพิ่มประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการไอพีโอที่มูลค่าสูงสุดของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย และมีมูลค่ากิจการที่ประมาณ 6,000 ล้านดอลลาร์ มีผู้ลงทุนหลักอาทิ Ant Group , Emtek ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในอินโดนีเซีย, กองทุน GIC ของสิงคโปร์ และไมโครซอฟท์
มีรายงานว่า Bukalapak สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอินโดนีเซีย เตรียมนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นในประเทศ โดยขายหุ้นไอพีโอเพิ่ม 2.577 หมื่นล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 850 รูเปีย (ประมาณ 1.92 บาท) ซึ่งทำให้เป็นการไอพีโอมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ประเมินว่ามูลค่ากิจการ Bukalapak หลังเข้าตลาดหุ้นจะอยู่ที่ราว 6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งยังน้อยกว่า GoTo สตาร์ทอัพมูลค่ากิจการสูงสุดของอินโดนีเซีย (ประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์) ที่มีแผนเข้าตลาดหุ้นในประเทศเช่นกัน
Bukalapak มีผู้ลงทุนรายสำคัญ อาทิ Ant Group ธุรกิจการเงินของ Jack Ma, Emtek ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในประเทศ, GIC กองทุนของประเทศสิงคโปร์ และไมโครซอฟท์
สำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลว่า Bukalapak อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ได้รับเงินเพิ่มทุนอีก 234 ล้านดอลลาร์ จากหลายนักลงทุน นำโดยไมโครซอฟท์, กองทุน GIC ของสิงคโปร์ และกลุ่มบริษัท Emtek ของอินโดนีเซีย
เมื่อปลายปีที่แล้วไมโครซอฟท์ประกาศลงทุนใน Bukalapak ราว 100 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการที่มีการรายงานอยู่ที่ 2,500 ล้านดอลลาร์
การแข่งขันของอีคอมเมิร์ซและธุรกิจด้านเทคโนโลยีในอินโดนีเซียมีอยู่สูง ทั้งจากคู่แข่งสำคัญอย่าง Tokopedia ที่มีข่าวจะควบรวมกิจการกับ Gojek และ Shopee ของกลุ่ม Sea ไปจนถึง Grab ที่ล่าสุดเตรียมเข้าตลาดหุ้นอเมริกาผ่านวิธีการ SPAC
ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าลงทุนเชิงกลยุทธ์ใน Bukalapak สตาร์ทอัพด้านอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย โดยดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการ แต่มีตัวเลขรายงานออกมาว่าอยู่ราว 100 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการของ Bukalapak อยู่ราว 2,500-3,500 ล้านดอลลาร์
ในความร่วมมือนี้ Bukalapak จะเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างพื้นฐานบน Azure และสร้างคอร์สอบรมความรู้ด้านดิจิทัล ให้กับทั้งพนักงานของบริษัท ตลอดจนร้านค้าในแพลตฟอร์มของ Bukalapak
Bukalapak ก่อตั้งในปี 2010 ปัจจุบันมีร้านค้าออนไลน์ในแพลตฟอร์มมากกว่า 6 ล้านราย, เชื่อมต่อกับหน้าร้าน 6 ล้านแห่ง และมีผู้ใช้งาน 100 ล้านคน ผู้ลงทุนใน Bukalapak ก่อนหน้านี้มี Ant Group, กองทุน GIC ของสิงคโปร์ และ Emtek กลุ่มบริษัทใหญ่ของอินโดนีเซีย
Bukalapak สตาร์ทอัพสายอีคอมเมิร์ซ ที่เป็นสตาร์ทอัพรายล่าสุดของอินโดนีเซียที่เพิ่มทุนจนทำให้มีมูลค่ากิจการสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ กลายเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นเมื่อปีที่แล้ว ต่อจาก Tokopedia, Go-Jek และ Traveloka โดยล่าสุดบริษัทได้ประกาศรับเงินทุนซีรี่ส์ D เพิ่มอีก 50 ล้านดอลลาร์ จากกองทุน Mirae Asset-Naver Asia Growth ที่เป็นการร่วมทุนระหว่าง กองทุน Mirae Asset และ Naver จากเกาหลีใต้
รายชื่อผู้ลงทุนก่อนหน้านี้ใน Bukalapak ก็มีทั้ง Ant Financial บริษัทการเงินเครือ Alibaba, Emtek ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในอินโดนีเซีย และกองทุน GIC ของประเทศสิงคโปร์