Google Maps เพิ่มการแสดงข้อมูล Spin หรือบริการให้ยืมสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและจักรยานไฟฟ้า (อยู่ในเครือ Ford) และสามารถกดเพื่อเชื่อมต่อตรงไปยังแอปพลิเคชัน Spin เพื่อทำการจ่ายเงินและปลดล็อก เปิดใช้งานใน 84 เมื่องในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี และสเปน
Spin ไม่ใช่รายแรกที่ integrate ระบบเข้ากับ Google Maps โดย Lime อีกผู้เล่นในตลาดจักรยานไฟฟ้าทำมาก่อนแล้วในปี 2019 ส่วน Spin นพระบบ integrate เข้ากับแพลตฟอร์มแผนที่อื่นด้วยคือ Citymapper และ Moovit
Bloomberg รายงานว่า Hello Inc. เจ้าของแพลตฟอร์มแชร์จักรยาน Hello หรือ Hello Bike ได้ยื่นเอกสารไฟลิ่ง เพื่อเตรียมนำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นที่อเมริกาแล้ว ซึ่งจะทำให้เป็นบริษัทผู้ให้บริการแชร์จักรยานรายแรก ที่เข้าตลาดหุ้นที่นั่น
Hello มีผู้ลงทุนรายสำคัญคือ Ant Group รายงานข่าวระบุว่าบริษัทยังไม่สรุปจำนวนหุ้น และราคาหุ้นที่จะขาย แต่คาดว่าบริษัทต้องการเงินเพิ่มทุนจากไอพีโอนี้ราว 1,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดจากการเพิ่มทุน บริษัทมีมูลค่ากิจการราว 5,000 ล้านดอลลาร์
จำนวนผู้ลงทะเบียนใช้งานบนแพลตฟอร์มมี 400 ล้านคน และ Hello ให้บริการแล้วใน 400 เมืองของจีน
Qingju ธุรกิจให้บริการแชร์จักรยานในเครือ Didi Chuxing ผู้ให้บริการแอปรถแท็กซี่รายใหญ่ของจีน ประกาศรับเงินเพิ่มทุนซีรี่ส์ B อีก 600 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งรับเงินกู้อีก 400 ล้านดอลลาร์ จากกลุ่มนักลงทุน โดยไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติม
Qingju เริ่มให้บริการเฉพาะในมณฑลเสฉวนเมื่อปี 2018 ปัจจุบันมีให้บริการใน 200 เมืองทั่วประเทศจีน
บริการแชร์รถจักรยานเป็นสตาร์ทอัพที่มาแรงในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ก็มีหลายรายที่ปิดให้บริการไป โดยผู้ที่ยังให้บริการรายใหญ่ในจีนปัจจุบันนอกจาก Qingju มี Hello Bike ที่มี Ant Group ถือหุ้นใหญ่ และ Meituan Bike หรือ Mobike เดิม ที่อยู่ในเครือ Meituan-Dianping
Lime ผู้ให้บริการแชร์จักรยานไฟฟ้าและสกูตเตอร์ ที่ทำตลาดในอเมริกาและหลายประเทศในยุโรป ประกาศรับเงินเพิ่มทุนรอบใหม่ 170 ล้านดอลลาร์ จากกลุ่มนักลงทุนนำโดย Uber และมีผู้ร่วมลงทุนอื่นอาทิ Alphabet, Bain Capital Ventures, GV และนักลงทุนอีกหลายราย
ผลจากดีลนี้ Uber จะโอนธุรกิจแชร์จักรยาน JUMP ไปเป็นส่วนหนึ่งของ Lime และเพิ่มบริการของ Lime เข้ามาในแอป Uber ด้วย นอกจากนี้ Lime จะเปลี่ยนซีอีโอมาเป็น Wayne Ting ที่เคยดูแลฝ่ายโอเปอเรชั่น ส่วนอดีตซีอีโอ Brad Bao จะขึ้นเป็นประธานบริหาร
ดีลนี้ประกาศออกมา เพียงวันเดียวหลังจากที่ Uber ประกาศปลดพนักงาน 14% จากผลกระทบของ COVID-19
มีรายงานว่า Ofo หนึ่งในสตาร์ทอัพแชร์จักรยานดาวรุ่งของจีน ที่ประสบปัญหาการเงิน ถูกลูกค้าเรียกร้องขอเงินมัดจำคืน แต่บริษัทพยายามให้ข้อเสนอเปลี่ยนเป็นซื้อสินค้าแทน ล่าสุดแอปของ Ofo จะปรับโฉมใหม่ท้งหมด
โดยในแอปเวอร์ชัน 4.0 นั้น Ofo เน้นไปที่อีคอมเมิร์ซ ระบุว่าเป็นแอปแชร์จักรยาน ที่ทุกการใช้จ่ายสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสำหรับซื้อสินค้าได้ ผ่านแพลตฟอร์มทั้ง JD.com, Tmall, Taobao และ Ele.me จึงดูเหมือนบริษัทมาเน้นที่อีคอมเมิร์ซมากขึ้นนั่นเอง
Ofo สตาร์ทอัพจักรยานของจีน ที่ทยอยปิดสาขาในหลายประเทศ และถูกผู้ใช้งานในจีนประท้วงเนื่องจากไม่ได้รับเงินมัดจำ (99 หยวน) คืนเมื่อยื่นคำร้องไป ซึ่งถึงตอนนี้ก็ยังไม่สามารถคืนเงินให้ลูกค้าได้ครบทุกคน แต่ Ofo ก็ได้หาทางแก้ไขเรื่องนี้ได้น่าสนใจ
โดย Ofo ได้แจ้งผู้ใช้งานที่ยังมีเงินมัดจำคงค้างอยู่ ว่าสามารถแปลงเงินมัดจำนั้นมาเป็นเหรียญทองภายในแอปได้ แล้วนำเหรียญทองนี้ไปใช้ซื้อสินค้าใน Ofo Store ร้านค้าออนไลน์ที่อยู่ภายในแอป โดยมีสินค้าให้เลือก 48 รายการ อาทิ คุกกี้, น้ำผึ้ง, ไวน์ และเครื่องสำอาง
Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานรายใหญ่ของจีน ที่ปิดสาขาในต่างประเทศไปหลายแห่งรวมทั้งไทย และมีข่าวว่าค้างจ่ายเงินผู้ผลิตจักรยาน กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ยากขึ้นไปอีก โดยมีลูกค้าหลายร้อยคนไปรวมตัวประท้วงที่หน้าสำนักงานใหญ่ในปักกิ่ง เนื่องจากลูกค้าเหล่านี้ได้ทำเรื่องขอคืนเงินมัดจำในระบบ (99 หยวน) แต่พอครบกำหนด 15 วัน ตามที่ในแอประบุไว้ กลับไม่ได้รับเงินคืน
ถึงแม้เราจะเห็นข่าวการเติบโตที่ติดขัดของบรรดาแอปแชร์จักรยานทั้งหลาย แต่ล่าสุดมีรายงานว่า SoftBank กำลังเจรจาเพื่อลงทุนในแอปแชร์จักรยาน Hellobike ของจีน โดยร่วมกับกองทุนของจีน Primavera Capital ซึ่งเงินทุนคาดอยู่ราว 400 ล้านดอลลาร์
เมื่อปีก่อนเราเคยรายงานว่า Hellobike ได้เงินลงทุน 500 ล้านดอลลาร์ ซีรี่ส์ D
ปัจจุบัน Hellobike ถือเป็นผู้เล่นในตลาดแอปแชร์จักรยาน อันดับ 3 ของจีน รองจาก Mobike และ ofo ซึ่งสถานการณ์ล่าสุด Mobike ได้ขายกิจการให้ Meituan Dianping ไปแล้ว ส่วน ofo ยังติดปัญหาในการเจรจาหาผู้ซื้อกิจการไม่ได้
หน่วยงานกำกับดูแลการขนส่งทางของสิงคโปร์ ได้ออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการแชร์รถจักรยานหลายราย รวมทั้ง ofo, Mobike และ SG Bike ซึ่งสามารถให้บริการได้เต็มรูปแบบและถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตามถึงแม้จะให้บริการได้ตามกฎหมาย แต่เงื่อนไขของสิงคโปร์ก็ทำให้ผู้ประกอบการต้องออกมาร้องเรียน โดย ofo และ Mobike ถูกกำหนดให้มีจักรยานบริการภายในสิงคโปร์ รายละไม่เกิน 25,000 คันเท่านั้น โดย ofo บอกว่า ได้ยื่นคำร้องขอไป 8 หมื่นคัน เนื่องจากคำนวณจากความต้องการจริงที่มีอยู่ บริษัทจึงรู้สึกผิดหวัง และกังวลว่าจะไม่สามารถให้บริการได้ดีและทั่วถึงพอ
สถานการณ์ของสตาร์ทอัพแชร์จักรยาน Ofo ดูยากลำบากขึ้นไปอีก หลังจากทยอยปิดสาขาในต่างประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ล่าสุดมีรายงาน Ofo ถูกผู้ผลิตจักรยานฟ้องร้อง เนื่องจากค้างจ่ายเงิน
โดยบริษัทผู้ผลิตจักรยาน Shanghai Phoenix Bicycles ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย Ofo เป็นจำนวนเงินราว 10 ล้านดอลลาร์ อธิบายว่า Ofo ได้เซ็นสัญญาให้ผลิตจักรยานจำนวน 5 ล้านคัน โดยจะทยอยซื้อตลอดปี ตั้งแต่พฤษภาคม 2017 ซึ่งตลอดปีที่แล้ว Ofo ซื้อจักรยานไปรวม 2 ล้านคัน แต่พอขึ้นปี 2018 ถึงตอนนี้ Ofo ซื้อจักรยานเพิ่มไปเพียง 1 แสนคันเท่านั้น จึงผิดข้อตกลงและทำให้บริษัทได้รับผลกระทบ
บริการแชร์รถแท็กซี่อาจเกิดการปรับรูปแบบธุรกิจใหม่อีกครั้ง โดย Dara Khosrowshahi ซีอีโอ Uber ได้ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times ว่า Uber จะมาเน้นให้บริการ จักรยานไฟฟ้า และสกูตเตอร์ ให้มากขึ้น สำหรับการเดินทางระยะทางสั้น ๆ
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น Khosrowshahi บอกว่าในเวลาชั่วโมงเร่งด่วน การใช้รถยนต์ 1 คัน พาผู้โดยสาร 1 คน ไปส่งในระยะทางราว 10 ช่วงตึกนั้น เป็นวิธีการที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงน่าจะดีกว่าถ้าสามารถปรับพฤติกรรมลูกค้าได้ ทุกฝ่ายก็ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งหมด
เขายังบอกว่าในแง่ของคนขับรถ Uber เดิมนั้น การเรียกรถก็จะเกิดกับระยะทางที่ไกลมากขึ้น นั่นหมายถึงค่าโดยสารที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน
Lime ผู้ให้บริการแชร์จักรยานและสกูตเตอร์ไฟฟ้าในอเมริกา และหลายประเทศในยุโรป ประกาศรับเงินทุน 335 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนหลายราย ซึ่งรวมทั้ง Uber, กองทุน GV และ Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิลด้วย
ปัจจุบันตลาดแอปแชร์จักรยานในอเมริกา เริ่มหันมาโฟกัสการให้บริการรถสกูตเตอร์ไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากความคล่องตัวในการเดินทางที่มากกว่าจักรยาน, ต้นทุนที่ถูกกว่า และที่สำคัญคือสกูตเตอร์มีขนาดเล็กกว่า จึงไม่ต้องสร้างจุดจอดแบบจักรยาน โดยนอกจาก Lime แล้ว ก็มี Bird ที่ให้บริการคล้ายคลึงกัน
นอกจากนี้ Lime ยังเปิดเผยว่ากำลังร่วมมือกับ Uber ที่เป็นหนึ่งในผู้ลงทุนรอบนี้ เพื่อเพิ่มตำแหน่งพิกัดสกูตเตอร์และจักรยานลงในแอป โดยสามารถจองรถผ่านแอป Uber ได้เลย ทำให้การเดินทางครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
Mobike บริการแชร์จักรยานที่ปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของ Meituan-Dianping ผู้ให้บริการ Online-to-Offline รายใหญ่ในจีน ประกาศเปลี่ยนแปลงการให้บริการหลายอย่าง ซึ่งน่าจะส่งผลให้การแข่งขันในแอปแชร์จักรยานมีเพิ่มมากขึ้น
โดยอย่างแรกคือการประกาศยกเลิกการมัดจำและคืนเงิน มีผลกับผู้ใช้ในจีนทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ยกเลิกไปแล้วในสิงคโปร์ ที่ผ่านมาแอปแชร์จักรยานจะบังคับให้เติมเงินมัดจำเพื่อป้องกันปัญหาจักรยานเสียหาย การประกาศยกเลิกนี้น่าจะทำให้มีผู้ใช้หน้าใหม่เพิ่มมากขึ้น
หัวข้อถัดมาคือการเพิ่มจักรยานไฟฟ้าในการให้บริการ ซึ่งสามารถปั่นได้ระยะทางถึง 70 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และปั่นได้ด้วยความเร็วสูงสุด 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เริ่มให้บริการแล้วในจีนและบางประเทศ
ShareBikeSG ผู้ให้บริการแชร์จักรยานในสิงคโปร์ ประกาศหยุดให้บริการ มีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้กลายเป็นแอปแชร์จักรยานรายที่ 3 ที่ประกาศปิดตัวในสิงคโปร์ ต่อจาก GBikes และ oBike หลังจากหน่วยงานดูแลการขนส่งทางบกในสิงคโปร์ ออกกฎระเบียบควบคุมใหม่ ที่จะมีผลในวันที่ 7 กรกฎาคมนี้
ใบอนุญาตให้บริการแชร์จักรยานใหม่ในสิงคโปร์ กำหนดว่าผู้ให้บริการต้องควบคุมผู้ใช้งาน ให้จอดจักรยานในจุดที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากฝ่าฝืนแอปต้องทำการคิดเงินต่อไปจนกว่าจักรยานจะจอดในจุดที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาจักรยานจอดทิ้งตามสถานที่ต่าง ๆ อย่างไม่เป็นระเบียบ
แอพสำหรับคำนวณและวางแผนการเดินทางในเมืองใหญ่ Citymapper ซึ่งปัจจุบันรองรับหลายเมืองในโลก ประกาศเพิ่มตำแหน่งของจักรยานของแอพแชร์จักรยาน เข้ามาเป็นตัวคำนวณหนึ่งในการวางแผนเดินทาง
ประเด็นที่น่าสนใจคือ Citymapper บอกว่า ที่ผ่านมาวิธีการหาเส้นทางเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะนั้นเป็นการคิดจากตำแหน่งที่อยู่กับที่ (fixed) เช่น ป้ายรถเมล์, สถานีรถไฟ แต่การเดินทางในยุคนี้มีอิสระมากขึ้น มีแอพแชร์จักรยานเพิ่มเข้ามา ทำให้จุดเริ่มในการเดินทางลอยไปตรงไหนก็ได้ (floating) โจทย์จึงเปลี่ยนจากการหาว่าจะได้เดินทางเวลาใด มาเป็นต้องเริ่มจากจุดไหน (ที่มีจักรยาน) และ Citymapper ก็เพิ่มเงื่อนไขนี้ในแอพเพื่อให้การเดินทางสมบูรณ์แบบขึ้น (ดูตัวอย่างภาพด้านล่าง)
oBike บริการแชร์จักรยานของสิงคโปร์ ที่ตอนนี้ดำเนินงานอยู่ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ประกาศยุติการให้บริการเฉพาะในประเทศสิงคโปร์บ้านเกิด มีผลตั้งแต่วันนี้ (25 มิ.ย.) เป็นต้นไป โดยให้เหตุผลว่าระเบียบใหม่ที่ออกมาของหน่วยงานดูแลการขนส่งทางบกสิงคโปร์นั้น มีความยุ่งยากมากเกินไปสำหรับบริการแชร์จักรยานไม่มีจุดจอดอย่าง oBike
ทั้งนี้ oBike ระบุว่าบริการ oBike ในต่างประเทศจะยังให้บริการต่อไปตามปกติ ส่วนผู้ใช้ oBike ในสิงคโปร์นั้นแนะนำให้ย้ายไปใช้ GrabCycle บริการแชร์จักรยานในเครือ Grab ที่เป็นพาร์ทเนอร์กันแทน
มีรายงานว่า Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานรายใหญ่ของจีน เริ่มทำการขายโฆษณาทั้งบนตัวจักรยาน และโฆษณาผ่านในแอพแล้ว เพื่อเพิ่มรายได้และเพิ่มเงินสดในมือ โดยในเอกสาร (ภาษาจีน) มีการแสดงรายละเอียดรูปแบบโฆษณา ที่ติดอยู่รอบตัวจักรยาน แม้แต่บนล้อก็มี
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า Ofo เริ่มชะลอการสั่งผลิตจักรยานเมื่อเทียบกับปริมาณที่สั่งในปี 2017 ซึ่งสะท้อนปัญหาเงินสดในมือของ Ofo นอกจากนี้ Alibaba ที่เป็นผู้ลงทุนใน Ofo ก็กำหนดเงื่อนไขมากขึ้นหาก Ofo ต้องการเงินกู้เพิ่มเติม
เมื่อเดือนที่แล้วคู่แข่งสำคัญของ Ofo อย่าง Mobike ได้ตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดให้ Meituan-Dianping ทำให้บริษัทจบปัญหาการแข่งขันที่ต้องใช้เงินทำการตลาดมากจนแทบไม่มีกำไรไปได้
Uber เข้าซื้อ JUMP Bikes สตาร์ทอัพแชร์จักรยานอย่างเป็นทางการ โดย JUMP นี้เป็นผู้ให้บริการแชร์จักรยานเบื้องหลัง Uber Bike ที่ทางบริษัทเพิ่งเปิดให้ทดสอบเป็นเวลาประมาณ 2 เดือน
JUMP หรือชื่อเดิมคือ Social Bicycles มีธุรกิจคือการให้บริการแชร์จักรยานแบบ dockless ลักษณะคล้ายกับ Mobike, Ofo คือผู้ใช้สามารถใช้ค้นหาและจองใช้จักรยานผ่านแอพ เมื่อต้องการใช้จักรยานก็ใช้แอพปลดล็อกและนำไปใช้ได้ทันที เมื่อใช้เสร็จแล้วจะล็อกไว้ในที่ล็อกจักรยานหรือสิ่งที่อยู่บนทางเท้าอย่างเช่นเสาไฟหรือม้านั่งก็ได้ โดยตัวจักรยานของ JUMP จะมีมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับช่วยในการปั่นจักรยานให้ง่ายยิ่งขึ้น
มีรายงานว่า Meituan-Dianping สตาร์ทอัพบริการแบบ Online-to-Offline (O2O) ของจีนครบวงจร ซึ่งเป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพมูลค่ากิจการสูงของโลก เตรียมประกาศเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของแอพแชร์จักรยาน Mobike ด้วยมูลค่าถึง 2,700 ล้านดอลลาร์ หรือราว 84,000 ล้านบาท
Meituan-Dianping เป็นบริษัทที่เกิดจากการควบรวมของ Meituan และ Dianping ปัจจุบันให้บริการครอบคลุมหลายหมวดของ O2O อาทิ ค้นหาร้านอาหาร, ส่งอาหาร, จองโรงแรม, เรียกรถแท็กซี่ ฯลฯ ซึ่งการซื้อกิจการ Mobike ก็เพื่อนำมาเสริมทัพธุรกิจให้ครบวงจรมากขึ้นนั่นเอง
Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานรายใหญ่ของจีน ประกาศรับเงินทุนเพิ่มอีก 866 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 27,000 ล้านบาท จากกลุ่มนักลงทุนที่นำโดย Alibaba ซึ่งเงินทุนรอบนี้มีทั้งส่วนที่เป็นหุ้นและส่วนที่เป็นเงินกู้ยืม ส่วนผู้ลงทุนรายอื่นได้แก่ Ant Financial (ซึ่งก็เป็นเครือ Alibaba), Haofeng Group, Tianhe Capital และ Junli Capital
ผลจากเงินเพิ่มทุนครั้งนี้ทำให้ Alibaba กลายเป็นผู้ถือหุ้น Ofo รายใหญ่ที่สุด แทนที่ Didi Chuxing ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา Didi Chuxing เองก็ได้ไปซื้อกิจการเบอร์ 3 อย่าง Bluegogo
Apple เซ็นสัญญาเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับ Ito World บริษัททำข้อมูลการเดินทาง เพื่อเพิ่มจุดจอดแชร์รถจักรยานไว้ในแผนที่ Apple Maps ใช้ได้ใน 179 เมือง, 36 ประเทศ ส่วนใหญ่ยังกระจุกอยู่ในยุโรป และสหรัฐฯ ด้านภูมิภาคอื่นที่ใช้ได้คือ อินเดีย ซาอุดิอาระเบีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น
ผู้ใช้สามารถค้นหาจุดจอดจักรยานใกล้เคียงได้โดยพิมพ์ bike sharing ที่แถบค้นหา แต่ในแผนที่สามารถบอกได้เพียงจุดจอดว่าอยู่ที่ไหน ยังไม่สามารถระบุจำนวนจักรยานที่เหลืออยู่ และจุดว่างที่สามารถนำจักรยานไปจอดคืนได้
ด้านบริษัทแชร์จักรยานที่แผนที่ของ Apple รองรับคือ Citi Bike, Ford GoBike, BIKETOWN, Santander Cycles, Bicing, BIXI, CityCycle, Nextbike ส่วนใหญ่เป็นบริษัทในยุโรปและสหรัฐฯ
บริการเช่าจักรยานแบบจอดที่ไหนก็ได้ หรือที่เรามักเรียกกันว่า bike sharing ให้บริการในสิงคโปร์ตามพื้นที่ทั่วไปมาระยะหนึ่งแล้ว และตอนนี้ปริมาณกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นปัญหา ตอนนี้ขนส่งทางบกสิงคโปร์ก็ออกมาประกาศแล้วว่าเตรียมกำกับดูแลธุรกิจให้เช่าจักรยานภายในปีนี้ โดยกฎหมายจะเข้าสู่สภาภายในเดือนนี้
กระบวนการกำกับดูแลจะเปิดให้ผู้ให้บริการส่งใบขอรับอนุญาตก่อนภายในกลางปี และเริ่มออกใบอนุญาตภายหลัง เงื่อนไขการออกใบอนุญาตมีหลายอย่าง เช่น บริษัทต้องส่งข้อมูลตำแหน่งจักรยานให้ทางขนส่งทางบก, มีระบบจัดการเก็บจักรยานที่จอดไม่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว, มีระบบแบนผู้ใช้ที่จอดไม่ถูกต้อง
Grab ประเทศสิงคโปร์เปิดตัวบริการใหม่ GrabCycle โดยผู้ใช้งานสามารถจองจักรยาน ผ่านแพลตฟอร์มแชร์จักรยานได้ถึง 4 ค่ายภายในแอพเดียว ประกอบด้วย oBike (เคยประกาศความร่วมมือก่อนหน้านี้), GBikes, Anywheel และ PopScoot ซึ่งผู้ใช้สามารถตัดเงินได้เลยผ่าน GrabPay
Reuben Lai หัวหน้าฝ่าย GrabVenture ซึ่งร่วมลงทุนกับแอพแชร์จักรยานเหล่านี้กล่าวว่า การเพิ่มบริการแชร์จักรยานเข้าไปทำให้ Grab กลายเป็นบริการด้านขนส่งและการเดินทางที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
บริการนี้จะเริ่มต้นทดลองเฉพาะพื้นที่เกาะ Sentosa ของสิงคโปร์ก่อน หากได้ผลลัพธ์ที่ดีก็จะขยายต่อไป
Gobee.bike สตาร์ทอัพบริการแชร์รถจักรยานจากฮ่องกง ประกาศถอนธุรกิจออกจากประเทศฝรั่งเศส มีผลตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นการแข่งขันที่รุนแรงของสตาร์ทอัพจักรยานที่เริ่มต้นจากประเทศจีน และมีรายใหญ่อย่าง Ofo และ Mobike โดย Gobee.bike บอกว่ามีจำนวนผู้ใช้งานแอพกว่า 150,000 ราย ได้รับผลกระทบนี้
ตัวแทนของ Gobee.bike บอกว่าปัญหาหนึ่งที่เกิดในฝรั่งเศสคือจักรยานพังและสูญหายเป็นจำนวนมาก คิดเป็นจำนวนรวมกว่า 3,400 คัน ก่อนหน้านี้บริษัทประกาศถอนธุรกิจจากเมือง Lille และ Reims แล้ว แต่ล่าสุดก็ประกาศออกจากปารีสเป็นแห่งสุดท้าย การที่จักรยานพังบ่อยส่งผลต่อประสบการณ์ใช้งาน เนื่องจากผู้ใช้จะเจอปัญหาการปลดล็อกจักรยาน ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้
Uber เตรียมเปิดตัวบริการแชร์จักรยาน โดยร่วมมือกับ JUMP สตาร์ทอัพผู้ให้บริการแชร์จักรยานในซานฟรานซิสโก โดยจะให้บริการภายใต้ชื่อว่า Uber Bike ซึ่งจะเริ่มเปิดให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้ในสัปดาห์หน้า
บริการ Uber Bike นี้ คือผู้ใช้ Uber สามารถจองจักรยานของ JUMP ได้ผ่านแอพของ Uber และเดินไปเอาจักรยานเองตามตำแหน่งที่จักรยานได้จอดไว้ ซึ่ง JUMP ได้ทำสัญญากับ San Francisco Municipal Transportation Agency (SFMTA) เพื่อเปิดตัวจักรยาน 250 คัน และภายในเวลาเพียง 9 เดือนของการเปิดให้บริการ SFMTA ก็เตรียมอนุญาตให้ JUMP เพิ่มจักรยานได้อีก 250 คัน