ISO ออกมาตรฐาน ISO/IEC 39075:2024 มาตรฐานภาษา GQL สำหรับคิวรีฐานข้อมูลกราฟเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยตัวภาษาเป็นส่วนขยายออกมาจากมาตรฐาน SQL ที่นิยามชนิดข้อมูลต่างๆ เอาไว้อยู่แล้ว ในมาตรฐาน GQL จะเพิ่มนิยามของการประมวลผล vertex และ edge ซึ่งเป็นแนวทางการมองข้อมูลของฐานข้อมูลกราฟ
ภายในตัวมาตรฐาน จะแยกรูปแบบการคิวรีออกเป็นสองแบบ คือ Cypher ที่นำมาจาก Neo4j และ SQL ที่นำทีมโดย TigerGraph แต่โครงสร้างภายในคล้ายกัน ต่างกันเพียง syntax เท่านั้น
แนวทางของ GQL จะสามารถคิวรีข้อมูลในกราฟได้ทั้งจาก ชนิดของ vertex และข้อมูลภายใน แล้วหาว่ามันเชื่อมโยงไปหา vertex อื่นๆ ด้วย edge ชนิดใดโดยอาศัยระบบ pattern matching ผู้ใช้สามารถคิวรีการเชื่อมโยงซ้อนกันหลายๆ ชั้นได้ในคิวรีครั้งเดียว
ต่อเนื่องจากข่าวเมื่อเดือนสิงหาคม มาตรฐาน C++0x ผ่านการโหวตเป็นทางการ, เปลี่ยนชื่อเป็นมาตรฐาน C++11
หลังจากผ่านกระบวนการมาจนจบวันนี้ทาง ISO ก็ประกาศรองรับฟอร์แมต PDF 1.7 เข้าเป็นมาตรฐาน ISO 32000-1 อย่างเป็นทางการแล้ว ทำให้การพัฒนามาตรฐาน PDF นับจากนี้ไปจะกลายเป็นการพัฒนามาตรฐานของวงการไปแทนที่จะเป็นการพัฒนาสินค้าของ Adobe เพียงอย่างเดียว
มาตรฐาน PDF 1.7 นั้นคือฟอร์แมตที่ใช้งานใน Adobe Acrobat 8 ส่วน Acrobat 9 นั้นเป็น PDF 1.7 Adobe Extension Level 3 ซึ่งแม้จะทำงานร่วมกันได้แต่แน่นอนว่าฟีเจอร์บางส่วนผู้ผลิตอื่นๆ จะไม่สามารถทำตาม Adobe ได้ทั้งหมด
ความเดิม แอฟริกาใต้ยื่นอุทธรณ์กรณี OOXML ต่อ ISO หลังจากนั้นมีอีกสามประเทศยื่นอุทธรณ์เพิ่มเติม ได้แก่อินเดีย บราซิล และเวเนซุเอลา ทำให้ทาง ISO และ IEC (International Electrotechnical Commission) ต้องเลื่อนการออก Office Open XML หรือชื่อตามมาตรฐานของ ISO ว่า ISO/IEC DIS 29500 ออกไปก่อน
ตามกระบวนการของ ISO นั้นคำร้องจะถูกพิจารณาโดยเลขาธิการของ ISO ซึ่งจะกินเวลา 30 วัน ก่อนส่งไปให้คณะกรรมการบริหารของทั้ง ISO และ IEC ซึ่งถ้าคณะกรรมการสองชุดนี้เห็นว่าคำร้องมีมูล ก็อาจจะใช้เวลาในการแก้ความขัดแย้งอีกหลายเดือน (ในแถลงของ ISO ใช้คำว่า several months)
หลังจากที่ Microsoft Office OpenXML ผ่านเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 29500 ไปแบบน่ากังขา (อ่านรายละเอียดในข่าวเก่าๆ หมวด OpenXML) ทางออกหนึ่งที่เป็นไปได้สำหรับผู้ไม่เห็นด้วยคือยื่นอุทธรณ์ต่อทาง ISO ให้ทบทวน ซึ่งล่าสุดหน่วยงาน SABS ซึ่งดูแลการออกมาตรฐานของประเทศแอฟริกาใต้ ได้ยื่นจดหมายต่อ ISO แล้ว
ในจดหมายของ SABS แสดงความกังวลต่อกระบวนการของ ISO ซึ่งเปิดช่องให้หน่วยงานภายนอกเข้ามายื่นและออกมาตรฐาน ISO ได้ ซึ่งจะทำให้ชื่อเสียงของ ISO ที่มีมานานเสื่อมลงไป
ออกตัวก่อนว่าผมไม่ค่อยแม่นเรื่องกระบวนการของ ISO เท่าไร ถ้ามีอะไรผิดแก้ด้วยนะครับ
เมื่อต้นปีนี้ Adobe ยื่นฟอร์แมต PDF ที่เราคุ้นเคย เข้ากระบวนการขอรับรองมาตรฐานจาก ISO (แบบเดียวกับที่ไมโครซอฟท์ยื่น OOXML แล้วถูกโหวตตกไปในระยะแรก) เกือบหนึ่งปีผ่านไป กระบวนการก็ดำเนินไปตามขั้นตอนจนถึงขั้นเกือบสุดท้าย คือโหวตรับรองฉบับร่าง (Draft International Standard - DIS) ซึ่งประเทศที่มีสิทธิ์โหวตทั้งหมด 15 ประเทศ โหวตรับ 13 ประเทศ ไม่รับ 1 (ฝรั่งเศส) และงดออกเสียง 1 (รัสเซีย)
ถึงแม้ฟอร์แมต Office Open XML จะไม่ผ่านโหวตเข้าเป็นมาตรฐาน ISO ไปแล้ว (ข่าวเก่า) แต่นั่นเป็นเพียงแค่การขออนุมัติแบบ fast track เท่านั้น ไมโครซอฟท์และ ECMA ยังสามารถแก้ไขปัญหาทางเทคนิคตามที่ประเทศต่างๆ ให้ความเห็นมา แล้วส่งเข้ากระบวนการของ ISO ได้ใหม่อีกครั้ง
Rick Jelliffe คอลัมนิสต์ของ O'Reilly ได้นำความเห็นจากหน่วยงานด้านมาตรฐานของทุกประเทศมาวิเคราะห์ และพยากรณ์ว่าแต่ละประเทศจะมีท่าทีอย่างไรในการโหวตรอบหน้า ซึ่งเหตุผลที่รับ/ไม่รับของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันมาก บางประเทศขอแค่แก้จุดเล็กๆ น้อยๆ ก็ยอมแล้ว ส่วนบางประเทศยืนยันว่าต้องแก้ปัญหาฐานรากสำคัญของฟอร์แมตเลย
ถึงแม้การโหวตรับ Office OpenXML เข้าเป็นมาตรฐาน ISO จะลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของไมโครซอฟท์ (ข่าวเก่า) แต่การโหวตครั้งนี้ก็ส่งผลสะเทือนวงการผู้ออกมาตรฐานอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งดูได้จากข่าวการล็อบบี้ของไมโครซอฟท์ต่อหน่วยงานผู้ออกมาตรฐานในประเทศต่างๆ ทั่วโลก (ข่าวเก่า)
จากเหตุการณ์นี้จึงมีคนเสนอว่ากระบวนการโหวตรับของ ISO ที่ใช้คะแนนจากหน่วยงานผู้ออกมาตรฐานของประเทศสมาชิกนั้นยังไม่มีมาตรฐานเพียงพอ จึงเสนอว่าถึงเวลาแล้วที่ ISO จะต้องปรับปรุงกระบวนการของตัวเองเสียใหม่ ดังนี้
จาก http://www.noooxml.org/petition-th
(มีบางข้อที่ในเว็บนั้นแปลแล้วอาจยังไม่ชัดเจน, จึงได้เรียบเรียงใหม่ในบางข้อให้ชัดเจนขึ้น ดังข้างล่างนี้)
ขอให้สมาชิกทั้งหลายใน ISO ลงคะแนนเสียง 'ปฏิเสธ'การรับรอง ISO DIS 29500 (Office OpenXML หรือ รูปแบบ OOXML) เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการดังต่อไปนี้