Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เกี่ยวกับโครงการ DART หลังตัวยานพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย Dimorphos เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา และมีการเก็บข้อมูลด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศและยานอื่นๆ ตอนนี้ NASA ได้ยืนยันแล้วว่าการโคจรของดาวเคราะห์น้อย Dimorphos มีการเปลี่ยนแปลงหลังการชน ถือได้ว่าการทดสอบนี้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของมัน

NASA ได้วิเคราะห์ภาพถ่ายหลายภาพเพื่อตรวจการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อยหลังการชนและได้เผยแพร่บทความอธิบายการสรุปผลวิเคราะห์ภาพเหล่านั้น โดยดาวเคราะห์ Dimorphos มีคาบการโคจรเร็วขึ้น 32 นาที

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลังจากที่ไม่กี่วันก่อน NASA แถลงข่าวความสำเร็จของโครงการ DART ยืนยันการพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยเป้าหมาย ซึ่งตามที่แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ว่านอกเหนือจากข้อมูลภาพที่ได้จากกล้อง DRACO บนยาน DART เองแล้ว ได้มีการใช้กล้อง James Webb และกล้อง Hubble ร่วมบันทึกข้อมูลด้วยนั้น ล่าสุด NASA ได้ปล่อยภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศทั้ง 2 ตัวออกมาแล้ว

ภาพที่ได้จากกล้อง James Webb นั้นเป็นภาพถ่ายแบบโดยใช้ NIRCam อันเป็นหนึ่งใน 4 เครื่องมือบันทึกภาพของกล้อง James Webb โดย NIRCam นี้เป็นการถ่ายภาพบันทึกคลื่นในช่วงใกล้ความถี่คลื่นอินฟราเรด ภาพที่บันทึกไว้นั้นแสดงให้เห็นถึง Ejecta ซึ่งหมายถึงเศษฝุ่นที่เกิดขึ้นจากการชนและพุ่งกระจายออกรอบตำแหน่งการชน (สามารถดูภาพ timelapse ได้จากเว็บไซต์ของ NASA)

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา NASA ได้ถ่ายทอดสดสัญญาณภาพจากการทดสอบโครงการ DART ซึ่งเป็นการทดสอบเทคโนโลยีปกป้องโลกด้วยการส่งยานอวกาศไปชนดาวเคราะห์น้อย โดยภาพจากยาน DART เองที่ถ่ายทอดสดมายังโลกแสดงให้เห็นการเคลื่อนที่เข้าพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยตรงตามเป้าหมาย

ยาน DART ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 10 เดือนก่อน หลังการเดินทางอันยาวนานเป็นระยะทางร่วม 11 ล้านกิโลเมตร ในการเดินทางช่วงสุดท้ายระบบนำทางได้พายานที่มีมวล 570 กิโลกรัม มุ่งหน้าหาดาวเคราะห์น้อย Dimorphos อันเป็นเป้าหมายการชน โดยมีกล้อง DRACO ที่ติดตั้งบนยานทำหน้าที่คอยบันทึกภาพช่วงเวลาสุดท้ายก่อนการชน

Tags:
Node Thumbnail

ภารกิจยิงจรวด Artemis I รอบใหม่ 27 กันยายน มีเหตุให้ไม่ได้ยิงอีกแล้ว รอบนี้ [ยัง] ไม่มีอะไรพัง แต่ต้องเลื่อนเนื่องจากมีพายุ Ian จะขึ้นฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาเดียวกัน

NASA ระบุว่าตัดสินใจเลื่อนการยิงจรวดวันที่ 27 กันยายนแล้ว และกำลังประเมินสถานการณ์สภาพอากาศอีกครั้ง ว่าจะต้องนำจรวดกลับเข้าโรงเก็บ Vehicle Assembly Building ด้วยหรือไม่

ตามแผนของ NASA โอกาสยิงครั้งถัดไปคือวันที่ 2 ตุลาคม

ที่มา - NASA

Tags:
Node Thumbnail

อีกไม่ถึง 72 ชั่วโมงก็จะถึงกำหนดการชนของยาน DART ซึ่งเป็นการทดสอบเทคโนโลยีปกป้องโลกด้วยการเอายานอวกาศพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย โดยภารกิจนี้จะมีการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb (JWST) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ร่วมเก็บข้อมูลจากการทดสอบด้วย

การทดสอบของโครงการ DART นี้เป็นการส่งยานอวกาศไปชนดาวเคราะห์น้อย Dimorphos เพื่อจำลองเหตุการณ์ในกรณีที่มีเทหวัตถุเคลื่อนที่พุ่งเข้าหาโลกว่าจะสามารถส่งยานอวกาศไปชนมันเพื่อเบี่ยงทิศทางการเคลื่อนที่ให้เบนออกไม่พุ่งหาโลกได้หรือไม่ ซึ่งการทดสอบนี้จะมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อมาศึกษาและวิเคราะห์พัฒนาโครงการในอนาคต

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศกำหนดวันยิงจรวด Artemis I อีกครั้ง เป็นวันที่ 27 กันยายน ในเวลา 11:37 a.m. EDT ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับเวลา 22:37น. ในไทย มีกรอบเวลาการยิงจรวด (launch window) 70 นาที จรวดมีกำหนดกลับสู่โลกวันที่ 5 พฤศจิกายน

ในครั้งนี้ NASA ยังประกาศแผนสำรองพร้อมกันด้วย หากไม่สามารถยิงจรวดได้ตามกำหนดแรก โดยจะเลื่อนเป็นวันที่ 2 ตุลาคม เวลา 2:52 p.m EDT มีกรอบเวลา 109 นาที

Tags:
Node Thumbnail

Liu Jizhong เจ้าหน้าที่ศูนย์สำรวจดวงจันทร์และอวกาศจีนเปิดเผยว่า องค์การ National Space Adminictration (NASA ของจีน) ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินภารกิจ Chang’e (Chang’e lunar program) ต่อโดยส่งยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ไปดวงจันทร์เพิ่มอีก 3 ลำในช่วง 10 ปีต่อจากนี้ ภายหลังจากที่จีนค้นพบแร่ดวงจันทร์ใหม่จากตัวอย่างที่เก็บมาจากภารกิจ Chang’e-5

แร่ที่เพิ่งค้นพบถูกตั้งชื่อว่า Changesite-(Y) สำนักข่าวซินหัวของจีนอธิบายว่ามีลักษณะเหมือนคริสตัลโปร่งแสงและไม่มีสีที่มีก๊าซฮีเลียม-3 อยู่ภายใน ซึ่งคาดการณ์ว่าก๊าซดังกล่าวอาจเป็นแหล่งพลังงานในอนาคต การค้นพบแร่นี้ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่ 3 ที่ค้นพบแร่ใหม่จากดวงจันทร์

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศเลือกชิป RISC-V จาก Microchip สำหรับโครงการ High Performance Spaceflight Computing (HPSC) คอมพิวเตอร์สำหรับภารกิจในอวกาศรุ่นต่อไป โดยเตรียมใช้คอร์ซีพียูเป็น SiFive X280 เป็นคอร์หลัก ส่วนตัวซีพียูจะออกแบบโดย Microchip

โครงการ HPSC เคยให้ Boeing ออกแบบคอมพิวเตอร์แบบเดียวกันโดยใช้สถาปัตยกรรม Arm มาตั้งแต่ปี 2017 ในตอนนั้น Boeing เลือกใช้คอร์ Arm Cortex-A53 เป็นแกนหลัก

Tags:
Node Thumbnail

ภารกิจ Artemis I ยังเป็นมหากาพย์ไม่จบไม่สิ้น หลัง NASA เตรียมพยายามยิงจรวดเป็นรอบที่สองคืนนี้ราว 1.17 น.

ล่าสุด NASA ประกาศยกเลิกการยิงจรวดแล้ว หลังพบปัญหาไฮโดรเจนเหลวรั่วขณะเติมในถังเชื้อเพลิงของจรวด Space Launch System (SLS) ซึ่งเป็นอาการคล้ายๆ กับปัญหาของรอบที่แล้ว แต่รายละเอียดยังต้องรอการสอบสวนของ NASA อีกครั้ง

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศวันยิงจรวด Artemis I รอบใหม่วันที่ 3 กันยายน เวลาท้องถิ่น 2:17 p.m. EDT ตรงกับเวลาประเทศไทย 01.17 น.​ ของวันที่ 4 กันยายน โดยมีกรอบเวลาที่ยิงจรวดได้ (launch window) 2 ชั่วโมง

ความพยายามยิงจรวดตามภารกิจ Artemis I ครั้งแรกในวันที่ 29 สิงหาคม ไม่ประสบความสำเร็จ หลังพบปัญหาเครื่องยนต์หมายเลข 3 อุณหภูมิสูงกว่าเครื่องยนต์อื่นๆ (มีทั้งหมด 4 เครื่องยนต์) และปัญหาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนรั่วในบริเวณชิ้นส่วน Tail Service Mast Umbilicals ของฐานยิง ซึ่งทีมวิศวกรกำลังแก้ไขปัญหากันอยู่

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศยกเลิกการยิงจรวดตามภารกิจ Artemis I ตามแผนการที่วางไว้ เนื่องจากพบปัญหาเชื้อเพลิงรั่วในเครื่องยนต์ของจรวด SLS

NASA บอกว่าจะพยายามแก้ปัญหาและประกาศวันยิงจรวดใหม่อีกครั้งในภายหลัง จากประกาศเดิมคราวก่อน โอกาสยิง (launch opportunity) รอบหน้าที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการยิงจรวดคือวันที่ 2 กันยายน และ 5 กันยายน

Tags:
Node Thumbnail

ในที่สุด ภารกิจ Artemis I ยิงจรวดไปวนรอบดวงจันทร์ของ NASA ที่ล่าช้ามาหลายรอบ ก็จะเกิดขึ้นแล้วจริงๆ ในวันนี้ 29 สิงหาคม 2022 มีกรอบเวลายิง 2 ช่วงโมง เริ่มตอน 19.33 น. ตามเวลาประเทศไทย (เวลาการถ่ายทอดสดจะเริ่ม 17.30 น. ผ่านทาง YouTube และเว็บไซต์ NASA)

ภารกิจ Artemis I มีความสำคัญเพราะเป็นก้าวแรกของ NASA ในการกลับสู่ดวงจันทร์ ถือเป็นการซ้อมครั้งแรกโดยยิงจรวดที่ยังไม่มีมนุษย์ (มีหุ่นนั่งไปแทนในที่นั่งมนุษย์) ก่อนส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งในภารกิจ Artemis III ราวปี 2025

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หนึ่งในมุกที่เรามักจะนึกถึงเวลาเห็นภาพยนตร์เกี่ยวกับหายนะที่จะมีอุกกาบาตขนาดยักษ์ตกลงมาที่โลกคือการส่งอะไรสักอย่างพุ่งเข้าชนมันเพื่อให้มันเบี่ยงวิถีการเคลื่อนที่ไม่พุ่งตรงมาชนโลก ซึ่งที่ว่ามานี้คือไอเดียของโครงการ Double Asteroid Redirection Test (DART) เทคโนโลยีปกป้องโลกที่ NASA กำลังจะทดสอบจริงเดือนหน้า

ยาน DART มีน้ำหนัก 610 กิโลกรัม ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์และซอฟต์แวร์เพื่อการนำทางสำหรับเคลื่อนที่พุ่งเข้าชนเป้าหมาย พร้อมกล้องถ่ายภาพเพื่อช่วยในการสังเกตการณ์และการนำทาง มันมีแผงโซลาร์เซลล์ที่เมื่อกางออกเต็มที่จะมีความยาว 8.5 เมตรทำหน้าที่สร้างพลังงานไฟฟ้าเลี้ยงระบบต่างๆ

Tags:
Node Thumbnail

NASA อนุมัติแผนการของภารกิจ Artemis I ที่จะส่งจรวดไปวนรอบดวงจันทร์ โดยเดินหน้าตามแผนการยิงจรวดวันที่ 29 สิงหาคม ตามกำหนดเดิม

ก่อนหน้านี้ NASA มีปัญหาเรื่องความพร้อมของจรวด Space Launch System (SLS) จนต้องเลื่อนภารกิจ Artemis I มาแล้วหลายรอบ แต่ตอนนี้คณะกรรมการตรวจสอบความพร้อม (Flight Readiness Review) อนุมัติเรียบร้อยแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศรายชื่อ 13 ตำแหน่ง ที่มีโอกาสเป็นจุดจอดยาน Artemis III ซึ่งเป็นโครงการที่จะส่งนักบินอวกาศกลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง โดยครั้งนี้ประกาศว่าจะมีนักบินอวกาศหญิงและนักบินอวกาศผิวสีไปเหยียบดวงจันทร์ด้วย

ทั้ง 13 ตำแหน่ง อยู่บริเวณขั้วดวงจันทร์ใต้ (South Pole) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มนุษย์ไม่เคยไปสำรวจมาก่อน และคาดว่าจะใช้ศึกษาโอกาสในการตั้งสถานีระยะยาว (ดูรายละเอียดทั้ง 13 ตำแหน่งท้ายข่าว)

โครงการ Artemis III กำหนดส่งนักบินอวกาศไปดวงจันทร์ในปี 2025 จะใช้เวลาสำรวจบนจันทร์ 6.5 วัน ส่วน Artemis I ซึ่งเป็นจรวดลำแรกในโครงการ Artemis ที่จะไปดวงจันทร์ มีกำหนดยิงจรวดวันที่ 29 สิงหาคมนี้ ตามด้วย Artemis II ที่นำมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศกรอบเวลาใหม่สำหรับการยิงจรวด Space Launch System (SLS) พายานอวกาศ Orion ขึ้นไปวนรอบดวงจันทร์ หลังล่าช้ามาแล้วหลายรอบ (รอบล่าสุดจากปัญหาเชื้อเพลิงรั่วระหว่างซ้อมวางบนฐานยิงที่ Kennedy Space Center จนต้องกลับไปซ่อมมาใหม่)

กรอบเวลายิงจรวด (launch opportunity) ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ตำแหน่งของดวงจันทร์ มุมการรับแสงอาทิตย์ของแผงโซลาร์บนยาน สภาพอากาศ ฯลฯ โดย NASA ประกาศกรอบเวลายิงเบื้องต้น (potential launch opportunities) 3 ช่วงคือ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลังจาก NASA เผยภาพถ่ายชุดแรกของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb ยังมีภาพอีกชุดที่กล้อง James Webb ถ่ายให้กับสถาบันวิจัยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Space Telescope Science Institute) โดยมาจากช่วงทดสอบอุปกรณ์ก่อนเริ่มปฏิบัติการจริงๆ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม

ภาพถ่ายชุดนี้เป็นภาพถ่ายดาวพฤหัสและดาวเคราะห์น้อยอีกจำนวนหนึ่ง ด้วยกล้องอินฟราเรด NIRCam ทำให้เราเห็นทั้งจุดแดงยักษ์ (Great Red Spot) และดวงจันทร์บางดวงของดาวพฤหัส เช่น Europa, Thebe, Metis อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นภาพที่คมชัดและสว่างกว่าภาพถ่ายในอดีตมาก

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

NASA เปิดเผยภาพถ่ายอวกาศจากกล้อง James Webb Space Telescope ชุดแรกอีก 3 ภาพ (ข่าวภาพแรกที่เปิดเผยเมื่อวานนี้)

Cosmic Cliffs หน้าผารังสีคอสมิก เป็นการถ่ายภาพพื้นที่ NGC 3324 ที่อยู่ในเนบิวลา Carina Nebula ซึ่งกล้องในอดีตไม่เคยถ่ายได้เพราะติดฝุ่นคอสมิก แต่กล้อง Webb สามารถถ่ายได้เป็นครั้งแรกด้วยพลังของกล้อง Near-Infrared Camera (NIRCam) และ Mid-Infrared Instrument (MIRI) ภาพนี้ดูเหมือนกับภูเขาในอวกาศ - รายละเอียด

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมื่อคืนนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เป็นคนเปิดตัวภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศ์อวกาศ James Webb Space Telescope ซึ่งเป็นภาพถ่ายอวกาศในแนวลึก (Deep Field) ภาพแรกของกล้อง และเป็นภาพถ่ายอวกาศที่ไกลที่สุดและคมชัดที่สุดเท่าที่เคยถ่ายกันมา

ภาพนี้เป็นการถ่ายคลัสเตอร์กาแล็กซี่ SMACS 0723 ที่เห็นกาแล็กซี่นับพันที่อยู่ไกลมาก (4.6 พันล้านปีแสง) ด้วยกล้องอินฟราเรด Near-Infrared Camera (NIRCam) ใช้เวลาถ่ายภาพจากคลื่นอินฟราเรดที่ความยาวคลื่นต่างกันเป็นเวลานาน 12.5 ชั่วโมง (ถ้าเป็นกล้อง Hubble จะใช้เวลาถ่ายนานหลายสัปดาห์)

NASA ระบุว่าจะเปิดตัวภาพถ่ายทั้งชุด (ไบเดนเปิดมาแค่ภาพเดียว) ในคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย

Tags:
Node Thumbnail

สำนักงานอวกาศออสเตรเลีย (Australian Space Agency) ประกาศความสำเร็จในการส่งจรวดเชิงพาณิชย์ร่วมกับ NASA เป็นครั้งแรกเมื่อคืนนี้ เวลา 20:44น. ตามเวลาในไทย จากท่าอวกาศยานใน Arnhem และเป็นการส่งจรวดเชิงพาณิชย์ครั้งแรกของ NASA ที่ทำนอกสหรัฐอเมริกา

โครงการส่งจรวดครั้งนี้มี 3 ลำ ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เพื่อศึกษาผลกระทบของแสงจากดวงดาวต่อพฤติกรรมของโลก โดยจรวดลำแรกจะส่งตัวตรวจสอบรังสีเอกซ์ ว่าผลต่อวิวัฒนาการกาแลกซีอย่างไร ส่วนจรวดอีกสองลำจะเป็นการสำรวจระบบดาวฤกษ์ Alpha Centauri

ท่าอวกาศยานใน Arnhem บริหารงานโดย Equatorial Launch Australia (ELA) มีจุดเด่นกว่าท่าอวกาศยานอื่นที่ทำให้ NASA เลือกใช้สำหรับภารกิจนี้ เพราะมีสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งคงที่ และห่างจากเส้นศูนย์สูตรเพียง 12 องศา

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

NASA เปิดเผยว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb Space Telescope ที่ปัจจุบันโคจรรอบจุด L2 และอยู่ระหว่างเตรียมอุปกรณ์ตรวจวัด ถูกชนโดยอุกกาบาตขนาดเล็ก (micrometeoroid) ในช่วงวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2022 ที่ผ่านมา

จุดที่โดนชนคือกระจกหลักของกล้อง แต่หลังตรวจสอบเบื้องต้นแล้วพบว่ากล้องยังทำงานได้ตามปกติ ซึ่ง NASA จะตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป และ NASA ยอมรับว่าการชนรอบที่ผ่านมาก็ใหญ่กว่าที่เคยจำลองโมเดลกันไว้

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศกรอบเวลาใหม่ของการยิงจรวดตามภารกิจ Artemis I ในโครงการ Artemis ที่จะส่งมนุษย์ไปลงผิวดวงจันทร์อีกครั้ง

โครงการ Artemis แบ่งออกเป็น 3 ภารกิจคือ I ซ้อมส่งจรวดที่ไม่มีมนุษย์ไปวนรอบดวงจันทร์ (2022), II ซ้อมส่งจรวดที่มีมนุษย์ไปวนรอบดวงจันทร์ (2024) และ III พามนุษย์ลงจอดบนดวงจันทร์จริงๆ

ภารกิจ Artemis I มีกำหนดต้องขึ้นอวกาศในปี 2022 นี้ แต่ถูกเลื่อนมาแล้วหลายครั้งจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะปัจจัยทางเทคนิคของจรวดใหม่ Space Launch System (SLS) ที่ยังไม่พร้อมดี

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

สัปดาห์ที่แล้ว NASA ประกาศว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb Space Telescope (JWST) เรียงกระจกเสร็จสมบูรณ์แล้ว หลังเรียงกระจกขั้นแรกเสร็จไปช่วงกลางเดือนมีนาคม

ปัจจุบัน JWST ได้ภาพถ่ายที่คมชัดตามต้องการแล้ว ขั้นต่อไปคือการทดสอบอุปกรณ์ตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการเตรียมตัวขั้นสุดท้ายของ JWST ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ก่อนเริ่มปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการช่วงกลางปีนี้

อุปกรณ์ตรวจวัดของ JWST มีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

กล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb Space Telescope (JWST) จัดเรียงกระจกหกเหลี่ยมทั้ง 18 บานเข้ากับกล้องหลัก Near-Infrared Camera เสร็จเรียบร้อยตามแผน และทดลองถ่ายภาพอวกาศภาพแรกมาให้ดูกันแล้ว

ภาพแรกของ JWST เป็นการถ่ายภาพเพื่อทดสอบการเรียงกระจก เลยเลือกถ่ายดาวฤกษ์ชื่อ 2MASS J17554042+6551277 ให้อยู่ตรงกลางภาพพอดี เพื่อลองดูว่ากระจกเรียงได้พอดีกันเสมือนเป็นแผ่นเดียวหรือไม่ โดย NASA ระบุว่าระบบกล้องของ JWST ไวต่อแสงมาก ดังนั้นเราจึงเห็นภาพกาแล็กซี่และดาวดวงอื่นๆ ติดมาด้วย

ขั้นถัดไป NASA จะปรับแต่งกระจกเพิ่มเติมเพื่อให้ทำงานเข้ากับอุปกรณ์อื่นๆ ใช้เวลา 6 สัปดาห์ แล้วเข้าสู่ขั้นเตรียมอุปกรณ์ตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์ต่อไป

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

NASA ประกาศต่อสัญญาโครงการ Crew-7, Crew-8, และ Crew-9 กับ SpaceX เพื่อขนส่งนักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศนานาชาติอย่างเป็นทางการ ทำให้มูลค่า สัญญา Commercial Crew Transportation Capability (CCtCap) กับ SpaceX ปัจจุบันรวมอยู่ที่ 3.49 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มจาก 2.6 พันล้านดอลลาร์ที่เซ็นในปี 2014

SpaceX ทำภารกิจทดสอบพร้อมลูกเรือ รวมถึง Crew-1 ถึง Crew-3 เพื่อขนส่งนักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศนานาชาติด้วยแคปซูล Crew Dragon สำเร็จไปในปี 2020 ก่อนได้รับการต่อสัญญา Crew-4 ถึง Crew-5 ในปี 2022 และ Crew-6 ในปี 2023 ส่วนการต่อสัญญา Crew-7 ถึง Crew-9 ในปัจจุบัน แปลว่า SpaceX จะได้ทำงานกับ NASA ไปถึง 31 มีนาคม 2028 เลยทีเดียว

Pages