Mozilla ได้ยกเลิกการตั้งค่าฟีเจอร์ป้องกันการตามรอยหรือ Do Not Track ของ Firefox มีผลในเวอร์ชัน 135 เป็นต้นไป ซึ่งตอนนี้ออกมาในสถานะ Nightly และแนะนำให้ผู้ใช้งานที่ต้องการป้องกันความเป็นส่วนตัวไปตั้งค่าที่ส่วน Global Privacy Control แทน
Do Not Track เป็นฟังก์ชันของเบราว์เซอร์ที่เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปี 2009 โดยส่งสัญญาณไปที่เว็บไซต์ขอความร่วมมือไม่ให้เว็บไซต์ติดตามผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นประเด็นเพราะไม่ได้บังคับใช้จริง เว็บไซต์จะทำตามหรือไม่ก็ได้ ผลสำรวจในปี 2019 ก็พบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่า Do Not Track ไม่ใช่การป้องกันอย่างแท้จริง
แอปเปิลออกส่วนขยาย (Extension) iCloud Passwords สำหรับใช้กับเบราว์เซอร์ Firefox ทำให้ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บรหัสผ่านและใช้งานต่อเนื่องได้ผ่าน Firefox
ส่วนขยายบน Firefox ตัวนี้เดิมถูกพัฒนาโดยนักพัฒนาภายนอก แต่ต่อมาแอปเปิลได้เข้ามาดูแลจัดการต่อ ทำให้ส่วนขยายนี้ระบุเลยว่าเป็นของแอปเปิล
อย่างไรก็ตามส่วนขยาย iCloud Passwords บน Firefox นี้ รองรับเฉพาะการใช้งานบน macOS Sonoma ขึ้นไปเท่านั้น แอปเปิลบอกว่ายังไม่รองรับ Windows ในเวลานี้
ที่มา: MacRumors
Mozilla เปลี่ยนวิธีบีบอัดไฟล์ติดตั้ง Firefox บนลินุกซ์ จากเดิมใช้ .tar.bz2 มาเป็น .tar.xz เพื่อขนาดที่เล็กลงถึง 25%
xz เป็นซอฟต์แวร์บีบอัดที่ใช้อัลกอริทึม LZMA ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า gz หรือ bz2 ทั้งในแง่ขนาดไฟล์หลังบีบอัด และความเร็วในการคลายไฟล์ ช่วงหลังๆ ลินุกซ์ดิสโทรต่างๆ ล้วนแต่รองรับ xz หมดแล้ว ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ในการใช้งาน
Mozilla บอกว่าเลือกระหว่าง xz กับ Zstandard (.zst) ที่มีความเร็วการคลายไฟล์สูงกว่าเล็กน้อย แต่สุดท้ายเลือก xz เพราะบีบอัดได้มากกว่า ช่วยประหยัดพื้นที่และแบนด์วิดท์ รวมถึงมีดิสโทรที่รองรับมากกว่าด้วย
Firefox มีอายุครบ 20 ปีแล้ว โดยนับจากวันที่ออกเวอร์ชัน 1.0 เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2004 ซึ่งตลอดช่วงที่ผ่านมา Firefox ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจนเคยมีส่วนแบ่งตลาดเบราว์เซอร์สูงมากกว่า 30% ทั่วโลก จากนั้นก็มีส่วนแบ่งที่ลดลงจากการมาของ Google Chrome
Laura Chambers ซีอีโอรักษาการณ์ของ Mozilla ที่รับตำแหน่งเมื่อต้นปี บอกว่าปัญหาของ Mozilla ในช่วงที่ผ่านมาคือการเสียโฟกัสจากผลิตภัณฑ์หลักคือ Firefox และให้ความสำคัญกับโครงการอื่น แนวทางจากนี้คือการเพิ่มความสามารถ Firefox ให้เป็นตัวเลือกเบราว์เซอร์ที่น่าสนใจขึ้น
Mozilla ออก Firefox 131 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ Tab Preview เมื่อนำเคอร์เซอร์เมาส์ไปวางบนแท็บที่ไม่ได้แสดงผลอยู่ จะเห็นภาพตัวอย่างของหน้าเว็บในแท็บนั้นๆ แบบเดียวกับที่มีในเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ แล้ว
Firefox 131 ยังรองรับการให้สิทธิการเข้าถึง (permission) ของเว็บไซต์แบบชั่วคราว (allowed temporarily) โดยสิทธิเหล่านี้จะถูกถอดโดยอัตโนมัติเมื่อปิดแท็บ หรือเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง
ที่มา - Mozilla
เมื่อต้นปีนี้ Mozilla มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญทั้งเปลี่ยนตัวซีอีโอ ปลดพนักงาน ยกเลิกโครงการที่ไม่จำเป็น
เวลาผ่านมาหลายเดือน Laura Chambers ซีอีโอรักษาการณ์ (interim CEO) ของ Mozilla ให้สัมภาษณ์กับ Fast Company ยอมรับแต่โดยดีว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Mozilla หันไปสนใจกับโครงการอื่นๆ เช่น VPN และ บริการส่งต่ออีเมล Relay จนสูญเสียโฟกัสกับผลิตภัณฑ์หลักอย่าง Firefox ไป
แอปเปิลอัปเดต Apple Maps เวอร์ชันบนเว็บที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนที่แล้ว รองรับเบราว์เซอร์ Firefox เพิ่มเติม จากก่อนหน้านี้ใช้ได้เฉพาะ Safari, Edge และ Chrome โดยหน้าซัพพอร์ตของแอปเปิลเพิ่งอัปเดตข้อมูลนี้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม
ในตอนนี้สถานะของ Apple Maps ยังเป็น beta สามารถเข้าได้ผ่านลิงก์นี้ รองรับเฉพาะภาษาอังกฤษ โดยจะเพิ่มเติมภาษาอื่นในอนาคต
ที่มา: MacRumors
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินให้กูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดบริการระบบค้นหาหรือ Search ตามที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องร้อง ถึงแม้กูเกิลจะเตรียมยื่นอุทธรณ์แต่สิ่งที่น่าสนใจคือคนที่เสียหายจากคำตัดสินนี้ อาจไม่ใช่กูเกิล
Fortune ให้ข้อสังเกตจากคำตัดสินที่ผู้พิพากษา Amit Mehta อธิบาย โดยบอกว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดเพราะใช้การทำข้อตกลงเอ็กซ์คลูซีฟทั้งกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและแพลตฟอร์ม เพื่อให้กูเกิลยังเป็นระบบค้นหาหลักต่อไป นั่นแปลว่ากูเกิลอาจถูกสั่งให้หยุดการทำข้อตกลงประเภทนี้ คนที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ จึงอาจเป็นคนที่ได้รับเงินผลประโยชน์จากกูเกิล ซึ่งมีสองรายที่น่าสนใจคือ แอปเปิล และ Mozilla
Firefox ออกอัปเดตเวอร์ชัน 128 มีของใหม่ดังนี้
ของใหม่อื่นได้แก่ รองรับการเล่นเนื้อหา Protected จากเว็บสตรีมมิ่งเช่น Netflix ในโหมด Private, ปรับปรุงคุณภาพเสียงไมโครโฟนใน macOS, รองรับภาษาซะราอีกี
ที่มา: Mozilla
Firefox ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ AI Chatbot เข้ามาในแถบ sidebar ของเว็บเบราว์เซอร์ เพื่อให้ใช้งานแช็ทบ็อทสะดวก ไม่ต้องเปิดแท็บแยกอีกต่อไป
ผู้ใช้สามารถเลือกแช็ทบ็อทได้หลายตัว (คล้ายกับการเลือกเครื่องมือค้นหาของเบราว์เซอร์) ในเบื้องต้นรองรับแช็ทบ็อท 4 ตัวคือ ChatGPT, Google Gemini, HuggingChat, Le Chat Mistral
นอกจากการแช็ทในแถบ sidebar แล้ว ผู้ใช้ยังสามารถลากข้อความในหน้าเว็บ คลิปขวาแล้วส่งให้บ็อทสรุปเนื้อหา หรือเขียนเนื้อหาใหม่ได้ ขึ้นกับฟีเจอร์ของบ็อทแต่ละตัว
ในขณะที่ Chrome เริ่มถอดส่วนขยายแบบ Manifest V2 ตามแผนการเปลี่ยนผ่านสู่ Manifest V3
ฝั่งของ Firefox ที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2021 ว่าจะรองรับส่วนขยายแบบ Manifest V3 ก็พัฒนาฟีเจอร์นี้เสร็จ และเริ่มใช้งานใน Firefox 127 แล้ว โดยจะใช้งานได้บน Firefox for Android ในเวอร์ชันหน้า 128
แนวทางของ Firefox ประกาศตัวชัดเจนว่าจะรองรับส่วนขยายทั้งแบบ V2 และ V3 เพื่อให้ใช้งานส่วนขยาย (ซึ่งส่วนใหญ่เขียนมาเพื่อ Chrome) ได้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทำได้
Mozilla ประกาศแผน roadmap ของ Firefox ระยะสั้น 1-2 ปี โดยมีรายการฟีเจอร์ที่เตรียมออกช่วงปีนี้-ปีหน้า (2025) ดังนี้
ผู้ใช้ Firefox อาจเคยเจอปัญหาแอพแครช และเจอหน้าจอส่งรายงานการแครช Firefox Crash Reporter กลับไปยัง Mozilla เพื่อใช้วิเคราะห์
Firefox Crash Reporter มีสถานะเป็นแอพแยกขาดจาก Firefox แต่บันเดิลมาในชุดติดตั้งเดียวกัน เหตุผลที่ต้องแยกขาดจากกันเป็นเพราะเมื่อ Firefox แครช ตัว Crash Reporter จะยังทำงานได้ต่อไป ไม่ใช่โดนลากให้แครชตามไปด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม Crash Reporter ถูกเขียนขึ้นมานานมากแล้ว (เบื้องหลังเป็น C++ และบางส่วนเป็น Objective-C สำหรับเวอร์ชันแมค) หลายส่วนเริ่มล้าสมัย เช่น เวอร์ชันแมคจะสร้างไฟล์ไบนารีด้วยเครื่องมือตัวเก่าที่แอปเปิลเองยังเลิกใช้ไปแล้ว โค้ดตัวเดิมจึงกลายเป็นภาระในการดูแลมากขึ้นเรื่อยๆ
Mozilla ออก Firefox 125 มีอัปเดตหลายรายการ ที่เด่นหน่อยคือ URL Paste Suggestion ซึ่งแสดงที่อยู่ URL ที่คัดลอกไว้ใน clipboard ใน address bar ให้สามารถเลือก URL นั้นได้เลยในคลิกเดียว ไม่ต้องกด Paste หรือกดคีย์บอร์ดทางลัด Ctrl + V ซ้ำ
ของใหม่อย่างอื่นได้แก่ โคเด็ค AV1 รองรับ Encrypted Media Extensions (EME), Firefox PDF รองรับการไฮไลท์ข้อความ, บล็อกการดาวน์โหลดจาก URL ที่ไม่น่าเชื่ออัตโนมัติ, เลือกใช้ Web Proxy Auto-Discovery ได้, Firefox View แสดงแท็บที่ปักหมุดได้
ที่มา: Mozilla
Mozilla ออกมาแสดงความเห็นจากนโยบายใหม่ของแอปเปิล ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย DMA ของสหภาพยุโรป ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้เบราว์เซอร์อื่นเป็นค่าเริ่มต้นง่ายขึ้น และผู้พัฒนาก็ไม่ต้องใช้ WebKit เป็นเอ็นจินได้ด้วย ทั้งหมดอาจฟังดูเป็นประโยชน์สำหรับผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ 3rd Party แต่ Mozilla ไม่คิดเช่นกัน
Mozilla ออกแพ็กเกจ .deb ของ Firefox Stable เพื่อใช้กับดิสโทรลินุกซ์ตระกูล Debian, Ubuntu หลังจากเริ่มทดสอบรุ่น Nightly มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023
ข้อดีคือผู้ใช้ Debian, Ubuntu และดิสโทรอื่นๆ ที่อิงจาก Debian จะได้ใช้แพ็กเกจ Firefox รุ่นใหม่ล่าสุดจาก Mozilla โดยตรง ไม่ต้องรอเวอร์ชันของดิสโทรทำเอง ซึ่ง Mozilla บอกว่าจะได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า เพราะปรับแต่งคอมไพเลอร์ให้ทำงานตรงกับที่ตั้งใจไว้
Mozilla ออก Firefox 121 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายของปีนี้
การเปลี่ยนแปลงสำคัญอยู่ที่เวอร์ชันลินุกซ์ โดย Firefox บนลินุกซ์เปลี่ยนมาใช้ระบบจัดการแสดงผล Wayland เป็นดีฟอลต์โดยตรงแล้ว จากที่ก่อนหน้านี้ Firefox เรียกใช้ Wayland ผ่าน XWayland ที่จำลองสภาพแวดล้อม X Window มาอีกที เพื่อความเข้ากันได้ย้อนหลัง
Mozilla เปิดให้ใช้งานส่วนขยายบน Firefox for Android ตามที่เคยประกาศไว้ ในเบื้องต้นมีส่วนขยายที่ผ่านการทดสอบว่าพร้อมใช้งานบนมือถือจำนวนราว 450 ตัว สามารถดูรายชื่อได้จากหน้า Firefox for Android extensions
Firefox for Android ประกาศรองรับส่วนขยายจากเวอร์ชันเดสก์ท็อป ดาวน์โหลดตรงจาก addons.mozilla.org (AMO) ในวันที่ 14 ธันวาคม 2023
ก่อนหน้านี้ Firefox for Android รองรับส่วนขยายเพียงบางตัว (ที่ถูก whitelist ในระบบเท่านั้น) แต่ภายหลังก็ประกาศไว้ว่าจะรองรับส่วนขยายในวงกว้างมากขึ้น ตอนนี้ทาง Mozilla ประกาศว่ามีส่วนขยายที่ทดสอบบน Android เรียบร้อยแล้วมากกว่า 400 ตัว และยังเชิญชวนให้นักพัฒนาส่วนขยายเข้ามาร่วมทดสอบการใช้งานบน Android กันมากขึ้น (รายละเอียด)
Mozilla ออก Firefox 120 ของใหม่ที่สำคัญคือเพิ่มเมนูคลิกขวา “Copy Link Without Site Tracking” โดยจะคัดลอกเฉพาะ URL หลักเท่านั้น ไม่แถมแท็กต่างๆ ของเว็บไซต์ที่นักการตลาดใช้ติดตามตัวตนของผู้ใช้ (ว่าคลิกมาจากไหน แคมเปญโฆษณาอะไร)
ในหน้าจอตั้งค่าความเป็นส่วนตัว Preferences → Privacy & Security ยังเพิ่มตัวเลือก Website Privacy Preferences แจ้งให้เว็บไซต์ทราบว่าไม่ต้องการให้ขายหรือแชร์ข้อมูลของเรา (แจ้งแล้วเว็บไซต์จะทำตามหรือไม่นั่นอีกเรื่องนึง) โดยการแจ้งเตือนนี้มีชื่อเรียกว่า Global Privacy Control ซึ่งเป็นสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐแคลิฟอร์เนีย
มีประเด็นเพิ่มเติมจากการไต่สวนคดีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้องกูเกิลเรื่องผูกขาดธุรกิจเสิร์ช โดยตัวแทนของกูเกิลนำคลิปวิดีโอการสัมภาษณ์ Mitchell Baker ซีอีโอ Mozilla มาใช้โต้แย้งข้อกล่าวหาเรื่องผูกขาด
ในคลิปนั้น Baker บอกว่าตอนที่ Mozilla ตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้เสิร์ชของยาฮูในปี 2014 ตามข้อเสนอของ Marissa Mayer ซีอีโอยาฮูเวลานั้น โดยบอกว่าเป็นการเดิมพันร่วมกับ Mozilla แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือความล้มเหลว เพราะเสิร์ชของยาฮูทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้ Firefox แย่ลงมาก
Mozilla ประกาศเปลี่ยนชื่อแบรนด์ Firefox Account มาเป็น Mozilla Account เพื่อสะท้อนว่าบัญชีสามารถใช้กับบริการอื่นๆ ในเครือ Mozilla ได้ด้วย เช่น Pocket หรือ Fakespot บริการตรวจสอบสินค้าน่าสงสัยที่ Mozilla เพิ่งซื้อกิจการมา
การเปลี่ยนแปลงมีผลเฉพาะชื่อแบรนด์เท่านั้น ตัวบัญชีไม่มีผลกระทบใดๆ ผู้ใช้สามารถล็อกอินใช้งานได้ตามปกติ
Mozilla ประกาศออกแพ็กเกจ .deb ของ Firefox Nightly รุ่นทดสอบ เพื่อให้ผู้ใช้ลินุกซ์ดิสโทรสาย Debian (รวมถึง Ubuntu และ Linux Mint) ติดตั้งและอัพเดต Firefox Nightly ได้สะดวกกว่าเดิม
ผู้ใช้ลินุกซ์ดิสโทรเหล่านี้ สามารถเพิ่ม APT repository ของ Mozilla แล้วสั่ง sudo apt-get install firefox-nightly เพื่อติดตั้งซอฟต์แวร์ได้ทันที
Mozilla บอกว่าการติดตั้ง Firefox Nightly สะดวกขึ้น ย่อมช่วยให้เกิดผู้ทดสอบ Firefox บนลินุกซ์มากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลต่อพัฒนาการที่ดีขึ้นในภาพรวม
ที่มา - Mozilla
ISRG ผู้ให้บริการ Let’s Encrypt ร่วมกับ Mozilla ประกาศเริ่มใช้งานโปรโตคอล Distributed Aggregation Protocol (DAP) สำหรับเก็บข้อมูลสถิติการใช้งานเบราว์เซอร์ Firefox หลังพัฒนาโปรโตคอลร่วมกันมานานกว่าหนึ่งปี
DAP พัฒนาต่อจาก Prio ที่ Firefox ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2018 แนวทางสำคัญคือการรายงานข้อมูลผ่านตัวกลางที่เห็นข้อมูลเพียงบางส่วน ตัวไคลเอนต์ที่รายงานสามารถกระจายข้อมูลแยกกันรายงานไปยังเซิร์ฟเวอร์หลายตัว ผู้ที่อ่านสถิติสุดท้ายจะเห็นแต่ภาพรวมเท่านั้น ตัว DAP นั้นเป็นโปรโตคอลเท่านั้น ทาง ISRG ยังเปิดบริการ Divvi Up ที่สำหรับให้บริการโครงการต่างๆ ที่ต้องการเก็บสถิติ ตอนนี้ยังไม่เปิดให้บริการโครงการอื่นๆ แต่ให้ลงชื่อแสดงความสนใจไว้ได้
Firefox 119 ที่กำลังจะออกมีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง เช่น การเปิดแท็บกลับทีละมากๆ, รองรับการย้ายโปรไฟล์จาก Chrome แต่ฟีเจอร์เล็กๆ อันหนึ่งคือการแก้บั๊ก 148624 บั๊ก tooltip ค้างไม่ยอมหายไป แม้หน้าต่าง Firefox จะอยู่เบื้องหลังหรือย่อไปแล้ว
บั๊กนี้มีการรายงานครั้งแรกสุดตั้งแต่กลางปี 2000 และมีการรายงานอีกหลายครั้ง สุดท้ายจึงรวบเป็นบั๊กเดียวหมายเลข 148624 นี้