กสทช.
ประเด็นเรื่องการสิ้นสุดสัมปทาน 1800MHz ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบในวงกว้าง และมีนักวิชาการออกมาแสดงความเห็นเรื่องนี้กันพอสมควร
ผมไปเจอสไลด์นำเสนอของคุณวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง จากโครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) คิดว่าสไลด์มีเนื้อหาครบถ้วน ได้ประเด็นชัดเจน จึงติดต่อขอสไลด์จากคุณวรพจน์มาเผยแพร่ต่อบน Blognone ครับ
นอกจากสไลด์แล้วยังมีบทความประกอบด้วย สามารถอ่านได้ท้ายบทความ (หรือดาวน์โหลดเอกสารฉบับ PDF)
จากกรณีปัญหาการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz ในวันที่ 15 กันยายนนี้ (บทความชุด ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 3) วันนี้โครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับส่วนงาน กสทช. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา สำนักงาน กสทช. จัดงานประชุมเรื่อง "ปัญหาทางกฎหมายกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz และแนวทางการแก้ไขปัญหา" ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผมไปร่วมงานมาด้วย เลยจดประเด็นที่นักวิชาการด้านกฎหมายนำเสนอ + อัดเสียงพูดในงานสัมมนามาเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไปครับ
ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นข่าวใหญ่ประจำวงการโทรคมนาคมประจำวันเลยทีเดียว เมื่อ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมกับ สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ส.พรท.) โดยมี สหภาพฯ กสท. โทรคมนาคม สหภาพฯ ทีโอที และสหภาพฯ อสมท. รวมไปถึงสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจอีก 41 แห่ง เพื่อร่วมมือกันลงนามและยื่นหนังสือ ถอดถอน กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ทั้งคณะ แก่วุฒิสภาในวันที่ 6 สิงหาคมนี้ครับ
กสทช. เปิดตัวมาสค็อต "น้องดูดี" สำหรับประชาสัมพันธ์การผลักดันทีวีดิจิตอลในประเทศไทย ซึ่งเราคงได้เห็นมาสค็อตตัวนี้กันบ่อยๆ ในอนาคตอันใกล้นี้
ในโอกาสเดียวกัน กสทช. ยังทำพิธีมอบ "ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล" (ใบอนุญาตโครงข่าย) ให้กับหน่วยงานของรัฐ 4 รายเจ้าของช่องฟรีทีวีเดิม คือ กองทัพบก, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), กรมประชาสัมพันธ์ และ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) ด้วย
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
ความเดิมตอนที่ 1: อธิบายปัญหาการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ของ TRUE และ DPC
ปัญหาการสิ้นสุดสัมปทาน 1800MHz มีองค์กรที่มีส่วนได้เสียโดยตรง 4 ฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายก็มีจุดยืนต่อปัญหาแตกต่างกันไป บทความตอนที่สองนี้จะมาย้อนดูว่าข้อเสนอของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนวิธีไหนจะเวิร์คไม่เวิร์ค สมเหตุสมผลหรือไม่ ก็ขึ้นกับผู้อ่านจะตัดสินครับ
สัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยที่เกิดขึ้นพร้อมกับอุตสาหกรรมมือถือในบ้านเรา กำลังจะสิ้นสุดลงชุดแรกในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ (เจ้าของสัมปทานคือ CAT Telecom ส่วนผู้รับสัมปทานคือ True Move และ DPC/GSM1800)
การที่มันเป็นสัญญาสัมปทานชุดแรกที่จะสิ้นอายุ บวกกับการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยจากระบบสัมปทาน (รัฐวิสาหกิจ-เอกชน) มาเป็นระบบใบอนุญาต (กสทช-เอกชน) ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายเต็มไปหมด ซึ่งผู้อ่าน Blognone เองน่าจะพอทราบกันมาบ้างจากสื่อต่างๆ
ปัญหาเรื่องคลื่น 1800MHz มีความซับซ้อนสูงมาก (โดยเฉพาะประเด็นเรื่องกฎหมาย) บทความนี้จะอธิบายที่มาที่ไปของปัญหานี้ ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียดให้มากขึ้นในบทความต่อๆ ไปครับ
เมื่อวานนี้ (17 ก.ค.) ที่ประชุม กสทช. ชุดใหญ่ลงมติอนุมัติกฎเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิตอลเรียบร้อยแล้ว (เอกสารอย่างเป็นทางการชื่อ (ร่าง)ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ...) ด้วยคะแนน 8 ต่อ 3
โดยฝั่ง กสทช. เสียงข้างน้อยที่ "สงวนความเห็น" (เรียกเป็นภาษาพูดคือไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ) คือ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์
ขั้นตอนต่อไปคือ กสทช. จะนำประกาศฉบับดังกล่าวลงเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา และเริ่มเดินหน้ากระบวนการประมูลทีวีดิจิตอลธุรกิจจำนวน 24 ช่อง ในช่วงประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้
บริการคงสิทธิเลขหมาย (mobile number portability) หรือที่เราเรียกกันภาษาพูดว่า "ย้ายค่ายเบอร์เดิม" จะลดค่าธรรมเนียมจากเดิม 99 บาทเหลือ 29 บาท มีผล 30 มิถุนายนนี้
การลดค่าธรรมเนียมครั้งนี้เป็นไปตามมติของ กทค. เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม โดยค่ายมือถือต้องลดราคาภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ ซึ่งก็ต้องจับตาดูกันต่อไปครับว่าจะมีการ "แหกมติ กทค." เหมือนกับที่แล้วๆ มาในประเด็นอื่นๆ หรือเปล่า
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
ข่าวดีผู้ใช้มือถือ ลดค่าย้ายค่ายเหลือ 29 บาท ตั้งแต่ 30 มิ.ย. นี้
การประมูลทีวีดิจิตอลกำลังเดินหน้าไป แต่ช่วงนี้ก็มีข่าวถึงการใช้ LTE ย่าน 700 ที่ทับซ้อนกันทางด้าน AIS เองก็มีการแถลงข่าวในเรื่องนี้ ทาง Blognone ได้มีโอกาสขอนัดสัมภาษณ์คุณศรัณย์ ผโลประการ (@Saran2530) ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานวางแผนระบบเครือข่ายและบริการของ AIS ถึงที่มาที่ไปรวมถึงความคืบหน้าของเครือข่าย 3G และการทักท้วงของแผนความถี่ในการประมูลคลื่นดิจิตอล ที่ GSMA เพิ่งส่งหนังสือขอให้ทางกสทช. ยืนยันว่าจะมีการเตรียมคลื่นย่าน 700 MHz ไว้ใช้สำหรับ LTE เพื่อให้เข้ากันกับประเทศเพื่อนบ้าน และขอให้มีการทำแผนการปิดคลื่นความถี่อนาล็อกและการจัดคลื่นความถี่ใหม่
จากประเด็นเรื่องค่าบริการ 3G 2100MHz ที่ต้องลดลง 15% ตามคำสั่ง กสทช. ซึ่งทาง กสทช. เองก็ตั้งคณะทำงานตรวจสอบเรื่องนี้เป็นพิเศษ
ผลสอบออกมาแล้วสรุปได้ดังนี้ (กรณีของ dtac ยังไม่เปิดบริการนะครับ)
สำนักงาน กสทช. จะออกหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ประกอบการทั้งสองรายปฏิบัติตามต่อไป
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. กล่าวว่า จากที่ทางสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU กำหนดให้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz สำหรับกิจการโทรคมนาคม ด้านโมบายบรอดแบนด์ ส่งผลให้อาจเกิดปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อนกันระหว่างคลื่นโทรคมนาคม และคลื่นกระจายเสียงและโทรทัศน์ เนื่องจากแผนแม่บทของ กสทช. ประกาศให้คลื่นความถี่ย่าน 510-790 MHz ใช้ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ โดยการประชุมบอร์ด กสท. มีมติยืนยันในการใช้คลื่นความถี่ย่าน 510-790 MHz สำหรับกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้บริการคลื่นความถี่สำหรับออกอากาศโทรทัศน์ดิจิทัลครับ
กสทช. เชิญตัวแทนผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมหารือเรื่องการคืนคลื่นย่านความถี่ 1,800 MHz เพื่อเตรียมแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อผู้บริโภค
ในการพูดคุยที่มี กสทช. เป็นเจ้าภาพนี้ มีทั้งปลัดกระทรวง ICT, ผู้บริหารของ CAT, ผู้บริหารของ True, และผู้บริหารของ AIS เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นที่สัญญาสัมปทานคลื่นโทรศัพท์ในย่านความถี่ 1,800 MHz จะหมดอายุลงในวันที่ 15 กันยายนนี้ เพื่อเตรียมป้องกันปัญหาซิมดับมิให้เกิดกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ โดย กสทช. กำลังร่างมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคหลังการคืนคลื่น ควบคู่กันไปด้วย
กสทช. วัดคุณภาพการให้บริการ 3G ในประเทศไทยทั้งระบบเดิมและระบบใหม่ หลังเปิดให้บริการ 3G ใหม่บนคลื่น 2100MHz
กระบวนการทดสอบใช้วิธีวัดความเร็วการดาวน์โหลดข้อมูลวันที่ 12 พ.ค. (ก่อน 3G ใหม่เปิดบริการ) เทียบกับวันที่ 25 พ.ค. (หลัง 3G ใหม่เปิดให้บริการ) โดยพื้นที่ตรวจสอบคือเซ็นทรัลพระราม 9
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. แถลงข่าวผลการหารือกับ 3 ค่ายมือถือใหญ่ในประเด็นปรับลดค่าบริการ 3G 2100MHz ลง 15% ว่ากำหนดแนวทางร่วมกันได้ดังนี้
ชื่อบทความเดิม ปัญหาทางกฎหมายกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 1800 MHz ระหว่าง บมจ.กสท. กับบริษัททรูมูฟ และบริษัทดิจิตอลโฟน
บทความโดย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตามที่ กสทช. ได้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบราคาการให้บริการ 3G นั้น สัปดาห์ก่อนคณะทำงานได้เชิญตัวแทนค่ายมือถือผู้ได้สิทธิให้บริการเครือข่าย 3G ทั้ง 3 รายเข้าหารือเรื่องการลดราคาค่าบริการ 3G ลง 15% ตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขการออกใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 3 รายก็ได้ชี้แจงแผนการปรับลดราคา โดยจะเริ่มรายแรก 21 พฤษภาคม และจะปรับราคาได้หมดทุกรายในเดือนมิถุนายนนี้
หลังจาก 3 ค่ายมือถือของไทยเปิดตัวบริการ 3G/4G บนความถี่ 2100MHz กันหมดแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีคำถามเรื่อง "ค่าบริการลดลง 15%" ตามเงื่อนไขของ กสทช. ที่หลายคนมองว่าค่ายมือถือหลบเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตาม
ไทยรัฐออนไลน์มีบทสัมภาษณ์ผู้บริหารจากค่ายมือถือทั้งสามในเรื่องนี้ ขอคัดเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจมาดังนี้ครับ
นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานผลิตภัณฑ์ และบริการดิจิตอล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ยักษ์เขียว AIS เป็นค่ายแรกที่เปิดบริการ 3G บนคลื่น 2100MHz อย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ (7 พ.ค.) โดยระยะเริ่มต้นสามารถให้บริการใน 20 จังหวัด ครอบคลุมผู้ใช้ 10 ล้านคน
ตามแผนของ AIS ระบุว่าจะขยายพื้นที่บริการครบทุกจังหวัดภายในสิ้นปีนี้ และครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศในปีหน้า โดยเครือข่ายจะยัง roaming กับระบบ 900MHz เดิมด้วย ส่วนตอนนี้มีผู้ย้ายระบบมาใช้ 3G ใหม่จำนวน 800,000 คนแล้ว - Voice TV
สำนักงาน กสทช. เผยสถิติการติดตั้งสถานีฐานสำหรับเปิดบริการ 3G บนคลื่น 2.1GHz ว่าผู้ประกอบการทั้งสามรายติดตั้งสถานีฐานไปแล้วทั้งหมด 3,650 สถานี แบ่งเป็น
ถ้ายังไม่ลืมกัน ตอนเปิดประมูล 3G เมื่อปลายปีที่แล้ว ผลปรากฏว่าราคาการประมูลคลื่น 3G แทบไม่เพิ่มจากราคาตั้งต้นเลย เนื่องมาจาก กสทช. ออกเกณฑ์ที่ทำให้เอกชนไม่จำต้องแข่งขันกันเลย ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมามากมาย และมีหลายหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบ เช่น ปปช. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และ กระทรวงการคลัง ในครั้งนั้น กสทช.
กสทช. ให้ผู้รับใบอนุญาตให้บริการเครือข่าย 3G ในย่านความถี่ 2.1GHz ส่งข้อมูลแผนการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้พิจารณาก่อนจะเริ่มเปิดให้บริการ
แผนการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของแผนความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ซึ่งภาคเอกชนที่ประมูลสิทธิให้บริการเครือข่ายในระบบ 3G ไปได้จะต้องนำส่งแก่ กสทช. พร้อมกันกับแผนกำหนดการเปิดให้บริการของผู้ประกอบการแต่ละราย
โดยแผนการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์นี้จะต้องครอบคลุมแผนการจัดการซากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพการใช้งานแล้วซึ่งประกอบไปด้วยสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งอาจปนเปื้อนและตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นระยะเวลานาน รวมทั้งสะสมอยู่ในร่างกายสิ่งมีชีวิตได้ด้วย
บอร์ด กสท. มีมติการจัดสรรช่องสาธารณะสำหรับทีวีดิจิทัลจำนวน 12 ช่อง โดยมี ททบ.5, NBT และ Thai PBS ได้โควต้า 4 ช่อง ส่วนอีก 8 ช่องจะเป็นของผู้ประกอบการรายใหม่
รายละเอียดของช่องทีวีที่ ททบ.5, NBT และ Thai PBS ได้รับใบอนุญาต มีดังนี้
มีความคืบหน้าจากเหตุ iPhone 5 ที่ระเบิดในไทยเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา (ข่าวเก่าจาก MacThai)
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้กล่าวว่าเมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมาบริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย ในฐานะผู้นำเข้า ได้ร่วมหารือ และมีข้อสรุปว่าจะนำเครื่องที่เกิดระเบิดดังกล่าวไปตรวจสอบที่สหรัฐอเมริกา
สำหรับทางผู้เสียหาย กสทช. จะเชิญมาร่วมหารือกับทางผู้ผลิตเพื่อพิจารณาแนวทางการเยียวยาความเสียหายร่วมกัน และให้เป็นมาตรฐานในการใช้เยียวยาผู้เสียหายรายอื่นในอนาคต