เว็บไซต์ Sanook.com ที่มี Tencent เป็นเจ้าของ ประกาศรีแบรนด์ใหม่ เปลี่ยนโลโก้ ยังคงสีแดงเหมือนเดิมแต่ตัดอัศเจรีย์ออก
นอกจากนี้ยังประกาศนำเทคโนโลยี Text to Speech มาใช้ในแอพพลิเคชั่น Sanook แปลงเนื้อหาข่าวเป็นเสียง, ใช้ Machine Learning เรียนรู้พฤติกรรมคนอ่านข่าวบนแอพ นอกจากนี้ยังจะเริ่มทำพอดคาสต์ของ Sanook เองเพื่อตอบโจทย์เทรนด์คนฟังพอดคาสต์ที่มีให้เห็นมากขึ้น
บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด อย่างเป็นทางการ โดยจัดกลุ่มบริการใหม่ออกเป็น 3 กลุ่มใต้แบรนด์ Tencent ได้แก่
Sanook! เว็บพอร์ทัลรายใหญ่ของไทยในสังกัด Tencent ประเทศไทย เปิดตัวเว็บไซต์ภาคภาษาลาวในชื่อ Sanook! ม่วน เพื่อจับตลาดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวลาวกว่า 1.4 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 7 ล้านกว่าคน
Sanook! ใช้วิธีจับมือกับบริษัท BizGital สตาร์ตอัพท้องถิ่นของประเทศลาว มีความเชี่ยวชาญทำการตลาดดิจิทัลในประเทศลาว โดยเริ่มให้บริการมาอย่างเงียบๆ ตั้งแต่เดือนกันยายนปีนี้ สัดส่วนเนื้อหาคือข่าวแปลจาก Sanook! ภาคภาษาไทย 60% และข่าวจากทีมข่าวในท้องที่ 40% ข่าวหมวดที่ได้รับความนิยมคือข่าวสารและความบันเทิง
หน้าเว็บ Sanook! ม่วน สามารถเข้าได้จากทั้ง muan.sanook.com และ muan.la
วานนี้ Sanook ได้ฤกษ์เปิดตัวแอพ JOOX แอพฟังเพลงออนไลน์อย่างเป็นทางการในประเทศไทย หลังจากเปิดตัวให้ลองใช้ตั้งแต่ปีกลาย ในโอกาสนี้มีการเปิดเผยข้อมูลและตัวเลขที่เกี่ยวข้องให้สื่อมวลชนและบล็อกเกอร์ได้รับทราบ ผมมีโอกาสไปร่วมงานนี้มา ขอไล่เรียงและสรุปข้อมูล รวมถึงแสดงทรรศนะเพิ่มเติม ...หลัง Read More ครับ
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์
JOOX Music แอพฟังเพลงออนไลน์แบบสตรีมมิ่งจาก Tencent ยักษ์ใหญ่ของวงการอินเทอร์เน็ตจีน (เจ้าของเดียวกับ WeChat และ Sanook) เปิดตัวในประเทศไทยแล้ว
แอพ JOOX พัฒนาโดย Tencent แต่ทยอยใช้บริษัทลูกทำตลาดในแต่ละประเทศ (กรณีของไทยคือ Sanook) โมเดลการทำตลาดคือ "ฟังฟรี" แบบมีโฆษณา แต่จุดเด่นที่เหนือคู่แข่งรายอื่นคือบัญชีแบบฟรี สามารถฟังเพลงแบบออฟไลน์ได้ และมีเนื้อเพลงให้ด้วยสำหรับบางเพลง
Sanook Online Limited ผู้ให้บริการคอนเทนต์ออนไลน์รายใหญ่ของประเทศไทย อัพเดตแอพ Sanook! เวอร์ชันใหม่โดยปรับปรุงทั้งฟีเจอร์การใช้งาน และอินเทอร์เฟซของแอพให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น
ฟีเจอร์ของ Sanook! เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด ประกอบไปด้วย
สำหรับของใหม่ที่เพิ่มเข้ามาเป็นอย่างไรบ้าง มาลองดูกันทีละอย่างครับ
ผู้อ่าน Blognone น่าจะคุ้นเคยกับบริการ AIS Mobile Barclays Premier League ที่ AIS ซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกในประเทศไทยจาก CTH มาให้บริการบนอุปกรณ์พกพา
ล่าสุด Sanook เว็บไซต์ชื่อดังของไทยก็ซื้อลิขสิทธิ์แบบเดียวกัน แต่มาถ่ายทอดบนเว็บไซต์สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์แทน โดยจะเริ่มถ่ายทอดผ่านเว็บ http://cth.sanook.com/ ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป (เริ่มตามฤดูกาล 2014/2015)
อัตราค่าบริการแบ่งเป็นแบบรายวัน 199 บาท และรายเดือนเริ่มต้นที่ 399 บาท ส่วนแพ็กเกจสูงสุดคือ 5,699 บาทรับชมได้ทั้งซีซัน รายละเอียดดูในประกาศท้ายข่าว
เมื่อพูดถึงเว็บไซต์อันดับหนึ่งของประเทศไทย หลายคนคงนึกถึง Sanook.com เว็บไซต์ท่า (portal) เบอร์ต้นๆ ที่เพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังจาก Tencent ยักษ์ใหญ่วงการดิจิทัลของจีนทุ่มเงินกว่า 10.5 ล้านเหรียญเข้าถือหุ้นส่วนเกือบครึ่งหนึ่งไปเมื่อปี 2010
ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปมากจากการเข้ามาของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือ และสมาร์ทโฟน ทำให้ยักษ์จากยุคเว็บไซต์เดสก์ท็อปอย่าง Sanook ต้องปรับตัวอย่างมาก หนึ่งในการเคลื่อนไหวสำคัญคือการแต่งตั้งคุณกฤตธี มโนลีหกุล ผู้เคยทำงานร่วมกับซัมซุงสำนักงานใหญ่ และบริษัทท่องเที่ยว Expedia ที่ฮ่องกงมารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแผนกเนื้อหา และบริการของ Sanook ซึ่งครอบคลุมในส่วนของเว็บไซต์ท่า ส่วนมือถือ และแอพ รวมถึงโฆษณา
เดือนกรกฎาคมนี้นับเป็นการครบรอบหนึ่งปีตั้งแต่คุณกฤตธีรับตำแหน่งมา ทางเราจึงถือโอกาสไปพูดคุยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง และแผนการณ์ในอนาคตของ Sanook ว่าเป็นอย่างไรบ้างครับ
ผมได้รับเมลประชาสัมพันธ์จากฝ่าย PR ของ Sanook.com เว็บท่าอันดับหนึ่งของไทย คิดว่าเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจของเว็บท่าหรือพอร์ทัลในไทย เลยมาเขียนเป็นข่าวหน่อยครับ
อธิบายแบบรวบรัดก็คือความร้อนแรงของ social games บน Facebook ทำให้พอร์ทัลไทยต้องหันมาทำแบบเดียวกันบ้าง (เพิ่มมาจากจากเกมแฟลชที่มีมาสักพักใหญ่ๆ แล้ว)
ระบบของ Sanook ใช้ชื่อว่า Playtown ฟีเจอร์โดยทั่วไปคงเหมือนกับ social games อื่นๆ เพียงแต่อิงอยู่บนระบบสมาชิกของ Sanook เองแทน (แต่ก็เชื่อมกับ Facebook/Twitter ได้) ที่น่าสนใจคือแยกเพื่อนสนิทกับเพื่อนเล่นเกมออกจากกัน เพื่อแก้ปัญหาสถานะจากเกมรก timeline ด้วย
Sanook.com เว็บไซต์อันดับหนึ่งของไทย เปิดให้บริการ microblogging แบบเดียวกับ Twitter อย่างเงียบๆ ในชื่อ Noknok (นกนก) เว็บไซต์อยู่ที่ http://noknok.in.th
ผมลองเล่นดูคร่าวๆ แล้วพบว่ามันเหมือน Twitter จริงๆ
หน้าส่งข้อความ
หน้า profile