จากกรณีมีผู้ใช้เฟชบุ๊กโพสต์ข้อความเท็จในเพจกลุ่มพรรคก้าวไกล - Move Forward Party ว่า “คุณพิธา ถูกตัด สัญญาณโทรศัพท์จากทรู Fc คุณพิธาเปลี่ยนเป็น เอไอเอสหรือยัง" ต่อมาทางทรูได้ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นข้อมูลเท็จ หมายเลขคุณพิธายังใช้งานตามปกติและยืนยันว่าไม่มีการตัดสัญญาณ และทรูได้ติดต่อแจ้งข้อเท็จจริงกับทางแอดมินกลุ่มพรรคก้าวไกล ได้รับความร่วมมือในการช่วยลบโพสต์ดังกล่าว
ที่ผ่านมาเราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นนโยบายในแง่เทคโนโลยีจากพรรคการเมืองที่ใช้ในการหาเสียงเท่าไหร่ แต่การหาเสียงเลือกตั้งครั้งล่าสุด พรรคก้าวไกลหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูดบ่อย มีบางส่วนเป็นนโยบายที่ค่อนข้างเด่นด้วย เช่น นโยบาย AI ปราบโกง หรือการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเป็น machine readable ก่อนที่ล่าสุด จะประกาศนโยบาย รื้อกระทรวงดิจิทัลฯ
Blognone สัมภาษณ์ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ (@teng_mfp) รองเลขาธิการ ฝ่ายพัฒนาระบบข้อมูลและดิจิทัล พรรคก้าวไกล ลงลึกถึงรายละเอียดทางเทคนิคของนโยบาย AI ปราบโกง ทำได้จริงแค่ไหน
วันนี้ 15 เมษายน 2566 เวลา 20.00 น. ทาง Twitter Spaces
อัพเดต ฟังรายการย้อนหลัง
พรรคก้าวไกลเปิดเอกสารพิจารณางบประมาณปี 2566 ในโครงการระบบรวบรวมและประมวลผลข่าวกรองชั้นสูง ของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) งบประมาณประมาณ 350 ล้านบาท ภาพรวมโครงการแสดงให้เห็นว่าเป็นโครงการยิงมัลแวร์เข้าไปยังโทรศัพท์มือถือเป้าหมายโดยใช้เพียงหมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์บนเฟสบุ๊กเพจของตัวเองว่า กสทช. ไม่มีอำนาจในการอนุมัติการควบรวมกิจการระหว่าง บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ True และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ dtac เพราะทำธุรกิจคนละประเภทกัน
อ้างอิงจาก ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2561 พบว่า มีการแก้ไขเปลี่ยนจากระบบอนุญาต ไปเป็นระบบรายงาน ทำให้ กสทช. เหลือเพียงอำนาจในการออกเงื่อนไข หรือมาตรการเฉพาะในกรณีที่เกิดความเสียหายกับส่วนรวม
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วางใจนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในประเด็นการออกหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2564 เป็นการบิดเบือนกฎหมายเพื่อประโยชน์ทางการเมือง เพื่อสอดแนมการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชน
นายปกรณ์วุฒิ วิจารณ์แนวทางการทำงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ว่าใช้การข่มขู่จับผิดคนต่อต้านรัฐบาลผ่านโซเชียลมีเดีย มากกว่าจะไปแก้ปัญหาเรื่องดิจิทัลอย่างเช่นปัญหาการทำงานของแอปหมอพร้อม, ไทยชนะ, ไทยร่วมใจ ที่เกิดปัญหามากมาย กระทบต่อประชาชนโดยตรง สร้างความสับสนเรื่องระบบการจองวัคซีน
อัพเดท เพิ่มเนื้อหาฝั่งกระทรวงกลาโหม
มหกรรมแฉ IO กลับมาอีกครั้ง ในการประชุมรัฐสภา ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 31 ส.ค. 2564 โดย ส.ส. ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ พรรคก้าวไกล พร้อมเผยรายชื่อเพจอวตารในการรับหน้าที่โพสต์ด้อยค่าคนโจมตีรัฐบาล รวมถึงโพสต์ข่าวปลอมเข้าข้างรัฐบาล
การปฏิบัติหน้าที่มีการมอบหน้าที่ชัดเจน ดังนี้ กรมทหารราบที่ 3 ให้ไปดูเพจ จอมยุทธ กรมทหารราบที่ 8 ให้ไปดูเพจเรื่องงานไม่ขยับ เรื่องกินตับขอให้บอก กรมทหารราบที่ 16 ให้ไปดูเพจ ชาวไทยร่วมมือ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 ให้ไปดูเพจ ระดม Teen กรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 ดูเพจ อีหยังกะด้อกะเดี้ย กรมทหารม้าที่ 7 ดูเพจ ผู้ชายลายพราง พร้อมเผยภาพห้องปฏิบัติการ IO โดยมีผู้บังคับบัญชาคอยชี้เป้าเพจที่ต่อต้านรัฐบาล พร้อมส่งสัญญาณให้ IO เข้าไปโพสต์โจมตี
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส. กทม. พรรคก้าวไกล ทำข้อมูลและเผยแพร่งบประมาณปี 2565 ที่เพิ่งผ่านสภาวาระที่ 1 ในรูปแบบ Excel จากเดิมที่อยู่ในรูปแบบ PDF เพื่อให้ machine นำข้อมูลไปวิเคราะห์และอ่านต่อได้
นายแพทย์เอกภพ เพียรพิเศษ สส.พรรคก้าวไกล และโฆษกกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนฯ เปิดเผยถึงข้อมูลการประชุมกรรมาธิการเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยระบุว่ากระทรวงสาธารณสุขในมีแผนจัดหาวัคซีนในปี 2021 เพียง 22 ล้านโดส ครอบคลุมประชากร 11 ล้านคนเท่านั้น แม้ภายหลังแถลงว่าจะจัดหาวัคซีนให้ประชาชนไทย 50% ภายในปี 2021 แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าจะหาวัคซีนจากที่ใด
นอกจากนี้เอกสารยังระบุว่าวัคซีน 26 ล้านโดสจาก AstraZeneca จะส่งมอบให้ไทยเป็นสองช่วง คือปี 2021 นี้ส่งมอบเพียง 16 ล้านโดสและปี 2022 จึงส่งมอบอีก 10 ล้านโดส สำหรับปีนี้แผนการเดิมคือการจัดหาจาก COVAX อีก 3 ล้านโดส และช่องทางอื่นอีก 2 ล้านโดส (ซึ่งตอนนี้ได้จาก Sinovac)
ภายใต้แผนการนี้กระทรวงสาธารณสุขวางแผนให้คนไทยได้ฉีดวัคซีน 50% ของประชากรภายในเวลา 3 ปี หรือปี 2023 แถลงการของกระทรวงสาธารณสุขระบุว่ามีเป้าหมายฉีดวัคซีนฟรีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 แต่ไม่ระบุกรอบเวลา