จากข้อมูลของ Mozilla เอง สถิติผู้ใช้งานต่อเดือนของ Firefox เวอร์ชันเดสก์ท็อปในเดือนกรกฎาคม 2021 ลดลงเหลือ 197 ล้านคนต่อเดือนแล้ว ลดลงจากสถิติในเดือนธันวาคม 2018 ที่มีผู้ใช้ 244 ล้านคนต่อเดือน เท่ากับว่าในระยะเวลาเกือบ 3 ปี ผู้ใช้ Firefox หายไปถึง 46 ล้านคน หรือประมาณ 1/5 ของฐานผู้ใช้เดิม
ส่วนเหตุผลที่ Firefox มีผู้ใช้ลดลงอย่างมากยังเป็นที่ถกเถียงกันต่อไป (ข่าวนี้เขียนด้วย Chrome)
ที่มา - Firefox User Activity, Gizmodo, Reddit
Mozilla ถอด FTP ออกจาก Firefox 90 อย่างเป็นทางการ ตามที่ประกาศไว้เมื่อเดือนเมษายน โดยก่อนหน้านี้ก็ปิดเป็นค่าเริ่มต้นตั้งแต่ Firefox 88 แต่ยังมีออปชั่นให้เปิดกลับมาได้
FTP นับเป็นโปรโตคอลดั้งเดิมของอินเทอร์เน็ต โดยตัวมันเองเกิดตั้งแต่ปี 1971 มาก่อน TCP/IP เสียอีก ในปีนี้ FTP ก็มีอายุครบ 50 ปีแล้ว แม้ว่ายุคหลังจะมีโปรโตคอลเพิ่มความปลอดภัย เช่น FTPS และ SFTP เข้ามาทดแทน แต่ก็ได้รับความนิยมจำกัด การแชร์ไฟล์สำหรับผู้ใช้ส่วนมากยังคงแชร์ไฟล์ผ่าน HTTP/HTTPS เป็นหลัก
Chrome นั้นหยุดรองรับ FTP ไปตั้งแต่ Chrome 88 ที่ออกช่วงต้นปี 2021 ที่ผ่านมา หลังจากมีออปชั่นให้เปิดกลับมาใช้ได้ตั้งแต่ Chrome 77
Firefox ออกเวอร์ชัน 90 มีของใหม่ไม่เยอะนัก การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ Firefox สามารถอัพเดตตัวเองแบบเบื้องหลัง (background update) โดยไม่ต้องเปิด Firefox ก็ได้ ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะบนวินโดวส์เท่านั้น
ของใหม่อีกอย่างคือ SmartBlock 2.0 ป้องกันการตามรอยให้ดีขึ้น บล็อคการตามรอยโดยที่ยังใช้งาน Facebook Login ได้, เมนูคลิกขวา "Open Image in New Tab" เปลี่ยนมาเปิดภาพในแท็บเบื้องหลังแทนแล้ว
Mozilla ประกาศในบล็อก SUMO ว่าเตรียมหยุดอัพเดตแอปมือถือ Firefox Lite หรือชื่อเดิม Firefox Rocket แล้ว และจะไม่มีอัพเดตทั้งความปลอดภัยหรืออัพเดตอื่นๆ อีก หลังวันที่ 30 มิถุนายนเป็นต้นไป
Firefox Lite เป็นแอป Firefox เวอร์ชั่นประหยัดด้าต้า และเน้นโหลดไว เปิดตัวครั้งแรกสำหรับตลาดประเทศอินโดนีเซียในปี 2017 และเน้นตลาดประเทศในเอเชียอื่นๆ ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น Firefox Lite ทีหลัง แตกต่างจากแอป Firefox หลักโดยทำงานบน Chromium WebView แทน มี Turbo Mode บล็อก trackers และโฆษณา พร้อมมีตัวเลือกปิดไม่ให้โหลดรูปได้
บริษัทผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ 4 รายใหญ่คือ Apple, Google, Microsoft, Mozilla ประกาศตั้งกลุ่ม WebExtensions Community Group (WECG) เพื่อให้ส่วนขยายของเบราว์เซอร์ทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น
ระบบส่วนขยายของเบราว์เซอร์ในปัจจุบันอิงจากแนวทางของ Chrome เป็นหลัก กรณีของ Edge ที่ใช้เอนจิน Chromium คงไม่มีปัญหาเรื่องความเข้ากันได้มากนัก ส่วน Firefox หันมาใช้ฟอร์แมตแบบ Chrome ในปี 2015 และ Safari เป็นรายล่าสุดที่ตามมาในปี 2020
เมื่อต้นปี 2019 ทีมงาน Chrome เสนอสเปก API ชื่อ Manifest V3 ที่เปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมหน้าเว็บของส่วนขยายเบราว์เซอร์ ตัวบล็อคโฆษณาต้องขอให้เบราว์เซอร์ทำหน้าที่บล็อคโฆษณาให้ ข้อดีคือความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น แต่ส่งผลกระทบให้ตัวบล็อคโฆษณาใช้วิธีเดิมไม่ได้อีก
ข้อเสนอ Manifest V3 เป็นประเด็นถกเถียงกันมากมาย กูเกิลก็ยอมถอยบางก้าว และสุดท้ายเริ่มใช้งานใน Chrome 88 ช่วงปลายปี 2020
Firefox ออกเวอร์ชัน 89 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ UI แบบใหม่ที่สดใสขึ้น เมนูเรียบง่ายขึ้น (โค้ดเนม Proton) แต่ก็เป็นประเด็นวิจารณ์มาตั้งแต่ช่วงทดสอบ โดยเฉพาะการออกแบบแท็บใหม่ที่เป็นก้อนสี่เหลี่ยม และดู "ลอย" ขึ้นจากแถบเครื่องมือ มีช่องว่างไม่เชื่อมต่อกัน
Mozilla บอกว่าแนวทางหลักของ UI ใหม่คือ simplified ลดสิ่งที่ไม่จำเป็นลง
Mozilla ออก Firefox 88 มีของใหม่ดังนี้
Firefox 88 Beta เริ่มเปิดใช้ HTTP/3 เป็นค่าดีฟอลต์ โดยจะเปิดให้ทุกคนใช้งานในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2021
HTTP/3 เป็นโพรโทคอลใหม่ล่าสุดที่ออกเป็นมาตรฐานในปี 2018 (HTTP/3 เกิดที่กรุงเทพ) โดยพัฒนามาจากข้อเสนอ QUIC ของ Chrome ทำให้เบราว์เซอร์ตระกูล Chrome/Chromium ทั้งหมดรองรับ HTTP/3 มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2020
การรองรับ HTTP/3 ของ Firefox ทำให้ตอนนี้เหลือแต่ Safari เป็นเบราว์เซอร์รายใหญ่รายเดียวที่ยังไม่รองรับแบบดีฟอลต์ (รองรับแล้วในเวอร์ชัน Safari Technology Preview)
ต่อเนื่องจากข่าว Vivaldi, Brave ประกาศไม่ใช้วิธีตามรอยแบบ FLoC ที่กูเกิลใช้ใน Chrome เว็บไซต์ The Verge จึงสอบถามไปยังเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ ว่าจะพัฒนาเทคนิคตามรอย FLoC ด้วยหรือไม่
Opera บอกว่ายังไม่มีแผนจะเปิดใช้ฟีเจอร์ FLoC ที่มีโค้ดอยู่ใน Chromium แต่ก็บอกว่าเร็วเกินไปที่จะตัดสินใจในเรื่องนี้
Firefox บอกว่ายังไม่มีแผนจะใช้ฟีเจอร์ตามรอยใดๆ สำหรับการโฆษณาในตอนนี้ และคิดว่าไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้เยอะขนาดนี้เพื่อมายิงโฆษณา
Mozilla ประกาศเตรียมถอดการรองรับ FTP ในเบราว์เซอร์ Firefox โดยจะเริ่มปิดการทำงานตั้งแต่ Firefox 88 ที่กำหนดออกเวอร์ชันสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป 19 เมษายนนี้ และจะถอดการรองรับ FTP ใน Firefox 90
ผลที่เกิดขึ้นคือ Firefox จะเรียกหาแอพพลิเคชันภายนอกอื่น เมื่อมีการเรียกลิงก์ FTP
Mozilla เคยประกาศแผนถอด FTP ออกตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ได้เลื่อนกำหนดออกไปเนื่องจากการระบาดของโควิด-19
Mozilla ออก Firefox 87 มีของใหม่ที่สำคัญ 3 อย่าง
Mozilla ประกาศเปลี่ยนนโยบายการส่งข้อมูล HTTP Referrer เมื่อผู้ใช้คลิกลิงก์ข้ามโดเมน (cross-origin) โดยจะตัดทั้ง path และ query ทำให้ URL ที่ใส่ใน HTTP Referrer เหลือเพียง scheme (เช่น http หรือ https) และโดเมนเท่านั้น
ทาง Mozilla ให้เหตุผลว่าหลายครั้งค่าใน path และ query นั้นมีข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้อยู่ และการส่งค่าเหล่านี้ก็กลายเป็นการส่งข้อมูลส่วนตัวออกจากเว็บโดยไม่รู้ตัว (เช่นกรณีที่ URL มีเลขบัตรเครดิต, หรือหมายเลขบัตรประชาชน)
นโยบายนี้จะมีผลทั้งการใช้งานเว็บปกติ (navigational), การ redirect, และไฟล์รูปแบบหรือ CSS (subresource)
ปัจจุบัน Mozilla มีโลโก้ของ Firefox สองเวอร์ชันคือ เวอร์ชันที่มีหมาจิ้งจอก (สำหรับเบราว์เซอร์) และเวอร์ชันที่ไม่มีหมาจิ้งจอก (สำหรับแบรนด์ในภาพรวม) ที่อาจสร้างความสับสนแก่ผู้ใช้
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงเกิดมีมล้อกันว่า Mozilla จะเลิกใช้โลโก้หมาจิ้งจอกแล้ว (they killed the fox) สร้างความแตกตื่นให้ผู้ใช้ จน Mozilla ต้องออกมาสยบข่าวลือ การันตีว่าหมาจิ้งจอกยังอยู่แบบเดิมไม่ไปไหน
Firefox ออกอัพเดตเวอร์ชัน 86 มีรายละเอียดของใหม่ดังนี้
ที่มา: Mozilla
ไฟร์ฟอกซ์ประกาศฟีเจอร์ Total Cookie Protection แยกการเก็บ cookie ของแต่ละเว็บไซต์ออกจากกัน ลดความสามารถของเซิร์ฟเวอร์ในการติดตามผู้ใช้ ฟีเจอร์นี้จะเป็นส่วนหนึ่งของฟีเจอร์ Enhanced Tracking Protection (ETP) ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2019 โดยจะอยู่ในโหมด Strict เท่านั้น
เดิม ETP นั้นจะบล็อค cookie จากบางโดเมนที่มีประวัติว่าพยายามติดตามผู้ใช้อย่างเจาะจง แต่ Total Cookie Protection จะกลับข้างกลายเป็นว่าทุกโดเมนจะไม่สามารถเก็บค่า cookie ข้ามเว็บไซต์เว็บหลักที่ผู้ใช้กำลังเข้าผ่านเบราว์เซอร์ได้เลยเป็นค่าเริ่มต้น
Firefox ออกเวอร์ชัน 85 มีของใหม่ดังนี้
Mozilla ระบุว่า Firefox for Android จะรองรับการติดตั้งส่วนขยายจาก addons.mozilla.org จากก่อนหน้านี้ที่กำหนดให้ลงผ่าน Add-ons Manager เท่านั้น โดยจะเริ่มตั้งแต่ Firefox 85 ที่จะออกวันที่ 25 มกราคมนี้เป็นเวอร์ชันแรก
ปัจจุบันรูปแบบการติดตั้งผ่าน Add-ons Manager นั้น Mozilla ระบุว่าทำให้ผู้ใช้สับสนถ้าผู้ใช้เคยชินกับการติดตั้งส่วนขยายบน Firefox เวอร์ชันเดสก์ท็อป แต่ตัวส่วนขยายที่สามารถติดตั้งบน Firefox for Android นั้นยังคงมีตัวเลือกจำกัดมากเหมือนเดิม ซึ่ง Mozilla จะเพิ่มและปรับปรุงประสิทธิภาพส่วนขยายให้เหมาะสมสำหรับใช้งานบนอุปกรณ์พกพาต่อไปในเดือนหน้า
Firefox 85 ที่จะออกในเดือนมกราคม 2021 เป็นเบราว์เซอร์ตัวล่าสุดที่เริ่มใช้ cache partitioning แยกส่วนแคชของแต่ละเว็บไซต์ออกจากกัน เพื่อไม่ให้เว็บไซต์สามารถตรวจสอบได้ว่าเราเคยเข้าเว็บอื่นๆ หรือไม่
ฟีเจอร์นี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Client-Side Storage Partitioning เป็นสเปกกลางที่พัฒนาโดยคณะทำงานด้านความเป็นส่วนตัวของ W3C เพื่อแก้ปัญหาช่องโหว่ของเบราว์เซอร์ที่มีพื้นที่เก็บแคชกลาง
ในระบบเดิม ทุกเว็บไซต์สามารถใช้สคริปต์ตรวจเช็คเบราว์เซอร์โหลดไฟล์ที่กำหนดเร็วแค่ไหน หากว่าเร็วแปลว่าแคชเอาไว้ และหากรู้ URL ของไฟล์บนเว็บไซต์อื่น ก็ตรวจสอบได้ว่าผู้ใช้เคยเข้าเว็บไซต์นั้นมาแล้ว
Mozilla ออก Firefox 84 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ที่มา - Mozilla
Firefox ออกเวอร์ชัน 83 โดยถือเป็นรุ่นที่มีของใหม่หลายอย่าง ฟีเจอร์สำคัญคือการอัพเกรดเอนจินจาวาสคริปต์ SpiderMonkey ครั้งใหญ่ อัพเดตตัวนี้มีชื่อว่า Warp (หรือ WarpBuilder) เป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงานของคอมไพเลอร์ just-in-time (JIT) ใหม่ ผลที่ได้คือประสิทธิภาพดีขึ้น 20% ในการโหลดหน้าเว็บ Google Docs, เฉลี่ยแล้ว 15%, ตอบสนองดีขึ้น 12% และใช้หน่วยความจำน้อยลง 8% โดยเฉลี่ย (รายละเอียดเรื่อง Warp สำหรับผู้สนใจ)
Mozilla ออก Firefox 82 เวอร์ชันเดสก์ท็อป มีของใหม่ดังนี้
ประเด็นเรื่องความปลอดภัยจากส่วนขยายของเบราว์เซอร์ เป็นปัญหามายาวนาน และเราก็เห็นข่าวเบราว์เซอร์รายใหญ่ๆ อย่าง Chrome หรือ Firefox ออกมาตรการคุมเข้มส่วนขยายในแพลตฟอร์มตัวเองมาเรื่อยๆ
ล่าสุด Firefox เพิ่มมาตรการใหม่คือแปะป้ายหรือ badge เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับส่วนขยายบน Firefox Add-ons ทั้งบนหน้าเว็บและหน้าจัดการส่วนขยายของเบราว์เซอร์ ป้ายรับรองที่เพิ่มเข้ามามี 2 แบบคือ
Firefox ออกเวอร์ชัน 81 มีของใหม่อยู่หลายรายการ ซึ่งเน้นไปที่ส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน
ที่มา: Mozilla
Firefox for Android เวอร์ชันใหม่ที่เพิ่งเปิดให้ใช้งาน ได้รับเสียงวิจารณ์ไม่ดีนักจากผู้ใช้ Firefox ตัวเดิม เพราะขาดแคลนฟีเจอร์หลายอย่างที่เคยมีในตัวเดิม
ฟีเจอร์สำคัญที่ขาดหายไปคือ Extension ที่เดิมทีเคยรองรับส่วนขยายของ Firefox เวอร์ชันเดสก์ท็อปด้วย แต่ Firefox for Android ตัวใหม่ยังรองรับส่วนขยายที่ถูก whitelist เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น ด้วยเหตุผลว่าทีมพัฒนาต้องการให้รองรับส่วนขยายแบบค่อยเป็นค่อยไป