มีรายงานว่า Ofo หนึ่งในสตาร์ทอัพแชร์จักรยานดาวรุ่งของจีน ที่ประสบปัญหาการเงิน ถูกลูกค้าเรียกร้องขอเงินมัดจำคืน แต่บริษัทพยายามให้ข้อเสนอเปลี่ยนเป็นซื้อสินค้าแทน ล่าสุดแอปของ Ofo จะปรับโฉมใหม่ท้งหมด
โดยในแอปเวอร์ชัน 4.0 นั้น Ofo เน้นไปที่อีคอมเมิร์ซ ระบุว่าเป็นแอปแชร์จักรยาน ที่ทุกการใช้จ่ายสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสำหรับซื้อสินค้าได้ ผ่านแพลตฟอร์มทั้ง JD.com, Tmall, Taobao และ Ele.me จึงดูเหมือนบริษัทมาเน้นที่อีคอมเมิร์ซมากขึ้นนั่นเอง
บริการแชร์จักรยานในประเทศจีนไม่รุ่งเรืองเหมือนเมื่อก่อนแล้ว ในเมืองปักกิ่งเฉพาะครึ่งปีแรกปีนี้ มีการนำจักรยานที่ไม่ได้ใช้ออกจากเมืองไปถึงราว 4 แสนคัน ข้อมูลจากคณะกรรมการขนส่งปักกิ่งระบุว่าในบรรดาจักรยานที่แชร์กันทั้งหมด มีการใช้งานเพียง 30%
ปัญหาของบริการแชร์จักรยานในจีนคือ มีเยอะเกินความต้องการ และจอดไม่เป็นที่เป็นทาง จากตอนแรกช่วงปี 2016-2017 ที่มีผู้ให้บริการไม่กี่เจ้าคือ Mobike, Ofo ตอนนี้มีจักรยานจากบริษัทราว 16 เจ้า ปริมาณจักรยานพุ่งสูงถึง 2.35 ล้านคัน
Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานชื่อดังจากจีน ที่เคยมีมูลค่ากิจการถึง 2 พันล้านดอลลาร์ แต่เริ่มเกิดปัญหาเมื่อซัพพลายเออร์ผู้ผลิตจักรยานทยอยฟ้องร้อง เนื่องจากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ ล่าสุดข้อมูลพบว่าสถานการณ์ Ofo น่าจะลำบากขึ้นอีก
โดยบริษัท Tianjin Fuji-Ta Bicycle ผู้ผลิตจักรยานได้ฟ้องต่อศาล เพื่อให้ Ofo ชำระหนี้ 36 ล้านดอลลาร์ สิ่งที่น่าสนใจคือรายงานในศาล เปิดเผยว่า Ofo นั้นอยู่ในสถานะบริษัทที่ไม่มีสินทรัพย์ใด ๆ สำหรับการจ่ายหนี้เลย บัญชีธนาคารส่วนใหญ่ถูกอายัดไว้ ที่ไม่ถูกอายัดก็แทบไม่มีเงินในบัญชี แถมบริษัทยังไม่มีสินทรัพย์ถาวร อาทิ อาคาร รถยนต์ หรือเงินลงทุนในบริษัทอื่นด้วย
Ofo สตาร์ทอัพจักรยานของจีน ที่ทยอยปิดสาขาในหลายประเทศ และถูกผู้ใช้งานในจีนประท้วงเนื่องจากไม่ได้รับเงินมัดจำ (99 หยวน) คืนเมื่อยื่นคำร้องไป ซึ่งถึงตอนนี้ก็ยังไม่สามารถคืนเงินให้ลูกค้าได้ครบทุกคน แต่ Ofo ก็ได้หาทางแก้ไขเรื่องนี้ได้น่าสนใจ
โดย Ofo ได้แจ้งผู้ใช้งานที่ยังมีเงินมัดจำคงค้างอยู่ ว่าสามารถแปลงเงินมัดจำนั้นมาเป็นเหรียญทองภายในแอปได้ แล้วนำเหรียญทองนี้ไปใช้ซื้อสินค้าใน Ofo Store ร้านค้าออนไลน์ที่อยู่ภายในแอป โดยมีสินค้าให้เลือก 48 รายการ อาทิ คุกกี้, น้ำผึ้ง, ไวน์ และเครื่องสำอาง
Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานรายใหญ่ของจีน ที่ปิดสาขาในต่างประเทศไปหลายแห่งรวมทั้งไทย และมีข่าวว่าค้างจ่ายเงินผู้ผลิตจักรยาน กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ยากขึ้นไปอีก โดยมีลูกค้าหลายร้อยคนไปรวมตัวประท้วงที่หน้าสำนักงานใหญ่ในปักกิ่ง เนื่องจากลูกค้าเหล่านี้ได้ทำเรื่องขอคืนเงินมัดจำในระบบ (99 หยวน) แต่พอครบกำหนด 15 วัน ตามที่ในแอประบุไว้ กลับไม่ได้รับเงินคืน
หน่วยงานกำกับดูแลการขนส่งทางของสิงคโปร์ ได้ออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการแชร์รถจักรยานหลายราย รวมทั้ง ofo, Mobike และ SG Bike ซึ่งสามารถให้บริการได้เต็มรูปแบบและถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตามถึงแม้จะให้บริการได้ตามกฎหมาย แต่เงื่อนไขของสิงคโปร์ก็ทำให้ผู้ประกอบการต้องออกมาร้องเรียน โดย ofo และ Mobike ถูกกำหนดให้มีจักรยานบริการภายในสิงคโปร์ รายละไม่เกิน 25,000 คันเท่านั้น โดย ofo บอกว่า ได้ยื่นคำร้องขอไป 8 หมื่นคัน เนื่องจากคำนวณจากความต้องการจริงที่มีอยู่ บริษัทจึงรู้สึกผิดหวัง และกังวลว่าจะไม่สามารถให้บริการได้ดีและทั่วถึงพอ
สถานการณ์ของสตาร์ทอัพแชร์จักรยาน Ofo ดูยากลำบากขึ้นไปอีก หลังจากทยอยปิดสาขาในต่างประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ล่าสุดมีรายงาน Ofo ถูกผู้ผลิตจักรยานฟ้องร้อง เนื่องจากค้างจ่ายเงิน
โดยบริษัทผู้ผลิตจักรยาน Shanghai Phoenix Bicycles ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย Ofo เป็นจำนวนเงินราว 10 ล้านดอลลาร์ อธิบายว่า Ofo ได้เซ็นสัญญาให้ผลิตจักรยานจำนวน 5 ล้านคัน โดยจะทยอยซื้อตลอดปี ตั้งแต่พฤษภาคม 2017 ซึ่งตลอดปีที่แล้ว Ofo ซื้อจักรยานไปรวม 2 ล้านคัน แต่พอขึ้นปี 2018 ถึงตอนนี้ Ofo ซื้อจักรยานเพิ่มไปเพียง 1 แสนคันเท่านั้น จึงผิดข้อตกลงและทำให้บริษัทได้รับผลกระทบ
หลังจากที่ Ofo ผู้ให้บริการแชร์จักรยานรายใหญ่จากจีนทยอยปิดสาขาในต่างประเทศ ตอนนี้มีรายงานว่า Ofo ตัดสินใจยุติการให้บริการแชร์จักรยานทั้งหมดในประเทศไทยแล้วเช่นกัน
ข้อมูลดังกล่าวมาจากเพจ "เสียงประชาชน คนภูเก็ต" โดยแสดงภาพถ่ายจดหมายฉบับหนึ่งที่ Ofo ส่งถึงบริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง ซึ่งเป็นบริษัทที่นำเอารถจักรยานของ Ofo ไปให้บริการในลักษณะจักรยานสาธารณะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เนื้อความในจดหมายนั้นระบุว่าทางสำนักงานใหญ่ของ Ofo ที่ประเทศจีนได้มีมติให้ยุติการให้บริการในทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยมีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งทาง Ofo จะทยอยขนย้ายจักรยานออกจากพื้นที่ภายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้
Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานรายใหญ่ของจีน มีข่าวตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาของการปิดสำนักงาน หรือลดขนาดองค์กรในหลายประเทศ ซึ่งอาจสะท้อนว่าการขยายสู่ตลาดต่างประเทศของแอปจักรยานจีนรายนี้ เริ่มไม่ง่ายนัก
โดย Ofo ได้ประกาศถอนตลาดจากประเทศเยอรมนี ส่วนในสหรัฐอเมริกา ก็ได้ประกาศปลดพนักงานไปราว 70% พร้อมหยุดดำเนินงานในหลายเมือง และล่าสุดคือสเปน
Ofo บอกว่าจากนี้บริษัทจะโฟกัสเฉพาะตลาดที่สำคัญ โดยเหลือแค่เมืองหลวงของประเทศหลักในยุโรป อาทิ ปารีส, ลอนดอน และมิลาน สิ่งที่ท้าทายการขยายกิจการของ Ofo คือหลายเมืองได้เริ่มออกข้อกำหนดเพื่อไม่ให้จำนวนจักรยานมีมากจนเกินไป และมีการจอดไม่เป็นระเบียบตามสถานที่ต่าง ๆ ส่วนในอเมริกาก็ต้องแข่งขันแอปแชร์สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าอีกด้วย
มีรายงานว่า Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานรายใหญ่ของจีน เริ่มทำการขายโฆษณาทั้งบนตัวจักรยาน และโฆษณาผ่านในแอพแล้ว เพื่อเพิ่มรายได้และเพิ่มเงินสดในมือ โดยในเอกสาร (ภาษาจีน) มีการแสดงรายละเอียดรูปแบบโฆษณา ที่ติดอยู่รอบตัวจักรยาน แม้แต่บนล้อก็มี
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า Ofo เริ่มชะลอการสั่งผลิตจักรยานเมื่อเทียบกับปริมาณที่สั่งในปี 2017 ซึ่งสะท้อนปัญหาเงินสดในมือของ Ofo นอกจากนี้ Alibaba ที่เป็นผู้ลงทุนใน Ofo ก็กำหนดเงื่อนไขมากขึ้นหาก Ofo ต้องการเงินกู้เพิ่มเติม
เมื่อเดือนที่แล้วคู่แข่งสำคัญของ Ofo อย่าง Mobike ได้ตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดให้ Meituan-Dianping ทำให้บริษัทจบปัญหาการแข่งขันที่ต้องใช้เงินทำการตลาดมากจนแทบไม่มีกำไรไปได้
Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานรายใหญ่ของจีน ประกาศรับเงินทุนเพิ่มอีก 866 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 27,000 ล้านบาท จากกลุ่มนักลงทุนที่นำโดย Alibaba ซึ่งเงินทุนรอบนี้มีทั้งส่วนที่เป็นหุ้นและส่วนที่เป็นเงินกู้ยืม ส่วนผู้ลงทุนรายอื่นได้แก่ Ant Financial (ซึ่งก็เป็นเครือ Alibaba), Haofeng Group, Tianhe Capital และ Junli Capital
ผลจากเงินเพิ่มทุนครั้งนี้ทำให้ Alibaba กลายเป็นผู้ถือหุ้น Ofo รายใหญ่ที่สุด แทนที่ Didi Chuxing ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา Didi Chuxing เองก็ได้ไปซื้อกิจการเบอร์ 3 อย่าง Bluegogo
ข้อมูลจากรายงานจักรยานที่ใช้ร่วมกันและการพัฒนาเมือง 2017 จัดทำโดยสถาบันนวัตกรรมการวางผังเมือง หรือ Beijing Tsinghua Tongheng Innovation Institute ของประเทศจีน เผยตัวเลขว่า ถ้าย้อนกลับไปประมาณ 2 ปีก่อนที่บริการแชร์จักรยานในจีนจะเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย การเดินทางด้วยจักรยานคิดเป็นแค่ 5.5% ของการขนส่งทั้งหมดในจีน แต่ปัจจุบันสัดส่วนการใช้จักรยานเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เป็น 11.6%
ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิแห่งรัฐของจีนระบุว่า ขณะนี้มีรถจักรยานแชร์จอดและใช้งานบนท้องถนน 16 ล้านคัน แต่ละคันมีคนใช้งานเฉลี่ย 3 ครั้งต่อวัน รายงานจากคณะกรรมาธิการการขนส่งของเมืองเซินเจิ้นก็บอกว่าจักรยานในตัวเมืองมีจักรยานแบบแชร์กันประมาณ 500,000 คัน แทนที่การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวถึง 10%
Didi Chuxing สตาร์ทอัพแอพเรียกรถแท็กซี่ ที่ตอนนี้มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลก มากกว่า Uber ประกาศเตรียมเข้าสู่ธุรกิจแชร์รถจักรยาน ซึ่งกำลังเติบโตและได้รับความนิยมสูงมากในจีน โดยจะเชื่อมต่อบริการเข้ากับในแอพ Didi เลย
ในเบื้องต้นบริการแชร์จักรยานนี้จะใช้วิธีพาร์ทเนอร์กับ Ofo, Bluegogo และผู้ให้บริการรายอื่น ตลอดจนแบรนด์แชร์จักรยานของ Didi เองที่จะเปิดตัวเร็วๆ นี้
ปัจจุบันแอพจักรยาน Ofo มีทั้ง Didi และ Alibaba เป็นผู้ลงทุน ขณะที่ Didi Chuxing เองก็มีทั้ง Alibaba และ Tencent เป็นผู้ลงทุนอยู่