openSUSE เปิดตัวซอฟต์แวร์ GUI จัดการแพ็กเกจตัวใหม่ชื่อ YQPkg เขียนด้วย Qt เพื่อเป็นทางเลือกใหม่แทน YaST ของเดิมที่มีความซับซ้อนสูง
จุดเด่นของ YQPkg คือเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมดโดยไม่ต้องพึ่งพาส่วนประกอบใดๆ ของ YaST เลย ตัวมันขี่อยู่บน libzypp ที่ใช้จัดการแพ็กเกจแบบคอมมานด์ไลน์
สถานะของ YQPkg ยังเป็นอัลฟ่า และยังขาดฟีเจอร์หลายอย่าง เช่น การจัดการคีย์ GPG แต่ในอนาคตก็ดูมีศักยภาพ ที่จะนำมาใช้แทน YaST ซึ่งถือเป็นแอพครอบจักรวาลในโลกของ SUSE และตอนนี้โครงการ SUSE เองกำลังเขียนหลายๆ ส่วนมาแทน YaST อยู่
โครงการ openSUSE ประกาศออกรุ่นย่อย openSUSE Leap 15.3 แม้จะเป็นรุ่นย่อยตามรอบปกติแต่ความเปลี่ยนแปลงภายในค่อนข้างใหญ่ คือการใช้ไบนารีโดยตรงจาก SUSE Linux Enterprise (SLE) รุ่นสำหรับขายองค์กรโดยตรง
โครงการ openSUSE Leap และ SLE นั้นเป็นคู่กันระหว่างโครงการชุมชน และรุ่นขายไลเซนส์สำหรับองค์กร คล้ายกับ RedHat Enterprise Linux และ CentOS แต่ที่ผ่านมาแม้ openSUSE Leap และ SLE จะใช้ซอร์สโค้ดร่วมกัน แต่กระบวนการคอมไพล์นั้นแยกกัน ทำให้บางครั้งพบปัญหาต่างกันจากพารามิเตอร์การคอมไพล์ ในเวอร์ชั่น 15.3 นี้ไบนารีจะตรงกับ SLE 15 SP3
แนวทางนี้ทำให้นักพัฒนาและผู้ใช้ลินุกซ์มือสมัครเล่นสามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นบน openSUSE Leap แล้วย้ายงานไปยัง SLE โดยมีปัญหาน้อยลง
ทีมพัฒนา OpenSUSE ได้เปิดตัว Release Candidate 1 ออกมาเรียบร้อย โดยมีการอัพเดตหลายเรื่องดังนี้
ดาวน์โหลด OpenSUSE 12.3 RC1 ได้แล้ว ที่นี่
การปรับปรุงในรุ่น 12.2 ที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
openSUSE 12.1 ออกแล้วตามกำหนด (ลิงก์สำหรับดาวน์โหลด)
ของใหม่ในรุ่นนี้คือ
จากที่บริษัท Attachmate เข้าซื้อกิจการของ Novell และขายทรัพย์สินทางปัญญาส่วนหนึ่งให้ไมโครซอฟท์ ก็เกิดความกังวลต่ออนาคตของ SUSE และความเป็นเจ้าของ UNIX (ซึ่งเดิม Novell เป็นเจ้าของ)
ทาง Attachmate ได้ออกมาแถลงข่าวสยบความกังวลแล้ว โดย Attachmate จะยังคงสถานะของ SUSE และโครงการ openSUSE ไว้เช่นเดิม
ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์ของ UNIX นั้นไม่รวมอยู่ในทรัพย์สินทางปัญญาที่ขายให้ไมโครซอฟท์ นั่นแปลว่า Attachmate ยังเป็นเจ้าของชื่อ UNIX อยู่ อย่างไรก็ตาม Attachmate ก็ยังไม่เผยแผนการชัดเจนว่าจะทำอะไรกับ UNIX ต่อไป
ตามคำเรียกร้องของชาว Linux ในบอร์ด ก็ตามใจเลยนะครับ
openSUSE จาก Novell ออกเวอร์ชัน 11.3 หลังจากรอคอยกันมากว่า 8 เดือน ทาง Novell ก็ได้ประกาศคุณสมบัติใหม่ๆ ใน openSUSE รุ่นนี้กัน ยกตัวอย่างกันเลยนะครับ
+ รองรับการใช้งานกับเน็ตบุ๊คอย่างเป็นทางการด้วย KDE Plasma Netbook Workspace และ MeeGo (รหัสพัฒนาของ openSUSE ที่เป็น MeeGo คือ Smeegol)