โครงการ HHVM หรือ HipHop Virtual Machine ของเฟซบุ๊กประกาศแยกทางจาก PHP แล้ว โดยต่อจากนี้จะซัพพอร์ตภาษา Hack อย่างเดียว
HHVM เปิดตัวสู่โลกภายนอกเมื่อปี 2010 โดยเป็นตัวคอมไพล์ภาษา PHP ให้กลายเป็น C++ เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานเท่าซอฟต์แวร์แบบ native อย่างไรก็ตาม ภายหลัง HHVM เริ่มพัฒนาภาษา Hack โดยแก้ไขข้อจำกัดของ PHP เช่น การเพิ่มการตรวจสอบชนิดตัวแปร, รองรับ generics, รองรับฟังก์ชั่น lambda
HHVM รุ่น 3.30.0 จะออกปลายปีนี้ เป็นรุ่นสุดท้ายที่รองรับภาษา PHP และจะซัพพอร์ตต่อไปอีกจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน 2019 ส่วน HHVM 4.0 จะเป็นรุ่นแรกที่ไม่รองรับภาษา PHP อีกต่อไป มีกำหนดออกปลายเดือนมกราคม 2019
เว็บ Phoronix ซึ่งเป็นเว็บข่าวและรีวิวโครงการโอเพนซอร์สอย่างสม่ำเสมอ ได้ทดสอบ PHP 7.0 RC2 ที่เพิ่งออกด้วย Phoronix Test Suite และพบว่าประสิทธิภาพของมันดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยสรุปได้ดังนี้
Heroku บริการกลุ่มเมฆแบบ PaaS ที่เดิมทีออกแบบมาเพื่อ Ruby เพียงอย่างเดียว (แล้วขยายมายัง Python, Java, Node.js ในภายหลัง) ประกาศรองรับภาษายอดนิยมอย่าง PHP แล้ว
การใช้งาน PHP บน Heroku มีได้สองทางเลือกคือใช้ตัวรันไทม์หรือ VM ของ PHP รุ่นปกติ หรือใช้ HipHop VM ของ Facebook ที่ช่วยให้ประสิทธิภาพของ PHP ดีขึ้นมาก (ในขณะที่ยังคงความเข้ากันได้กับโค้ด PHP เดิม) ซึ่งนักพัฒนาสามารถกำหนดได้เองว่าจะเลือก VM ตัวไหน
Heroku ยังมีแผนจะรองรับระบบจัดการแพ็กเกจ Composer เพื่อให้การจัดการ dependency ของโมดูลต่างๆ ของ PHP ง่ายกว่าเดิมในอนาคตด้วย
ข่าวนี้ต้องย้อนกันไกลหน่อยนะครับ เริ่มจากปี 2010 Facebook เปิดตัว HipHop for PHP ตัวแปลภาษา PHP เป็นไบนารีเพื่อเร่งความเร็วของ PHP โดยจะแปลงเป็น C++ ก่อนแล้วค่อยคอมไพล์ปกติอีกครั้ง
ข่าวนี้เหมาะมากสำหรับคนที่สนใจเรื่องการออกแบบคอมไพเลอร์นะครับ (มีหรือเปล่าหว่า?)
ย้อนความกันหน่อยว่า เว็บไซต์ขนาดมหึมาอย่าง Facebook ถูกเขียนขึ้นมาด้วย PHP แต่จำนวนผู้ใช้ระดับนี้ ต้องการประสิทธิภาพที่สูงกว่า PHP ทั่วไป และแนวทางมาตรฐานของวงการคือแปลงฟังก์ชันบางส่วนเป็น C++ เพื่อรีดประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น
อัพเดต: Facebook ประกาศข่าวนี้อย่างเป็นทางการแล้ว รายละเอียดอ่านต่อด้านใน
ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ แต่มีการยืนยันจากคนที่เห็นของจริงแล้วว่า Facebook ได้พัฒนาตัวแปลภาษา PHP ของตัวเองขึ้นมาใหม่ ซึ่งช่วยให้การทำงานของ Facebook นั้นเร็วขึ้นมาก
PHP เป็นภาษาแบบ interpreter คือแปลภาษาทุกครั้งที่มีคนเรียกสคริปต์ ซึ่งทำให้เสียเวลาประมวลผล การเปลี่ยนมาใช้วิธี compiler ประมวลผลไว้ก่อนหน้าช่วยให้ประหยัดเวลาได้มาก แต่ก็มีข้อเสียว่าถ้าสคริปต์เปลี่ยนแปลงก็ต้องแปลภาษาใหม่อยู่ดี