หลังจากเมื่อปี 2023 Red Hat มีนโยบายปิดกั้นการเข้าถึงซอร์สโค้ดของ RHEL จากสาธารณะ ต้องเป็นลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ถึงเข้าได้ เพื่อบีบให้ดิสโทรทางเลือกของ RHEL นำซอร์สโค้ดไปใช้งานได้ยากขึ้น (ตามสัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ส Red Hat ต้องเปิดซอร์สโค้ดของ RHEL แต่ไม่มีระบุวิธีการว่าต้องเป็นทางใด ดังนั้น Red Hat ไม่ทำผิดสัญญา แต่ทำให้นักพัฒนารายอื่นลำบากกว่าเดิม)
SUSE ผู้พัฒนา SUSE Linux Enterprise (SLE), Rancher, และ NeuVector เตรียมนำหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์หลังหุ้นเพิ่งเข้าตลาดไปเมื่อปี 2021
ราคาหุ้น SUSE ก่อนประกาศครั้งนี้อยู่ที่ 9.6 ยูโรเท่านั้นเทียบกับราคา IPO เมื่อปี 2021 ที่ราคา 30 ยูโร ทาง EQT Private Equity ผู้เสนอนำหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ SUSE ทุกวันนี้ โดยถือหุ้นอยู่เกือบ 80% ในประกาศครั้งนี้ EQT เสนอซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ที่ 16 ยูโร
SUSE มีผลประกอบการขาดทุนมาตลอดที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แม้ว่าจะพัฒนาในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ จนน่าจะทำกำไรได้ในอนาคต
ที่มา - SUSE
CIQ, Oracle, และ SUSE กลุ่มผู้แจกจ่ายลินุกซ์ดิสโทรที่ใช้ CentOS เป็นฐาน ประกาศก่อตั้ง Open Enterprise Linux Association (OpenELA) เพื่อพัฒนาดิสโทรที่เข้ากันได้กับ RHEL ต่อไป แม้ทาง Red Hat จะไม่เปิดโค้ดของ RHEL ให้แล้วก็ตาม
ภายในปีนี้ OpenELA จะเริ่มปล่อยซอร์สโค้ดสำหรับ EL8 และ EL9 และในอนาคตอาจจะย้อนกลับไปซัพพอร์ต EL7 อีกด้วย
SUSE บริษัทซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ประกาศพัฒนาลินุกซ์ต่อจาก RHEL ของ Red Hat แม้ว่าจะมี SUSE Linux Enterprise (SLE) เป็นดิสโทรหลักอยู่แล้วก็ตาม โดยโครงการใหม่ที่แยกออกมาจาก RHEL นี้จะดูแลโดยมูลนิธิด้านโอเพนซอร์สภายนอก เพื่อดูแลว่าสามาารถใช้งานซอร์สโค้ดร่วมกันได้ โดยทาง SUSE จะลงทุน 10 ล้านดอลลาร์ในโครงการนี้ภายในระยะเวลาหลายปีข้างหน้า
SUSE ปล่อย Rancher Desktop รุ่น 1.0 เข้าสู่สถานะ GA เป็นที่เรียบร้อย หลังจากเปิดตัวครั้งแรกมาไม่ถึงปี เปิดทางใช้งานแทน Docker Desktop ได้แทบทั้งหมด แม้จะมีข้อจำกัดบางส่วน
เราเพิ่งเห็นข่าว Fedora ประกาศเขียนตัวติดตั้งใหม่ด้วยเทคโนโลยีเว็บแทน GTK+ ล่าสุดค่าย SUSE ก็ประกาศแนวทางคล้ายๆ กันคือ จะเขียนตัวติดตั้ง (YaST) ใหม่เช่นกัน โครงการนี้ใช้ชื่อว่า D-Installer
ทีม SUSE บอกว่าคิดเรื่องนี้มาตั้งแต่กลางปี 2021 โดยมีเป้าหมายว่าต้องการแยกส่วน UI ของ YaST ออกจากไส้ใน และอยากมีอินเทอร์เฟซที่เป็นเว็บเบสด้วย
กระบวนการแยกส่วน YaST แยกตัวเซอร์วิสและไลบรารี (เขียนด้วย Ruby) ออกจาก UI ซึ่งมีได้หลายตัว ทั้งคอมมานด์ไลน์ (CLI), แอพเดิมที่เขียนด้วย Qt และเว็บ แล้วเชื่อมกันด้วย D-Bus ที่เป็นระบบส่งข้อความระหว่างโพรเซส
ช่องว่างที่หายไปของ CentOS ทำให้เกิดดิสโทรลินุกซ์ทางเลือกมาทดแทนหลายราย ที่เด่นๆ คือโครงการใหม่ทั้ง AlmaLinux และ RockyLinux แต่ก็ยังมีดิสโทรจากบริษัทใหญ่อย่าง Oracle Linux และ Amazon Linux มาเป็นทางเลือกด้วย
ล่าสุด SUSE ดิสโทรยักษ์ใหญ่อีกรายจากฝั่งยุโรปที่เป็นคู่แข่งกับ Red Hat มานาน ประกาศทำ SUSE Liberty Linux โดยนำซอร์สโค้ดของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) มาคอมไพล์เป็นไบนารีแจกฟรีๆ
SUSE Liberty Linux จะใช้แพ็กเกจทุกอย่างเหมือนกับ RHEL ทุกประการ ยกเว้นเคอร์เนลที่ใช้เคอร์เนลของ SUSE Linux Enterprise (SLE) เอง แต่ก็คอมไพล์ด้วยคอนฟิกที่เข้ากันได้กับ RHEL
SUSE ประกาศว่าซอฟต์แวร์ hyperconverged infrastructure (HCI) แบบโอเพซอร์สของตัวเองที่ชื่อว่า Harvester นั้นเข้าสู่เวอร์ชั่น 1.0 พร้อมใช้งานแล้ว
โครงการ Harvester เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว แต่ก็อาศัยโครงสร้างอื่นๆ ที่มีมาก่อนแล้ว หลักๆ คือใช้ Kubernetes ร่วมกับ KubeVirt เพื่อจัดการ VM ในคลัสเตอร์ ส่วนระบบสตอเรจนั้นใช้ Longhorn ที่เป็นโครงการโอเพนซอร์สของ Rancher เอง
Rancher Desktop ซอฟต์แวร์ Kubernetes สำหรับนักพัฒนาออกเวอร์ชั่น 0.7 มีฟีเจอร์สำคัญคือให้เลือกระหว่างเอนจิน containerd และ Moby (โครงการโอเพนซอร์สของ Docker) ทำให้ผู้ใช้ที่ติดตั้ง Rancher Desktop สามารถใช้งานผ่านคำสั่ง docker ได้
เวอร์ชั่นนี้ออกมาพอดีกับช่วงเวลาที่ Docker Desktop กำลังเตรียมคิดค่าใช้งาน ในวันที่ 31 มกราคมนี้ ฟีเจอร์นี้ทำให้ผู้ใช้ Rancher Desktop สามารถใช้งานคำสั่ง docker หรือ docker-compose ได้โดยตรง แม้จะไม่ได้ใช้งาน Kubernetes ก็ตามที
ผู้ใช้ Rancher Desktop ที่ไม่ต้องการใช้คำสั่ง docker ยังคงเลือกใช้เอนจิน containerd ได้เช่นเดิม แต่สามารถเลือกใช้งานได้ทีละเอนจินเท่านั้น
SUSE ประกาศเข้าซื้อบริษัทรักษาความปลอดภัยคอนเทนเนอร์และ Kubernetes ที่สามารถตรวจสอบความปลอดภัยคอนเทนเนอร์ได้ทั้งจากอิมเมจก่อนรัน และควบคุมความปลอดภัยขณะรันด้วยการสแกนเน็ตเวิร์ค
ทาง SUSE ประกาศว่าหลังจากเข้าซื้อแล้ว จะเริ่มต้นกระบวนการแปลง NeuVector ให้เป็นโครงการโอเพนซอร์ส และคาดว่าจะทำให้ NeuVector กลายเป็นโครงการสำคัญสำหรับการรักษาความปลอดภัยคลัสเตอร์ Kubernetes ในอนาคต
ที่มา - SUSE
SUSE ออก SLE Micro 5.1 ลินุกซ์สำหรับการรันงานที่ไม่ได้รันอยู่ในตัวตรงๆ แต่รันโหลดผ่านทาง virtual machine หรือคอนเทนเนอร์ โดยตัว SLE Micro เป็นลินุกซ์แบบ immutable ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้ยกเว้นบูตลินุกซ์ใหม่ แต่ในเวอร์ชั่นนี้รองรับฟีเจอร์ live kernel patching อัพเดตเคอร์เนลไม่ต้องบูดเครื่องแล้ว
งานประเภทหนึ่งที่เหมาะกับ SLE Micro คือการใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง (edge computing) โดยใช้ SLE Micro ร่วมกับ k3s สำหรับรัน Kubernetes
หลัง SUSE ซื้อกิจการ Rancher Labs ผู้พัฒนาดิสโทร Kubernetes ช่วงกลางปี 2020 เวลาผ่านมาหนึ่งปีกว่าๆ ทาง Rancher Labs ก็ออก Rancher 2.6 ซึ่งเป็นเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรกใต้ร่มของเจ้าของใหม่ SUSE (ชื่อผลิตภัณฑ์อย่างเป็นทางการตอนนี้คือ SUSE Rancher 2.6)
ของใหม่ใน Rancher 2.6 มีหลายอย่าง ตั้งแต่ดีไซน์ UI ใหม่หมด หน้าตาสวยและเรียบง่ายกว่าเดิม รวมถึงฟีเจอร์อื่นๆ ดังนี้
โครงการ openSUSE ประกาศออกรุ่นย่อย openSUSE Leap 15.3 แม้จะเป็นรุ่นย่อยตามรอบปกติแต่ความเปลี่ยนแปลงภายในค่อนข้างใหญ่ คือการใช้ไบนารีโดยตรงจาก SUSE Linux Enterprise (SLE) รุ่นสำหรับขายองค์กรโดยตรง
โครงการ openSUSE Leap และ SLE นั้นเป็นคู่กันระหว่างโครงการชุมชน และรุ่นขายไลเซนส์สำหรับองค์กร คล้ายกับ RedHat Enterprise Linux และ CentOS แต่ที่ผ่านมาแม้ openSUSE Leap และ SLE จะใช้ซอร์สโค้ดร่วมกัน แต่กระบวนการคอมไพล์นั้นแยกกัน ทำให้บางครั้งพบปัญหาต่างกันจากพารามิเตอร์การคอมไพล์ ในเวอร์ชั่น 15.3 นี้ไบนารีจะตรงกับ SLE 15 SP3
แนวทางนี้ทำให้นักพัฒนาและผู้ใช้ลินุกซ์มือสมัครเล่นสามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นบน openSUSE Leap แล้วย้ายงานไปยัง SLE โดยมีปัญหาน้อยลง
SUSE เตรียมบุกตลาดซอฟต์แวร์ hyperconverged infrastructure (HCI) จัดการโครงสร้างพื้นฐานระบบไอทีในองค์กร ด้วยการพัฒนาโปรแกรมโอเพนซอร์สชื่อ Harvestor โดยตอนนี้ก็ออกเวอร์ชั่น 0.2.0 ที่ความสมารถเริ่มใกล้เคียงซอฟต์แวร์ HCI ตัวอื่นๆ
Harvestor เวอร์ชั่นนี้อาศัยระบบสตอเรจ Longhorn ที่ได้มาจาก Rancher มาใช้จัดการอิมเมจ VM และใช้ฟีเจอร์ Backing Image ทำให้อิมเมจของแต่ละ VM ใช้อิมเมจพื้นฐานร่วมกันได้ ลดความสิ้นเปลืองสตอเรจ และยังทำให้ backup ตัวอิมเมจทั้งก้อนไปยังสตอเรจที่ใช้ S3 API ในส่วนการจัดการ VM เองก็รองรับการทำ live migration ย้าย VM ข้ามเครื่องได้แล้ว
ลูกค้าของ SUSE จำนวนหนึ่งได้รับแจ้งจากบริษัทว่ากำลำลังเลิกขาย SUSE Enterprise Storage (SES) ซอฟต์แวร์สตอเรจที่พัฒนามาจาก Ceph แต่จะหันไปทำตลาด Longhorn ซอฟต์แวร์สตอเรจแบบโอเพนซอร์สที่ได้มาจากการเข้าซื้อ Rancher
ทางฝั่ง Rancher นั้นมี Longhorn ที่เป็นสตอเรจสำหรับ Kubernetes โดยเฉพาะแม้จะรองรับการใช้งานแบบ iSCSI ด้วยก็ตาม จุดเด่นของ Longhorn อยู่ที่ความง่ายในการจัดการ และได้รับการยอมรับในวงการค่อนข้างดี ปัจจุบัน Longhorn เป็นโครงการระดับ Sandbox ของ CNCF
ทาง The Register ติดต่อ SUSE และทางบริษัทยืนยันว่าจะซัพพอร์ตลูกค้าเดิมของ SES ต่อไปแม้จะหยุดขายแล้ว นอกจากนี้ทางบริษัทกำลังพัฒนาโซลูชั่นสตอเรจสำหรับอนาคตต่อไป
SUSE บริษัทชื่อดังด้านดิสทริบิวชัน Linux ประกาศเข้าซื้อกิจการ Rancher Labs ผู้ผลิตแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Kubernetes ที่เน้นตลาดองค์กร โดยดีลนี้ไม่มีการเปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการ แต่ CNBC อ้างข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง ระบุว่าอยู่ราว 600-700 ล้านดอลลาร์
Sheng Liang ซีอีโอ Rancher Labs กล่าวว่าการรวมกันของ Rancher และ SUSE จะช่วยให้องค์กรได้โซลูชันโอเพนซอร์ส ที่ครอบคลุมทั้ง Enterprise Linux, Edge Computing, AI และ Rancher สำหรับจัดการ Kubernetes ตั้งแต่ระดับ edge ไป core จนถึง cloud
SUSE Linux เป็นลินุกซ์ที่ได้รับความนิยมในตลาดองค์กรเคียงคู่มากับ RHEL แต่ประวัติของตัวบริษัทก็เปลี่ยนเจ้าของมาหลายครั้ง นับจากการก่อตั้งในปี 1992 ก็ขายกิจการให้ Novell ในปี 2003 แต่สุดท้าย Novell ก็ไปไม่รอด ขายกิจการให้ Attachmate ในปี 2011
จากนั้น Attachmate เองก็ขายกิจการให้กับ Micro Focus ในปี 2014 ทำให้ SUSE ติดสอยห้อยตามมาด้วย แต่ยังรันธุรกิจที่ค่อนข้างเป็นอิสระในฐานะบริษัทลูก และเมื่อ Micro Focus ซื้อธุรกิจคลาวด์ของ HPE ในปี 2016 ส่งผลให้ SUSE ผนวกทีมงานสาย OpenStack กับ Cloud Foundry เข้ามาอีก
นอกจากข่าวช็อควงการอย่าง iTunes ลง Windows Store แล้ว ไมโครซอฟท์ยังประกาศข่าวว่าลินุกซ์ 3 ค่ายดังคือ Ubuntu, SUSE, Fedora ก็ลง Windows Store ด้วย
Windows 10 มีฟีเจอร์ Linux Subsystem ที่ใช้ Ubuntu อยู่แล้ว เพียงแต่ผู้ใช้ต้องติดตั้งโค้ดส่วนนี้เพิ่มเองที่มีขั้นตอนพอสมควร การเพิ่มตัวเลือกให้กดง่ายๆ บน Windows Store จึงช่วยให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น
ตัว Linux Subsystem สามารถเปลี่ยนจาก Ubuntu เป็นดิสโทรอื่นได้ (เช่น SUSE) ทำให้ไมโครซอฟท์ชักชวน SUSE และ Fedora มาเป็นตัวเลือกอีกสองตัวบน Windows Store ให้ผู้ใช้เลือกดิสโทรที่ต้องการได้เลย
หมายเหตุ: ฟีเจอร์นี้คือเฉพาะตัวแกนของลินุกซ์ที่รันบน Windows Subsystem for Linux นะครับ ไม่ใช่ดิสโทรลินุกซ์ตัวเต็ม
เราทราบกันดีว่า Windows 10 Anniversary Update สามารถติดตั้งแกนของ Linux ได้ โดยไมโครซอฟท์เลือกจับมือกับ Ubuntu และใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Bash on Ubuntu on Windows
แต่ถ้าเกิดไม่ชอบใช้ Ubuntu ขึ้นมาจะทำอย่างไร ฝั่งดิสโทรคู่แข่ง SUSE จึงออกมาสอนวิธีเปลี่ยน Ubuntu บนวินโดวส์มาเป็น SUSE แทน (SUSE เรียกมันว่า Bash on SUSE on Windows)
ขั้นตอนการแก้ไขไม่ยากนัก แรกสุดต้องติดตั้ง Windows Subsystem for Linux (WSL) ก่อน แล้วดาวน์โหลด openSUSE docker userspace มาเพิ่ม จากนั้นเปลี่ยนตำแหน่ง rootfs ของ Ubuntu มาเป็น SUSE และสร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่ก็เรียบร้อยแล้ว
ทีมพัฒนา OpenSUSE ได้เปิดตัว Release Candidate 1 ออกมาเรียบร้อย โดยมีการอัพเดตหลายเรื่องดังนี้
ดาวน์โหลด OpenSUSE 12.3 RC1 ได้แล้ว ที่นี่
การปรับปรุงในรุ่น 12.2 ที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
อินเทลประกาศเข้าร่วมเป็นบอร์ดที่ปรึกษาของ The Document Foundation องค์กรอิสระผู้พัฒนา LibreOffice และร่วมลงทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาในรูปตัวเงิน
นอกจากนี้ อินเทลยังจับมือกับ SUSE ผู้เชี่ยวชาญด้านลินุกซ์จากเยอรมนี พัฒนา LibreOffice for Windows รุ่นพิเศษ ที่ปรับแต่งความสามารถอีกเล็กน้อย โดยเพิ่มตัวติดตั้งตัวใหม่เข้าไป และปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานบนซีพียูของอินเทล
จากนั้นอินเทลจะนำ LibreOffice รุ่นพิเศษนี้ไปแจกบนร้าน Intel AppUp Center ซึ่งเป็นร้านขายแอพบนพีซีของอินเทล ที่ตั้งใจจับตลาดกลุ่มผู้ใช้ Ultrabook อีกด้วย
openSUSE 12.1 ออกแล้วตามกำหนด (ลิงก์สำหรับดาวน์โหลด)
ของใหม่ในรุ่นนี้คือ
ความเคลื่อนไหวของซอฟต์แวร์บนเดสก์ท็อปดูจะเงียบๆ ลงไปในช่วงหลัง เนื่องจากซอฟต์แวร์บนเว็บและมือถือมาแรงกว่ามาก
ซอฟต์แวร์สำนักงานอย่าง LibreOffice หลังจากเคลียร์ปัญหาเรื่องความเป็นเจ้าของโครงการได้ (โดยแยกตัวออกมาจากออราเคิลเพื่อตั้ง The Document Foundation ดูแลกันเอง) วันนี้ที่งาน LibreOffice Conference ทางมูลนิธิ The Document Foundation ก็ประกาศแผนงานสำหรับอนาคตของ LibreOffice แล้ว
LibreOffice ประกาศออกเวอร์ชันใหม่อีก 2 อย่าง คือ รุ่นที่เป็นเว็บแอพ (ซึ่งสร้างด้วยเทคโนโลยี GTK+ และ HTML5 Canvas) และรุ่นแท็บเล็ต Android/iPad ซึ่งจะใช้วิธีพอร์ต LibreOffice ไปรันบนแท็บเล็ตก่อน จากนั้นจะพอร์ตไปยังอุปกรณ์ที่เล็กกว่าแท็บเล็ตต่อไป
การเปลี่ยนระบบจับคู่คำสั่งซื้อขายของตลาดหุ้นใดๆ ในโลกนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก และเป็นเรื่องปรกติที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดบ้างในช่วงแรกๆ ของการซื้อขาย โดยตลาดหุ้นลอนดอนที่เพิ่งเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ Millennium Exchange มาใช้งานก็ไม่รอดไปจากเหตุการณ์นี้
ความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อกำลังเข้าสู่ช่วงของการซื้อขายในช่วงปิดตลาด (บ้านเราคือ ATC) เมสเสจที่แจ้งโบรกเกอร์ว่าจะเปลี่ยนสถานะตลาดนั้นกลับส่งไปถึงโบรกเกอร์ช้ากว่ากำหนดถึง 42 วินาที ปรกติแล้วคำสั่งซื้อขายสำหรับช่วงปิดตลาดที่เข้ามาก่อนเมสเสจนี้จะถูกยกเลิกการจับคู่ทั้งหมด แต่เนื่องจากความล่าช้านี้ทางตลาดหุ้นลอนดอนจึงประกาศว่าจะจับคู่คำสั่งทั้งหมดให้ และจะเพิ่มมาตรการเพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก