แอพ Ookbee ประกาศหยุดให้บริการซื้อขายอีบุ๊กในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 โดยให้ย้ายไปใช้แอพ ปิ่นโต อีบุ๊ก (Pinto) ในเครือเดียวกันแทน
เหตุผลของการปิดบริการ เป็นเพราะตัวบริการ Ookbee (ร้านขายอีบุ๊ก) ถูกย้ายจากบริษัท อุ๊คบี จำกัด ไปอยู่ภายใต้บริษัท สตอรี่ล็อก จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลในเครือเดียวกัน (เจ้าของแพลตฟอร์ม Tunwalai และ Fictionlog) ซึ่งบริษัท สตอรี่ล็อก มีแอพอีบุ๊กอีกตัวคือ Pinto อยู่แล้ว จึงให้ย้ายมาใช้แอพตัวนี้แทน และสามารถโอนย้ายอีบุ๊กเดิมที่ซื้อบน Ookbee ไปใช้กับ Pinto ได้ทั้งหมด
เมื่อเวลาประมาณ 21:00 น. ที่ผ่านมาผู้ใช้งานทวิตเตอร์เริ่มรายงานว่า Joylada (จอยลดา) แอพอ่านนิยายสัญชาติไทยชื่อดังจากค่าย Ookbee ระบบล่มไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้ขณะนี้ #จอยล่ม ขึ้นเทรดอันดับสามของทวิตเตอร์ (22:16 น. วันที่ 20 ธันวาคม)
อัปเดต: 23:20 น. สามารถกลับมาใช้งานปกติแล้ว
รอฉันรอเธออยู่แต่ไม่รู้เธออยู่หนใด เธอจะมาเธอจะมาเมื่อไหร่ ?#จอยล่ม pic.twitter.com/BajODtcD1p
Joylada หรือ จอยลดา คือแอพเขียนและอ่านนิยายจากค่าย Ookbee กำลังเป็นกระแสในทวิตเตอร์และได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นพอสมควร โดยเฉพาะกลุ่มที่ชื่อชอบแฟนฟิกที่ใช้ตัวละครเป็นดารานักร้อง
Ookbee มีแพลตฟอร์มอ่านและเขียนนิยายอยู่แล้วคือ Storylog (Ookbee ถือหุ้นส่วนหนึ่ง) ที่เป็นนิยายทั่วไปและมีทุกแนว ให้ผู้ใช้เติมเหรียญให้คนเขียนหากอยากอ่านบทต่อๆ ไป และธัญวลัย ที่มีระบบเหรียญให้คนเขียนเช่นกัน แต่เนื้อหา 18+ เรียกได้ว่าใครอยากเขียนเนื้อหารุนแรงขึ้นมาหน่อยก็สามารถมาเขียนลงแอพธัญวลัยได้
กลับมาที่ Joylada เป็นนิยายรูปแบบแชท ผู้อ่านเพียงแต่กดอ่านหน้าจอแชทที่ตัวละครคุยกัน ส่วนความสนุกและความน่าติดตามของเนื้อหานั้นขึ้นอยู่กับทักษะผู้เขียนว่าจะแต่งเรื่องราวออกมาอย่างไร จะผูกเรื่องอย่างไรให้คนอ่านเห็นภาพเพราะทำได้แค่ให้ตัวละครคุยกันเท่านั้น
Ookbee ประกาศปิดเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ Ookbee Mall มีผล 31 มีนาคมนี้ ส่วนสาเหตุมาจากไม่สามารถขยายธุรกิจได้ตามแผนที่วางไว้ ด้านธุรกิจอื่นในเครือ Ookbee ยังให้บริการต่อไป พร้อมทั้งยืนยันสถานะทางการเงินยังแข็งแกร่งอยู่
Ookbee Mall แพลตฟอร์มสินค้าเบ็ดเตล็ดจากญี่ปุ่น รวมถึงนิตยสารต่างๆ เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคม 2015 เกิดจากความร่วมมือระหว่าง Ookbee และ ทรานสคอสมอสที่ทำธุรกิจเอ้าท์ซอร์ส
ลูกค้าสามารถซื้อของได้ตามปกติถึง 31 มีนาคมนี้ เวลาเที่ยงตรง
Ookbee แพลตฟอร์มอีบุ๊กของไทย ประกาศความร่วมมือกับ Tencent หนึ่งในบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่จากจีน โดย Tencent จะลงทุนใน Ookbee รอบใหม่ และตั้งบริษัทใหม่ร่วมทุนคือ Ookbee U
โดย Ookbee U เป็นหน่วยงานที่จะดูแลแพลตฟอร์มประเภท User Generated Content (UGC) ในเครือ Ookbee ได้แก่ อุ๊คบีคอมิกส์, Storylog, Fictionlog, Tunwalai และ Fungjai ครอบคลุมเนื้อหาทั้งการ์ตูน, นิยาย และดนตรี รวมทั้งรองรับบริการใหม่ๆ ในอนาคต
คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซีอีโอ Ookbee กล่าวว่าที่ผ่านมา Ookbee คือแพลตฟอร์มที่แข่งขันกับร้านหนังสือดั้งเดิม แต่ต่อจากนี้ด้วย Ookbee U จะทำให้บริษัทมีความคล่องตัวและทำอะไรได้มากขึ้นกว่าเดิม
ที่มา: Press Release และ TechCrunch
Fictionlog แพลตฟอร์มนักเขียน และนักอ่านนิยายออนไลน์เปิดตัวอย่างเป็นทางการวันนี้ภายใต้คอนเซปต์ "Unleash Your Imagination" ให้นักอ่านสนับสนุนนักเขียนโดยตรงผ่านการเติมเงิน ประกาศจุดยืนนักเขียนต้องมีส่วนแบ่งรายได้มากขึ้น และให้ลิขสิทธิ์ผลงานเป็นของนักเขียนทั้งหมด
Fictionlog อยู่ในเครือเดียวกันกับ Storylog ผู้ก่อตั้งคนเดียวกันคือ เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์ ในงานเปิดตัว นาย เปรมวิชช์ ระบุว่า Storylog เป็นพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ ส่วน Fictionlog เป็นแพลตฟอร์มเขียน และขายนิยาย อ่านได้บทต่อบท ไม่ต้องรอจบเล่ม
เมื่อพูดถึงสตาร์ตอัพชั้นแนวหน้าของไทย ชื่อของแพลตฟอร์มอีบุ๊ก Ookbee ย่อมโผล่มาเป็นอันดับแรกๆ ที่ผ่านมา Ookbee ประสบความสำเร็จทั้งในแง่ส่วนแบ่งตลาด การระดมทุน และการขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน (ปัจจุบันมีสำนักงานในเวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และกำลังอยู่ระหว่างตั้งสำนักงานในอินโดนีเซีย)
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมมีโอกาสได้ไปเยือนสำนักงานของ Ookbee พร้อมสัมภาษณ์คุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัท ซึ่งก็พาทัวร์ทั้งบริษัทอย่างเต็มที่ เพื่อไขความลับความสำเร็จของ Ookbee ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
บริษัท transcosmos จากประเทศญี่ปุ่นประกาศเข้าถือหุ้นใน Ookbee แพลตฟอร์มอีบุ๊กและนิตยสารออนไลน์ของไทยเป็นจำนวนอย่างน้อย 10% โดย transcosmos คาดหวังว่าจะนำระบบดูแลอีคอมเมิร์ซที่ตนมีความถนัด เข้ามาผสานกับ Ookbee เพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มด้านอีคอมเมิร์ซที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น
Ookbee เปิดตัวบริการใหม่ แอพสำหรับเรียกรถตุ๊ก ตุ๊ก Ooktee (อ่านว่า อุ๊คตี - อี...) เพื่อแก้ปัญหาใหญ่ของประชาชนเมืองหลวงที่เรียกรถโดยสารตุ๊ก ตุ๊กยาก เรียกแล้วไม่ยอมไป จ้องจะเอาแต่ลูกค้าฝรั่ง
แอพ Ooktee นี้ก็มีหลักการทำงานเหมือนพวกแอพเรียกรถแท็กซี่ โดยแจ้งพิกัดแล้วรถตุ๊ก ตุ๊กก็จะมารับเราถึงที่ โดยอุ๊คตีมีความแตกต่างคือเน้นการบริการที่รถตุ๊ก ตุ๊ก ซึ่งมีความเป็นไทยมากกว่าแอพเรียกรถแท็กซี่หรือลีมูซีนจากต่างประเทศ ผู้ใช้บริการยังได้สัมผัสบรรยากาศสายลม ผมสยาย รวมถึงอ่านหนังสือของแอพอุ๊คบีด้วย
ที่มา: Ookbee
แพลตฟอร์มสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอลของไทย Ookbee ได้เปิดตัวในประเทศมาเลเซียเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว (iOS, Android) ซึ่งก็เริ่มต้นได้สวยงาม โดยคุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซีอีโอและผู้ก่อตั้งได้เปิดเผยกับ Tech In Asia ว่า ตอนนี้มีผู้ใช้งานในประเทศมาเลเซียแล้วกว่า 100,000 คน โดยมีนิตยสารให้เลือก 40 ฉบับ และมีหนังสือของมาเลเซียอยู่ 5,000 เล่ม ซึ่งตัวเลขนี้มีการเติบโตทุกวัน
Ookbee ผู้ให้บริการและพัฒนาช่องทางการนำเสนอสิ่งพิมพ์แบบดิจิตอลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เผยตัวเลขผู้ใช้งานในแพลตฟอร์มว่าใกล้แตะหลัก 3 ล้านแล้ว
ตัวเลขผู้ใช้ของ Ookbee เปิดเผยโดยคุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซีอีโอของบริษัทในระหว่างงาน Global Brain Alliance Forum ที่จัดขึ้นที่เมืองโตเกียว ซึ่งเป็นการเปิดเผยตัวเลขผู้ใช้ครั้งที่สองหลังจากเคยบอกเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมว่ามีราวๆ 1.5 ล้านราย โดยปัจจุบันมีตัวเลขผู้ใช้อยู่ที่ 2.5 ล้านรายจากผู้ใช้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งไทย เวียดนาม มาเลย์เซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งถ้ายังเติบโตด้วยอัตราเท่านี้ Ookbee จะมีผู้ใช้แตะ 3 ล้านรายภายใน 3-4 เดือนข้างหน้า
นอกจากตัวเลขผู้ใช้แล้วยังมีข้อมูลอื่นๆ ออกมาด้วย ดังนี้ครับ
ยักษ์ใหญ่ของแพลตฟอร์มนิตยสารออนไลน์ของไทย และอินโดนีเซียอย่าง Ookbee และ SCOOP ประกาศร่วมมือกันเพื่อรุกคืบตลาดอีบุ๊กในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากความร่วมมือในครั้งนี้ทั้ง Ookbee และ SCOOP จะมีนิตยสาร และหนังสือพิมพ์ในร้านค้าเพิ่มขึ้นเป็น 600 เล่ม และใช้ต่อรองกับสำนักพิมพ์รายใหญ่ได้มากขึ้น
ก่อนหน้านี้เอง Ookbee ได้ร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง AIS, B2S และเพิ่งได้เงินลงทุนจากชินคอร์ปราว 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วย
ที่มา - Tech In Asia
บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรืออินทัชได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าบริษัทได้เข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนมูลค่า 57.48 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.03 ของบริษัท อุ๊คบี จำกัด (Ookbee) ซึ่งผู้ให้บริการและพัฒนาช่องทางการนำเสนอสิ่งพิมพ์แบบดิจิตอลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
Ookbee ปัจจุบันให้บริการระบบเผยแพร่สื่อในรูปแบบดิจิตอลทั้งนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ตลอดจนหนังสือให้กับสำนักพิมพ์ใหญ่ในไทยหลายแห่ง ทั้งเครือจีเอ็ม, อมรินทร์ และแกรมมี่ โดยมีบนหลายแพลตฟอร์มทั้ง iOS, Android และ BlackBerry ครับ