หนึ่งในโทรศัพท์มือถือกลุ่มแบรนด์ท้องถิ่น (local brand) ในไทยเจ้าหนึ่งที่ผู้อ่านน่าจะเคยผ่านตามาแล้ว คือ i-mobile ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือของกลุ่มสามารถ คอร์ปอเรชั่น ที่นำมาจำหน่าย โดยมีคุณสมบัติหลายอย่างที่ไม่ได้มีอยู่ในแบรนด์สากล (inter brand) เช่น ความสามารถในการรับชมโทรทัศน์จากมือถือเอง เป็นต้น (อ่านรายละเอียดมือถือราคาถูกได้ที่นี่) ซึ่งล่าสุด i-mobile ออกมือถือชุดใหม่มาและเริ่มวางจำหน่ายไปบ้างแล้ว
ทาง i-mobile ได้ส่งเครื่องมาให้ Blognone รีวิวด้วย ครั้งนี้เป็นรุ่น i-STYLE 8.3 DTV จะเป็นอย่างไรบ้าง เข้ามาอ่านรีวิวด้านในได้เลยครับ
เมื่อช่วงบ่าย บอร์ด กสท. ลงมติ ช่อง 3 ออกอากาศคู่ขนานไม่ผิดกฎหมาย โดยให้เสนอผังรายการมาพิจารณา แต่ล่าสุด นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธ์ุ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ได้เปิดเผยกับทางไทยรัฐว่า บริษัทคงจะทำตามมติของ บอร์ด กสท. ที่ออกมาไม่ได้ เพราะไม่ได้ตอบคำถามที่ช่อง 3 ถามอย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม ช่อง 3 ยังคงยินดีออกคู่ขนาน ถ้า กสทช. สามารถให้คำตอบได้ชัดเจนกว่านี้
ส่วนกรณีที่ พันเอกนที เสนอแก้ไขมาตราที่ 9 ใน พ.ร.บ.กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์นั้น ทางช่องคงต้องขอดูรายละเอียดข้อกำหนดใหม่ก่อน ถึงจะให้คำตอบได้แน่ชัดกว่านี้
มหากาพย์ ช่อง 3 - กสทช. กำลังจะได้รับบทสรุปในช่วงเช้าของวันนี้ แต่แล้วก็มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เมื่อตัวแทนฝ่ายกฎหมายของช่อง 7 หรือ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ได้เข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกับสำนักงาน กสทช. เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยขอให้ กสทช. แจ้งแผนการดำเนินการที่ชัดเจนที่สุด ถ้าเกิดว่าพ้นกำหนดของสำนักงาน กสท. แล้ว ช่อง 3 ยังขัดขืนและไม่ยอมออกอากาศคู่ขนานกันบนดิจิทัลทีวีเหมือนกับที่ช่อง 7 ทำ
เมื่อวานนี้ นายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้เข้ายื่นหนังสือสอบถามตรงต่อ พันเอกนที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการ กสท. โดยมีหัวข้อให้พิจารณาสองหัวข้อ คือขอให้พิจารณาตัวข้อกฎหมายของ กสทช. ว่าช่อง 3 สามารถทำ Simulcast ขึ้นดิจิทัลทีวีได้หรือไม่ เนื่องจากสถานีเป็นคนละนิติบุคคล และขอให้ กสท. ทบทวนมติการยุติการออกอากาศของช่อง 3 ในวันที่ 30 กันยายนนี้
ในที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. ในวันนี้ (22 กันยายน) ได้มีการลงมติในกรณีที่ ช่อง 3 และ ช่อง 7 ได้ยื่นข้อเสนอในการขอลดค่าธรรมเนียมดิจิทัลทีวี 4% ออกไปก่อนจนกว่าจะหมดสัมปทาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับสถานีโทรทัศน์ที่ต้องออกอากาศคู่ขนานและต้องแบกรับต้นทุนสองทาง แต่เนื่องจากยังมีข้อเหลื่อมล้ำเรื่องการแข่งขัน มตินี้จึงยังไม่ได้นำมาพิจารณา จนกระทั่งในวันนี้ คณะกรรมการ กสท. ได้ยกมติดังกล่าวขึ้นมาพิจารณากันใหม่ และได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ดังนี้
กสทช. เปิดเผยแนวทางการแจกคูปองทีวีดิจิตอล โดยชุดแรกจะแจกใน 21 จังหวัดที่มีสัญญาณครอบคลุมแล้ว 80% ขึ้นไป (รายชื่อจังหวัดดูท้ายข่าว) จากนั้นจะแจกในจังหวัดกลุ่มที่สองซึ่งมีอีก 21 จังหวัด แต่เนื่องจากสัญญาณยังไม่ครอบคลุมทั่ว กลุ่มผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลทั้ง 4 รายจึงเสนอให้แจกในระดับอำเภอที่สัญญาณครอบคลุมก่อน
สำหรับความคืบหน้าการติดตั้งสถานีฐาน ส่วนของไทยพีบีเอส และททบ. 5 จะติดตั้งแล้วเสร็จก่อนกำหนดเป็นเดือนกุมภาพันธ์ปี 2558 ทำให้ครอบคลุมพื้นที่ 80% ของประเทศ ส่วน อสมท. ติดขัดปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง แต่เชื่อว่าจะดำเนินการได้ทันตามแผนกำหนดในเดือนมิถุนายนปีหน้า
หลังจากที่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (15 กันยายน) คณะกรรมการ กสท. มีคำสั่งให้ช่อง 3 แต่งตั้งบุคคลที่มีอำนาจเข้าร่วมหารือกับคณะกรรมการเมื่อวานนี้ (16 กันยายน) อย่างไรก็ดีการประชุมนัดนอกรอบเมื่อวานนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปและแนวทางที่แน่ชัด จนทำให้การประชุมคณะกรรมการ กสทช. ในวันนี้ ไม่สามารถยกประเด็นนี้ขึ้นมาหารือต่อได้
ทั้งนี้คุณสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. กล่าวเพิ่มเติมด้วยความเห็นส่วนตัวว่า เบื้องต้นข้อเสนอของช่อง 3 ออริจินัล คือทำ Simulcast ขึ้นดิจิทัลทีวีช่อง 33 (ช่อง 3 เอชดี) แต่กลับกัน ช่อง 3 เองก็ได้เสนอเงื่อนไขการเยียวยามากจนเกินไป ซึ่งทั้งนี้ คณะกรรมการ กสท. ยังไม่ได้นำเงื่อนไขเยียวยานี้มาพิจารณาหาข้อสรุปแต่อย่างใด
หลังจากที่เมื่อคืนมีข่าวว่า กสท. จะนำข้อเสนอในการทำ Simulcast ของช่อง 3 มาพิจารณาในที่ประชุมวันนี้ ซึ่งหลังการประชุม ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ 5 เสียง ให้ช่อง 3 สามารถทำ Simulcast หรือการออกอากาศคู่ขนานขึ้นดิจิทัลทีวีได้ แต่ช่อง 3 จะต้องแต่งตั้งผู้มีอำนาจมาเข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาและชี้แจงข้อกำหนดในวันพรุ่งนี้
หลังเป็นเรื่องเป็นราวบนหน้าสื่อกันมาพักใหญ่ สำหรับกรณีช่อง 3-กสทช. (อ่านเหตุการณ์ย้อนหลังที่แท็ก TV3) ล่าสุดคุณสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. เปิดเผยว่า ในที่ประชุมของ กสท. ในวันพรุ่งนี้ ทางคณะกรรมการจะหยิบข้อเสนอในการออกอากาศแบบ Simulcast บนดิจิทัลทีวีของช่อง 3 ขึ้นมาพิจารณา หลังจากที่ คุณประวิทย์ มาลีนนท์ ผู้บริหาร บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้บอกกับคุณสุภิญญาภายในงานเมื่อวันก่อนว่าทางสถานียินดีที่จะออกอากาศแบบคู่ขนานแล้ว
หลังจากที่เป็นเรื่องราวกันมาหลายวันพอสมควร ล่าสุดมีข่าวว่าผู้บริหารของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ยื่นหนังสือข้อเสนอต่อคณะกรรมการ กสท. ในกรณีที่คณะกรรมการต้องการให้ ช่อง 3 ออกอากาศ Simulcast หรือการออกอากาศคู่ขนานบนระบบดิจิทัลทีวี
ซึ่งข้อเสนอที่ทางสถานีได้ยื่นมาก็คือ สำนักงาน กสทช. จะต้องดำเนินการเจรจาเรื่องสัมปทานกับ บมจ. อสมท ที่เป็นคู่สัมปทานให้ โดยสถานีจะยอมรับทุกข้อเสนอ ไม่ว่าจะเป็นการลดระยะเวลาสัมปทาน หรือดำเนินการในเรื่องอื่นๆ ตามที่สำนักงาน กสทช. เห็นสมควร แต่ทั้งนี้ผลการเจรจาจะต้องไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายประมาณ 200-250 ล้านบาทต่อปีด้วย
จากการประชุมครั้งก่อนได้ข้อสรุปว่ากสท. เตรียมการส่งจดหมายแจ้งผู้ประกอบการโครงข่ายเคเบิล และดาวเทียมไปเมื่อวันที่ 3 กันยายน ในการประชุมครั้งนี้บอร์ดกสท. ได้ลงเสียงหาข้อสรุปของประเด็นนี้อย่างเป็นทางการแล้ว
โดยผลการลงมติของบอร์ดกสท. ว่าด้วยการส่งจดหมายแจ้งหยุดออกอากาศช่อง 3 ผ่านโครงข่ายเคเบิล และดาวเทียม ออกมาที่ 3-2 เสียง โดยมีเวลาให้บริการนำช่อง 3 ออกจากระบบเป็นเวลา 15 วัน
ที่มา - ทวิตเตอร์ของไทยรัฐ
ต่อเนื่องจากที่คสช. ออกมาประกาศว่าจะไม่ยุ่งกับประเด็นเรื่องช่อง 3 และบอกให้กสทช. จัดการเรื่องนี้เอง วันนี้บอร์ดกสท. ออกมาเตรียมการส่งหนังสือแจ้งผู้ประกอบการโครงค่ายเคเบิล และดาวเทียมให้ยกเลิกการออกอากาศช่อง 3 ในระบบอนาล็อกแล้ว หลังจากการประชุมหารือครั้งล่าสุด โดยคาดว่าจะมีผลหลังจากการแจ้งเตือนประมาณ 15 วันด้วยกัน
ทั้งนี้ ในการประชุมหารือครั้งล่าสุด ไม่ได้มีผู้บริหารของช่อง 3 มาเข้าร่วม ทำให้อาจยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากบุคคลที่เข้าร่วมเป็นทนาย จึงไม่มีอำนาจในการตัดสินใจแต่อย่างใด
พักประเด็นเรื่องช่อง 3 มาดูข่าวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทีวีดิจิตอลกันบ้างนะครับ วันนี้ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. แถลงข่าวว่า คสช. "เห็นชอบ" แผนการแจกคูปองสำหรับกล่องทีวีดิจิตอลของ กสทช. เรียบร้อยแล้ว (โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่ คสช. ขอให้ชะลอการตัดสินใจเมื่อเดือน มิ.ย.)
วันนี้ (3 กันยายน) นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวของช่อง 3 จากรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ได้อธิบายปัญหาเรื่องทีวีดิจิตอล และอ่านคำชี้แจงของทางช่อง 3 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
เป็นเรื่องราวมายาวนานพอสมควร สำหรับกรณีที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 หรือช่อง 3 Analog ที่บริหารสถานีโดย บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นฟ้องร้อง กสทช. ต่อศาลปกครอง และยื่นหนังสือตรงถึง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อขอความคุ้มครองให้ช่อง 3 Analog สามารถออกอากาศผ่านระบบจานดาวเทียม/เคเบิลทีวี/ไอพีทีวีได้ตามปกติหลังจากที่ผ่านการคุ้มครองขั้นต้น 100 วัน (เริ่มนับตั้งแต่ 25 พฤษภาคม ซึ่งจะหมดลงในคืนวันนี้พอดี) ตามกฎการให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัลเป็นการทั่วไป หรือ Must Carry
วันนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บอร์ด กสท.) เห็นชอบการยกเลิกประกาศ กสทช. เรื่องการจัดเลขช่องทีวีที่แตกต่างกันในแต่ละระบบ (ดาวเทียม, เคเบิ้ล, ดิจิตอล) และเตรียมออกประกาศฉบับใหม่ที่เรียงเลขช่องเหมือนกันทั้งหมด
ประกาศฉบับเดิมกำหนดให้ทีวีดิจิตอล เริ่มต้นนับจากช่อง 1 (ช่อง ททบ. 5 เดิม) แต่กลับระบุให้ช่องดาวเทียม-เคเบิ้ลเริ่มจากช่อง 11 (ททบ. 5 อยู่ช่อง 11) และเว้นช่อง 1-10 ให้ผู้ประกอบการดาวเทียม-เคเบิ้ลนำไปจัดสรรกันเอง ส่งผลให้ผู้ชมสับสน จนเป็นเหตุให้ True Visions ยื่นฟ้องศาลปกครองกลางให้ยกเลิกประกาศฉบับเดิมในที่สุด
ส่วนประกาศฉบับใหม่จะให้ทีวีทุกระบบเริ่มที่ช่อง 1 เหมือนกันทั้งหมด และกำหนดช่อง 37-60 ให้ผู้ประกอบการดาวเทียม-เคเบิ้ลไปจัดสรรอย่างอิสระแทน
วันนี้ (20 ส.ค.) ที่ประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช. ทั้งคณะ ลงมติเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกบริษัทหรือหน่วยงานเข้ามาดำเนินการด้านกล่องแปลงสัญญาณทีวีดิจิตอล (รับแลกคูปองที่ กสทช. จะแจกเป็นกล่องสินค้าจริง) โดยบริษัทที่จะเข้าร่วมโครงการได้ต้องมีเงื่อนไขดังนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้ Xbox One ผ่านการอัพเดตซอฟต์แวร์ ดังนี้
กสทช. ประกาศมูลค่าคูปองทีวีดิจิตอลอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 690 บาท และสามารถใช้เป็นส่วนลดเฉพาะกล่องแปลงสัญญาณ (set-top-box) และทีวีที่มีอุปกรณ์รับสัญญาณ DVB-T2 ที่ กสทช. รับรองเท่านั้น
ทั้งนี้ทาง กสทช. จะแจกคูปองให้ 22.9 ล้านครัวเรือน และจะจัดส่งคูปองผ่านทางไปรษณีย์ โดยจะเริ่มแจกใน 4 จังหวัดนำร่องคือ กรุงเทพ, เชียงใหม่, สงขลาและขอนแก่นนครราชสีมาก่อน ภายในเดือนกันยายนนี้ โดยมติดังกล่าวจะต้องเสนอให้ คสช. เห็นชอบต่อไป
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
ช่วงเที่ยงวันนี้ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) แถลงข่าวว่าได้รับหนังสือจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ ชะลอ การดำเนินโครงการใหญ่ 4 โครงการไว้เป็นการชั่วคราว ได้แก่
อธิบายก่อนว่า มาตรฐาน HbbTV (Hybrid Broadcast Broadband TV) คือมาตรฐานสำหรับ "ฟีเจอร์เสริม" ของทีวีดิจิตอล (DVB) ที่ช่วยให้ส่งข้อมูล (data) ไปแสดงเป็นเนื้อหาเสริมจากการแพร่ภาพปกติ
ตัวอย่างบริการที่ส่งผ่าน HbbTV ได้แก่ ผังตารางอิเล็กทรอนิกส์ (EPG), รายการย้อนหลัง, การแสดงข้อความบนจอ (teletex), โฆษณา, โหวตความคิดเห็น เป็นต้น
จุดเด่นของการส่งข้อมูลผ่าน HbbTV คือสามารถส่งได้ทั้งผ่านคลื่นโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตแบบมีสายตามปกติ (hybrid ตามชื่อ) ส่วนการแสดงผลบนทีวีใช้เทคโนโลยีเว็บ (HTML/JavaScript) เป็นพื้นฐาน
คณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (ตัวย่อ กทปส. แต่รู้จักกันในชื่อกองทุน กสทช.) ลงมติเห็นชอบราคาของการแจกคูปองสำหรับกล่องเซ็ตท็อปดิจิตอลทีวีที่ 1,000 บาท ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เสนอ
กสทช. จะแจกคูปองกล่องเซ็ตท็อปให้ 25 ล้านครัวเรือน โดยใช้งบประมาณจากกองทุน กทปส. ทั้งหมด 25,000 ล้านบาทครับ ส่วนรายละเอียดของการแจกกล่องนั้นเป็นเรื่องของ กสทช. ที่ต้องไปหารือกันภายในอีกครั้งหนึ่ง (กองทุน กับ กสทช. บริหารงานแยกกัน)
เมื่อวานนี้ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Lumia 630 รุ่นสองซิมพร้อมภาครับสัญญาณทีวีดิจิทัล ในประเทศบราซิล สนนราคาที่ 699 เฮอัล หรือราว 10,240 บาท
ภาครับสัญญาณทีวีดิจิทัลนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถรับชมฟรีทีวีได้ โดยมันได้รับการพัฒนาจาก INdT (Nokia Institute of Technology) อย่างไรก็ตาม ณ เวลานี้ ภาครับสัญญาณทีวีดิจิทัลจะมีเฉพาะประเทศบราซิลเท่านั้น
นอกจาก Lumia 630 รุ่นสองซิมพร้อมภาครับทีวีดิจิทัลแล้ว ไมโครซอฟท์ยังเปิดตัว Lumia 630 รุ่นหนึ่งซิม (สนนราคาที่ 549 เฮอัล หรือราว 8,040 บาท) รวมถึง Lumia 635 และ Lumia 930 เช่นกัน
หลังจากที่มีข่าวว่ากสทช. กำลังประชุมถกกันอย่างเร่งด่วนเรื่องการแจกคูปองดิจิตอลทีวีนั้น ล่าสุดมีข่าวจากไทยรัฐว่ากสทช. ได้เริ่มเรียกผู้ประกอบการร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้ารายต่างๆ เข้ารับทราบเงื่อนไขและวิธีการใช้งานของคูปองแลกซื้อดิจิตอลทีวีเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ
โดยในเบื้องต้น มูลค่าของคูปองจะอยู่ที่ 1,000 บาท แต่มูลค่าสามารถปรับเปลี่ยนได้เนื่องจากยังเคาะยอดไม่ลงตัว ส่วนวิธีการใช้งาน ก็คือผู้ซื้อจะสามารถใช้คูปองเป็นส่วนลดสำหรับแลกซื้ออุปกรณ์ได้ 1 ใน 4 ตามรายการด้านล่างได้ดังต่อไปนี้
กสทช. มีประกาศชี้แจงออกมาเกี่ยวกับคูปองส่วนลดสำหรับแลกซื้อ เซ็ตท็อปบ็อกซ์พร้อมเสาอากาศ (set top box + antenna) หรือโทรทัศน์ที่รองรับสัญญาณดิจิตอล (integrated digital television - iDTV) โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถแจกในเดือนกรกฎาคมนี้ได้ โดยเริ่มแจกในพื้นที่ที่มีสัญญาณพร้อมรับชมก่อน สำหรับวิธีการแจกคูปองยังไม่ได้ข้อสรุปและจะทำการชี้แจงต่อไป
ขณะเดียวกันทางกสทช. ได้แสดงความกังวลและเตือนประชาชนว่าให้ระวังผู้ที่แอบอ้างตัวว่าเป็นตัวแทนมาจาก กสทช. แจกกล่องเซ็ตท็อปบ็อกซ์ โดยไม่ต้องใช้คูปอง ใช้เพียงสำเนาบัตรประชาชน โดยทางกสทช. ยืนยันว่าไม่มีการแต่งตั้งบริษัทใดๆ หรือใครขึ้นมาจัดการเรื่องดังกล่าวเลย