Segway ผู้ผลิตสกู๊ตเตอร์ส่วนตัว 2 ล้อที่เคยไฮป์กันอยู่ช่วงหนึ่งในทศวรรษที่แล้ว ประกาศปิดโรงงานของตัวเองในรัฐนิวแฮมป์เชียร์และยกเลิกการผลิต Segway PT สกู๊ตเตอร์ 2 ล้อที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและความปลอดภัยเป็นส่วนใหญ่
โรงงานจะถูกปิดในวันที่ 15 กรกฎาคม พนักงาน 21 คนถูกเลย์ออฟทันทีและจะเหลือพนักงานราว 12 คนเอาไว้ชั่วคราวสำหรับงานซัพพอร์ทและรับประกัน
ช่วงแรก ๆ Segway ถูกคาดหวังหรือปั่นกระแสไว้ค่อนข้างสูงว่าอาจจะเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คน และด้วยปัญหารูปแบบการใช้งานและการออกแบบด้านวิศวกรรม แม้จะมีรุ่นปรับปรุงออกมาใหม่หลายรุ่น แต่ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี Segway PT ทำยอดขายไปได้เพียง 140,000 คันเท่านั้น จากเดิมที่ทีมงานตั้งเป้า 100,000 คันใน 13 เดือนแรก
Segway-Ninebot (ชื่อใหม่หลัง Ninebot ซื้อกิจการ Segway ในปี 2015) ประกาศเตรียมเปิดตัวสองผลิตภัณฑ์ใหม่ในงาน CES สัปดาห์หน้า โดยผลิตภัณฑ์แรกคือสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ Model Max ที่ออกแบบมาสำหรับบริการแชร์สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ เน้นไปที่ความทนทานในการใช้งาน และมีค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาต่ำ
ปัจจุบันบริการแชร์สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้ารายใหญ่ในอเมริกาอย่าง Bird และ Lime ต่างเป็นลูกค้าของสกู๊ตเตอร์ Ninebot ซึ่งก็ต่างได้ให้ความเห็นในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ จนออกมาเป็น Model Max
Ninebot บริษัทในเครือ Segway ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าส่วนบุคคลขนาด 2 ล้อและ 1 ล้อ ทั้งหมด 3 รุ่น
รุ่นแรก Ninebot MiniPro ขนาด 2 ล้อ คล้าย Segway ขนาดเล็ก ไม่มีแฮนด์จับ ควบคุมด้วยการทิ้งน้ำหนักที่เท้าและการหันหัวเข่า วัสดุเป็นแม็กนีเซียมอัลลอยด์ แข็งแต่น้ำหนักเบาที่ 13 กิโลกรัม รองรับน้ำหนักได้สูงสุด 100 กิโลกรัม ทำความเร็วได้สูงสุด 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขับเคลื่อนได้ไกลสูงสุด 30 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้งซึ่งใช้เวลาชาร์จประมาณ 4 ชั่วโมง กันน้ำมาตรฐาน IP54 วางจำหน่ายราคา 29,990 บาท ซึ่งเป็นราคาช่วงเปิดตัวถึงเดือนสิงหาคมนี้เท่านั้น
Segway ยานพาหนะส่วนตัวแบบสองล้อส่วนบุคคลที่ถูกบริษัทจีนเข้าซื้อไปเมื่อหลายเดือนก่อน โผล่มาในงาน CES 2016 ปีนี้ด้วยการประกาศจับมือกับอินเทลพัฒนาโฮเวอร์บอร์ด หรือยานพาหนะขนาดเล็กที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน
Ninebot ผู้ผลิตยานพาหนะส่วนตัวแบบสองล้อ (คล้าย Segway) ประกาศเข้าซื้อ Segway อย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากเคยถูก Segway ตั้งข้อสงสัยว่าละเมิดสิทธิบัตรของบริษัทเมื่อปี 2014 แม้ว่าทาง Ninebot จะระบุว่าผลิตภัณฑ์ของตัวเองแตกต่างจากที่กล่าวหามาก็ตาม
การเข้าซื้อ Segway ของ Ninebot มาจากเงินระดมทุนเม็ดใหญ่ที่ได้จาก Xiaomi และ Sequoia Captital (VC) ราว 80 ล้านเหรียญเมื่อไม่นานมานี้ โดยหลังการเข้าซื้อครั้งนี้ ทั้งสองแบรนด์จะยังทำตลาดแยกกันต่อไป โดยแบรนด์ Segway จะเน้นทำตลาดในสหรัฐฯ โดยเฉพาะ
สำหรับข้อกล่าวหาแต่ก่อน Ninebot ระบุว่าผลิตภัณฑ์ของตัวเองต่างจาก Segway ตรงที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำหนักของผู้ใช้ แต่ Segway จำกัดไว้ที่ 45-117 กก.
แม้ว่า Segway จะมีรายชื่ออยู่ใน 10 ผลิตภัณฑ์ไอทีล้มเหลวในรอบทศวรรษ แต่ก็มีผู้ให้ความสนใจอยู่เหมือนกัน ติดอยู่เพียงที่ว่าราคาแพงเกินไปนั่นเอง
และในวันนี้ความหวังที่จะได้ลองขับเจ้า Segway นี้ก็ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วเมื่อห้างหุ้นส่วนที่ผลิต Segway ได้พัฒนามินิเกมส์ Segway ที่ใช้ระบบการควบคุมผ่าน Wii Balance Board และ Wii Mote เพื่อจำลองการขับ Segway
และคาดว่าในอนาคตน่าจะมีเกมส์ Segway Polo ออกตามมา