เมื่อช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน 2021 ผู้ใช้ทวิตเตอร์ในประเทศไนจีเรียตื่นมาเพื่อพบว่าไม่สามารถใช้งานทวิตเตอร์ได้ โดยกระทรวงไอซีทีและวัฒนธรรมของไนจีเรียได้ออกมาประกาศทางทวิตเตอร์ว่ารัฐบาลไนจีเรียได้ปิดกั้นการเข้าถึงแพลตฟอร์มทวิตเตอร์อย่างไม่มีกำหนดแล้ว
Celestine Omin บินจากไนจีเรียเข้ามายังนิวยอร์กเพื่อทำงานกับบริษัทด้านการเงินที่ชื่อว่า First Access ในตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ แต่ถูกกักตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองสนามบิน
การสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในด่านตรวจคนเข้าเมืองคงไม่แปลกนัก แต่ Omin ถูกขอให้เขียนฟังก์ชั่นสำหรับการตรวจสอบว่า binary search tree นั้นสมดุลหรือไม่ และ abstract class คืออะไร
เขาคาดว่าเจ้าหน้าที่กูเกิลหาคำถามมาให้เขา แต่ตัวเขาเองบินยาว 24 ชั่วโมงจนเหนื่อยเกินไป แม้เจ้าหน้าที่จะบอกว่าคำตอบที่เขายื่นให้นั้นผิด แต่ก็ถูกปล่อยตัวในที่สุด
ที่มา - BBC
ถ้าพูดถึงประเทศไนจีเรีย หลายคนอาจนึกถึงทีมฟุตบอลและอีเมลลูกโซ่ยอดฮิต "Nigerian scam" (ที่เขียนเมลมาว่าเป็นเศรษฐีตกยากจากประเทศไนจีเรียนั่นล่ะครับ) ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ (ด้านลบ) ของไนจีเรียไปแล้ว
แต่รัฐบาลไนจีเรียเริ่มเอาจริงกับพวกทำลายชื่อเสียงของประเทศทาง scam mail แล้ว โดยใช้ชื่อโครงการว่า Project Eagle Claw ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการต้านอาชญากรรมด้านเศรษฐกิจและการเงิน ที่ผ่านมามีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ปิดเว็บหลอกลวงเหล่านี้ไปเป็นหลักพัน และจับกุมผู้กระทำความผิดไปแล้ว 18 ราย
จากการเปิดเผยของบริษัท เกรท วอลล์ อินดัสตรี ซึ่งเป็นผู้ให้บริการส่งดาวเทียมของจีน ระบุว่า ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารของประเทศไนจีเรีย ที่มีชื่อว่า NIGCOMSAT – 1 สร้างและปล่อยขึ้นสู่อวกาศโดยจีน เมื่อไม่นานนี้มีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถนำมาให้บริการได้
ดาวเทียมดวงนี้ ซึ่งถูกส่งขึ้นไปโคจรในอวกาศ ด้วยจรวด ลอง มาร์ช รุ่น 3-B เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 มีปัญหาเกี่ยวกับแผงรับแสงอาทิตย์ ทำให้ดาวเทียมสูญเสียพลังงาน และในที่สุดใช้งานไม่ได้
ดาวเทียมส่วนใหญ่จำเป็นต้องอาศัยพลังงานที่ได้รับจากแผงรับแสงอาทิตย์ที่จะต้องกางออกเมื่อเข้าสู่วงโคจรแล้ว และเก็บพลังงานสำรองไว้ในแบตเตอรี่
รัฐบาลไนจีเรียตั้งใจที่จะขยายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตในพื้นที่อาฟริกากลาง
เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บริษัท Mandriva ได้เซ็นสัญญากับบริษัท TSC ซึ่งเป็นบริษัทฮาร์ดแวร์รายใหญ่ในแอฟริกาว่าจะพัฒนา Mandriva Linux รุ่นพิเศษสำหรับโครงการ Classmate PC ซึ่งรัฐบาลไนจีเรียสั่งซื้อ 11,000 เครื่องให้นักเรียนในประเทศ
แต่หลังจากนั้นก็มีข่าวว่า TSC ได้ล้างข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ของ Classmate PC เพื่อติดตั้ง Windows XP โดยใช้เงินของบริษัทเองจ่ายค่าซอฟต์แวร์ (ค่าฮาร์ดแวร์เป็นงบจัดซื้อของรัฐบาล) ซึ่งทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าไมโครซอฟท์ลดราคาให้/ยกให้ฟรี/หรือแม้กระทั่งแถมเงินให้ TSC เพื่อใช้วินโดวส์ในโครงการนี้
ช่วงนี้ข่าวแล็ปท็อปร้อยเหรียญค่อนข้างคึกคัก
หลังจากประกาศพร้อมผลิตแล้ว ไนจีเรียเป็นประเทศแรกที่สั่งซื้อเครื่องจำนวน 1 ล้านเครื่อง แถมจ่ายตังเรียบร้อยแล้ว ทางโรงงานพร้อมจะผลิตให้ทันทีถ้ามีออเดอร์อยู่ในระดับ 5 ถึง 10 ล้านเครื่อง
ส่วนประเทศที่ตอบปฏิเสธแบบหักหน้า Nicholas Negroponte แห่ง MIT คืออินเดีย โดยรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของอินเดียให้ความเห็นว่า "อินเดียไม่ควรเป็นเวทีทดสอบไอเดียใหม่ที่จะใช้กับเด็กๆ" และไม่พร้อมจะจ่ายเงินเพื่อซื้อเครื่องล็อตแรกจำนวน 1 ล้านเครื่องนี้
สำหรับประเทศไทย ดูข่าวอันเก่า