ประวัติศาสตร์ของวงการลินุกซ์คงต้องจารึกไว้ว่า เคอร์เนลเวอร์ชัน 4.19 มีตำนานโลดโผนไม่น้อย เริ่มตั้งแต่ Linus Torvalds ลืมวันประชุม ส่งผลให้ทีมงานผู้ดูแลเคอร์เนลต้องเปลี่ยนสถานที่ประชุมตามเขาไปด้วย ไปจนถึง Linus ขอพักเบรกสักระยะหนึ่งเพื่อทบทวนตัวเอง ปรับปรุงพฤติกรรมให้เห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
วันนี้เคอร์เนล 4.19 รุ่นจริงออกเรียบร้อย โดยมี Greg Kroah-Hartman มาเป็นหัวหน้าทีมดูแลการออกเคอร์เนลแทนชั่วคราว
ไลนัสส่งอีเมลประกาศลินุกซ์ 4.19-rc4 พร้อมกับพูดถึงข่าวการย้ายที่ประชุม Kernel Maintainer's Summit โดยระบุว่าเป็นช่วงเวลาของการ "มองตัวเองในกระจก" (look yourself in the mirror)
เขาระบุว่าเพิ่งตระหนักได้ว่าเหตุการณ์เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องตลก และตระหนักว่าตัวเองไม่สนใจต่อความรู้สึกที่ชุมชนมีต่อตัวเองอย่างไรบ้าง โดยพูดถึงหลายครั้งที่เขาส่งอีเมลต่อว่าอย่างรุนแรงและไม่เป็นมืออาชีพ ที่ผ่านมาเขาคิดว่าการต่อว่ารุนแรงเป็นการเรียกร้องให้นักพัฒนาส่งแพตช์ที่คุณภาพดีขึ้น แต่ตอนนี้เขาตระหนักแล้วว่าการทำเช่นนี้เป็นเรื่องไม่ดีและเขาขอโทษ
ไลนัสระบุว่าจะพักงานไปช่วงหนึ่ง และขอความช่วยเหลือเพื่อให้เขาเข้าใจอารมณ์ของผู้คนและตอบสนองให้ดีขึ้นต่อไป
การประชุม Maintainer's Summit เป็นการประชุมนโยบายของการพัฒนาเคอร์เนล เช่น นโยบายการเปิดเผยช่องโหว่, หรือการออกเวอร์ชั่นใหม่ โดยปกติไลนัสจะเข้าร่วมประชุมด้วยทุกปี แต่ปีนี้พิเศษเพราะไลนัสเกิด "สับสน" วันประชุมที่กำหนดไว้ 22 ตุลาคมนี้ ทำให้เขาเตรียมแผนไปพักผ่อนกับครอบครัวในสหราชอาณาจักรเรียบร้อยแล้ว ทับกับการประชุมที่จะจัดในแคนาดา
ไลนัสเสนอให้ที่ประชุมจัดการประชุมตามเดิมโดยไม่มีเขา แต่กรรมการจัดการเสนอว่าให้ย้ายที่จัดงานตามไลนัสไปสหราชอาณาจักร เพื่อประชุมให้ครบตามเดิม
การประชุมมีผู้ร่วมประชุมประมาณ 30 คน
หลังเหตุการณ์ไลนัสปล่อยระเบิดกลางวงนักพัฒนาเคอร์เนล เหตุการณ์หลังจากนั้นก็คลี่คลายลงเมื่อ Matthew Garret จากกูเกิลซักว่าปัญหาของแพตช์ชุดที่ Kees Cook ส่งเข้ามามีปัญหาอย่างไร ไลนัสกลับตอบว่าแพตช์ที่ส่งมาก็ดูดีอยู่แล้ว เพราะตั้งค่าเริ่มต้นให้เตือนอย่างเดียว
เขาขอโทษที่ใช้คำรุนแรงเกินไป โดยให้เหตุผลว่าอารมณ์เสียจากการ merge โค้ดในลินุกซ์ 4.15 นานกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากเป็นเวอร์ชั่นปกติ ไม่ใช่ LTS เหมือน 4.14 แต่กระบวนการรวมโค้ดก็นานอยู่ดี
ไลนัสขึันชื่อว่าเมื่อถึงเวลาที่ไม่พอใจแล้วก็มักจะโต้เถึยงแรงๆ รอบล่าสุดเขาก็โต้กับ Kees Cook วิศวกรจากทีมงาน Google Pixel อย่างรุนแรงหลังถูกขอให้รับแพตช์ usercopy whitelisting ที่จำกัดการเข้าถึงหน่วยความจำของโมดูลต่างๆ ในเคอร์เนล
Kees ขอให้ไลนัสรวมแพตช์ชุดนี้ไว้ใน Linux 4.15-rc1 โดยเขากลัวว่าแพตช์นี้จะเข้าไม่ทันลินุกซ์เวอร์ชั่นต่อไป แต่ไลนัสแสดงความไม่พอใจที่มีการส่งแพตช์ขนาดใหญ่ในช่วงท้ายก่อนจะออกเวอร์ชั่น release candidate และแพตช์ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในระดับคอร์เช่นนี้มักสร้างบั๊กอยู่เสมอ หลังจากนั้น Kees ถกเถียงกับไลนัส พร้อมกับพูดถึงโมดูลอื่นที่เข้ามาในช่วงท้าย เช่น sctp และ kvm ทำให้การทดสอบการทำงานร่วมกับแพตช์ของเขาไม่มากพอ
Linus Torvalds ออกมาตอบโต้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยหลายคน ที่บอกว่าเขาและทีมพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ "ไม่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยเท่าที่ควร" โดยไม่สนใจแก้ปัญหาหรือบั๊กด้านความปลอดภัยที่มีคนแจ้งเข้ามามากนัก
Torvalds ตอบว่าหลักการพื้นฐานคือไม่มีระบบใดปลอดภัย 100% และความปลอดภัยเป็นเพียงแค่แง่มุมหนึ่งในการพัฒนา ที่ต้องแบ่งให้น้ำหนักกับมิติอื่นๆ อย่างประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น ความง่ายในการใช้งานด้วย เขายังวิจารณ์คนที่บอกว่า "ความปลอดภัยสำคัญที่สุด" ว่าบ้าไปแล้ว (completely crazy) โลกไม่ได้มีแค่ขาวกับดำสักหน่อย
Sarah Sharp นักพัฒนาเคอร์เนลหญิงผู้ดูแลไดรเวอร์ USB 3.0 ประกาศหยุดการทำงานในโครงการลินุกซ์ โดยเริ่มโอนโครงการ USB 3.0 ให้คนอื่นตั้งแต่กลางปี 2014 และเธอจะหมดวาระจาก Linux Foundation Technical Advisory Board เร็วๆ นี้โดยเธอประกาศไม่ลงเลือกตั้งสมัยหน้า
เธอวางแผนประกาศนี้มานาน (บล็อกของเธอเป็นดราฟต์มาแล้วหนึ่งปี) แม้ว่าเธอจะระบุว่าเธอรู้สึกผิด แต่เธอไม่สามารถทำงานกับชุมชนที่ไม่เคารพตัวบุคคล แม้ว่าลินุกซ์จะเชิญชวนให้นักพัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น แต่กลับอนุญาตให้นักพัฒนาหน้าใหม่สามารถถูกด่าทอด้วยคำรุนแรง
เมื่อเดือนที่แล้ว Git มีอายุครบ 10 ปีพอดี เว็บ Linux.com ได้สัมภาษณ์ Linus Torvalds ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ตัวนี้ขึ้นมา โดยความเห็นที่น่าสนใจมีดังนี้
Linus Torvalds ประกาศในเมลกลุ่ม linux-kernel ว่าเราน่าจะได้เห็นเคอร์เนลลินุกซ์ 4.0 กันในสัปดาห์หน้า หลังทางโครงการออกเคอร์เนล 4.0-rc7 เรียบร้อย
อย่างไรก็ตาม Torvalds ระบุว่าเขาต้องเดินทางในสัปดาห์ถัดไป และถ้าเขาคิดว่าตัวเองไม่พร้อม ก็จะเลื่อนการออกเคอร์เนลไปอีก 1 สัปดาห์ ซึ่งเขาจะประกาศการตัดสินใจอีกทีหนึ่ง
เคอร์เนล 4.0 ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากจากเคอร์เนลสาย 3.x ตามที่ Torvalds เคยประกาศไว้เมื่อ 2 ปีก่อน ว่าจะเป็นการปรับเลขเวอร์ชันเท่านั้น เคอร์เนลเวอร์ชันล่าสุดในปัจจุบันคือ 3.19 ซึ่งจะเป็นตัวสุดท้ายของสาย 3.x ครับ
The Linux Foundation มูลนิธิที่ทำหน้าที่จ้างนักพัฒนาเข้ามาดูแลโครงการลินุกซ์สร้างวิดีโอชุด "30 Kernel Developers in 30 Weeks" รายงานสภาพห้องทำงานของนักพัฒนาเคอร์เนล 30 คน ที่น่าสนใจที่สุดคงเป็นห้องทำงานของไลนัส ผู้สร้างลินุกซ์เริ่มแรก
ไลนัสทำงานที่บ้าน และโต๊ะเดิมของเขาเป็นโต๊ะทำงานเข้ามุมห้องเหมือนสำนักงานในบ้านทั่วไป แต่หลายเดือนที่ผ่านมามาเขาซื้อโต๊ะใหม่เพื่อ "เดินทำงาน" โดยโต๊ะแบบยืนของเขามีลู่วิ่งที่จะเคลื่อนไปช้าๆ 1.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเพื่อให้ผู้ใช้เดินไปเรื่อยๆ ส่วนโต๊ะตัวเดิมของเขานั้นรกจนไม่รู้จะทำอย่างไร เขาคิดว่าอาจจะต้องเผามันทิ้ง
Linus Torvalds เริ่มหารือกับชุมชนผู้พัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ ในการปรับเลขเวอร์ชันของเคอร์เนลจาก 3.x เป็น 4.0
เคอร์เนล 4.0 ยังใช้ระบบการนับเลขแบบเดียวกับเคอร์เนล 3.0 ทำให้เคอร์เนล 4.0 จะไม่แตกต่างกับเคอร์เนลเวอร์ชันล่าสุดคือ 3.12 มากนัก คาดว่าตัวเลขเวอร์ชันของเคอร์เนลสาย 3.x จะขึ้นไปถึง 3.19 แล้วปรับขึ้นเป็น 4.0 ในอีกประมาณหนึ่งปีข้างหน้า
ตอนนี้ไอเดียเรื่องการปรับเลขเวอร์ชันยังเป็นแค่การหารือเท่านั้น ยังไม่ถือเป็นการตัดสินใจขั้นสุดท้ายครับ
ที่งาน LinuxCon ไลนัสขึ้นเวทีให้สัมภาษณ์ต่อทิศทางการพัฒนาลินุกซ์ว่าจะเป็นอย่างไรหลังจากพัฒนามาต่อเนื่อง 22 ปีเต็ม ประเด็นให้สัมภาษณ์มีหลายประเด็น ยกบางประเด็น เช่น
ความยากที่จะเข้าร่วมกับโครงการลินุกซ์
ไลนัสตอบว่าตอนนี้โครงการมีนักพัฒนาเป็นจำนวนมากและยอมรับว่าการเข้ามามีส่วนร่วมนั้นยากจริง แต่ในอีกทางหนึ่งก็มีงานมากมายที่ต้องทำ ทำให้บางอย่างเข้ามาร่วมได้ง่าย
การพัฒนาของฮาร์ดแวร์
ไลนัสระบุว่าภายในสิบปีข้างหน้า กฎของมัวร์จะเป็นจริงได้ยากเพราะติดข้อจำกัดของซิลิกอน และน่าสนใจว่าโลกฮาร์ดแวร์จะเป็นอย่างไรในตอนนั้น นอกจากนี้เขาระบุว่าเขาไม่อยากให้อะไรรันอยู่บนเครื่องเสมือนนัก และชอบให้เครื่องรันบนฮาร์ดแวร์จริงมากกว่า
Linus Torvalds บิดาแห่งระบบปฎิบัติการลีนุกซ์และผู้ดูแลโค้ดเคอร์เนลของลีนุกซ์ได้ออกมาประกาศว่า SSD ของเครื่องที่เขาใช้งานอยู่มีปัญหาถึงขั้นทำให้ระบบไม่สามารถบูทได้ ซึ่งเวลาเกิดเหตุนั้นอยู่ในช่วงรวมโค้ด (merge window) ของเคอร์เนลเวอร์ชั่น 3.12 อยู่พอดี
จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีแพทช์บางอันไม่ถูกรวมเข้าไปใน repository หลักของเคอร์เนล อย่างไรก็ดีเวลาที่เกิดเหตุอยู่ในช่วงท้าย ๆ ของช่วงการรวมโค้ดทำให้มีแพทช์จำนวนไม่มากนักที่ยังไม่ถูกรวมเข้าไป
ปัญหาคำเชิญร่วมงานของ Google+ Events เต็มหน้า Stream แทบจะทันทีหลังเปิดใช้านทำให้ผู้ใช้จำนวนมากต้องพบกับความรำคาญ เพราะมองไม่เห็นอย่างอื่นนอกจากคำเชิญร่วมงานเต็มไปหมด และภายในวันเดียวทางทีมกูเกิลก็ยอมรับว่าเป็นบั๊ก และรีบแก้ปัญหา
งานนี้ +Vic Gundotra ยอมรับว่าเป็นบั๊กจริง และที่ช้าเพราะต้องซิงก์โค้ดระหว่างศูนย์ข้อมูล
ผู้ใช้ประจำในบ้านเรา (ที่ยังมีไม่เยอะ) ก็คงกลับมาสงบสุขกันได้ต่อไปสักที
ที่มา - +Linus Trovalds
ข่าวสั้นครับ Linus Torvalds บิดาแห่งระบบปฏิบัติการ Linux ประกาศเลิกใช้ Google+ ชั่วคราวเนื่องจากรำคาญคำเชิญ Event (เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อสักครู่) ที่ขึ้นมาจนเต็ม Home screen และยังไม่มีวิธีปิดในขณะนี้
Ok, so how do I disable the stupid event invites from showing up on my home screen?
Solution right now: stop using G+. I'm seeing zero actual posts, everything is just event invites from people I don't know.
Bye bye.
ไม่แน่ว่าถ้ามีงานสัมมนาเร็วๆ นี้ เราอาจได้เห็นวลีเด็ด "So Google, F... you"
เมื่อวานหลังจากมีข่าว NVIDIA ถูกไลนัสด่ากลางห้องประชุมมหาวิทยาลัย วันนี้ทาง NVIDIA ก็ออกจดหมายข่าวตอบโต้แล้ว โดยระบุว่าปัญหาของเทคโนโลยี Optimus ที่เป็นคำถามจากนักศึกษาว่าทำไมลินุกซ์จึงได้รับซัพพอร์ตเทคโนโลยีนี้ช้ากว่าแพลตฟอร์มอื่น และต้องอาศัยการซัพพอร์ตจากชุมชนผ่านทางโครงการ Bumblebee นั้นทาง NVIDIA ได้ช่วยแก้ตัวติดตั้งไดร์เวอร์และไฟล์ Readme ให้สามารถทำงานร่วมกับ Bumblebee ได้ดีขึ้น
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไลนัส ทอร์วัลด์ ผู้สร้างลินุกซ์จะจิกกัดใครต่อใครเจ็บๆ แต่การขึ้นเวทีมหาวิทยาลัย Aalto ในฟินแลนด์ก็อาจจะเป็นพัฒนาขั้นใหม่ เมื่อเขาถูกถามความเห็นต่อไดร์เวอร์ของการ์ดจอ NVIDIA ในลินุกซ์ และได้ระเบิดอารมณ์ออกมา
ปัญหาของไดร์เวอร์การ์ดจอบนลินุกซ์นั้นเป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน ผู้ผลิต (รวมถึง NVIDIA และ ATI) มักอ้างความลับทางการค้าทำให้ไม่ยอมเปิดซอร์สโค้ดของไดร์เวอร์หลัก ทำให้มีปัญหาทุกครั้งที่ต้องอัพเกรดเคอร์เนล ขณะที่ไดร์เวอร์โอเพนซอร์สที่ชุมชนช่วยกันดูแลนั้นจะมีปัญหาเรื่องการอัพเกรดน้อยกว่า แต่ก็รองรับฟีเจอร์ในการ์ดน้อยกว่าเช่นกัน ไลนัสระบุว่ายิ่ง NVIDIA ทำงานร่วมกับแอนดรอยด์มากเพียงใด ก็ยิ่งควรให้ความสำคัญกับลินุกซ์มากขึ้นและซัพพอร์ตให้ดีกว่านี้
Linus Torvalds ได้ให้สัมภาษณ์ Scott Merrill แห่ง TechCrunch ผ่านทางอีเมล ซึ่ง Linus เปิดเผยสาเหตุที่เขาเลือกใช้ MacBook Air เป็นโน้ตบุ๊กเครื่องหลัก (แต่ลง Linux) ซึ่งมีใจความสำคัญดังนี้ครับ
Linus บอกว่าเห็นได้ชัดว่า MacBook Air ออกมาแล้วหลายปีแต่บรรดาผู้ผลิตรายอื่นก็ไม่พยายามทำตามแอปเปิลกัน แถมยังพยายามนำเสนอโน้ตบุ๊กที่หน้าตาน่าเกลียดออกมาแข่งขันกันอีก ซึ่งสำหรับเขาแล้วโน้ตบุ๊กที่ดีต้องบางและเบา ไม่หนักเกิน 1 กิโลกรัม ซึ่ง MacBook Air ตอบโจทย์มากที่สุดตอนนี้