บริษัทวิจัยระบบเครือข่าย Arbor Networks รายงานข้อมูลว่าพบการยิง Distributed Denial of Service (DDoS) บนเครือข่าย IPv6 เป็นครั้งแรก
ถึงแม้จะฟังดูไม่ค่อยดีเท่าไร แต่การยิง DDoS ครั้งนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า IPv6 เริ่มแพร่หลายมากขึ้น เพราะมีคอมพิวเตอร์จำนวนมากพอที่ผู้ประสงค์ร้ายจะสามารถใช้เป็นฐานในการยิง DDoS ได้
Arbor Networks เคยพยากรณ์ว่าจะมีการยิง DDoS บน IPv6 มาก่อนหน้านี้แล้ว และชี้ชัดว่าเราจะเห็น DDoS มากขึ้นเมื่อ IPv6 ขยายตัวมากขึ้น ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบเครือข่ายที่ต้องหาวิธีป้องกันกันต่อไป
ที่มา - ZDNet
Internet Society อาศัยวันครบรอบ 1 ปีวัน(ทดสอบ) IPv6 โลก ประกาศให้วันที่ 8 มิถุนายนนี้ เป็นวันเปิดใช้งาน IPv6 เต็มรูปแบบสำหรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ซึ่งเบื้องต้นได้รับความร่วมมือจากบรรดาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ๆ เช่น AT&T, Comcast (ที่ได้ให้บริการ IPv6 อยู่ระยะหนึ่งแล้ว), KDDI และรายอื่นๆ อีกพอสมควร
กูเกิลประกาศความสำเร็จในการเปลี่ยนมาใช้ IPv6 กับเครือข่ายภายในองค์กรทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนมาใช้ IPv6 นั้นยากและยาวนานกว่าแผนการตั้งต้นของกูเกิลมาก
โครงการ IPv6 ภายในองค์กรเริ่มโดยวิศวกรเครือข่ายกลุ่มหนึ่งของกูเกิลตั้งแต่ปี 2008 ใช้เวลาทั้งหมดก็ 4 ปีเต็ม บทเรียนของกูเกิลในการเปลี่ยนมาใช้ IPv6 คือมันไม่ใช่แค่เรื่องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่จำเป็นต้องหาความร่วมมือจากฝ่ายบริหาร และพนักงานทั้งหมดในองค์กรด้วย (โดยเฉพาะแอดมินของระบบต่างๆ ที่มีงานอื่นต้องทำและไม่สนใจ IPv6 มากนัก)
นอกจากนี้กูเกิลในฐานะองค์กรแรกๆ ที่เปลี่ยนมาใช้ IPv6 ก็ต้องแก้โค้ดของซอฟต์แวร์หลายส่วน โดยเฉพาะส่วนที่ทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ของผู้ผลิตรายต่างๆ ให้ทำงานร่วมกับ IPv6 ได้
ปัญหา IPv6 เรื่องใหญ่คือการบรรดาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจำนวนมากไม่กล้าที่จะให้บริการเต็มรูปแบบเพราะกลัวจะเจอปัญหา แต่วันนี้ทาง Comcast ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ก็ประกาศปล่อย IPv6 แล้ว
การเริ่มใช้งาน IPv6 ในช่วงเวลานี้ชัดเจนว่าเราไม่สามารถใช้งานเฉพาะ IPv6 กับลูกค้าตามบ้านได้ เพราะอุกรณ์จำนวนมากยังไม่รองรับ แต่ Comcast ก็ใช้เทคนิค native dual stack คือปล่อยหมายเลขไอทีทั้งแบบ IPv4 และ IPv6 ไปพร้อมกันแล้วให้ลูกค้าเลือกใช้กันเอง
การประกาศใช้ IPv6 นี้เป็นการแสดงท่าทีของ Comcast ไปพร้อมกันว่าทาง Comcast จะไม่ยอมแก้ปัญหาหมายเลขไอพีไม่พอด้วย NAT
ที่มา - Comcast
ขอมาเก็บตกข่าวที่เกี่ยวเนื่องกับวัน IPv6 โลก ครับ
มีคนไปลองเข้าเว็บไซต์ผ่าน IPv6 ผ่าน Windows Phone 7 รุ่นปัจจุบันแล้วพบว่าไม่สามารถเข้าได้ ซึ่งไม่นานหลังจากนั้นไมโครซอฟท์ก็ออกมายอมรับผ่านทวิตเตอร์ว่า ณ ขณะนี้ Windows Phone 7 ยังไม่รองรับการเข้าถึงเว็บไซต์ผ่าน IPv6
แต่ล่าสุดถึงแม้ไมโครซอฟท์จะยังไม่ยืนยันว่าอัพเดต "Mango" จะเพิ่มการสนับสนุน IPv6 หรือไม่ ก็มีการยืนยันผ่าน API ของ Silverlight 5 เบต้าว่า Windows Phone 7.1 "Mango" จะรองรับ IPv6
วันนี้เป็นวันที่ Internet Society ประกาศเป็นวัน IPv6 โลก หลายเว็บไซต์ทั่วโลกเช่น Facebook, Google, Yahoo!, หรือ YouTube ร่วมกันประกาศว่าจะทำให้เว็บเข้าได้ผ่านทาง IPv6 เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมงในวันนี้ (ข่าวเก่า) ทาง Blognone เองก็ร่วมทดสอบด้วยผ่านทาง v6.blognone.com
รายงานจากบริษัท Abor Networks ระบุว่าหกเดือนที่ผ่านมาอัตราการเติบโตของอินเทอร์เน็ต พบว่าอัตราการเติบโตของ IPv4 มีสูงมากระหว่าง 40% ถึง 60% ส่วน IPv6 ยังมีอัตราการเติบโตเพียง 12% เเท่านั้น โดยยังครองปริมาณข้อมูลเพียง 0.25% ของอินเทอร์เน็ตทั้งหมด
ภาพโดยรวมอาจจะแย่กว่านั้นเมื่อข้อมูลส่วนใหญ่ใน IPv6 เป็นข้อมูลจากการแชร์ไฟล์ในเครือข่าย P2P ถึง 61% และเป็น HTTP เพียง 4.6% ขณะที่ IPv4 นั้นมี P2P 8% และ HTTP 19%
ปัญหาใหญ่ของเรื่องนี้คือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่ยังไม่เปิดให้บริการ IPv6 อย่างจริงจัง ทำให้บริษัทที่ต้องการย้ายไป IPv6 ต้องอาศัยบริการ tunnel เพื่ออัพเกรดเครือข่าย
ในขณะที่ IPv6 กำลังเข้ามาเราน่าจะเรียนรู้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ของ IPv6 กันเสียหน่อย ไม่อย่างนั้นอาจจะมีคนทำเสื้อมาล้อเลียนเราได้ว่า "I hacked ::1"
เริ่มต้นด้วยการเขียนแอดเดรส IPv6 แบบเต็มๆ นั้นเราแบ่งเลข IPv6 ซึ่งมี 128 บิตออกเป็น 8 ชุด ชุดละ 16 บิต แล้วเขียนแต่ละชุดในรูปของเลขฐาน 16 คั่นแต่ละชุดจากกันด้วยเครื่องหมายโคลอน เช่น
0010000000000001 0000110110111000 0000000000000010 0000000000000011 0000000000000100 0000000000000101 0000000000000110 0000000000000111
เราจะเขียนได้เป็น
2001:db8:2:3:4:5:6:7
ข่าวหมายเลข IPv4 หมดโลกอาจจะสร้างความตกใจให้กับหลายๆ คนว่าวันพรุ่งนี้เราจะใช้งานอินเทอร์เน็ตกันไม่ได้หรืออย่างไร เรามาดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้
Internet Society ได้ประกาศให้วันที่ 8 มิ.ย. ของปีนี้เป็น "วัน IPv6 โลก" (World IPv6 Day) ซึ่งวันนี้จะเป็น 24 ชั่วโมงแห่งการทดสอบการเปิดให้บริการ IPv6 ในแบบ native งานนี้บรรดายักษ์ใหญ่อย่าง Facebook, Google, และ Yahoo ได้ประกาศตัวเข้าร่วมแล้ว เพื่อช่วยรณรงค์ให้ประชาคมชาวอินเทอร์เน็ตทั่วโลกก้าวไปใช้ IPv6 อย่างเต็มรูปแบบกันเสียที
ในภาวะที่ IPv4 กำลังจะหมดลงกลางปีหน้า แต่ยังไม่มีความพยายามจริงจังที่จะย้ายการใช้งานไป Vint Cerf ก็ได้ไปพูดในงานเปิดตัว 6UK องค์กรเพื่อการสนับสนุน IPv6 ในอังกฤษว่าภาครัฐควรจริงจังในการสนับสนุน IPv6 มากยิ่งขึ้น โดยเขาแนะนำว่าการให้เครดิตภาษีเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนไปใช้ IPv6 ก็เป็นทางหนึ่งที่เขาแนะนำ
Cerf เตือนว่ากระบวนการย้ายไปยัง IPv6 นั้นเป็นกระบวนการที่กินเวลา และไม่สามารถทำได้ง่ายๆ โดยบริษัทที่ต้องการเปลี่ยนจะต้องมีช่วงเวลาเพื่อปรับอุปกรณ์ทั้งหมดให้ทำงานได้ทั้ง IPv4 และ IPv6 ไปอีกช่วงเวลาหนึ่งก่อนจะไปใช้ IPv6 ทั้งหมด
จากที่ผ่านมา 2-3 เดือนนี้จะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับ IPv4 ออกมาเป็นระยะๆ ดังเช่น ทำเนียบขาวขีดเส้น หน่วยงานรัฐของอเมริกาต้องใช้ IPv6 ภายในปี 2012 และ จำนวน IPv4 เหลือใช้ได้อีกไม่ถึงปี แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอินเทอร์เน็ตของจริงกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว เพราะ หน่วยงานที่จัดสรรหมายเลขเหล่านี้ได้ออกมาระบุแล้วว่า IPv4 ล็อตสุดท้ายกำลังจะถูกปล่อยในต้นปีหน้า
การเปลี่ยนผ่านจาก IPv4 มาเป็น IPv6 เป็นกระบวนการที่ล่าช้ากว่าที่ทุกคนคาดมาก แต่ IPv4 ก็หมดลงเรื่อยๆ และเหลืออีกไม่กี่บล็อคเท่านั้น ล่าสุด Vivek Kundra ซึ่งรับบทเป็น CIO ของรัฐบาลโอบามา ได้ประกาศแผนการย้ายสำหรับหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐแล้ว
ตามแผนของ Vivek คือ
Blognone เสนอข่าวของ IPv6 มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหา IPv4 ใกล้หมด (ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันสำคัญให้คนย้ายไปใช้ IPv6)
การประเมินก่อนหน้านี้คือ IPv4 จะหมดในปี 2013 (ประเมินปี 2008) และลดลงมาเหลือ 2012 (ประเมินเมื่อต้นปีนี้) ล่าสุดทางซีอีโอของ American Registry for Internet Numbers ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการหมายเลขไอพีของภูมิภาคอเมริกาเหนือ ได้ให้สัมภาษณ์ว่าปริมาณ IPv4 เหลือใช้ได้อีกไม่ถึง 1 ปีดี (ถ้านับจากวันนี้ก็คือหมดประมาณกลางปี 2011) ถ้าคิดเป็นสัดส่วนคือเหลือแค่ 6% เท่านั้น
เนื่องจาก IPv4 ที่กำลังจะหมดโลกแต่ทางด้าน IPv6 ที่ผู้ให้บริการลงทุนกันแพงๆ นั้นกลับดูเหมือนว่าจะไม่มีใครใช้ กูเกิลก็เปิดให้บริการ YouTube ผ่านทาง IPv6 อย่างเงียบๆ แล้ว
ก่อนหน้านี้บริการหลักๆ อื่นๆ ของกูเกิลนั้นล้วนรองรับ IPv6 ไปก่อนแล้ว YouTube นั้นเป็นเพียงน้องเล็กที่ตามหลัง แต่เนื่องจากปริมาณข้อมูลที่วิ่งผ่าน YouTube นั้นมหาศาลทำให้การใช้งาน IPv6 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากเปิดให้บริการ
อาจจะได้เวลากลับไปอ่านหนังสือเน็ตเวิร์คอีกครั้งแล้วสินะ
ที่มา - Networked World
บริษัท Arbor Networks ได้ผนึกกำลังกับ ISP 90 รายจากทั่วโลก ศึกษาข้อมูลจากเราเตอร์กว่า 2,400 ตัวและปริมาณทราฟฟิกจำนวน 4.5Tbps ผลที่ได้คือ มีข้อมูลจำนวน 117 Mbps นั้นสามารถยืนยันได้ว่าเป็นรันบน IPv6 หรือคิดเป็น 0.0026% ของทราฟฟิกทั้งหมด
จากการวิจัยบอกว่าข้อมูลจำนวน 117 Mbps นี้มาจากโพรโทคอลที่รันบน IPv6 เท่านั้น ซึ่งตามปกติแล้วคิดเป็นปริมาณข้อมูล 10-75% ของทราฟฟิกจริงๆ ที่รันบนเครือข่าย IPv6 สักอันหนึ่ง แปลว่าปริมาณทราฟฟิก IPv6 จริงๆ ที่วิ่งกันอยู่ใน ISP 90 รายนี้ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 130 ถึง 470Mbps (ซึ่งเพิ่มมาแค่นี้ ไม่ทำให้ตัวเลข 0.0026% เปลี่ยนไปมากนัก) ผลสรุปคือ ถึงแม้ว่าจะมีคนใช้ IPv6 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ว่าคิดเป็นอัตราส่วนเทียบกับ IPv4 ก็ยังไม่เปลี่ยนเท่าไร
ด้วยความที่ IPv4 ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้นั้นมีความยาวเพียง 32 บิตทำให้หมายเลขไอพีที่ใช้งานได้มีเพียง 3.7 พันล้านหมายเลข และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทาง IANA ได้แจกจ่ายหมายเลขไอพีจำนวน 339 ล้านหมายเลขให้กับ Regional Internet Registries (ผู้จัดการหมายเลขไอพีตามภูมิภาคเช่น APNIC) ทำให้หมายเลขไอพีที่เหลืออยู่ในวันนี้ต่ำกว่าพันล้านเลขหมาย
ด้วยอัตราการใช้งานหมายเลขไอพีในระดับนี้ IPv4 กำลังจะหมดโลกไปภายในปี 2013 หรืออีกห้าปีข้างหน้า
ว่าแล้วผู้ดูแลเครือข่ายทั้งหลายก็ได้เวลาเตรียมการไปใช้ IPv6 กันจริงๆ แล้วล่ะครับ
ที่มา - ArsTechnica
Ars Technica มีบทความแนะนำเทคโนโลยีต่างๆ ของ IPv6 แนะนำให้อ่านถ้าคุณเคยเห็นชื่อ IPv6 ผ่านๆ แต่ยังไม่รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร
หัวข้อ
ข้อมูลทั้งหมดเคยลงในบทความอื่นๆ มาเยอะแล้ว เพียงแต่อันนี้ไม่ยาวมาก แถมอ่านง่าย มีภาพประกอบชัดเจน
ที่มา - Ars Technica