รายงานจากอาคารศูนย์ข้อมูล The Cloud CSL ถนนรัชดา-รามอินทราว่าตั้งแต่ 00.56 น. ของวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมามีกระแสไฟฟ้าดับ ส่งผลให้ศูนย์ข้อมูล The Cloud A จำนวน 3 ชั้น ขนาด 350 Rack และระบบเครือข่ายของศูนย์ข้อมูล The Cloud ไม่สามารถให้บริการได้
การล่มครั้งนี้ส่งผลให้เว็บไซต์และบริการจำนวนหนึ่งไม่สามารถใช้งานได้ เช่น Soccersuck, DroidSans สถานะล่าสุด 06.00 น.ยังไม่สามารถใช้งานได้
อัพเดต ล่าสุดกลับมาใช้งานได้แล้วเวลา 6.45 ที่ผ่านมา
สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้พนักงานในองค์กรทั้งรัฐบาลและเอกชน ต้องทำงานที่บ้านเพื่อความปลอดภัย แพลตฟอร์มหลักๆ ที่ใช้กันก็หนีไม่พ้น Microsoft 365 บริการคลาวด์ของ Microsoft เพราะรวมเครื่องมือการทำงานที่จะช่วยให้พนักงานทำงานประสานกันได้อย่างราบรื่นแม้ไม่ได้เข้าไปทำงานที่สำนักงาน เครื่องมือของ Microsoft 365 มี หลากหลายตั้งแต่ อีเมล การประชุมออนไลน์ผ่าน Microsoft Teams หรือการเก็บข้อมูลบนOneDive และ อื่นๆเห็นได้จากสถิติผู้ใช้ที่เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 22 ในปีที่ผ่านมา และในตอนนี้มีผู้ใช้ทั่วโลกเกิน 50 ล้านคน
ในปัจจุบันแม้การมี Server ภายในองค์กรยังมีจุดเด่นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากองค์กรสามารถกำหนดความเข้มงวดในการเข้าถึงข้อมูลได้เองเพราะข้อมุลอยู่ภายในองค์กร แต่เมื่อมีการระบาดของโควิด การเข้าไปทำงานที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์เป็นไปได้ยาก และควรหลีกเลี่ยง บริษัทส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะทำงานแบบ Work Form Home ซึ่งต้องพึ่งพิงการทำงานผ่านระบบ Cloud เป็นหลัก เพื่อให้สามารถทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา และส่วนใหญ่มักจะฝากระบบไว้บน Cloud ของผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ แต่การเข้าถึง และทำงานผ่านระบบ Cloud ทีมีมากขึ้นกว่าในช่วงสถานการณ์ปกติ องค์กรควรพิจารณาเรื่องการดูแลระบบ Cloud ขององค์กร ให้มีความเข้มข้น และรัดกุม เพื่อดูแลข้อมูล และทรัพยากรขององค์กร ให้การทำงานราบรื่น ไม่ติดขัด เมื่อการทำงานส่วนใ
AWS บริการระบบคลาวด์ ที่ตอบโจทย์กับสายงานไอทีในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น CSL พร้อมช่วยให้คำปรึกษา และการชำระค่าบริการเป็นเรื่องง่าย ๆ โดยสามารถชำระค่าบริการภายในประเทศผ่านระบบบิลได้แล้ววันนี้
แบรนด์ CSL หลายคนอาจจะไม่คุ้น ก็ไม่น่าแปลกใจเพราะ CSL เป็นชื่อใหม่ที่เพิ่งรีแบรนด์มาจาก CS Loxinfo เดิม หลังควบรวมกิจการกับ AIS โดยยังคงดำเนินธุรกิจศูนย์ข้อมูล, Cloud Solution, และ System Integration และมีการทำงานร่วมกับ AIS เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการเพิ่มมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ CSL ยังเปิดตัวศูนย์ข้อมูลใหม่อีก 2 แห่ง คืออาคาร TELLUS 2 และ The Cloud B เพื่อขยายศักยภาพในการรองรับลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนี่เป็นครั้งแรกที่ CSL เปิดให้สื่อเข้าชมศูนย์ข้อมูลที่อาคาร The Cloud B ด้วย
พร้อมๆ กับการรีแบรนด์ CSL ได้ประกาศเปิดตัวศูนย์ข้อมูลใหม่ 2 แห่งที่ยังคงชูความเป็น Carrier Neutral ได้แก่
หลังจากที่ AIS ซื้อหุ้นและควบรวมกิจการของ CS LOXINFO มาอยู่ในเครือไปราว 1 ปี ล่าสุด CS LOXINFO ประกาศรีแบรนด์ตัวเองเป็น CSL พร้อมเผยโฉมโลโก้ใหม่ใช้สีส้มและสีเขียว
บริการของ CSL ยังคงเหมือนเดิมคือ Data Center & Cloud Solutions, Managed Services และ System Integration ขณะที่ยุทธศาสตร์ของ CSL หลังจากนี้จะมีความ synergy กับ AIS มากขึ้นด้วย
เมื่อพูดถึง AIS คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (mobile network) เป็นอย่างแรก ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกเพราะเป็นธุรกิจดั้งเดิมของบริษัทมาตั้งแต่ต้น ช่วงหลัง AIS ยังขยายมาทำธุรกิจบรอดแบนด์แบบมีสาย (fixed broadband) ที่รู้จักกันในชื่อ AIS Fibre
แต่ในรอบไม่กี่ปีมานี้ AIS กำลังพยายามสร้างธุรกิจ "ขาที่สาม" เพิ่มขึ้นมานอกเหนือจากมือถือและบรอดแบนด์ โดยบริษัทเรียกมันว่า "บริการดิจิทัล" Digital Service ซึ่งธุรกิจส่วนนี้ที่คนรู้จักกันดีคือ AIS Play ที่เป็นบริการวิดีโอออนไลน์ แต่จริงๆ แล้วยังมีส่วนสำคัญอีกส่วนที่คนยังไม่รู้จักกันมากนักคือ AIS Business
ในปัจจุบันเราสร้างและพัฒนาซอฟต์แวร์ให้บริการออนไลน์มักจะต้องมองหาระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที ที่ตอบโจทย์ความต้องที่รองรับจำนวนผู้ใช้งานจำนวนมาก มีระบบรองรับการความเสียหายด้านฮาร์ดแวร์ มีระบบสำรองข้อมูลที่ช่วยปกป้องข้อมูลที่สำคัญของเราให้ปลอดภัย ช่วยให้ภาพรวมของระบบยังคงทำงานต่อไป และค่าใช้จ่ายที่จ่ายตามจริงที่ใช้งาน โดยไม่ต้องลงทุนสูงๆ ในครั้งแรกที่ต้องสร้างและพัฒนาระบบ
หากองค์กรมีเป้าหมายที่จะเติบโตและก้าวหน้า ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายหรือแผนการที่วางไว้คือ บุคลากรหรือพนักงาน
CS LOXINFO ในฐานะของผู้ให้บริการทางด้านไอซีทีโซลูชันที่เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้จึงได้พัฒนาซอฟต์แวร์เกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรขึ้นมามีชื่อว่า Matrix HRM (Human Resource Management) โดย ดร.สมชาย กิตติชัยกุลกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) จะมาบอกถึงความสำคัญพร้อมกับให้ข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ดังกล่าวนี้
วันนี้ (9 ตุลาคม 2558) เกิดความผิดปกติในเครือข่ายของ CS Loxinfo ในส่วนของ IDC2 ที่อาคารไซเบอร์ เวิร์ลด รัชดาภิเษก ตั้งแต่เวลา 21:13 ถึงเวลา 21:58 ทำให้เว็บหลายรายไม่สามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติ เช่น SoccerSuck, DroidSans แต่ยังคงสามารถเข้าใช้งานได้จากต่างประเทศ (International)
ทั้งนี้ CS Loxinfo เคยเกิดเหตุเมื่อไม่นานมานี้เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2558 จากเหตุไฟฟ้าขัดข้อง
สำหรับคนที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมาตลอด คงไม่มีใครไม่รู้จักชื่อของซีเอส ล็อกซอินโฟ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่รายแรกๆ ของประเทศไทยที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการนี้มานาน และขยับตัวตามเทคโนโลยีสมัยใหม่มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ที่เคยให้บริการอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ความเร็วเพียง 56k ได้พัฒนามาถึงความเร็วระดับกิกะบิต พร้อมทั้งขยายบริการไปให้ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้อย่างต่อเนื่องมาตลอด 20 ปี
update ทาง CSLOX แจ้งมายังทีมงาน Blognone ว่าเวลาที่แจ้งเป็นเวลาโดยรวม ในรายละเอียดแล้วระบบบางส่วนเริ่มกลับขึ้นมาออนไลน์ได้ตั้งแต่ช่วงเวลา 8 โมงกว่าๆ เป็นต้นไป
เมื่อเวลา 05.35 น. ถึง 11.23 น.วันนี้มีรายงานว่าระบบไฟฟ้าของศูนย์ข้อมูล CS Loxinfo อาคารไซเบอร์ เวิร์ลด รัชดาภิเษก ขนาดกว่า 600 Rack ที่เป็นที่ตั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์หลายพันเครื่องขัดข้อง เป็นผลให้เว็บไซต์ชื่อดังหลายแห่งเข้าใช้งานไม่ได้ชั่วคราว อาทิ Kapook, Thaiware รวมถึงเว็บไซต์พันธมิตรของทาง Blognone หลายรายก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกันครับ
บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2556 มีรายได้รวม 3,014 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับปี 2555 และมีกำไรสุทธิ 462 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18%
รายได้ส่วนใหญ่ของซีเอส ล็อกซอินโฟมาจากบริการด้านไอซีที โดยบริการ Leased Line ที่เป็นรายได้หลักกว่า 40% ของรายได้รวม มีรายได้เพิ่มขึ้นในส่วนนี้ 2% เป็น 1,302 ล้านบาท ธุรกิจบริการศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 19% เป็น 185 ล้านบาท ส่วนบรอดแบนด์มีรายได้ลดลง 22% เหลือ 64 ล้านบาท เนื่องจากมีการแข่งขันที่รุนแรง และบริษัทปรับทิศทางจากการเป็นบริษัท ISP มาเป็นผู้ให้บริการไอซีทีครบวงจรมากกว่า
สืบเนื่องจากการค้นพบก่อนหน้านี้ว่า CS Loxinfo ไอเอสพีเจ้าหลักรายหนึ่งของประเทศไทย มีการบล็อคเว็บแบบแปลก ๆ ทั้งบล็อคเว็บไซต์ที่ไม่น่าจะโดนบล็อค เช่น เว็บไซต์ Mashable.com ซึ่งเป็นเว็บข่าวไอทีต่างประเทศที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่ง หรือการบล็อคเว็บแบบหว่านแห ใช้ keyword filtering จัดการบล็อคทุก url ที่มีคำที่กำหนด โดยไม่สนใจว่าเนื้อหาในลิงก์ดังกล่าวจะเป็นอะไร (ซึ่งกรณีนี้ขัดกับกฎหมายอย่างชัดเจน เพราะตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นั้น ศาลจะมีคำสั่งให้บล็อคเว็บไซต์ได้เป็นราย url เท่านั้น)